ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศาสนาวัชรยาน  (อ่าน 1602 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
พุทธศาสนาวัชรยาน
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 05:25:30 pm »


พุทธศาสนาวัชรยาน

        เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แคว้นพาราณสี ครั้งที่ 2  ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธ ศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคติ นี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้ง การพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้ง เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมด บุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือ พระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกัน แต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกาย

ฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ ก็หมายความว่าในแต่ละครั้ง แห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้ แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วน และด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้น ได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วน ฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึง ควรเป็นไปพร้อมกัน หรือให้บุพการีไปก่อน แล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

    พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข”ฉะนั้นการแลกความสุขของตน เปลี่ยนกับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ (บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน) พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมา ความสมดุล ก็ได้หายไป

ความอดทนมี 3 ประเภท
1 อดทนต่อการต่อต้าน
2 อดทนต่อความลำบาก ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
3 อดทนในความกล้าปฏิบัติ ในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตา

    การบำเพ็ญตนตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่ง
    การเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้ 3 ประเภทพื้นฐาน
1 ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
2 ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
3 ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ

    แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น
1 ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ
2 ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ
3 ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่น

และยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลก ปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือ ปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยานต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว 1 ปี พระพุทธเจ้าได้ เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอน ลับเฉพาะ

     แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุน นI.คI.h^.น_ ทิเบตเรียก O^.w^บ. ซ๋ลู.ซ๋ดุบ.  ในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียน เรื่อง การปฏิบัติตันตระเรื่องคุหยสมัชชตันตระ และมยุรีตันตระซึ่งเป็นตันตระเฉพาะของท่าน ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับ ตันตระ ไว้มาก เพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุด ไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุด ทิเบตจึงรับคำสอนมาอย่างเต็มที่
   
          การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์ ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการอภิเษก  ถึงแม้การปฏิบัติจะดีเพียงไร ก็จะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้น ผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่า คำสอนวัชระยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยาน มีไว้สำหรับผู้ที่ มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียว ต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระเท่านั้นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับ การบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท้าเปล่าเป็นเดือน

          เป็นที่รู้กันดีในทิเบตว่ามิลาเรปะ ท่านได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่าน ด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระ โดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง การต่อเนื่องของจิตวิญญาณที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยที่การเปลี่ยนชาติภพมิได้ทำให้ระดับจิตที่ได้พัฒนาแล้วลดระดับลง อันเป็นคำสอนการปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในแวดวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด  ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการอภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามากเข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษา หรือปฏิบัติตันตระเองได้ โดยไม่ผ่านการอภิเษก จากคุรุ

         การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษ หรือ ยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ มีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้ เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้ง จะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร คำสอนวัชระยาน การปฏิบัติวัชระยาน สามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ ด้วยเวลาอันสั้น แต่ คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ ต้องการบรรลุรู้แจ้ง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด

         คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ ด้วย วิธีการซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้ และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจาก คำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้น เราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบตเท่านั้น ในปัจจุบัน ภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆที่เป็น สันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

    พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตใน สมัยกษัตริย์ ซองซันกัมโป เรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีน องค์หญิงเวนเชง ราชธิดากษัตริย์ไทซุงของราชวงศ์ถัง และเจ้าหญิงภรูกุฎิแห่งเนปาล องค์หญิงทั้งสองเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาและเคร่งครัดในการปฏิบัติ องค์เวนเชงได้อัญเชิญพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยที่พระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ (ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน3องค์) พระพุทธรูปโจโวพระประธานแห่งวัดโจคัง กรุงลาซา ที่ประดิษฐานมาจนถึงวันนี้

 ในยุคนั้นพุทธศาสนาถูกขัดขวางจากลัทธิบอน อันเป็นลัทธิดั้งเดิมอย่างรุนแรง แต่พระพุทธศาสนาก็ยังคงหลั่งไหลเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า ได้มีการสังคายนาโต้วาที ณ กรุงลาซา เป็นการโต้วาทีพุทธศาสนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าฑิโซงเดเชน ผลออกมาชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานจากอินเดียมากกว่า ดังนั้น พระเจ้าฑิโซงเดเชนจึงเลือกที่จะให้พุทธศาสนาวัชระยานเป็นศาสนาประจำชาติต่อ ไป พระองค์จึงส่งอำมาตย์ไปนิมนต์ พระศานตรักษิตะ ภิกษุชาวอินเดียจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทาลันทาคุรุแห่งนิกายสวา ตันติกะมัธยมิกเข้ามาเพื่อสถาปนาพุทธศาสนาขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยว่าเพียงหลักปรัชญาอย่างเดียวไม่ตรงกับอุปนิสัยชาวทิเบต ซึ่งนิยมในการเซ่นสังเวย สิ่งลี้ลับ อิทธิปาฏิหาริย์ ตามลัทธิบอนที่ตนได้เชื่อถือมาแต่โบราณ

 แม้จะพยายามปรับเปลี่ยนตั้งแต่ในรัชสมัยก่อนๆ ศานตรักษิตจึงได้ให้คำแนะนำแก่กษัตริย์ฑิโซงเดเชน ขอให้อัญเชิญคุรุปัทมสมภพ มหาสิทธาจารย์แห่งแคว้นอุทิยาน ผู้บรรลุพุทธธรรมในสายต่างๆมากมายเช่น โยคาจารย์และตันตระแห่งนิกายมนตรายาน เมื่อคุรปัทมสมภพเข้ามาได้ใช้อิทธิและความสามารถจัดการกับผู้ขัดขวางทั้งมวล จากลัทธิเก่าก่อนมีผู้เปลี่ยนเข้าสู่พุทธศาสนาเกือบทั้งประเทศ ส่วนผุ้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนลัทธิความเชื่อก็ถูกย้ายให้ออกไปอยู่ในที่อื่น จนสถาปนาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติทิเบตได้สำเร็จ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่าน ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2

 และขานนามท่านว่ากูรูริมโปเช หรือ แปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐ กูรูริมโปเช คุรุปัทมสมภพได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และ ได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าฑิโซงเดเชน ทั้งนี้ ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย


    แนวปฏิบัติและหลักคำสอนของกูรูริมโปเช และ ศานตรักษิตได้ผสมผสานกัน และ ต่อมาได้เรียกหลักการนี้ว่า ณิงมา ซึ่งในปัจจุบัน ณิงมาได้มีความหมายเป็น 2 นัยยะ นัยยะหนึ่งคือ รากฐานของพุทธศาสนาของทิเบตทั้งหมดทุกสายทุกนิกาย อีกนัยยะหนึ่ง คือนิกายณิงมาปะ คือนิกาย 1 ใน 4 นิกายใหญ่ของทิเบต

    พระพุทธศาสนาในทิเบตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองจนเกิดวิกฤตการณ์ ขึ้นและจัดแบ่งจนเกิดคำว่าตันตระเก่า,ตันตระใหม่ ตันตระเก่าหรือพุทธศาสนาเก่าหรือที่เรียกว่า "ณิงมา" นับเริ่มตั้งแต่กษัตริย์ ฑิโซงเดเชน ซึ่งครองราชย์ในปีค.ศ.755-797  พระองค์ได้อัญเชิญกูรูศานตรักษิตะ กูรูริมโปเช วิมลมิตรเข้ามา สถาปนาพระพุทธศาสนาจนมั่นคงอยู่หลายรัชกาล จนถึงสมัยกษัตริย์ รางทรามา ซึ่งครองราชย์ในปี ค.ศ.836-842 กษัตริย์รางทรามาได้ร่วมมือกันเสนาบดีซึ่งยังคงนับถือลัทธิเซ่นสังเวยดั้ง เดิมซึ่งมีชื่อเรียกว่า "บอนปะ" ได้ทำลายล้างพระพุทธศาสนาไปจากทิเบตเกือบหมดสิ้น เชื้อพระวงศ์ ภิกษุสงฆ์ ผู้ปฏิบัติพุทธธรรมส่วนใหญ่ต้องหลบหนีเอาชีวิตรอดไปอยู่ในบริเวณชายแดน โดยเฉพาะในแคว้นคามทิเบตตะวันออกเป็นแหล่งที่นักปราชญ์นักปฏิบัติที่หนีออก มาไปรวมอยู่กันมากที่สุด ทิเบตในยุคนั้นศาสนาลัทธิความเชื่อสับสนวุ่นวายไปหมด

 ผู้ไม่ใช่ชาวพุทธได้นำแนวปฏิบัติของพุทธไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขปฏิบัติเองตามใจ ชอบ เหตุการณ์ทั้งหลายในยุคนี้เป็นเหตุการณ์ที่กูรูริมโปเช่ท่านได้รู้ล่วงหน้า แล้วว่าจะต้องเกิดขึ้น ท่านจึงได้เกิดสอนคำสอนของท่านไว้ในที่ต่างๆทั่วทิเบต เพื่อให้หลังจากกลียุคนี้ผ่านพ้นไปแล้วผู้ปฏิบัติชาวพุทธจะได้มีพระสูตรดั้งเดิมไว้สอบทาน เพื่อมิให้การปฏิบัติผิดเพี้ยนไป พระธรรมคำสอนที่กูรูริมโปเช่ซ่อนไว้มีชื่อเรียกว่า "เตอร์โตน" หรือมหาสมบัติที่ซ่อนเร้น"

      ต่อมาในปี ค.ศ.980 รินเชนสังโป กษัตริย์แห่งแคว้นหนึ่งในทิเบตตะวันตก ผู้ปฏิบัติพุทธธรรมจนบรรลุ ท่านเป็นทั้งผู้ปฏิบัติ และนักปราชญ์ผู้รอบรู้แห่งพุทธศาสนา ได้อัญเชิญอติษะ(ทีปังกรศรีญาณ ภิกษุแห่งมหาวิทยาลัยวิกรมศีลา อินเดีย เข้ามาเพื่อสะสางพุทธศาสนาในทิเบตให้มั่นคงถาวรขึ้นมาใหม่ ในยุคนี้มีกูรูอีกหลายท่านจากอินเดียเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาจนพุทธศาสนามั่น คงถาวรมาถึงทุกวันนี้ ยุคนี้มีชื่อเรียกว่า "ซามา" หรือยุดตันตระใหม่ ในยุดนี้เองได้เกิดนิกายต่างๆขึ้น เช่น กาดัมปะ,กากจูปะ,สักเจียปะ เป็นต้น ครั้นต่อมา ในยุดนี้พุทธศาสนาก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิผลของการเมืองซึ่ง ข่านมงโกล ซึ่งปกครองจีนในขณะเข้าไปมีอิทธิผลเหนือทิเบต แต่พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็เกิดความสับสนวุ่นวายพอสมควร และในที่สุด กาดัมปะซึ่งก่อตั้งโดยอติษะก็ได้เป็นเป็น นิกายเกลุคปะ โดยโจงคาปา.ในปี ค.ศ.1357

พุทธศาสนาวัชรยานได้แบ่งเป็นตันตระใหม่และตันตระเก่า
ตันตระใหม่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นผู้สอน โดยมาในปางสัมโภคกาย ได้แบ่งเป็น เก้ายาน สามกลุ่ม
กลุ่ม 1 คือสามยานแห่งเหตุ มี สาวกยาน(หีนยาน) ปัจเจกพุทธยาน((หีนยาน) และโพธิสัตว์ยาน(มหายาน)
กลุ่ม 2 คือ สี่มนตรายานแห่งผล กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ
กลุ่ม 3 คือ อนุตระตันตระ มี ตันตระพ่อ ตันตระแม่ และสหตันตระ

     ในมุมมองของวัชรยานทุกประสบการณ์ทุกอารมณ์จะไม่มีการทำลายล้างหรือจ้องที่จะ บังคับตัดขาดมิให้บังเกิดขึ้น แต่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นประสบการณ์ อารมณ์ในการบรรลุ ดังเช่นโทสะอันร้อนแรงประดุจเพลิง คอยเผาผลาญสติ ก็จะเปลี่ยนให้เป็นเพลิงอันทรงพลังแห่งพ่อ ถึงแม้ว่าแรงระเบิดเพลิงจะรุนแรงอย่างไรก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรักลูก ต้องการให้ลูกบรรลุสู่จุดสูงสุดดีที่สุดในชีวิต กระตุ้นให้คิดค้นกลอุบายตามแรงเพลิงโทสะนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังเช่นการปฏิบัติตันตระพ่อแรงเพลิงแห่งโทสะนำพาสู่อุบายในการเสริมสร้างสติ แห่งการบรรลุ ส่วนโลภะ ความอยากได้ ความต้องการ ความปารถนาในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็แปรเปลี่ยนให้เป็นพลังรักแห่งแม่ ที่แสดงออกโดยตรงและยอมรับในทุกประสบการณ์ของลูกโดยไม่ต้องแสวงหาอุบายใดๆ ยอมรับและอยู่ร่วมกับประสบการณ์ของลูกโดยดุษฏี เพื่อความอยู่ดีมีสุขของลูก นั่นคือตันตระแม่ โลภะที่เกิดเปลี่ยนให้เป็นแรงปารถนาในการบรรลุ ประดุจดังความรัก ความปารถนา และการกระทำของแม่

 ตัวผู้ปฏิบัติเป็นแม่ สติคือลูก ผลการบรรลุ คือผลสูงสุดที่ต้องการให้ลูกได้รับ โมหะความลุ่มหลง เช่นการหลงในตนเองว่าเลิศสุดกว่าผู้ใดด้วยเหตุผลนานาประการ ทำให้เกิดการสร้างอาณาเขตแห่งตนขึ้นเกิดความคับแคบในมโนทัศน์และประสบการณ์ หน้าที่อันไม่แบ่งแยกของพ่อและแม่คือการพยายามสร้างอาณาจักรอันไม่มีขีด จำกัดแก่ลูก สหตันตระ มีแง่คิดอยู่ในมุมมองที่ว่าการเปลี่ยนโมหะบ่อเกิดความคับแคบเพื่อให้เป็น พื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็น อาณาเขตอันไร้ขอบเขตแห่งจักรวาลซี่งเป็นที่ตั้งแห่งพุทธภาวะ ความไม่แบ่งขั้ว ไม่แบ่งเพศ ไม่มีขีดจำกัดใดๆ

ตันตระเก่าได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันใน นิกายณิงมาปะ
สอนโดย พระธรรมกายของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นเก้ายาน อันมี
     ยานภายนอก 3 ยาน มี สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน(อันเป็นพุทธศาสนาหีนยานซี่งเน้นการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุอรหันต์ผล) โพธิสัตว์ยานเน้นการปฏิบัติบารมีหก เพื่อเข้าสู่ภูมิที่สิบ อันเป็นภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ และตันติกอีก 6 ยานซึ่งเป็นวัชรยานทั้งหมด ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตันตระภายนอก มี กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน มี มหาโยคะตันตระ อนุโยคะตันตระ อธิโยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน เป็นยานพิเศษที่มีเฉพาะในนิกายณิงมา โดยเฉพาะอธิโยคะซึ่งทิเบตเรียก ซกปะเชนโป สันกฤตเรียก มหาสันติ อันถือเป็นยานหรือคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา การปฏิบัติอธิโยคะในหมู่ผู้มีปัญญาอันเลอเลิศและได้ปฏิบัติด้วยความวิริยะ อุตสาหะ สามารถเข้าถึงพุทธภาวะในเวลาอย่างช้าสามปี ในหมู่ผู้มีปัญญาสูงสามารถบรรลุผลในเวลาหกปี ในหมู่ผู้มีปัญญาระดับทั่วไปก็สามารถบรรลุผลได้ในเวลาสิบสองปี

 คำสอนการปฏิบัติตันตระที่ได้ปฏิบัติกันอยู่ มาจากหลายแหล่ง เช่นจากที่มีบันทึกอยู่ในพระสูตรกันจุร์ จากที่มีอยู่ในณิงมากิวบุมซึ่งได้แยกบันทึกไว้ต่างหากอีก ยี่สิบห้าฉบับ จากพระอาจารย์ตันตระที่บรรลุมรรคผลโดยเกิดขึ้นเองในจิตของท่าน ในคำสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ที่สุดและแพร่หลายที่สุดเป็นคำสอนที่ถ่ายทอดโดย กูรูรินโปเช่และธรรมศักติเยเซโชเกียว ซึ่งได้ถ่ายทอดโดยตรงและได้เก็บซ่อนไว้ในสถานที่ต่างๆกันซึ่งเรียกว่าเตอร์ มา เพื่อให้เปิดเผยในเวลาต่อมาโดยผู้ที่ได้ถูกกำหนดไว้ซึ่งเรียกว่าเตอร์โตน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 จนถึงปัจจุบัน

     คำสอนอธิโยคะได้จัดระดับคำสอนไว้ 3 ระดับ คือ เซมเด ลองเดและเมกาเด ท่านคุรุศรีสิงหะยังได้แบ่งเมกาเดออกเป็นอีก4ระดับคือระดับภายนอก ระดับภายใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอด ได้แยกการปฏิบัติออกเป็นสองลักษณะ คือเตกโชและโทกัล เตกโชคือการฟันฝ่าทะลุทะลวงดิ่งตรงเข้าสู่พุทธภาวะและผสานจิตตนเข้ากับ สภาวะธรรมชาติแห่งจักรวาลอย่างฉับพลันทันใด เป็นการสำเร็จพุทธในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อถึงกาลสิ้นชีพกายจะเกิดประกายแสงหลากหลายพวยพุ่งออกมาและร่างกายจะสลาย เข้ากับ แสงนั้นและหายไปเหลือเพียงผม เล็บมือเล็บเท้าปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเกิดกายรุ้ง ซึ่งเกิดในช่วงของการแตกสลายของธาตุทั้ง 4 เพื่อเข้าสู่แสงแห่งปัญญาของสัมโภคกาย ส่วนโทกัลคือการเดินดิ่งเข้าสู่พุทธภาวะ ผู้บรรลุเมื่อสิ้นชีพก็เกิดกายรุ้งเช่นกันแต่ กายรุ้งนั้นจะเห็นได้เฉพาะผู้บรรลุแล้วเท่านั้น

 วิธีปฏิบัติเมกาเดมีชื่อเรียกว่าณิงติก ได้เรียกชื่อตามพระอาจารย์ที่ค้นพบหรือถ่ายทอดเช่นเจดซุงณิงติกถ่ายทอดโดย ท่ายเจดซุง คานโดณิงติกโดยท่านเปดมาเล เดเซล กามาณิงติกโดย กามาปะที่3 และรางชุงโดเจ โดเซมณิงติกโดยท่านไวโรจน ลองเชนณิงติกโดยจิกเมลิงปะและเซซุมโอเซลณิงติกโดยจัมยังเคนเซวังโป ในจำนวนณิงติกทั้งปวงที่แพร่หลายและสมบูรณ์ที่สุดคือวิมาณิงติกซึ่งท่านวิมล มิตรได้นำเข้าทิเบต คานโดณิงติกซึ่งท่านกูรูรินโปเช่นำเข้าทิเบต และได้ค้นพบ เรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบโดยลองเชนรับจัมในราวศตวรรษที่13 ในศตวรรษที่17 ท่านจิกเมลิงปะได้รวมวิมาณิงติกและคานโดณิงติกเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อว่าลองเชนณิงติก



เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์, 19 พฤศจิกายน 2555 11:44
เขียนโดย Astro Neemo
http://www.gonghoog.com/main/index.php/
component/content/category/10-2012-11-10-06-36-30

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนาวัชรยาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 06:22:33 pm »


:07: :07: :07:


สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ





<a href="http://www.youtube.com/v/IZwju5vrVfY?hl=th_TH&amp;amp;version=3" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.youtube.com/v/IZwju5vrVfY?hl=th_TH&amp;amp;version=3</a>

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2014, 07:13:09 pm โดย กัลยา »
ชิเน กทริยํ ทาเนน