ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธบริษัท 4  (อ่าน 1670 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พุทธบริษัท 4
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 10:49:29 am »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธบริษัท 4
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 10:49:56 am »
๔.๒ การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร
-http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit4/unit4-3.php-

ดังที่ทราบแล้วว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานนั้น มารได้มากราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยประการต่าง ๆ แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบแก่มารว่า หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นพุทธสาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ พระองค์จะไม่ปรินิพพานฉะนั้น พุทธปณิธาน 4 ของพระพุทธเจ้า จึงหมายถึงพุทธบริษัท 4 ได้แก่

(1) ภิกษุ
(2) ภิกษุณี
(3) อุบาสก
(4) อุบาสิกา

จำต้องศึกษาปฏิบัติ กระทำตามหน้าที่ของตน ๆ เพื่อให้เป็นผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ เป็นต้น


หน้าที่ของพุทธบริษัท 4

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของคนสืบศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธบริษัท 4 ดังนี้

1. หน้าที่ของ ภิกษุ (รวมถึงภิกษุณีด้วย) ภิกษุ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย แต่ในที่นี้จะแสดงไว้เฉพาะหน้าที่ที่สัมพันธ์กับ
คฤหัสถ์ และข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน ภิกษุ (รวมภิกษุณี) อนุเคราะห์คฤหัสถ์ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่ตนเป็นเสมือน ทิศเบื้องบน ดังนี้
1. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
2. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
4. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
5. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
6. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

ข. หมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) 10 ประการ ดังนี้
1. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
2. เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
3. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
4. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
5. เราจักต้องถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
6. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
7. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
8. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
9. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง

2. หน้าที่ของ อุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน มีหลักปฏิบัติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตนกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
ก. เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระภิกษุ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้

1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4

ข. กระทำบุญ คือ ทำความดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง คือ
1. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันทรัพย์สิ่งของ
2. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีปฏิบัติชอบ
3. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยสมาธิ และปัญญาและควรเจาะจงทำบุญบางอย่างที่เป็นส่วนรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก 7 ข้อ รวมเป็น 10 อย่าง
4. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติสุภาพอ่อนน้อม
5. ไวยาวัจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์
6. ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี
7. ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น
8. ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ
9. ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
10. ทิฏฐุชุกรรม ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

ค. คุ้นพระศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้ใกล้ชนิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก เรียนกว่า อุบาสกธรรม 7 ประการ คือ
1 ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
2 ไม่ละเลยการฟังธรรม
3 ศึกษาในอธิศีล คือ ฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
4 พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ นวกะ และปูนกลาง
5 ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิดหาช่องที่จะติเตียน
6 ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
7 กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นที่ต้น คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ อุบาสก อุบาสิกาที่ดี มีคุณสมบัติ เรียกว่า อุบาสกธรรม 5 ประการ คือ
1. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย
2. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล 5
3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังจากการกระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
4. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
5. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระศาสนา

จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า กล่าวคือ โดยสรุป ให้ถือธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ 5 ประการ เป็นหลักวัดความเจริญในพระศาสนา
1. ศรัทธา เชื่อถูกหลักพระศาสนา ไม่งมงายไขว้เขว
2. ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต เป็นแบบอย่างได้
3. สุตะ รู้เข้าใจหลักพระศาสนาพอแก่การปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น
4. จาคะ เผื่อแผ่เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ซึ่งพึงช่วย
5. ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้เป็นอิสระได้


---------------------------------------------------------------------------

๔.๓ การศึกษาเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของพระพุทธศาสนา นำไปปฏิบัติและเผยแผ่ตามโอกาส

-http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit4/unit4-4.php-


องค์ประกอบของศาสนา

สิ่งที่นับเป็นศาสนาได้นั้น จะเป็นศาสนาตามคติทางพระพุทธศาสนา หรือตามคติของชาวตะวันตกก็ตาม มีหลักเกณฑ์ที่นักปราชญ์ทางศาสนายอมรับกัน ดังนี้

1. ต้องเป็นเรื่องเชื่อถือได้ โดยเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และต้องเคารพบูชาไปตามความเชื่อถือนั้น
2. ต้องมีคำสอนแสดงธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำการปฏิบัติเเพื่อบรรลุผลอันดีงามของสังคม
3. ต้องมีตัวผู้ประกาศ ผู้สอน หรือผู้ตั้ง และยอมรับเป็นความจริงตามประวัติศาสตร์
4. ต้องมีผู้สืบต่อรับคำสอนนั้น ปฏิบัติ ประพฤติตามกันต่อมา ผู้ประพฤติตามกันมานั้น ส่วนมากเรียกกันว่าพระ นักพรต หรือนักบวช เป็นผู้มีหน้าที่ทำพิธีกรรมในศาสนานั้น ๆ

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าศาสนาได้นั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1. มีศาสดาคือผู้ตั้งศาสนา หรือผู้สอนดั้งเดิม
2. มีคัมภีร์ศาสนา คือข้อความท่องกันกันไว้ได้ แล้วจดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ มีคัมภีร์หลักคำสอนหรือหลักธรรม
3. มีนักบวชคือสาวกผู้สืบต่อศาสนา หรือผู้แทนเป็นทางการของศาสนานั้น ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดคุณสมบัติไว้ต่าง ๆ กัน ตามคติของแต่ละศาสนา
4. มีวัดหรือศาสนสถาน พระพุทธศาสนามีวัดหรือศาสนสถานปูชนียสถานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลตราบเท่าทุกวันนี้
5. มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนประจำศาสนา เช่น รูปธรรมจักรสำหรับพระพุทธศาสนา ไม้กางเกนสำหรับศาสนาคริสต์ พระจันทร์ครึ่งซักกับดาว สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นต้น

หากจะสรุปถึงองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาแล้ว ควรเป็นดังนี้

1. มีศาสดาคือผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแล้วเสด็จสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม หลักธรรมคำสอนของพระองค์ได้ปรากฏยั่งยืนมาจนกระทั่งทุกวันนี้
2. มีคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุด้วย พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามีนักบวช ได้แก่ ภิกษุ สามเณร ผู้ทำหน้าที่สืบต่อพระพุทธศาสนา และเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา


-----------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373

-http://www.dhammahome.com/webboard/topic/14484-

จัณฑาลสูตร

ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว

[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคล

ตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

สนับสนุนในศาสนานั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว

เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

สนับสนุนในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.

จบจัณฑาลสูตรที่ ๕
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)