ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้า  (อ่าน 10688 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:22:59 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


การสังคายนาครั้งที่ ๔
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖
ณ ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป

          สำหรับการสังคายนาครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ นั้น กระทำกันขึ้นนอกชมพูทวีป คือกระทำที่ลังกาทวีป และไม่เป็นที่รับรองทั่วไป

          การสังคายนาครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูปมีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรีลังกาทวีป เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖ โดยพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะเป็นสาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ

          พระพุทธศาสนาได้เริ่มแผ่เข้าสู่ลังกาทวีป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖ - ๒๘๗ โดยการนำของพระมหินทเถระ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระส่งไปเป็นธรรมทูต ประจำลังกาทวีป พระเถระได้ไปถึงในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ผู้เป็นอทิฏฐสหายกับพระเจ้าอโศกมหาราช พระมนินทเถระได้มาถึงลังกาทวีปเมื่อพระชนมายุ ๓๒ พรรษา และนิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษาที่เจติบรรพตซึ่งตรงกับปีที่ ๘ แห่งรัชสมัยพระเจ้าอุตติยะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

          พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงประกาศพระองค์ เป็นพุทธศสนูปถัมภก ทรงโปรดให้อุปสมบทบุคคลสำคัญ ๆ หลายท่าน และก่อสร้างวิหาร เจดีย์มากมาย โปรดให้อริฎฐมหาอำมาตย์ไปทูลพระเจ้าอโศกมหาราชขอภิกษุณีสงฆ์ เพื่อมาอุปสมบทแก่สตรีชาวลังกา ตลอดจนทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์เพื่อสักการะบูชาด้วย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสนับสนุนพระราชธิดาคือ พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมด้วยบริวารเพื่อไปเป็นปวัตตินีบวชกุลธิดาชาวลังกา และให้อัญเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาประทาน น้องสะใภ้ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงพระนามว่า "อนุลาเทวี" ออกอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีพร้อมด้วยบริวารเป็นครั้งปฐมในลังกาทวีป ส่วนกิ่งมหาโพธิ์ทรงโปรดให้ปลูกขึ้นในมหาอุทยาน "มหาเมฆวัน" ซึ่งสืบเชื้อสายปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

          ต่อมาเมื่อการศึกษาพระธรรมวินัยแพร่หลายในหมู่สงฆ์ชาวลังกาแล้ว พระมหินทเถระก็ได้ทูลขอให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงเป็นราชูนปถัมภ์ชุมนุมสงฆ์ ในลังกาจัดทำสังคายนาขึ้น ณ ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี

          มีพระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป ทำอยู่ ๑๐ เดือนจึงสำเร็จ นับแต่นั้นมา พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท (หีนยาน) เจริญรุ่งเรื่องขึ้นโดยลำดับ มีคันถรจนาจารย์ (อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์) แต่งคัมภีร์อรรถกถาฏีกาอธิบาย

          พระไตรปิฎกเป็นภาษาลังกา เพื่อศึกษาแพร่หลาย เป็นหลักฐานยิ่งกว่าในชมพูทวีป ซึ่งนับวันนิกายเถรวาทจะหมดรัศมีลงไปเรื่อย ๆ


การสังคายนาครั้งที่ ๕
เมื่อพุทธศักราช ๔๕๐
ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ลังกาทวีป

การสังคายนาครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้า กุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถานในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อพุทธศักราช ๔๕๐ โดยพระเจ้าวัฎฎคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมภก์ ถึงแม้ว่าจะเป็นครั้งแรกที่เกิดความแตกแยกขึ้นในคณะสงฆ์ลังกาทวีปในด้านทิฏฐิ แต่ทางวินัยต่างฝ่ายต่างก็พร้อมกันรักษาดีอยู่อย่างน่าสรรเสริญ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:23:50 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


การสังคายนาครั้งที่ ๓
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔
ณ อโศการมา เมืองปาฏลีบุตร

          การสังคายนาครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลากสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูปมีพระโมทคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

          ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้มีเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนา มีลาภสักการะมากจนพระสงฆ์เกิดรังเกียจกันเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ในที่สุดไม่ทำอุโปสถสังฆกรรมร่วมกันถึง ๗ ปี ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้รังสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปอาราธนาให้พระร่วมสังฆกรรมกัน เมื่อพระเหล่านั้นไม่ยินยอม อำมาตร์ถือว่าขัดพระบรมราชโองการจึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายองค์ พระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกเห็นเช่นนั้นจึงไปนั่งขวางไว้ อำมาตย์ไม่กล้าฆ่าพระราชอนุชา จึงกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตกประทัยมากกลัวว่าบาปกรรมจะมาถึงพระองค์ด้วย แม้ว่าอำมาตย์จะทำไปโดยพลการก็ตาม จึงไปเรียนถามพระเถระทั้งหลายปรากฏว่าท่านเหล่านั้นตอบไม่ตรงกัน ในที่สุดได้รับคำแนะนำจากพระเถระให้ไปอาราธนาพระโมคคัลลี บุตรติสสเถระ ให้มาวินิจฉัยให้ และจะได้ช่วยชำระเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น

          พระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนี้ ท่านเล่าว่าเป็นผู้ที่พระอรหันต์ในคราวทุติยสังคายนา ขอให้จุติจากพรหมโลกมาชำระพระศาสนาในคราวนี้โดยตรง โดยมอบหมายให้พระเถระ ๒ รูปคือ พระสิคควเถระและพระจันทวิชชีเถระ รับหน้าที่ในการนำติสสมหาพรหม ซึ่งจะมาปฏิสนธิในครรถ์ของนางโมคคัลลีพราหมณ์ ให้ออกบวช อบรมให้การศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยโดยถือเป็นทัณฑกรรมสำหรับท่านทั้ง ๒ ฐานขาดการประชุม ในคราวที่พระสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ โดยพระสิคควะเถระนำติสสกุมารออกบวชเป็นสามเณร ให้ศึกษาข้อธรรมเบื้องต้น พระจันทวัชชีเถระให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ให้ศึกษาธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่อาจจัดการได้ด้วยลำพังอำนาจสงฆ์ ต้องอาศัยพระราชอำนาจจึงทำได้ พระเถระเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า

          "บัดนี้อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานนักอธิกรณ์นี้จักหยาบช้ากล้าแข็งขึ้น ถ้าเราอยู่ในท่ามกลางเดียรถีย์ เหล่านี้จักไม่อาจระงับอธิกรณ์ได้ " จึงมอบหมายการบริหารสงฆ์ให้พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นลัทธิวิหารริกของท่าน และเป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านเองได้หลีกไปพักอยู่ที่อโธคังบรรพต ตอนเหนือของแม่น้ำคงคา

          พระเจ้าอโศกมหาราชส่งอำมาตย์ พระธรรมกถึก ๔-๘ ท่านพร้อมด้วยบริวารไปเรียนให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาตามพระบรมราชโองการ ๒ คราว แต่พระเถระไม่ยอมรับอาราธนา เพราะท่านเหล่านั้นพูดไม่ถูกเรื่อง จึงต้องเพิ่มจำนวนพระธรรมกถึก อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวารให้ไปอาราธนาว่า

          "ข้าแต่พระคุณเจ้า ศาสนากำลังเสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าเป็นสหายของพวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาเถิด"

          เมื่อพระเถระได้สดับพระราชสาสน์นั้นคิดว่า

          "เรามาบวชด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนามาตังแต่ต้นแล้วเวลาของเรามาถึงแล้ว"

          พระเถระได้มาด้วยแพล่องมาตามลำน้ำคงคา พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จลงต้อนรับด้วยความเลื่อมใส แต่ยังข้องใจในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ จึงได้เรียนถามข้อที่ทรงข้องพระทัย เรื่องอำมาตย์ฆ่าพระเถระมรณภาพไปหลายรูป พระเถระได้ถวายวิสัชนาให้หายข้องพระทัยความว่า เมื่อพระองค์ไม่มีพระประสงค์จะให้อำมาตย์ฆ่าภิกษุ บาปจึงไม่มีแก่พระองค์ และให้พระราชามั่นพระทัยด้วยพระพุทธภาษิตว่า

          "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ "

          นอกจากนั้น พระเถระยังได้ยกภาษิตของดาบสในติตติรชาดกความว่า
          "ถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริงกรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หากถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่"

          หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสบายพระทัย เพราะได้ฟังคำวินิจฉัยพระเถระแล้ว พระเถระได้ถวายพระพรให้ทราบเรื่องสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในกรุงปาฏิลีบุตร พร้อมกับให้พระราชาเรียนสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา จนสามารถแยกได้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า
          "ก็วาที สมมาสมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร"
          ท่านรูปใดตอบว่า วิภชชวาที มีปรกติตรัสจำแนก ถือว่าเป็นพระที่แม่จริง ท่านที่ตอบเป็นอย่างอื่น ถือว่าเป็นเดียรถีย์ปลอมบวช รับสั่งให้แจกผ้าขาวแก่คนเหล่านั้น ให้สึกออกไปจำนวนมาก

          เมื่อได้มีการชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทำอุโบสถสังฆกรรมกันตามปรกต ิโดยพระองค์ทำการอารักขาพระสงฆ์ทั้งปวงก็พร้อมเพรียงกันทำอุโบสถตั้งแต่นั้นมา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ

          ๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔

          ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง

          ๓.รูปแบบการสังคายนาอย่างอื่นทำตามแบบที่พระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาท่านกระทำโดยใช้เวลานานถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จ

          ๔.พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพิจารณาเห็นว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงได้จัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารไปเผยแผ่พระศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย (มีความโดยละเอียดในหัวข้อ "กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป")


ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

"กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป"

          ในคราวสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๓ ดังได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้เป็นประธานทรงเล็งเห็นการณ์ไกลอย่างยิ่ง โดยพิจารณาว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงจัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารให้ไปเผยแฟ่พุทธศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย คือ

          ๑. พระมหินทเถระ พร้อมด้วยพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระพระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณรไปเผยแผ่พระศาสนาที่เกาะลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

          ๒.พระมัชฌันติกเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นคันธาระและกาศมีระ ทรมานพวกนาคให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

          ๓. พระมหาเทวะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสสกมณฑล ได้แก่ แถบตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโคธาวารี อันเป้นแคว้นไมซอร์ในปัจจุบัน

          ๔. พระรักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ได้แก่ แว่นแคว้นกนราเหนือ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียก่อให้เกิดวัดขึ้นถึง ๕๐๐ วัด ในดินแดนส่วนนี้

          ๕.พระโยนกธรรมรักขิต ซึ่งเป็นเถระอรหันต์ชนชาติกรีก ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปันตกชนบท เชื่อกันว่า ได้แก่ ดินแดนชายทะเลอันเป็นเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

          ๖. พระมหารักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศคือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของผรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน

          ๗. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ อีก ๔ รูปคือ พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

          ๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณถูมิ เชื่อกันว่าได้แก่ดินแดนที่เป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

          ๙. พระมหาธรรมรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แว้นมหาราษฎร์ คือดินแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

          การไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมทูตทุกสาย เป็นการไปอย่างคณะสงฆ์ ซึ่งสามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้ มีหลักฐานซึ่งค้นพบที่จังหวัดนครปฐมระบุว่า พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้

          พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขั้นสูงสุด โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่นับถือพระพุทธศาสนา และเผยแผ่พระพุทธศานาออกนอกชมพูทวีปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแต่แล้วในกาลต่อมา พระพุทธศาสนาในดินแดนอินเดียค่อย ๆ เสื่อมแล้วได้มาสูญไปเกือบสิ้นเชิง เป็นเวลานานกว่า ๗๐๐ ปีที่พระพุทธศาสนาสูญไปจากประเทศนี้ จวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ ๖๐ ปีที่ผ่านมามีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียมากขึ้น มีชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นมีการประมาณกันว่า ในปัจจุบันมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย ๓๐-๔๐ ล้านคน จากจำนวนประชากรอินเดียประมาณเกือบพันล้านคน

          ภัียอันตรายที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ในอินเดียนั้น มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. ภัยภายใน ๒. ภัยภายนอก

          ภัยภายใน เกิดจากพุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) โดยตรง พอจะจำแนกเป็น ๓ ประการคือ
          ๑. การเสื่อมทางศีลธรรมและการเสื่อมจากการบรรลุมรรคผลของชาวพุทธ
          ๒. ความแตกแยกทางนิกายและความขัดแย้งทางนิกาย
          ๓. ลัทธิมหายานและลัทธิตันตรยานเกิดขึ้น ทำให้เกิดพระสัทธรรมปฏิรูปต่าง ๆ ขึ้นในพระพุทธศาสนา

          ภัยภายนอก การที่พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากอินเดียนั้นหาได้เกิดจากภัยภายในอย่างเดัยวไม่ ภัยภายนอกก็จัดว่าเป็นอันตรายมากเช่นกันที่ทำให้พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากดินแดนพุทธภูมิภัยภายนอกนั้นพอจะจำแนกได้ ๖ ประการคือ
          ๑. การปองร้ายของพวกพราหมณ์
          ๒.การฟื้นตัวใหม่ของพวกพราหมณ์
          ๓.การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน
          ๔.การขาดราชูปถัมภ์
          ๕. การทำลายล้างของกษัตริย์ภายนอกพระพุทธศาสนา
          ๖. การทำลายล้างของพวกมุสลิม
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:24:45 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"พุทธศาสนา ๒ นิกาย ใหญ่ มหายาน กับ หีนยาน"

          หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายาน กับหีนยาน

          มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย บาทีเรียก "อุตรนิกาย" (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่" อาจพาประชาชนให้ข้ามวัฏสงสาร คือ ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมาก ๆ นิกายนี้ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

          หีนยาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดีย บางทีเรียก "ทักษิณนิกาย" (นิกายฝ่ายใต้) คือ "เถรวาท" ซี่งมุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติเพื่อดับกิเลสของตนเองก่อน และห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่ฝ่ายมหายานตั้งให้ แปลว่า "ยานเล็ก" ส่วนภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า "เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเที่ยงตรง นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

          สำหรับพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๖๐ เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป

          แต่ในการสงครามครั้งนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัย ครั้นได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิการสงครามหันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่งทรงอุปถัมภ์การสังคายนา คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวการสังคายนาครั้งที่ ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ สิ้นเวลา ๙ เดือน จึงเสร็จ นอกจากนั้นยังอุปถัมภ์การส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในนานาประเทศพระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:25:58 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

          วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้

วันวิสาขบูชา

          ๑. วันวิสาขบูชา ซึ่งถือว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำ (วันเพ็ญ) เดือน ๖ ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำพิธีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๗

วันอาสาฬหบูชา

          ๒.วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า "ปฐมเทศนา" ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘

วันเข้าพรรษา

          ๓. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้งก็เข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง

วันออกพรรษา

          ๔. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจาก ออกพรรษาแล้ว รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำมักนิยมบำเพ็ญกุศลเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" คือ ตักบาตรเนื่องในวันที่พระพุทธเจ่าเสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่งแล้ว

วันมาฆบูชา

          ๕. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำเดือน ๓ แต่ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันนี้ ถือว่าเป็นวัน "จาตุรงคสันนิบาต" คือมีเหตุการณ์ที่เกิดในวันนี้ ๔ อย่างคือ
          ก. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
          ข. เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันที่เวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ แคว้นนคธ
          ค. พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนได้รับ " เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือพระพุทธเจ้าทรงบวชให้เองทั้งสิ้น
          ง. พระอรหันต์เหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันเองโดยมิได้นัดหมาย

          พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเหตุนี้ประทาน "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเท่ากับเป็นการวาง "ธรรมนูญสวฆ์" ขึ้น
คล้าย ๆ กับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายฉะนั้น โอวาทปาติโมกข์นี้เปรียบเสมือนหัวใจพระพุทธศาสนา มี ๓ ข้อ คือ
          ๑. งดเว้นจากาการทำชั่วทั้งปวง
          ๒. สร้างสมความดีให้บริสุทธิ์
          ๓. ชำระจิตตนให้บริสุทธิ์

          นอกจากนั้น ในวันเพ็ญ เดือน ๓ นี้ ยังมีเหตุการณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ว่าจะปรินิพพานในอีก ๓ เดือนข้างหน้า

"เทศกาลวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

          เทศกาลสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยตรงคือ

          การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การทอดกฐินนี้คนไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงฆ์แรงเพราะทำในระยะเวลาจำกัด และมักทำเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางแห่งมีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวาร ซึ่งจัดทำกันอย่างประณีตบรรจงบาทีก็มีฉลององค์กฐินก่อนที่จะแห่ไปวัด การแห่แหนนั้นมีทั้งทางบกทางน้ำ สมัยนี้ยังมีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศ (เครื่องบิน) อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะนำผ้ากฐินไปทอด จะสะดวกทางใดก็ไปทางนั้น

           รายละเอียดการทอดกฐิน

          นอกจากนั้น ก็มีเทศกาลที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่พุทธศาสนิกชนก็ได้บำเพ็ญกุศลกันตามแบบพระพุทธศาสนาเทศกาลเหล่านี้ ได้แก่

          ๑.วันตรุษ ตรงกับวันสิ้นเดือน ๔ เป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่าการ "ส่งปีเก่า"

          ๒. วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน ของทุกปี วันที่ ๑๓ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่

          ๓. วันสารท ตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ นับว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่คนไทยเรานิยมทำกันมาก เพราะถือว่าเป็นสมัยที่จะได้ทำบุญในเมื่อวันเดือนได้ล่วงมาถึงรอบปี อันแสดงถึงความไม่ประมาทของชีวิตเพราะปลายปีทำพิธีตรุษ ต้นปีทำพิธีสงกรานต์ ดังนั้นกลางปีจึงทำพิธีสารท


http://www.dhammathai.org/buddha/g87.php


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2013, 03:53:34 am »




กราบ กราบ กราบ กราบ กราบค่ะ


ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2013, 08:24:01 pm »
พระพุทธเจ้า สารคดีระดับโลกจาก BBC


พระพุทธเจ้า สารคดีระดับโลกจาก BBC

พระพุทธเจ้า สารคดีระดับโลกจาก BBC
-http://www.youtube.com/watch?v=TlzMkSOlFNQ-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)