ผู้เขียน หัวข้อ: ปกติในธรรม  (อ่าน 1076 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
ปกติในธรรม
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 10:53:21 am »


ปกติ คือ เกิดแล้ว อะไรเกิด สภาพธรรมเกิดขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล เมื่อเกิดแล้ว

ชื่อว่าเป็นปกติ

ส่วนคำว่า เป็นผู้มีปกติ ก็มาจากคำเต็ม ๆว่า เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ความละเอียด

มีดังนี้

เป็นผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานคำว่าปกติ และ ผิกปกติในที่นี้ มุ่งหมายถึง ข้อปฏิบัติที่

เป็นการเจริญสติปัฏฐานสำหรับคฤหัสถ์ ก็มีชีวิตปรกติในชีวิตประจำวันที่เป็นไปตาม

เหตุปัจจัย ไม่ใช่เพศพระภิกษุ ไม่ได้หลีกเร้น หรือ กระทำตัวให้เหมือนเพศบรรพชิตที่

ออกจากเรือน สละทุกอย่างแล้ว ดังนั้น คำว่า เป็นผู้ปรกติเจริญสติปัฏฐาน ก็คือ {สติ}

และปัญญาสามารถเกิดได้แม้ขณะที่ดำเนินชีวิตประจำวันของคฤหัสถ์ในชีวิตประจำวัน

จึงเป็นผู้มีปกติ เจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวันคือ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มี

จริงในขณะนี้ ซึ่งก็มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การฏิบัติธรรม หรือ การเจริญสติปัฏ -

- ฐาน ที่เป็นปกติ ก็คือระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปกติในขณะนี้ที่มีธรรมเป็นปกติ

แต่การปฏิบัติธรรม มิใช่ว่าจะต้องทำอะไรให้ผิดไปจากปกติ คือ ไปพยายามปฏิบัติให้รู้

ธรรม ที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน คือ ทำผิดปกติ คือ ไปเข้าห้องกรรมฐาน ไปพยายาม

เดินจงกรม นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติของคฤหัสถ์ที่กระทำในชีวิตประจำวันเพราะว่า

ธรรมไม่ได้รู้และมีที่ห้องกรรมฐาน หรือจะรู้ธรรมด้วยการนั่งสมาธิ เดินจงกรมแต่ ความ

เป็นผู้มีปกติคือ รู้ธรรมที่มีปกติด้วยการศึกษาฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธรรม เมื่อเหตุ

ปัจจัยพร้อม สติปัฏฐานก็เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังมีปกติ และก็เป็น

ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานแล้วในขณะนั้นโดยไม่ต้องไปทำอะไรผิดปกติ คือ ไปปฏิบัติที่

ไม่ใช่หนทางรู้ธรรมที่มีในขณะนี้ นั่นชื่อว่าผิดปกติในขณะนั้นเพราะผิดปกติด้วยความ

เห็นผิด และด้วยข้อปฏิบัติที่ผิดแต่ถ้ามีปัญญา ย่อมเป็นปกติ เพราะเข้าใจว่าธรรมมี

ปกติในชีวิตประจำวัน และสติ ปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็สามารถเกิดเป็นปกติได้ในชีวิต

ประจำวันนั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2018, 07:58:02 pm โดย 時々कभीकभी一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน