ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธพจน์ :ว่าด้วย.. เหตุให้เกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง  (อ่าน 2905 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



                                                                                     
เหตุของความโกรธ                                                                                            
พุทธพจน์ :ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง
ก็แต่ว่า.. ความโกรธควรกล่าวก่อน
ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ

ความโกรธย่อมเกิด ด้วยอาการว่า
เขา"ได้ประพฤติ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว" ๑
เขา"กำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา" ๑
เขา"จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา" ๑

เขา"ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเราแล้ว" ๑
เขา"กำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเรา" ๑
เขา"จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจขเรา"๑

เขา"ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา"๑
เขา"กำลังประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา"๑
เขา"จักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา" ๑
"ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ" ๑.

ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง
ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ
ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ
ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ
ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง
ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท
ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย
ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า "ความโกรธ".

อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย
บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี
บางครั้งความโกรธเป็นเพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี
บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี

      บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา
แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศต่าง ๆ ก็มี
      บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่าง ๆ
แต่ยังไม่ให้จับท่อนไม้และศาสตราก็มี
       บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับท่อนไม้และศาสตรา
แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาสตราก็มี

         บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาสตรา
แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และศาสตราถูกต้องก็มี
          บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง
แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ก็มี
          บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่
แต่ยังไม่ให้กระดูกหักก็มี

          บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหัก
แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี
          บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป
แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับก็มี
          บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ
แต่ยังไม่เสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี

เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้ว จึงให้ฆ่าคน
เมื่อนั้นความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของมากอย่างยิ่ง



ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
บุคคลนั้นเรียกว่า   "ผู้ไม่โกรธ"

บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ไม่โกรธ
เพราะละ ความโกรธได้แล้ว
เพราะกำหนดรู้ วัตถุ แห่งความโกรธ
เพราะตัด เหตุ แห่งความโกรธเสีย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า   "ผู้ไม่โกรธ".



                     G+ ถวิล วาจางาม สนทนาธรรมตามกาล

พุทธศาสนสุภาษิต – ความโกรธ                                         
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท   พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
โกโธ สตฺถมลํ โลเก   ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ   ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท   พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ   ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ   ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
อนตฺถชนโน โกโธ   ความโกรธก่อความพินาศ
ทุกฺขํ สยติ โกธโน   คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช   ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ   ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2013, 11:39:48 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โกธนาสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2015, 04:30:57 pm »
โกธนาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ เป็นความมุ่งหมายของ
คนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือ
ชายผู้มีความโกรธ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้า
ศึกกันในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้มีผิว
พรรณทรามเถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดี
ให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีผิวพรรณงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็
ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการ
ของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนที่เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคน
ผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้า
ขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้า
ดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแดงทั้งสองข้างก็ตาม แต่ถูกความโกรธ
ครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นความ
มุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมา
ถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ

อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่า
เราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นความมุ่ง
หมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึง
หญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีโภคะเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็น
ข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีโภคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ
ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
สั่งสมได้ด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
พระราชาทั้งหลายย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของ
คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามียศเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึก
กันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมียศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ
โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้น
ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้อย่ามีมิตรเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึก
กันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีมิตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ
โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้เขาจะมีมิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ญาติสา-
*โลหิตเหล่านั้น ก็เว้นเขาเสียห่างไกล ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๖ เป็น
ความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันไปสุคติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริต
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๗ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึก
กัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความ
โกรธ ฯ

คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็น
ประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำ
ปาณาติบาตด้วยกายและวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้
มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร
และสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อมไม่
รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น
คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม
ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
ในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้
ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน
ถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อน เหมือน
ไฟแสดงควันก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อม
โกรธ ในกาลนั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ และไม่

มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่มีความ
สว่างแม้แต่น้อยเลย กรรมใดยังห่างไกลจากธรรม อันให้
เกิดความเดือดร้อน เราจักบอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดา
ของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูกที่
มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้นกิเลสหยาบช้า
โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริง
อยู่ สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะตนเป็น
ที่รักอย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเอง

ได้เพราะเหตุต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษ
บ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง คนเหล่านั้น
เมื่อกระทำกรรมอันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตนก็ไม่รู้สึก
ความเสื่อมเกิดแต่ความโกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของ
มัจจุราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย บุคคลผู้มักโกรธ มีการฝึกตน
คือมีปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฐิ พึงตัดความโกรธนั้น
ขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่างเสียให้ขาด พึง
ศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า
ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
เป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจาก
ความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบอัพยากตวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัพยากตสูตร ๒. ปุริสคติสูตร ๓. ติสสสูตร ๔. สีหสูตร
๕. รักขิตสูตร ๖. กิมมิลสูตร ๗. สัตตธรรมสูตร ๘. โมคคัลลาน-
*สูตร ๙. ปุญญวิปากสูตร ๑๐. ภริยาสูตร ๑๑. โกธนาสูตร
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๐๓๖ - ๒๑๓๘. หน้าที่ ๘๘ - ๙๓.
>> F/B พระพุทธเจ้า
29 มกราคม 2558
https://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841