ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนคิด - ชวนคุย Vol . 10  (อ่าน 1092 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
ชวนคิด - ชวนคุย Vol . 10
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2016, 08:19:46 pm »


https://www.img.live/images/2018/11/24/P_00000000005720181124.jpg

ข้อมูลอ้างอิงจากมูลนิธิบ้านธรรมมะ และเครือข่ายพุทธิกา


हस्ताक्षर......時々๛कभी कभी๛

คราวที่แล้วชวนคิด - ชวนคุยเรื่องความตายทีนี้เรามาทำท่าทีให้ถูกต้องเกี่ยวกับพิธีกรรมความตาย นำข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากมูลนิธิบ้านธรรมมะครับและพอดีผู้เขียนกำลังป่วยอยู่ก็เลยนึกถึงภาวะใกล้ตายยังคงบอกไม่ได้ว่าภาวะใกล้ตายเป็นอย่างไรและพอดีได้ดู Youtobe เกี่ยวกับการจัดการงานศพของ คุณ
รสวรรณ ม่วงมีสุข ซึ่งเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ(ระยะสุดท้าย)และได้ทำโครงการ-->งานศพในฝันก็เลยนำมาแบ่งปัน และเนื่องจากการจัดการงานศพ สมัยนี้ ผู้ที่ไปงานฟังอภิธรรมศพอาจไปด้วยมารยาทหรือเหตุไดก็แล้วแต่เมื่อไปถึงานแล้วก็ไม่ได้ฟังสวดแต่ประการใด ไม่ว่าจะเป็นประเพณีแบบไทยหรือประเพณีแบบจีนที่สำคัญก็คือในครั้งพุทธกาลไม่มีการสวดศพครับถ้าตั้งศพวดที่บ้าน ก็ตั้งวงกินเหล้าแม้กระทั่งงานศพปัจจุบันนี้ตามต่างจังหวัดก็นิยมกินเหล้าในวัดพระก็สวดไป - ลูกหลานก็ตั้งวงก๊งเหล้าไปซึ่งผู้เขียนไปเจอมาหลายงานละ


พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาและความเห็นถูกการกระทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วไม่รู้ ทำแล้วสงสัย ทำแล้วเป็นไปในการเพิ่มอกุศลจิต อกุศลธรรม มีความไม่รู้ความไม่สบายใจโทสะและกิเลสอื่นเพิ่มขึ้นนั่นไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นหนทางที่ผิดไม่ใช่หนทางที่ถูกและไม่ใช่ปัญญาเลยแต่การกระทำอะไรก็ตามเมื่อกระทำแล้ว กุศลเจริญขึ้นและปัญญาเจริญมากขึ้น นั่นเป็นพระพุทธศาสนาและเป็นหนทางที่ถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง


ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรมการตาย


ชีวิตของบุคคลผู้ที่มาในโลกนี้ ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เมื่อจุติจิตเกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในภพนี้ เกิดเป็นบุคคลในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป (ตราบใดที่ยังมีกิเลส) ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ผู้ที่เป็นญาติหรือบุคคลรอบข้างก็นำศพอันปราศจากจิต ไปเผา หรือทำฌาปนกิจ(ทำกิจคือการเผา) คำว่า ฌาปนกิจ นี้ มีในพระไตรปิฎก ซึ่งก็เป็นการเผาศพธรรมดา

ในสมัยพุทธกาล เวลามีผู้เสียชีวิต ก็จะทำการเผาศพ บุคคลนั้น ตามปกติ ไม่ได้มีการที่จะต้องนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม เพียงแต่ เมื่อเผาศพเสร็จแล้ว ก็จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม เพราะเห็นประโยชน์ของการเจริญอบรมปัญญา ไม่ใช่ให้มานั่งสวด และ ไม่มีการถวายของกับพระภิกษุด้วยเงินทองในสมัยปัจจุบัน

ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้ มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น

ภาคผนวก - อ้างอิง


การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

การสวดอภิธรรมหน้าศพนั้น จงเข้าใจว่ามิใช่เป็นการสวดผี - ศพ เพราะผีก็คือซากของคนตายแล้ว ถึงสวดก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ผี อันมีราคาประดุจท่อนซุง การที่นิมนต์พระไปสวดที่บ้านศพ ก็เพียงเพื่อบรรเทาความเศร้าโศกของเจ้าภาพเท่านั้น เพราะความพลัดพรากของรักของชอบใจเป็นความทุกข์ เรื่องจะดับทุกข์ได้ก็โดยการศึกษาให้รู้ความจริงของธรรมดา จะรู้ความจริงก็ต้องฟังจากเรื่องทางพระพุทธศาสนา แล้วจักดับโศกได้ นี่เป็นเหตุให้นิมนต์พระไปสวดอภิธรรมหน้าศพ แต่ผู้ฟังส่วนมาก 99.99 % ไม่เข้าใจว่าท่านสวดอะไร จึงมิได้สนใจฟังเลยกลายเป็นสวดผีตามที่พูดกันจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่า การสวดศพควรมีแต่นิดหน่อย แต่การเทศนาควรมีให้มาก เพราะได้รู้เข้าใจเหตุผล ในบางงานพระนั่งสวดอยู่สี่รูป ชาวบ้านนั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง คุยสนุกกันบ้าง ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จักสวดไปทำไมไม่มีประโยชน์ นี่เป็นเหตุผลของการสวดหน้าศพ จำไว้ว่าเพื่อประโยชน์แก่คนเป็น มิใช่คนตาย เราจึงควรกระทำให้ถูกจุดหมาย







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2018, 08:30:22 pm โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน