ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตงาม - ชีวิตที่ดีงามภาค 1  (อ่าน 2037 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
ชีวิตงาม - ชีวิตที่ดีงามภาค 1
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 07:00:45 pm »



http://youtu.be/yhs-7BKvdOw


ขณะนี้ที่อิสาน 43 องศา


วีดีโอที่เห็น คือ วัดคณิกาผล


ถ่ายภาพโดย...時々๛༢༠༡༦ कभी कभी 一 (วัดคณิกาผล) อยู่ที่ถนน พลับพลาไชย กรุงเทพ ฯ ภาพเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีตกาล

ข้อคิด...แม้จะชี้ที่พื้นดินแล้วพลาดไปก็ตาม แม้จะผูกท้องฟ้าเข้าด้วยกันได้ก็ตาม แม้สายน้ำจะไม่ขึ้นไม่ลงก็ตาม และแม้พระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตกก็ตาม แต่เป็นไปไม่ได้ที่คำอธิษฐานของผู้ปฏิบัติ ธรรม จะไม่ได้รับคำตอบ

ประวัติศาสตร์ของ วัดคณิกาผล บางตอน->[หยิบยก]มาเป็นบางครั้ง

ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ยายคุณท้าวแฟง หรือบางครั้งก็เรียกว่า ยายแฟง เฉย ๆ ยายคุณท้าวแฟงนี้มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็นแม่เล้าเจ้าของซ่องนางโลมด้วย

ยายแฟงนั้นแกรู้ว่า ในหลวงทรงโปรดการทำบุญสร้างวัดแกจึงได้ทำการสร้างวัดด้วยเงินรายได้ของแกขึ้นมา เพื่อต้องการให้สดุดสายพระเนตรของพระเจ้าแผ่นดินกับเขาด้วยเหมือนกัน ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนครสมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดใหม่ยายแฟง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แกก็ได้ทูลขอพระราชทานนามของวัดนั้น ทรงโปรดพระราชทานนามของวัดนั้นว่า วัดคณิกาผล อันแปลตรงตัวได้ว่า วัดที่เป็นผลได้มาจากหญิงโลมเมือง เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เล้า เจ้าโสเภณี

ในการสมโภชน์วัด ยายแฟงได้ไปนิมนต์สมเด็จพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรังสี ซึ่งสมัยนั้นสมเด็จฯ ท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ คงเป็นเพียงแค่มหาโต พระมหาบาเรียนธรรมดาเท่านั้นให้มาเทศน์ฉลอง โดยมีความปรารถนาจะให้ท่านได้สรรเสริญผลบุญของตนต่อหน้าชุมชน แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังใจของยายแฟง เพราะพระมหาโต ท่านกลับเทศน์บอกแก่เจ้าภาพว่า ในการที่เจ้าภาพได้จัดการทำบุญเช่นนี้นั้น เป็นการทำบุญที่มีเบื้องหลังอยู่หลายประการ เป็นเหตุให้เหมือนกับว่า ในเงินทำบุญ ๑ บาทนั้น ยายแฟงจะได้อานิสงส์เพียงแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น โดยพระมหาโตท่านได้ยกนิทาน เรื่องตากะยายฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลาหน้าบันไดขึ้นมาประกอบคำเทศน์ของท่านด้วย ท่านได้เทศน์ว่า เพราะด้วยผลบุญที่ทำนั้นมีสาเหตุมูลฐานในการประกอบการบุญนั้นไว้ผิด แม้ว่าเรื่องที่เจ้าภาพได้สร้างวัดนี้ไว้นั้นจะเป็นการดี แต่ก็เพราะการตั้งฐานในการทำบุญครั้งนี้ไม่ถูกบุญใหญ่ จึงทำให้ผลแห่งการทำบุญนั้นใหญ่โตเหมือนดังที่หวังไว้ไปไม่ได้ คงจะได้บ้างก็แค่เพียงของเศษบุญ หรือจาก ๑ บาทก็ได้เพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น

เมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง มีอาการโกรธหน้าแดง จนแทบจะระเบิดวาจาออกมาต่อว่า บริภาษมหาโตอย่างรุนแรง แต่ก็ยังเกรงเป็นการหมิ่นประมาท แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ กระแทก ๆ ดังปึงปังใหญ่ แล้วหลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในสมัยเมื่อครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรมต่อให้อีกสักกกัณฑ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโตไปในคราวเดียวกัน


ทูลกระหม่อมฯ ทรงรับนิมนต์ของยายแฟงแล้ว ได้ทรงประทานธรรม ในเรื่องจิตของบุคคลที่ประกอบการกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวก็จะได้อานิสงส์มาก แต่ถ้าบุคคลใดทำงานการบุญด้วยจิตที่ขุ่นมัว ก็ย่อมจะทำให้เกิดได้ผลน้อย และสำหรับในเรื่องของการสร้างวัดนี้ ก็ดูเหมือนจะเนื่องด้วยเรื่องของจิตที่ขุ่นมัวทั้งนั้น ดังนั้นอานิสงส์ผลบุญจึงมีเพียงเท่านั้น ตามที่ท่านมหาโต ท่านยกเรื่องตากะยาย ไปอ้อนวอนเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่มาประกอบนั้น เป็นเรื่องที่มีปรากฏในฎีกาพระอภิธรรมอยู่ เป็นฉากตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านทำการตัดสินบุญของผู้สร้างวัดนี้ว่า ผลแห่งบุญนั้นจะอำนวยให้เกิดได้ไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย คงได้แค่เพียง ๓ ใน ๘ ส่วน เหมือนกับเงิน ๑ บาท โค้งเว้าหายไปเสีย ๕ เฟื้อง คงได้เพียง ๓ เฟื้อง คือ เหลือเพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น การที่ท่านตัดสินอย่างนี้ก็นับว่ายังดีนักเทียว ถ้าเป็นความเห็นของเรา (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) คงจะตัดสินให้ได้บุญเพียง ๒ ไพเท่านั้น คือตัดสินตามเหตุที่ได้เห็น เพราะในการสร้างบุญนั้น วัดกันด้วยระดับของจิตใจ ผลที่เธอควรได้รับจึงควรมีเพียงเท่านี้ แล้วทูลกระหม่อมฯ ก็ลง เอวัง ไว้เท่านั้น

เทศน์ ๒ กัณฑ์ของ ๒ ท่านนี้ นับเป็นเรื่องน่าคิด และในเรื่องนี้ผู้อ่านก็ควรจะคิดวินิจฉัยเองด้วยเหมือนกัน ผู้เรียบเรียงคิดว่า ท่านทั้งสองต้องการให้ยายแฟงรู้จักการทำบุญด้วยการพิจารณาลงไปถึงมูลเหตุต่างๆ ที่มีอยู่ในใจ และให้รู้จักคำนึงถึงที่มาของสิ่งที่ได้มาใช้ในการทำบุญด้วยว่า เป็นมูลฐานสำคัญของบุญ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านคงทรงพระประสงค์ที่จะตอกย้ำความรู้สึกของยายคุณท้าวแฟง ให้รู้ตระหนักลงไปถึงในเรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต มีอำนาจความสำคัญแตกต่างกันอย่างไร ผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องการสร้างวัดของยายแฟงนี้คงจะแสดงให้พวกเราได้เห็นอะไร ๆ เกี่ยวกับการทำบุญกุศลได้ชัดขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อย


อนึ่ง ในเรื่องนี้มีอยู่ตอนหนึ่งที่ทูลกระหม่อมพระ ท่านได้ตรัสว่า คุณท้าวแฟงควรจะได้บุญเพียง ๒ ไพเท่านั้น ท่านผู้อ่านที่มีอายุน้อยนั้นอาจจะไม่ทราบมาตราเงินไทยในสมัยเก่า ดังนั้นจึงจะขอเรียนให้ทราบว่า ๔ ไพนั้นมีค่าเท่ากับ ๑ เฟื้อง และ ๒ เฟื้องเป็น ๑ สลึง ดังนั้น หนึ่งไพจึงมีค่าเพียงราว ๑ สตางค์เท่านั้น พระองค์ทรงบอกว่าที่ทำบุญบาทหนึ่งนั้นได้ผลบุญจริงๆ เพียงแค่ ๖ สตางค์ น้อยกว่าที่มหาโตท่านได้ตัดสินไว้เสียอีก คือ ใน ๑๐๐ ส่วน เหลืออยู่เพียง ๖ ส่วน เท่านั้นนั่นเอง

และอีกประการหนึ่ง ควรทำความเข้าใจไว้ให้ชัดว่า คำว่า จิดขุ่นมัว ที่มีใช้อยู่ในเรื่องนี้นั้น ไม่ได้หมายถึงการขุ่นมัวด้วยความโกรธหรือการลุแก่โทสะเพียงอย่างเดียว ถ้าพิจารณากันให้ดีแล้วจะเห็นว่า ท่านหมายถึงความขุ่นมัวด้วยความโลภและความหลงด้วย คือ พร้อมกันทั้ง ๓ ประการ ยายแฟงโลภอยากได้หน้า และหลงไปว่า ในหลวงท่านจะโปรดปราน จึงได้สร้างวัดขึ้นมา ส่วนจิตใจของยายแฟงนั้น ไม่มีใครรู้ได้ แต่เท่าที่ประมาณพอได้ก็คือ แกเป็นแม่เล้าคุมซ่องนางโลม ดังนั้นจิตใจแกจึงน่าจะมีส่วนที่ผ่องใสในการกุศลอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วนที่เป็นอกุศลอันขุ่นมัว ซึ่งซ่อนลึกหลบอยู่ภายในใจของแก

คนที่ทำบุญเอาหน้า ได้เงินทองมาโดยไม่บริสุทธิ์นั้น จึงอยู่ห่างไกลบุญมาก ทำให้ไม่สามารถไปสู้คนที่ทำบุญด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และด้วยสิ่งของที่บริสุทธิ์สะอาดไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามผู้เรียบเรียงคิดว่า แม้ได้น้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย บุญนั้นไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด ย่อมมีผลให้อุบัติเกิดเป็นความดีมาค้ำจุนผู้กระทำบุญนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว จะมากหรือน้อยก็มีแต่ดี เรื่องของยายแฟงนี้ได้เขียนเล่าเก็บเอาไว้เพื่อเตือนใจผู้ที่อาจจะตีความคิดเอาเองว่า จะหากำไรด้วยการทำชั่วทำบาปให้มาก แล้วก็จะเอาสิ่งของจำนวนมากที่ได้จากบาปกรรมของตัวนั้นมาสร้างความดี จะได้มีความดีมากๆ ความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะความดีที่เกิดนั้นย่อมมีผลน้อย อย่าคิดว่าทำชั่วไว้มาก ๆ แล้ว ก็จึงค่อยหันกลับมาทำความดี แล้วก็จะทำให้ได้กำไร เกิดเป็นผลบุญขึ้นอีกมากมายได้ตามที่ใจตนเองคาดเดาเอาไว้เลยเป็นอันขาด เรื่องของคุณท้าวแฟง ที่สร้างวัดคณิกาผลนี่นั้นนับว่าเป็นอุทาหรณ์ ที่น่าสังวรอยู่ไม่น้อยเลย จริง ๆ ทีเดียว


ฟ้าดินเกรงว่าท่านจะกระหาย
จึงให้น้ำแก่ท่านดื่ม
เกรงท่านจะหิวโหย
จึงให้พืชพันธุ์ธัญญาหารแก่ท่านเพื่ออิ่มหนำ
เกรงท่านจะหนาวสะท้าน
จึงให้ฝ้ายให้ - แพรพรรณแก่ท่านเพื่อความอบอุ่น
ฟ้า - ดินมอบประทานแก่ท่านมากมายถึงปานนี้
ตัวท่านได้กระทำอันใดให้ฟ้า - ดิน บ้าง


โกวเล้ง.....น.นพรัตน์ เรียบเรียง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2023, 07:30:55 pm โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน