ผู้เขียน หัวข้อ: “ตงเล็น” (tong len) แลกเปลี่ยนตนเอง กับ สัตว์โลกอื่น ๆ  (อ่าน 1073 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


<a href="https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ</a>

การปฏิบัติสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน ได้แก่การปฏิบัติ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่น” หรือกับสัตว์โลกอื่นๆ ซึ่งเรียกในภาษาทิเบตว่า “ตงเล็น” (tong len) เราได้เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปบ้างแล้วในโพสก่อนหน้า หลักการก็คือว่า เรารับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกมาไว้ที่ตัวเรา แล้วแผ่ความสุขกับบุญกุศลของราทั้งหมดไปให้แก่สัตว์โลก

ในการสนทนาธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 30 ที่ผ่านมา มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า “ถ้าเราจะเอาความสุขของเราไปให้สัตว์อื่น แล้วเรามีความสุขนั้นจริงๆหรือเปล่า?” คำถามนี้เป็นคำถามดีมากๆ และช่วยให้เรากระจ่างแจ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมอันสำคัญยิ่งนี้

หัวใจของการปฏิบัติ “ความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่น” กับ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็คือว่า เรามุ่งภาวนาให้เกิดโพธิจิตขึ้นในจิตใจ โพธิจิตได้แก่จิตที่มุ่งมั่นปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งปวง เหตุที่เราตั้งจิตเช่นนี้ก็เพราะว่า มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์จากสังสารวัฏได้ ด้วยการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามแต่จริตของสัตว์นั้นๆ และการทอดทิ้งสรรพสัตว์เอาตัวรอดแต่ผู้เดียวไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมที่สูงสุด แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดโพธิจิตขึ้นมาในจิตใจอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้ง ก็คือการปฏิบัติเกี่ยวกับความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ และการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆนี้เอง

ในที่นี้ผมจะพูดเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ หัวใจของการปฏิบัตินี้อยู่ที่ว่า ในระหว่างที่เราทำสมาธิ เราตั้งจิตมั่นว่าจะรับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเรา และแผ่ความสุข แผ่บุญบารมี บุญกุศลของเราทั้งหมดให้แก่สัตว์โลก เราทำเช่นนี้ก็เพราะเราปรารถนาที่จะให้สัตว์โลกทั้งหลายมีความสุขและพ้นจากทุกข์ และที่สำคัญก็คือเป็นการชำระล้างกำจัดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรืออัตตาของเราเองด้วย

ทีนี้กลับมาที่คำถาม เราตั้งใจจะให้สัตว์โลกประสบกับความสุขสูงสุดเช่นเดียวกับเรา คือเราแผ่กระจายความสุขออกไปจากตัวเรา เหมือนกับเราเปล่งแสงแห่งความสุขแผ่ซ่านไปยังสรรพสัตว์ ที่เมื่อสัตว์ใดได้รับแสงนี้แล้ว ก็จะมีความสุขอย่างสูงสุด แต่คำถามก็คือว่า เรามีความสุขนั้นหรือเปล่า?

คำตอบก็คือว่า มีแน่นอน เพราะในประการแรกจิตใจของเราเป็นสิ่งแปลกประหลาดยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับจิตใจ “ใจเป็นหัวหน้า ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ” ดังที่กล่าวไว้ในพระธรรมบท ดังนั้นเมื่อเราตั้งจิตอย่างจริงใจให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข สรรพสัตว์ก็จะมีความสุขจริงๆ



ประการที่สอง ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้น เราไม่ได้มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเราเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญมากของการปฏิบัติแบบนี้ คือว่าเราไม่ได้มองออกไปจากมุมมองอันได้แก่ตัวตนของเรา ที่เราเคยมองแบบนี้มาตลอด ซึ่งก็เป็นเหตุให้เรายังมัวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเช่นนี้ เราไม่ได้มองออกจากตัวตนของเรา แต่เรามองออกจากมุมมองของสรรพสัตว์อื่นๆทั้งหมด นี่เป็นเคล็ดลับสำคัญของการปฏิบัติแบบนี้ เหตุที่การปฏิบัตินี้ได้ชื่อว่า “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เราไม่มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเรา แต่เรามองจากมุมมองของผู้อื่น

การทำเช่นนี้ฟังดูเหมือนง่ายๆ แต่ของง่ายๆนี้แหละที่เราไม่ยอมทำกัน จนทำให้เราต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏ รวมทั้งสัตว์โลกอื่นๆด้วย การมองออกจากมุมมองของผู้อื่นก็คือการมองว่า ตัวเรานั้นเองก็คือผู้อื่น เราจะเกิดความรู้สึกนี้ได้ง่ายกับคนที่เรารักมากๆเช่นลูก พ่อแม่จะมีความสุขเมื่อเห็นลูกมีความสุข เมื่อได้ให้อะไรแก่ลูกและลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว เราก็ขยายความรู้สึกนี้ออกไปให้แก่สัตว์โลกทั้งหมด เหมือนกับว่าสัตว์โลกทั้งหมดเป็นลูกของเราเอง

การที่เราพ่อแม่มีความสุขได้เมื่อเห็นลูกมีความสุขก็เพราะว่า พ่อแม่ไม่แยกตัวเองออกจากลูก คงไม่มีพ่อแม่คนไหนทำเช่นนี้เพราะนั่นแปลว่าไม่รักลูกเท่าใด รักตัวเองมากกว่า เป้าหมายของการปฏิบัติได้แก่การทำให้ความรู้สึกรักตัวเอง เห็นแก่ตัวเองนี้เบาบางลง จนหมดไปในที่สุด

และนี่ก็คือคำตอบว่า ทำไมเราจึงมีความสุขมากมายไม่จบสิ้นให้แก่สัตว์โลก ก็เพราะว่าสัตว์โลกมีมากมายไม่จบสิ้น และแต่ละคนก็มีความสุขสูงสุดทั้งนั้นด้วยความตั้งใจจริงของเรา ไม่ใช่ว่าเรามีความสุขอยู่แล้วปริมาณหนึ่ง แล้วไปแจกให้แก่สัตว์โลก คนทั่วไปที่ยังไม่ปฏิบัติหรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติอาจคิดเช่นนี้ แต่ความจริงก็คือว่า เรามองออกมาจากมุมมองภายในของสัตว์โลกแต่ละคน แต่ละคน ซึงเมื่อแต่ละคนมีความสุขสูงสุด เราก็ย่อมมีความสุขสูงสุดไปด้วย เพราะเรานั้นแหละคือสัตว์โลกนั่นเอง

จาก https://soraj.wordpress.com/t
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...