ผู้เขียน หัวข้อ: พระภิกษุคุณานันทะ วีรบุรุษกู้ชาติ และ พระพุทธศาสนา ใน ศรีลังกา  (อ่าน 1487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สถานการณ์ความตกต่ำของพระพุทธศาสนาในศรีลังกา

ในยุคอาณานิคมและการฟื้นฟูครั้งสำคัญ


แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นศาสนาที่ชาวศรีลังกานับถือมากที่สุดและเป็นศาสนาที่สอดประสานอยู่ในวิถีชีวิตของชาวศรีลังกามามากที่สุดก็ตาม หากแต่พระพุทธศาสนาก็ย่อมต้องตกอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์ด้วยเช่นกัน ดังได้พบว่าพระพุทธศาสนานั้นได้ตกอยู่ช่วงเวลาที่เสื่อมถอยลงเพราะปัจจัยหลายประการ  อาทิการถูกรุกรานจากพวกทมิฬ หรือ การที่ชาติตะวันตกได้เข้ามายึดครองศรีลังกาในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งการเข้ามายึดครองของตะวันตกนั้นไม่เพียงหมายถึงการเข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนของศรีลังกาเท่านั้นหากแต่ยังหมายถึงการเข้ามาเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือเผยแผ่ศาสนาด้วย (และเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่าการเผยแผ่ศาสนานั้นไม่ได้หมายถึงการเพิ่มทางเลือกด้านความเชื่อให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายแต่เป็นการจำกัดการเลือกหรือบังคับให้ประชาชนเลือกศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่เพียงอย่างเดียวเป็นด้านหลัก)

ก่อนที่ชาวโปรตุเกสจะเข้ามาในดินแดนประเทศศรีลังกาเพียง ๓๐ ปีพระเจ้าปรกรมพาหุที่ ๖ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของศรีลังกา พระองค์ครองราชย์ในระหว่างปีพ.ศ. ๑๙๕๓-๒๐๑๑ โดยในระยะแรกทรงตั้งราชธานีอยู่ที่รยิคาม (Rayigama) และภายหลังทรงย้ายไปตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองโกตเต (Kotte) ด้วยประสบการณ์ในอดีตทำให้พระเจ้าปรกรมพาหุทรงพยายามจะปราบปรามพวกทมิฬให้สำเร็จ (ทั้งนี้เพราะพวกทมิฬไม่เคยตกอยู่ใต้อำนาจของศรีลังกามาก่อนเป็นเวลายาวนานถึง ๒๐๐ ปีเศษและเพราะที่ผ่านมาศรีลังกาก็ล้วนต้องป้องกันการรุกรานของพวกทมิฬอยู่เสมอ) และในท้ายที่สุดแล้วพระองค์ก็สามารถผนวกพวกทมิฬไว้ในอำนาจของอาณาจักรสิงหลได้ ในส่วนของงงานด้านของพระพุทธศาสนานั้นพระเจ้าปรากรมพาหุทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการสร้างศาสนสถานไว้หลายแห่ง เช่น วิหารบรรจุพระทันตธาตุที่เมืองโกตเต วิหารเปปิลิยานะซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองโคลัมโบ ทรงส่งเสริมการแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา จึงเท่ากับว่าประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในศรีลังกานั้นได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงวาระที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา

พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็เกิดความวุ่นวายและตกต่ำลงเนื่องจากปัญหาหลักๆอย่างน้อยสองประการก่อนที่ชาวตะวันตกจะเข้ามารุกรานกล่าวคือ ๑) ปัญหาการเมืองภายในและการก่อความไม่สงบในระหว่างสมาชิกในราชวงศ์กันเอง  ๒) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนิกายมหาวิหารและอภัยคีรีวิหาร ทั้งนี้ปัญหาการการเมืองภายในและการก่อความไม่สงบได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายต่อหลายครั้ง (อาทิการก่อความไม่สงบของเจ้าโจรนาคะกุมาร ( Prince Coranaga) พระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าวัฏฏคามินี   เจ้าโจรนาคะกุมารทรงประพฤติตนเป็นโจรปล้นสะดมพระนครอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน จนครั้งหนึ่งได้พยายามขอลี้ภัยในอัษฎารัศม์มหาวิหารแต่คณะสงฆ์ไม่อนุญาต หลังจากนั้นจึงทรงผูกใจเจ็บและยิ่งก่อความวุ่นวายมากขึ้นจนถึงกับยกพลเข้ายึดครองกรุงอนุราธปุระและตั้งตนเป็นเจ้าปกครองกรุงนั้นอยู่ถึง ๑๒ ปี ในระหว่างนั้นเจ้าโจรนาคะทรงทำลายวิหารของสงฆ์ ๑๘ แห่งและทำให้กิจการของคณะสงฆ์ต้องหยุดชะงักเป็นเวลานานเพราะทรงขัดขวางกิจการของสงฆ์ด้วย) 

หรือในกรณีของพระเจ้ามหาเสนะซึ่งร่วมกับราชครูสังฆมิตตะ(พระสงฆ์ของนิกายมหายาน) และโสณะมหาอำมาตย์ที่ขัดแย้งกับพระสงฆ์ฝ่ายมหาวิหาร พระองค์ทรงสั่งให้ทำลายอาคารต่างๆรวมทั้งวิหารของฝ่ายมหาวิหารทั้งหมด และให้เอาวัสดุที่ได้จากการทำลายนั้นไปสร้างอาคารให้กับคณะสงฆ์ฝ่ายอภัยคีรีใหม่โดยที่บริเวณวิหารเดิมของฝ่ายมหาวิหารนั้นถูกใช้ไปในการทำนาจนหมดสิ้น ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์การก่อความไม่สงบเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นต่อมาอีกเป็นระยะไม่ว่าจะในยุคที่อนุราธปุระเป็นราชธานีหรือในยุคที่โปโลนนรุวะเป็นราชธานีก็ตาม

                แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองและการปกครองของศรีลังกาจะไม่มีความสงบสุข ดังปรากฏว่าในหลายๆรัชสมัยจะมีการแก่งแย่งแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกชนพื้นเมืองก็ตามแต่แม้กระนั้นก็ยังพบว่าพุทธศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่ได้เสมอเพราะการแย่งชิงเหล่านั้นไม่ได้มุ่งหมายเพื่อทำอันตรายแก่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง หากจะมีก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งและเมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีผู้ปกครองที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาช่วยฟื้นฟูกลับคืนมาอยู่เสมอ ซึ่งต่างจากในช่วงระยะที่ชาวตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในศรีลังกาที่ถือว่าเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาอับแสงลงอย่างมากที่สุดยิ่งกว่าในช่วงใดๆ

                ปีพ.ศ.๒๐๔๘ เป็นปีที่ชาวโปรตุเกสได้เข้ามายังผืนแผ่นดินศรีลังกาเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา และด้วยการที่สภาพการณ์ทางการเมืองของศรีลังกาเต็มไปด้วยความขัดแย้งและอ่อนแอจึงทำให้ชาวโปรตุเกสนั้นกลับได้ประโยชน์ในการขยายอำนาจของตนเหนือดินแดนแห่งนี้ไปด้วยอีกประการหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วโปรตุเกสจึงมีโอกาสในการยึดครองมณฑลชายฝั่งทะเลของศรีลังกาไว้ได้ทั้งหมดในราวค.ศ.ที่ ๑๖ ซึ่งแม้ว่าโปรตุเกสจะไม่สามารถยึดครองดินแดนตอนในของประเทศได้ในช่วงแรกๆแต่ต่อมาก็สามารถยึดครองดินแดนทั้งหมดได้โดยครองอำนาจเหนือประเทศศรีลังกาอยู่ทั้งสิ้น ๑๕๒ ปี(พ.ศ.๒๐๔๘-๒๒๐๐) ก่อนที่เปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของฮอลันดาและอังกฤษในที่สุดซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวก็ควรกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสูญสิ้นของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาไปด้วย[1]

                ในช่วงเวลารวม ๑๕๒ ปีที่ศรีลังกาตกอยู่ในการครอบครองของโปรตุเกสนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามาสอดแทรกและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองของศรีลังกาไปพอสมควรแล้ว แต่แม้กระนั้นก็ตามพุทธศาสนาก็ยังคงได้รับผลกระทบไม่มากเท่าๆกับที่ได้รับเมื่อตกอยู่ใต้การปกครองของฮอลันดาและอังกฤษ โดยเฉพาะจากการที่อังกฤษได้ปกครองศรีลังกาอยู่เป็นเวลานานนั้นได้ปรากฏว่าชาวศรีลังกาที่นับถือพระพุทธศาสนานั้นล้วนมีความระส่ำระสายและถูกกดดันจากกลุ่มชาวคริสเตียนและผู้เผยแผ่ศาสนามากมาย สภาพการณ์ดังที่กล่าวมานี้ได้เกิดขึ้นแก่ชาวศรีลังการวมระยะเวลายาวนานถึงกว่า ๔๐๐ ปี



                ตัวอย่างของสภาพการณ์การถูกกดขี่ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันยาวนานนั้นได้แก่ การห้ามมิให้ชาวพุทธประชุมกันเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยเด็ดขาดไม่ว่าในกรณีใดๆ การยกเลิกวันวิสาขบูชา และการยกเลิกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ การพยายามแทนที่ด้วยการประกาศให้วันสำคัญทางศาสนาคริสต์เป็นวันหยุดพร้อมกับส่งเสริมให้มีงานรื่นเริงอย่างเต็มที่ การสนับสนุนให้นักเขียนหรือนักหนังสือพิมพ์เขียนโจมตีพุทธศาสนาอย่างออกหน้าออกตา การกีดกันตำแหน่งทางราชการชั้นสูงไว้ไม่ให้ชาวพุทธได้มีโอกาสได้ทำหน้าที่ ฯลฯ การพยายามให้วัดทางพระพุทธศาสนาหมดบทบาทลงจนกลายเป็นวัดร้างและยึดทรัพย์สินหรือที่ดินเหล่านั้นให้เป็นของทางราชการหรือของศาสนาอื่น[2] ในขณะที่พระสงฆ์เองก็ถูกศาสนิกอื่นเยาะเย้ยถากถางดูถูกและกระทำการเหยียบย่ำโดยทั่วไปเป็นที่น่าเศร้าแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนที่พบเห็นยิ่งนัก ซึ่งในภาวการณ์ดังที่กล่าวมานี้ใช่ว่าพุทธศาสนิกชนชาวศรีลังกาจะปล่อยปละละเลยหรือนิ่งเฉยต่อการที่พระพุทธศาสนาถูกกดขี่แต่อย่างใดเพียงแต่การดำเนินการต่างๆนั้นเป็นไปได้โดยยากกว่าเดิมและจำต้องอาศัยผู้นำที่กล้าแข็งเป็นสำคัญ ทั้งนี้แม้ว่าขณะนั้นศรีลังกาจะยังคงมีพระภิกษุสามเณรที่สามารถแต่อาจเป็นเพราะต้องรอคอยเวลาที่เหมาะสมก่อนเท่านั้น[3]

                ในช่วงเวลาที่ศรีลังกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอยู่นั้น พระมหากษัตริย์ของศรีลังกาได้ทรงพยายามขอความช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยาในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอยู่เสมอ แต่ในระหว่างนั้นอังกฤษเองก็ยังแสดงการย่ำยีพุทธศาสนาอยู่เนืองๆ ครั้งหนึ่งอังกฤษเคยมีประกาศสนธิสัญญาขึ้นฉบับหนึ่งมีใจความสำคัญว่าอังกฤษจะไม่กดขี่การนับถือพระพุทธศาสนา (และศาสนาอื่น)แต่จะให้การคุ้มครองศาสนิกอื่นและจะไม่ทำลายวัดวาอาราม[4] แต่แล้วสนธิสัญญาดังกล่าวก็กลับไม่ได้รับการปฏิบัติแต่อย่างใด

                อย่างไรก็ตามศรีลังกาก็ยังไม่ถึงกับไร้แสงสว่างเสียทีเดียว เพราะในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนั้นก็ปรากฏว่าได้มีพระเถระรูปสำคัญบังเกิดขึ้นได้แก่พระมิเคตตุวัตเต ศรี คุณานันทะเถระซึ่งในเวลาต่อมาท่านจะเป็นบุคคลสำคัญของศรีลังกาที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มั่นคงขึ้นอีกครั้ง ท่านคุณานันทะเถระเกิดเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๖ โดยถือกำเนิดในครอบครัวชาวสิงหล ท่านได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๒ ปีและอุปสมบทที่วัดทีปทุตตารามเมืองโคลัมโบเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ในฐานะพระภิกษุในพระพุทธศาสนาท่านคุณานันทะได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่าจะเป็นผู้กอบกู้ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาให้กลับคืนมาให้จงได้ ซึ่งในที่สุดท่านก็สามารถกระทำการได้สำเร็จแม้ว่าจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย  ทั้งนี้บันทึกเกี่ยวกับกรณียกิจของท่านในเรื่องนี้เป็นที่รับรู้และยกย่องกันโดยทั่วไปในประเทศศรีลังกาแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานนับร้อยปีแล้วก็ตาม

                กรณียกิจของท่านคุณานันทะเถระนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะนับเป็นการช่วยกอบกู้พระพุทธศาสนาของประเทศศรีลังกากลับคืนมาได้ทั้งที่บุคคลสำคัญในยุคนั้นต่างมีความเชื่อไปจนหมดสิ้นแล้วว่าไม่เกินศตวรรษที่ ๑๙ เท่านั้นพระพุทธศาสนาก็จะสูญสิ้นไปจากศรีลังกาแน่นอน[5]

                ท่านคุณานันทะเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวพุทธทั่วไปนับตั้งแต่ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสที่ท่านบรรพชานั้นท่านคุณานันทะได้เทศน์สอนประชาชนที่มาร่วมงานอย่างจับใจและลึกซึ้งเป็นที่ประทับใจของพุทธศาสนิกชน (กล่าวกันว่าประชาชนเหล่านั้นต่างฟังเทศน์ของสามเณรอย่างไม่รู้อิ่มเป็นเวลานานถึง ๑๒ชั่วโมง) และด้วยเหตุนี้กิตติศัพท์ของท่านจึงได้ขจรขจายไปและเป็นที่หวังของพุทธศาสนิกชนในเวลานั้นอย่างสำคัญ

                สิ่งที่ท่านคุณานันทะได้กระทำซึ่งเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกานั้นได้แก่การโต้วาทธรรมกับคณะนักบวชของศาสนาคริสต์ถึง ๔ ครั้ง[6] ซึ่งประเด็นที่นำมาโต้วาทธรรมนั้นได้แก่ ๑) เรื่องขันธ์ห้า  ๒) เรื่องการบริจาคบุตรธิดาและภรรยาของพระเวสสันดร ๓) เรื่องความมี (หรือ)ไม่มีอยู่ของพระสัพพัญญุตญาณ ๔) เรื่องการถือพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งเป็นสิ่งโง่เขลา? และ ๕) เรื่องการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้ในที่สุดแล้วท่านคุณานันทะเถระก็สามารถเอาชนะการอภิปรายของฝ่ายตรงข้ามได้ และมีผลทำให้พุทธศาสนิกชนชาวศรีลังกากลับมีความรู้สึกที่เชื่อมั่นและรักในพระพุทธศาสนาดีดังเดิม ที่เคยแปรเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นในช่วงก่อนหน้าก็กลับมาถือเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอีกเช่นเดิม และมีอยู่อีกเป็นจำนวนมากที่แม้ไม่เคยนับถือศาสนาใดหรือเคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อนก็หันมาถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในที่สุด


จาก ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในศรีลังกา คัดมา บางส่วน http://www.vcharkarn.com/blog/87741/84564



ท่าน คุณานันทะ , อนาคาริกธรรมปาละ , ท่านเอมเบ็ดก้า , มหาตมะคานธี  เกิดในยุคเดียวกัน และเชื่อมโยงกัน เกิดการจุดประกาย ศาสนาพุทธ ใน ต่างแดน โดย เฉพาะ ของท่าน คุณานันทะ ใช้ ธรรมยุทธ โต้วาที อาจ ฮาร์คอ ในแง่ วาทะ แต่ ต้องเข้าใจ บริบท สิ่งแวดล้อม ของยุคนั้น ใน ศรีลังกา พุทธ ถึง จุดต่ำสุด แล้ว เป็นความจริง ใน แง่ประวัติศาสตร์ ฝรั่งบันทึกไว้ จน ให้ การยอมรับ ศาสนาพุทธ ว่า ปัญญา ไม่ได้ ยิ่งหย่อนไปกว่่า ศาสนาใด อ่านไป ด้วยใจแห่งการให้อภัย เป็นข้อธรรม ผ่านยุคสมัย ไม่ได้ก่อให้เกิด การโกรธ เกลียด ศาสนาใด ศาสนาไม่ได้ผิด แต่ มนุษย์และผิด ใช้ศาสนารับใช้ อำนาจ กุศโลบายทางการเมือง อาณานิคม กลืนกิน อาณาจักร คนอื่น ผ่านศาสนา เอาศาสนารับใช้ หัวใจแห่งซาตาน ......อ่านด้วย อภัยเต็มหัวใจ และ สติรู้เท่าทัน กลเกมส์ต่าง ๆ อหิงสา อุเบกขา มิได้หมายความว่า อยู่เฉย ๆ แบบ อิฐ หิน ปูน ทราย โลก สังคม ศาสนา ผู้คน จะเป็น อย่างไรก็ช่าง เป็น การตีความ คำว่า อภัย อหิงสา อุเบกขา ในทางที่ผิด ไม่ถูกยุคสมัย และ เวลา สถานการณ์ ศรีลังกา เขาเจอแบบนั้น สิ่งที่สะท้อน ออกมา ผ่านยุคสมัย การเคลื่อนไหว ก็ ต้องแบบนั้น ครับ

เข้าไปอ่านได้ในนี้ ลงไว้เพียบเลย เรายังไม่ลง มันยาวมาก ครับ ขอเรียบเรียงก่อน https://sites.google.com/site/rankwangxaharce/ptiyya-sasn/ptiyya-phakh-phnwk
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...