ผู้เขียน หัวข้อ: พระอริยคุณาธาร (พระอาจารย์ มหาเส็ง ปุสฺโส) ผู้รจนา หนังสือ ทิพยฺอำนาจ  (อ่าน 1036 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด
โดย...พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง, ป ธ. 6) ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น

โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 003164

{ คัดลอกมาจาก : หนังสือ "ทิพยอำนาจ" เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง , ปธ. 6) หน้าที่ 490 – 492 และ 500 พิมพ์ครั้งที่ 9 /2535 ของ มหามงกุฎราชวิทยาลัย}

*** ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับ พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6) ***

1. ท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของ…

1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

2) ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

3) ท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

4) หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล

5) หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต

2. ท่านอยู่รุ่นเดียวกับพระครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น

1) พระอาจารย์ กงมา จิรปุญโญ

2) หลวงปู่ ชอบ ฐานสโม

3) ท่านพ่อ ลี ธัมมธโร

3. ลูกศิษย์องค์สำคัญของท่าน เช่น

1) หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

2) พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย

4. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" นี้ เกิดจากการที่ท่านถูกอาราธนาโดย หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล

5. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" นี้ สำเร็จได้เพราะได้รับความร่วมมือจากบุคคลสำคัญ คือ

1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

2) พระพรหมมุนี (ผู้อำนวยการของมหามงกุฎราชวิทยาลัย)




วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด

วิธีวิปัสสนาแบบนี้ ผู้ปฏิบัติมุ่งทำลายอาสวะให้เด็ดขาดเลยทีเดียว ไม่พะวงถึงคุณสมบัติพิเศษส่วนอื่นๆ ( ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบสุกขวิปัสสโก :-ผู้คัดลอก ) โดยเชื่อว่าถ้ามีวาสนาเคยสั่งสมอบรมมา เมื่อบรรลุถึงอาสวักขัยแล้ว คุณสมบัตินั้นๆ จะมีมาเองตามสมควรแก่วาสนาบารมี และเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษนั้นเป็นผลรายทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินตามทางอย่างรีบลัดตัดตรงไปถึงที่สุดแล้ว ก็จะต้องได้คุณสมบัตินั้นๆ บ้างพอสมควร ไม่จำเป็นต้องไปห่วงใยให้เสียเวลา รีบรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์สูงสุดทีเดียว มีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) อาศัยสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นฐานทำการพิจารณาอารมณ์ของวิปัสสนาไปตามลำดับๆ จนได้ความรู้กระจ่างแจ้งในอารมณ์นั้นๆ เป็นอย่างๆ ไป

**** สมาธิที่มีกำลังเพียงพอ คือฌานที่ ๔ ถ้าต่ำกว่านั้นจะมีกำลังอ่อน จะไม่เห็นเหตุผลแจ่มชัด จะเป็นความรู้กวัดแกว่ง ไม่มีกำลังพอจะกำจัดอาสวะได้

**** ผู้มีภูมิสมาธิชั้นต่ำ พึงทำการเข้าสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไปจึงจะได้ผล อย่ามีแต่พิจารณาหน้าเดียว จิตจะฟุ้งในธรรมเกินไป แล้วจะหลงสัญญาตัวเองว่า เป็นวิปัสสนาญาณไป

(๒) ตีด่านสำคัญให้แตกหัก คือทำการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นแจ้งชัดโดยไตรลักษณ์ แจ่มแล้วแจ่มอีกเรื่อยไปจนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด จิตใจจึงจะมีอำนาจเหนือขันธ์ ๕ รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามเป็นจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระเต็มเปี่ยม ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณด้วยประการฉะนี้

*****************************************

วิธีการเจริญอาสวักขยญาณอย่างรวบยอด สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆ คือ

เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว (ฌานที่4 :- ผู้คัดลอก) แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดยไตรลักษณ์ เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที

**** การสำเหนียกพิจารณา"ในฌาน" เช่นนี้ จะเป็นไปโดยอาการสุขุมประณีตแผ่วเบา ไม่รู้สึกสะเทือนทางประสาทเลย ไม่เหมือนการคิดการอ่านโดยปกติธรรมดา (นอกฌาน :- ผู้คัดลอก) ซึ่งต้องใช้ประสาทสมองเป็นเครื่องมือ

**** ฉะนั้นผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐาน (ฌานที่4 :- ผู้คัดลอก) ให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว "จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ "


จบ วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด
โดย….พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)



ขอชี้แจงเพิ่มเติมโดย "ผู้คัดลอกมานำเสนอเป็นกระทู้นี้" :

การฝึกวิปัสสนามีหลายวิธีและสามารถทำได้ทั้งนอกฌานหรืออยู่ในฌาน ดังนั้นวิธีของแต่ละท่านก็อาจแตกต่างกันไป

ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบสุกขวิปัสสโก หลายท่านก็จะฝึกนอกฌาน (จิตยังมีนิวรณ์ 5 อยู่)

ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบสุกขวิปัสสโก หลายท่านก็จะฝึกในฌาน เพราะท่านเห็นว่า การฝึกในฌานนั้นเป็นการฝึกในขณะที่จิตปราศจากนิวรณ์ 5 อย่างแท้จริง ดังนั้นการที่จะตัดกิเลสและบรรลุธรรมย่อมเป็นไปได้ง่ายมากๆอย่างยิ่ง สมดังข้อความข้างต้น (2 บรรทัดสุดท้ายก่อนจบ) ที่ว่า "ฉะนั้นผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐาน (ฌานที่4 :- ผู้คัดลอก) ให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ

จากคุณ : ธรรมชาติหนึ่ง [ 27 ก.ค. 2544 ]

ความคิดเห็นที่ 3 : (มุ่งแต่ธรรมเพื่อบรรลุถึงนิพพาน)

วิปัสสนานั้นมุ่งตรงแต่นิพพานถ่ายเดียวแต่พวกคุณอาจจะเลือกทางตรง หรือทางอ้อม ถ้าทางอ้อมคุณก็ต้องมีจิตถึงฌานก่อนแล้วปฏิบัติต่อไปจนถึงบรรลุวิปัสสนาจนถึงพระนิพพาน เเต่ถ้าทางตรงคุณก็ต้องมุ่งแต่สุขวิปัสสโกถ่ายเดียวจึงจะสำเร็จผล สรุปแล้วคุณจะเดินทางอย่างไรโปรดช่วยแสดงความคิดเห็นมาครับท่านสาธุชนทั้งหลาย

จากคุณ : มุ่งแต่ธรรมเพื่อบรรลุถึงนิพพาน [ 31 ก.ค. 2544 ]

ความคิดเห็นที่ 4 : (ken)

ทางที่ไปนั้นคงมีหลายทาง แต่ปลายทางคงเป็นที่เดียวกัน การปฏิบัติจึงอาจจะต่างกัน สำหรับประสบการณ์ของผมเอง ถ้าไม่ได้ทำสมาธิจนจิตสงบได้ระดับหนึ่งก่อนก็ไม่มีกำลังสติที่จะพิจารณา หลงวิปัสสนึกอยู่เสียนาน แต่ไม่ทันกิเลส เมือทำจิตให้สงบได้สักระยะจึงได้ประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจอีกระดับหนึ่ง ความรู้ที่ได้รับนั้นทำให้ละลดกิเลสที่เคยมีลงได้อย่างไม่กลับไปอีก ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่างจากเมื่อก่อน ที่สติปัญญาจะไม่ทัน จึงเชื่อและขอบคุณที่คุณธรรมชาติหนึ่งคัดลอกข้อความซึ่งตรงกับที่ได้เคยปฏิบัติได้ผลดีกว่าหนทางอื่นๆ

จากคุณ : ken [ 31 ก.ค. 2544 ]

ความคิดเห็นที่ 7 : (ทุกขะ)

ธรรมะของท่าน หลวงปู่เส็ง ช่างลึกซึ้งดีแท้ สมกับที่ท่านปรารถนาพระโพธิญาณ

จากคุณ : ทุกขะ [ 5 ส.ค. 2544 ]

จบกระทู้บริบูรณ์




หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๙ : วิธีนอนเจริญฌาน
โ ด ย : พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น

วิธีนอนเจริญฌานมี ๒ อย่าง คือนอนพักผ่อนร่างกาย กับนอนเพื่อหลับ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติต่างกันดังนี้

๑. นอนพักผ่อนร่างกาย คือ เมื่อเจริญฌานในอิริยาบถทั้ง ๓ มาแล้ว เกิดความมึนเมื่อยหรืออ่อนเพลียร่างกาย ก็พึงนอนเอนกายเสียบ้าง นอนในท่าที่สบายๆ ตามถนัดจะหลับตาหรือลืมตาก็ได้กำหนดใจอยู่ในกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง หรือเอาสติควบคุมใจให้สงบนิ่งอยู่เฉยๆ ก็ได้

๒. นอนเพื่อหลับ การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่จำเป็นของร่างกาย ใครๆ ก็เว้นไม่ได้ แม้แต่พระอรหันต์ก็ต้องพักผ่อนหลับนอนเช่นเดียวกันกับปุถุชน ที่ท่านว่าพระอรหันต์ไม่หลับเลยนั้น ท่านหมายทางจิตใจต่างหาก มิได้หมายทางกาย การหลับนอนแต่พอดี ย่อมทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ถ้ามากเกินไป ก็ทำให้อ้วนเทอะทะ ไม่แข็งแรง ถ้าน้อยเกินไปก็ทำให้อิดโรย อ่อนเพลีย ความจำเสื่อมทรามและง่วงซึมประมาณที่พอดีนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานเบา เพียง ๔ - ๖ ชั่วโมง เป็นประมาณพอดี แต่สำหรับผู้ที่ทำงานหนัก ต้องถึง ๘ ชั่วโมงจึงจะพอดี ในเวลาประกอบความเป็นผู้ตื่น (ชาคริยานุโยค) นั้น ทรงแนะให้พักผ่อนหลับนอนเพียง ๔ ชั่วโมง เฉพาะยามท่ามกลางของราตรีเพียงยามเดียว

เวลานอกนั้นเป็นเวลา ประกอบความเพียรทั้งสิ้น และทรงวางแบบการนอนไว้เรียกว่า "สีหไสยา" คือนอนอย่างราชสีห์ การนอนแบบราชสีห์นั้นคือนอนตะแคงข้างขวา เอนไปทางหลัง ให้หน้าหงายนิดหน่อย มือข้างขวาหนุนศีรษะ แขนซ้ายแนบไปตามตัว วางเท้าทับเหลื่อมกันนิดหน่อย พอสบาย แล้วตั้งสติ อธิษฐานจิตให้แข็งแรงว่า ถึงเวลานั้นต้องตื่นขึ้น ทำความเพียรต่อไปก่อนหลับ พึงทำสติอย่าให้ไปอยู่กับอารมณ์ภายนอก ให้อยู่ที่จิต ปล่อยวางอารมณ์เรื่อยไป จนกว่าจะหลับ ถ้าให้สติอยู่กับอารมณ์ภายนอกแล้ว จะไม่หลับสนิทลงได้

ครั้นหลับแล้ว ตื่นขึ้น พึงกำหนดดูเวลา ว่าตรงกับอธิษฐานหรือไม่ ? แล้วพึงลุกออกจากที่นอน ล้างหน้า บ้วนปาก ทำความพากเพียร ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์สืบไป ถ้าสามารถบังคับให้ตื่นได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ไม่เคลื่อนคลาด เชื่อว่าสำเร็จอำนาจบังคับตัวเอง ขั้นหนึ่งแล้ว พึงฝึกหัดให้ชำนาญต่อไป ทั้งในการบังคับให้หลับ และบังคับให้ตื่นได้ตามความต้องการ จึงจะชื่อว่า มีอำนาจเหนือกายซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปฏิบัติอบรมจิตใจขั้นต่อๆ ไป

ก็เป็นอันว่า ครบทั้ง ๔ อิริยาบถแล้ว สัปดาห์หน้า ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารก็จะว่าถึงวิธีการเจริญฌานทั่วไป ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องติดตามกันในสัปดาห์หน้าครับ



อ่านหนังสือทิพยอำนาจ ของพระอริยคุณาธาน (เส็ง ปุสโส) ได้
เป็นหนังสือที่มีสาระ ประโยชน์อีกเล่ม มีอรรถรสลึกซึ้ง แสดงธรรมะทางปรมัตถ์ แต่ใช้ถ้อยคำสำนวนให้เข้าใจง่าย อธิบายเหตุผลได้แจ่มแจ้ง พร้อมด้วยหลักฐาน เป็นหนังสือว่าด้วยกัมมัฏฐาน พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติบริบูรณ์ เป็นคู่มือได้ดีเรื่องหนึ่งของผู้ใฝ่ใจกัมมัฏฐาน.

สารบาญ

มีหัวข้อ หลักๆ ดังนี้

ทิพยอำนาจคืออะไร
อะไรเป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจ
วิธีเจริญฌาน 4
บุพประโยคแห่งฌาน
อุปกรณ์แห่งทิพยอำนาจ
วิธีปลูกสร้างทิพยอำนาจ
วิธีสร้างทิพยอำนาจ มโนมัยฤทธิ์
วิธีสร้างทิพยอำนาจ
ทิพพโสต หูทิพย์
วิธีสร้างทิพยอำนาจ
ทิพพจักขุ ตาทิพย์
วิธีรักษาทิพยอำนาจ
วิธีใช้ทิพยอำนาจ

-------------------------------------------------------------


ทิพยอำนาจ
พระอริยคุณาธาร
เรียบเรียง

--------------

บทนำ

ทิพยอำนาจคืออะไร ?


--------------------


เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า มีสตรีในต่างประเทศเกิดมีหูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถรู้เห็นเหตุการณ์ในที่ไกล เกินวิสัยมนุษย์ธรรมดาจะมองเห็น และสามารถสนทนากับวิญญาณของคนที่ตายไปแล้วรู้เรื่องกันได้


หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นให้ข่าวต่อไปว่า มีนักวิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ความจริง ก็ประจักษ์ว่า สตรีคนนั้นซึ่งไม่เคยรู้จักนักวิทยาศาสตร์คนนั้นมาก่อน แต่สามารถบอกความจริงบางอย่างของ




2-3


นักวิทยาศาสตร์คนนั้น ถูกต้องเป็นที่น่าพิศวง แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่กล้าลงความเห็นรับรองว่าเป็นได้ด้วยความรู้ของสตรีคนนั้นเอง สงสัยว่าจะมีอะไรสิงใจ อย่างพวกแม่มดหมอผี ซึ่งมีดาดดื่นในอัสดงคตประเทศ และเขาพากันรังเกียจถึงกับมีกฎหมายลงโทษผู้ฝ่าฝืน

หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นให้ข่าวรายละเอียดต่อไปว่า สตรีคนนั้นเกิดหูทิพย์ ตาทิพย์ขึ้นโดยบังเอิญ หลังจากป่วยหนักมาแล้ว



เรื่องคล้ายคลึงกันนี้ ก็มีอยู่แม้ในเมืองไทยเรา ข้าพเจ้าได้รู้จักกับสตรีคนหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วมานี้เอง เมื่อคุ้นเคยกันแล้ว สตรีคนนั้นได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ได้ป่วยหนักมาแรมเดือน ในระหว่างป่วยหนักนั้นใครจะมาหา หรือพูดจาว่ากระไรรู้ล่วงหน้าหมดครั้นหายป่วยแล้วก็ยังมีได้เป็นบางครั้งบางคราว แต่ไม่บ่อยนัก เนื่องจากไม่ค่อยได้สงบใจเหมือนในคราวยังป่วยอยู่ เพราะต้องวุ่นวายกับธุรกิจประจำวัน ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ครองเรือน


เรื่องที่นำมาเล่านี้ ทำให้เราทราบว่า ภายในร่างกายของมนุษย์เรานี้ มีอำนาจสิ่งหนึ่งแปลกประหลาด วิเศษเกินกว่าอำนาจของคนธรรมดาซ่อนอยู่ ที่เมื่อทราบวิธีปลุกหรือปลูกสร้างขึ้นให้มีประจำแล้ว จะเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ โดยสามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่อาจรู้เห็นได้


ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอำนาจที่ว่านี้ และเรียกชื่อว่าทิพพจักขุ ตาทิพย์ , ทิพพโสต หูทิพย์ คล้ายจะยืนยันว่า มีอำนาจทิพย์ในร่างกายมนุษย์นี้ด้วย แต่นักศึกษาทางพระพุทธศาสนาโดยส่วนมาก มองข้ามไป ไม่ได้สนใจศึกษาเพื่อพิสูจน์ความจริงเรื่องนี้ เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องนี้ ก็มักตำหนิหาว่า งมงาย เชื่อในสิ่งซึ่งไม่อาจเป็นไปได้ หาได้เฉลียวใจไม่ว่า พระบรมศาสดาเป็นผู้ทรงแสดงไว้ ทั้งปรากฏในพระประวัติของพระองค์ว่า ทรงสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างดีด้วย น่าที่เราพุทธศาสนิกชนจะพึงศึกษาค้นคว้าพิสูจน์ความจริงกันดูบ้าง จะเป็นสิ่งไร้สาระเทียวหรือ




4 - 5

ถ้าจะทำการพิสูจน์วิชาหูทิพย์ ตาทิพย์ ให้ทราบความจริงอย่างมีหลักฐาน ข้าพเจ้า กลับเห็นว่าจะเป็นทางช่วยให้พระพุทธศาสนาเด่นขึ้นอีก เพราะสิ่งใดที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ ซึ่งปรากฎมีอยู่ในพระไตรปิฎก หากเราพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า สิ่งนั้นเป็นไปตามที่ดำรัสไว้ ก็ย่อมเป็นพยานแห่งพระปัญญาของพระบรมศาสดาเป็นทางให้เราเกิดความเชื่อมั่น ในพระปัญญาตรัสรู้ของพระบรมศาสดาอย่างแน่นแฟ้น

จะเพิ่มกำลังให้เราปฎิบัติตามพระบรมพุทโธวาท ได้โดยไม่ลังเลใจ ทั้งเป็นหลักฐานต่อต้านปรัปปวาทด้วย เพราะในโลกสมัยวิทยาศาสตร์เฟื่องฟูนี้ เขาไม่ค่อยเชื่อในอำนาจลึกลับนี้ เมื่อพระพุทธศาสนากล่าวถึง เขาน่าจะยิ้มเยาะอยู่แล้ว แม้แต่เราซึ่งเป็นศาสนิกชนแท้ ๆ ก็ยังไม่เชื่อแล้ว จะให้นักวิทยาศาสตร์เขาเชื่ออย่างไร?

เพราะเขาตั้งหลักเกณฑ์ของเขาไว้ว่า เขาจะเชื่อเฉพาะสิ่งที่เขาพิสูจน์ได้ ทราบความจริงแน่ชัดแล้วเท่านั้น หลักเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้นี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ดี เป็นวิสัยแห่งนักศึกษาความจริง ซึ่งจะไม่ยอมให้ความเชื่อของเขาไร้เหตุผล แม้พระบรมศาสดาของเราก็ปรากฎว่า ทรงดำเนินปฎิบัติมาทำนองเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน คือ ทรงทำการพิสูจน์ความจริงทางใจ จนได้หลักฐานแน่นอนแล้ว จึงทรงพอพระหฤทัยว่าได้ตรัสรู้แล้ว มิได้ทรงไปเที่ยวเก็บเอาความรู้ของผู้อื่นที่เขาค้นคว้าไว้ มาร้อยกรองเข้าเป็นหลักแห่งศีลธรรมจรรยาที่ทรงสั่งสอน และมิได้ทรงอ้างว่าใครเป็นศาสดา หรือผู้บังคับบัญชาเหนือให้ประกาศธรรมสั่งสอนมหาชน

พระองค์ทรงค้นพบความจริงด้วยพระองค์เอง แม้หลักความรู้นั้นๆ จะมีมาในลัทธิศาสนา หรือในความเชื่อถือของมหาชนมาแล้วแต่โบราณกาลก็ตาม ถ้ายังไม่พิสูจน์ด้วยความรู้ของพระองค์เองก่อนแล้ว ก็มิได้นำมาบัญญัติสั่งสอนมหาชนแต่ประการใด เป็นแต่ไม่มีความรู้ส่วนใดที่เกินพระปัญญาของพระองค์ไปเท่านั้นเอง เราจึงได้พบว่าบรรดาบัญญัติธรรมที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลนั้นๆ ได้มาปรากฎในพระบัญญัติของพระองค์ทั้งหมด ที่ปรากฎ



6 - 7

ว่ามีบางอย่างที่ไม่ทรงพยากรณ์ไว้ ก็มิใช่ว่าไม่ทรงทราบ เป็นแต่ทรงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ จึงไม่ทรงกล่าวแก้หรือแสดงไว้ เช่น อันตคาหิกทิฏฐิหรือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทรงกล่าวแก้ เป็นแต่ทรงแสดงธรรมโดยปริยายอื่นให้ฟัง เมื่อผู้ฟังพิจารณาตามก็ทราบความจริงในเรื่องนั้น ด้วยตนเองแล้วสิ้นสงสัยไปเอง

วิธีการแก้ความเห็นของคนที่พระบรมศาสดาทรงใช้ คล้ายวิธีการรักษาโรคของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ตรวจหาสมุฏฐานของโรคก่อนแล้ว จึงรักษาแก้ที่สมุฏฐาน ไม่ตามรักษาที่อาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นปลายเหตุ เพราะเมื่อแก้สมุฏฐานถูกต้องแล้วโรคก็สงบ อาการเจ็บป่วยก็หายไปเอง

ฉะนั้นเรื่องที่ไม่ทรงกล่าวแก้อันตคาหิกทิฏฐิ ก็เช่นเดียวกัน เพราะความเห็นนั้นเป็นเพียงปลายเหตุ มิใช่สมุฏฐานอันเป็นตัวเหตุดั้งเดิม จึงทรงแสดงธรรมโดยปริยายอื่น อันสามารถแก้ตัวเหตุเดิมซึ่งเป็นสมุฏฐาน

อำนาจลึกลับมหัศจรรย์ เกินวิสัยสามัญมนุษย์นั้น แม้มิได้ตรัสเรียกว่า ทิพยอำนาจโดยตรงก็ตาม ก็ได้ทรงกล่าวถึงอำนาจนั้นไว้แล้วอย่างพร้อมมูล และตรัสบอกวิธีปลูกสร้างอำนาจนั้นขึ้นใช้อย่างดีด้วย เป็นการพอเพียงที่เราจะสันนิษฐานว่า พระบรมศาสดาได้ทรงบรรลุอำนาจนั้นทุกประการ และทรงใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลมาแล้ว ในสมัยยังทรงพระชนม์อยู่ ความข้อนี้มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมากมาย จะนำมาเล่าพอเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้:-

1. เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ เสด็จไปโปรดภิกษุเบญจวัคคีย์ที่สวนกวาง อันเป็นที่พักของฤาษี ณ เมืองพาราณสี แล้วเสด็จจำพรรษาที่นั่น ในภายในพรรษา ท่านพระยศเถระเมื่อยังมิได้บวช บังเกิดความคิดเห็นขึ้นว่า ฆราวาสคับแคบ วุ่นวาย สุดที่จะทนทานได้ จึงหนีออกจากบ้าน ไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่สวนกวางนั้น เดินบ่นไปตามทางว่า ที่นี่คับแคบ ที่นี่วุ่นวาย พระบรมศาสดาได้ทรงสดับ จึง



8-9

ทรงขานรับว่า ที่นี่ไม่คับแคบ ที่นี่ไม่วุ่นวาย เชิญมาที่นี่ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง ท่านพระยศเถระก็เข้าไปตามเสียงที่ทรงเรียก เมื่อได้ถวายบังคมและนั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ได้รับ ฟังพระธรรมเทศนาอันน่าจับใจ จนได้บรรลุดวงตาเห็นธรรมขึ้นในใจ

ทันใดนั้น บิดาของท่านก็ติดตามไปถึง พระบรมศาสดาทรงเกรงว่า เมื่อพระยศเถระกับบิดาได้เห็นกัน ก็จะเป็นอันตรายแก่ธรรมาภิสมัย จึงทรงทำ ติโรภาพปาฏิหาริย์ คือทรงทำฤทธิ์กำบังมิให้บิดากับบุตรเห็นกัน แล้วทรงแสดงธรรมให้ทั้งสองนั้นฟัง จนท่านพระยศเถระได้บรรลุถึงพระอรหัตตผล ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว และบิดาของท่านได้บรรลุดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงทรงคลายฤทธิ์ ให้บิดากับบุตรเห็นกัน

ทันใดนั้นบิดาของท่านพระยศเถระก็แจ้งให้ทราบว่า ทางบ้านพากันตามหา ขอให้ท่านกลับบ้าน พระบรมศาสดาจึงชิงตรัสว่า ยศะได้ฟังธรรม ถึงความเป็นผู้ไม่ควรแก่การครองเรือนแล้ว บิดาของท่านพระยศเถระจึงทูลอาราธนาพระบรมศาสดา กับท่านพระยศเถระ ไปฉันที่เรือน ครั้นบิดากลับไปแล้ว ท่านพระยศเถระจึงทูลขอบรรพชาสอุปสมบท เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วเป็นปัจฉาสมณะตามหลังพระบรมศาสดาไปฉันภัตตาหารที่เรือนของบิดา เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์แห่งอิทธิวิธี ชนิดที่เรียกว่า ติโรภาพ หรือที่สามัญชนเรียกว่า กำบัง หรือหายตัว

2. เมื่อออกพรรษาแรกนั้นแล้ว เสด็จไปสู่อุรุเวลา ตำบลเสนานิคม แคว้นมคธ เพื่อโปรดชฎิลสามพี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร เสด็จเข้าไปขอพักอาศัย ท่านอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิลตอบขัดข้อง พระบรมศาสดาตรัสขอร้อง ด้วยเหตุผลทางสมณวิสัย ถึงสามครั้ง ท่านจึงยอมรับให้พักอาศัย พระบรมศาสดาขอพักในโรงไฟ ท่านก็ห้ามว่า มีนาคร้าย เกรงจะเป็นอันตราย ขอให้พักที่อื่น พระบรมศาสดาตรัสรับรองว่าไม่เป็นไร แล้วเสด็จไปพัก ได้ทรงทำฤทธิ์สู้กับนาคร้ายจนมัน



10-11

หมดพยศ รุ่งเช้าทรงจับนาคร้ายใส่บาตรมาให้ท่านอุรุเวลกัสสปะตู ท่านก็อัศจรรย์ แต่ยังไม่ปลงใจเชื่อว่าเป็น " พระอรหันต์ " ผู้วิเศษกว่าตน จึงไม่ยอมเป็นสาวก

วันต่อมาเสด็จไปพักในราวป่า ใกล้ฝั่งแม่น้ำซึ่งเป็นที่ลุ่ม บังเอิญในเวลากลางคืนฝนตกหนัก น้ำหลากมามาก ทรงทำปาฏิหาริย์แหวกน้ำเดินจงกรมอยู่ ท่านอุรุเวลกัสสปะพาสานุศิษย์ไปดู ก็หลากใจเกิดอัศจรรย์ แต่ก็ยังไม่ยอมตกลงเป็นสาวก

วันต่อมาอีก เสด็จไปบิณฑบาตอุตตรกุรุทวีป ได้ผลหว้าลูกใหญ่ มาสู่ท่านอุรุเวลกัสสปะฉัน ซึ่งเป็นที่รู้กันในสมัยนั้นว่า ผลหว้าชนิดนั้นไม่มีในที่ใกล้ๆนั้น นอกจากในป่าหิมพานต์

ในวันต่อมาอีก เวลากลางคืน มีแสงสว่าง ในบริเวณที่ประทับตลอดราตรีทั้งสามยาม แต่ละยามก็มีแสงสว่างต่างสีกันด้วย รุ่งเช้าท่านอุรุเวลกัสสปะจึงทูลถาม ตรัสพฤติการณ์ว่า ปฐมยามท้าวมหาราชทั้งสี่มาเฝ้า มัชฌิมยามท้าวสักกะเทวราชลงมาเฝ้า ปัจฉิมยามท้าวมหาพรหมลงมาเฝ้า ท่านอุรุเวลกัสสปะหลากใจแสดงความอัศจรรย์ อยากจะยอมตนลงเป็นสาวกแล้ว แต่ยังมีมานะเกรงจะได้ความอับอายแก่สานุศิษย์

รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ฝนพรำอากาศเย็นจัด พวกชฎิลหนาว พากันผ่าฟืนเพื่อก่อไฟผิง พระบรมศาสดา ทรงทำปาฏิหาริย์ให้ผ่าฟืนไม่แตก และก่อไฟไม่ติด พวกชฎิลพากันหลากใจและลงความเห็นว่า เป็นด้วยฤทธิ์ของพระบรมศาสดา จึงพากันไปอ้อนวอนพระอาจารย์ ขอให้พาพวกตนถวายตัวเป็นศิษย์พระบรมศาสดา ท่านอุรุเวลกัสสปะได้โอกาส จึงพาศิษย์บริวารเข้าขอบรรพชาอุปสมบท

ในสำนักพระบรมศาสดา น้องชายทั้งสอง ซึ่งอยู่ในอาศรมทางใต้ลงไป พาบริวารมาเยี่ยมพี่ชาย เห็นบวชเป็นภิกษุแล้ว ก็พากันบวชตามพี่ชาย พระบรมศาสดาทรงเทศนาอบรมท่านทั้งสาม พร้อมด้วยบริวารพันหนึ่ง โดยปริยายต่างๆจนเห็นว่า มีอินทรีย์แก่กล้า พอจะรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่อปัญญาชนชั้นสูงแล้ว จึงพาไปสู่ตำบลคยาสีสะ ทรง

แสดงอาทิตตปริยาย โปรดให้บรรลุอรหัตตผล ทั้ง 1,000 องค์พร้อมกัน พอเวลาอันสมควรแล้ว จึงพาพระอรหันต์ทั้ง 1,000 องค์ เสด็จยาตรา เข้าสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสารต่อไป

เรื่องที่เล่ามานี้ เป็นอุทาหรณ์แห่งปาฏิหาริย์หลายประการ คือ ที่ทรงที่ทรงทรมานนาคร้ายให้หายพยศได้นั้น ทรงใช้ ปาติหาริย์บังควันก่อนแล้ว จึงทรงใช้ปาฏิหาริย์เปลวเพลิง ภายหลังที่ทรงแหวกน้ำจงกรมนั้น ทรงใช้ปาฏิหาริย์ติโรปาการภาพ คือทรงเนรมิตกำแพงซึ่งกันน้ำไว้ ที่เสด็จไปบิณฑบาตอุตตรกุรุทวีปนั้น ทรงใช้ปาฏิหาริย์เหาะไป ที่ทรงทราบว่ามีเทวดามาเฝ้ายามทั้งสามของราตรีนั้น เป็นด้วยทิพพจักขุญาณ และทิพพโสตญาณ ที่ทำให้พวกชฎิลผ่าฟืนไม่แตก ก่อไฟไม่ติดนั้น เป็นด้วยอธิษฐานฤทธิ์

3. ในสมัยพระธรรมวินัย กำลังแผ่ไปทั่วมัชฌิมชนบทนั้น พราหมณ์พาวรี ซึ่งตั้งอาศรมอยู่ฝั่งน้ำโคธาวารี ในแดนทักษิณาบถคือ อินเดียภาคใต้ ได้ทราบกิตติศัพท์ของพระบรมศาสดาว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงผูกปริศนาให้ศิษย์ผู้ใหญ่ 16 คน ไปเฝ้าทูลถาม เพื่อหยั่งภูมิของพระบรมศาสดา ว่าจะจริงอย่างคำเล่าลือหรือไม่ เวลานั้น พระบรมศาสดา เสด็จประทับที่ ปาสาณเจดีย์ ประเทศโกศล

มาณพศิษย์พราหมณ์พาวรี ทัง16คน พร้อมด้วยบริวารไปถึงเข้าเฝ้า ในเวลาเย็น ณ ร่มเงาปาสาณเจดีย์นั้น พระบรมศาสดาทรงปฏิสันถารด้วยสัมโมทนียกถาพอสมควรแล้ว จึงทรงแสดงพระปาฏิหาริย์ เป็นประเดิมก่อนเปิดโอกาสให้ถามปริศนา ด้วยทรงชมโฉมพาวรีพราหมณ์ ผู้เป็นอาจารย์ของมาณพเหล่านั้นก่อนว่า มีลักษณะของมหาบุรุษ 3 ประการ และตรัสบอกความคิดของพาวรีที่ผูกปริศนามาถามว่า มีความประสงค์เช่นไร แล้วจึงเปิดโอกาสให้ถามปริศนาทีละคน จนจบทั้ง 16 คน ท่านเหล่านั้นก็เกิดอัศจรรย์ใจ




บทนำ 14 - 15


ขนพองสยองเกล้า จนเกือบจะไม่ทูลถามปริศนา แต่พระบรมศาสดาเห็นว่าการแก้ปริศนานั้นจะเกิดสำเร็จประโยชน์ใหญ่หลวง จึงทรงบัญชาให้ถามปริศนาต่อไป แล้วทรงแก้ปริศนานั้นๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่มีการขัดข้องอึดอัด ในที่สุดแห่งการแก้ปริศนาของแต่ละท่าน ท่านเจ้าของปริศนาพร้อมด้วยบริวาร ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลทั้งหมด เว้นแต่ปิงคิยะ หลานท่านพาวรีเท่านั้น เพราะโทษที่มีใจห่วงใยถึงท่านพาวรีผู้เป็นลุง

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ แห่งอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หลายประการคือ ทรงทราบลักษณะพาวรีพราหมณ์ด้วยทิพยจักษุญาณ ทรงทราบความคิดของพาวรีพราหมณ์ด้วยปรจิตตวิชชาญาณ หรือที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงแก้ปริศนาได้คล่องแคล่วไม่ติดขัดนั้น เป็นด้วยพระปรีชาญาณหลายประการ มีพระปฏิสัมภิทาญาณ เป็นต้น

4. สมัยหนึ่งทรงรับนิมนต์ของพกาพรหมณ์ แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทรงทรมานพกาพรหมณ์ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์หลายหลาก มีการเล่นซ่อนหา เป็นต้น แล้วทรงแสดงธรรมสั่งสอนให้พกาพรหมณ์ ละพยศร้ายได้ด้วยวิธีที่เรียกว่า ญาณคทา

5. สมัยหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะ ไปทำความเพียร ณ บ้านกัลลวาลมุตตาคาม ถูกถีนมิทธะครอบงำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบด้วยเจโตปริยญาณ จึงเสด็จไปด้วยพระมโนมัยกาย ทรงแสดงวิธีแก้ถีนมิทธะแก่พระเถระ แล้วเสด็จกลับที่ประทับ

6. อีกครั้งหนึ่ง ทรงทรมานท่าน พระองคุลีมาลเถระ เมื่อยังเป็นโจร ด้วยพระปาฏิหาริย์ทูเรภาพ คือทรงดำเนินโดยปกติ แต่ท่านพระองคุลีมาลตามไม่ทัน เห็นพระองค์อยู่ในระยะไกลอยู่เสมอ จึงตะโกนบอกให้หยุด ทรงตอบไปว่า พระองค์หยุดแล้ว ท่านเองสิไม่หยุดพระองค์คุลีมาลร้องตะโกนไปว่า ตรัส-



บทนำ 16 - 17


มุสา เดินอยู่แท้ๆ บอกว่าหยุดได้ ตรัสตอบว่า ทรงหยุดทำบาปแล้วต่างหาก ท่านเองสิไม่หยุดทำบาปใส่ตัว พระองคุลิมาลได้สติ จึงทิ้งอาวุธเข้าไปเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาก็โปรดให้บรรพชาอุปสมบท แล้วพามาวัดพระเชตวันในวันนั้น

7. อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งที่มีประวัติการณ์โด่งดังที่สุด คือครั้งทรงทำ ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อทรมานเดียรถีย์นิครนถ์ ที่มาแข่งดีท้าทายด้วยประการต่างๆ ครั้งนั้นทรงทำที่กรุงสาวัตถี ณ ต้นไม้มะม่วง ชื่อ คัณฑามพฤกษ์ โดยแสดงพระองค์ ให้มีหลายหลาก มีอิริยาบท และทำกิจต่างๆกัน บ้างนั่ง บ้างนอน บ้างแสดงธรรม บ้างจงกรมกลางหาว และทรงทำท่อน้ำ ท่อไฟ และรังสีสลับสีให้พุ่งออกจากพระวรกายเป็นคู่ๆ แล้วเสด็จลับพระองค์ไปในอากาศ ณ ยอดเขาพระสุเมรุ นัยว่าเสด็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงษ์

ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา วันออกพรรษาจึงเสด็จลง ณ ประตูนครสังกัสสะ ทางทิศเหนือกรุงสาวัตถี แล้วทรงทำอาวีภาพ ปาฏิหาริย์ คือทรงเปิดโลกให้คนและเทวดาเห็นกันได้ พระองค์เสด็จลงโดยบันไดแก้วที่เทวดานฤมิต มีพระอินทร์กับพระพรหม ตามเสด็จทั้งสองข้างด้วยบันได้เงิน และทอง มหาชนได้ประชุมกันต้อนรับโดยสักการะมโหฬาร นัยว่ามีผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ากันในครั้งนั้นมากมาย ประมาณเท่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา คนและเทวดาได้เห็นกันชัดแจ้งในครั้งนั้น

ยมกปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด ไม่มีพระสาวกรูปใดทำได้ ไม่มีใครสามารถเป็นคู่แข่งได้ จึงเป็นปาฏิหาริย์ที่น่าอัศจรรย์ที่สุด

เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อย นำมาเล่าพอเป็นอุทาหรณ์เท่านั้น ถ้าจะเล่าเรื่องที่ทรงทำปาฏิหาริย์ในคราวต่างๆให้สิ้นเชิงแล้ว ก็จะกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ซึ่งมิใช่จุดหมายของหนังสือเล่มนี้





บทนำ หน้า 18 - 19


ปาติหาริย์นี้ ทรงแสดงไว้ว่ามีสามประการคือ :-

1. อิทธิปาฏิหาริย์ - ฤทธิ์อัศจรรย์
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ - ดักใจถูกต้องอย่างน่าอัศจรรย์
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ - คำสั่งสอนที่น่าอัศจรรย์ โดยมีเหตุผลพร้อมมูล และปฏิบัติได้ผลจริงๆด้วย

ในปาฏิหาริย์ทั้ง 3 ประการนี้ ทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นเยี่ยม เพราะยั่งยืนดำรงอยู่หลายชั่วอายุคน และสำเร็จประโยชน์ แม้แก่คนรุ่นหลังๆ ส่วนปาฏิหาริย์อีก 2 ประการนั้น เป็นประโยชน์เฉพาะแก่ผู้ได้ประสพพบเห็นเท่านั้น และเป็นสิ่งที่สาธารณะ แม้ชาวโลกบางพวกเขาก็ทำได้ เช่นชาวคันธาระ และชาวมณีปุระ เป็นต้น ที่เรียกกันในครั้งนั้นว่า คันธารวิชา มณีวิชา พระบรมศาสดา จึงไม่ทรงแสดงบ่อยนัก เว้นแต่จำเป็น และเห็นว่าจะสำเร็จประโยชน์ จึงทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์

นัยว่าทรงห้ามพระสาวกมิให้แสดงอทธิปาฏิหาริย์เช่นเดียวกัน แต่ก็ปรากฏว่ามีพระสาวกแสดงปาฏิหาริย์กันเรื่อยๆมา ตั้งแต่สมัยพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ จนถึงสมัยหลังพุทธปรินิพพานมานาน ที่ตรัสสั่งให้แสดงก็มี เช่นทรงแนะอุปเทศแห่งฤทธิ์ แก่พระมหาโมคคัลลานะ ให้ทรมานนันโทปนันทะนาคราช และตรัสสั่งพระมหาโกฏฐิตะ ไปทรมานพระยานาคที่ท่าปยาคะ เป็นต้น เมื่อคราวจะทำยมกปาฏิหาริย์ ก็มีพระสาวก สาวิกาหลายองค์ขอแสดงฤทธิ์แทน แต่ไม่ทรงอนุญาต โดยทรงอ้างว่า เป็นพุทธวิสัย และพุทธประเพณี

อำนาจอันแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ดังที่เล่ามานี้ เป็นสิ่งเกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้ เป็นเหมือนเทพบันดาล ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพอใจเรียกอำนาจชนิดนี้ว่า ทิพยอำนาจ แต่มิได้หมายความว่า อำนาจนี้เป็นของเทวดา หรือเทวดาดลใจให้ทำ ข้าพเจ้าหมายถึงภาวะหนึ่ง ซึ่งเป็น ภาวทิพย์ มีอยู่ในภายในกายของมนุษย์ธรรมดานี่เอง หากแต่ไม่ทำการปลุกหรือ




20 - 21


ปลูกสร้างขึ้นให้มีประจักษ์ชัด จึงไม่มีสมรรถภาพทำการอันน่าอัศจรรย์ได้ ส่วนผู้รู้จักปลุกหรือปลูกอำนาจ ชนิดนั้นขึ้นใช้ ย่อมสามารถทำอะไรๆที่น่าอัศจรรย์ ได้เกินมนุษย์ธรรมดา

ทิพยภาวะนั้น จะปรากฏขึ้นแก่บุคคลในเมื่อเจริญสมาธิจนได้ฌาน 4 แล้ว และ ฌาน 4 นั้นเองเป็นทิพยวิสัย คือ แดนทิพย์ ซึ่งเมื่อบุคคลเข้าไปถึงแดนทิพย์นี้แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตน โดยฐานเป็นเครื่องใช้ ของกิน ความคิดนึกรู้สึก และความรู้ ก็ย่อมกลายเป็นทิพย์ไปหมด

ดังที่ตรัสแก่พราหมณ์ และคหบดี ชาวเวนาคปุระว่า เราเข้าฌาน 1-2-3-4 ถ้าจงกรมอยู่ที่จงกรมก็เป็นทิพย์ ถ้ายืนอยู่ที่ยืนก็เป็นทิพย์ ถ้านั่งอยู่ที่นั่งก็เป็นทิพย์ ถ้านอนอยู่ที่นอนก็เป็นทิพย์..ดังนี้ และมีในที่อื่นอีกหลายแห่งที่ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว ก็ทรงรับรองว่า เมื่อเข้าฌานที่ 1-2-3-4 แล้ว ทุกสิ่งจะกลายเป็นทิพย์ อาหารที่ได้ด้วยการบิณฑบาตก็เป็นทิพย์ ผ้าบังสุกุลก็เป็นทิพย์ โคนไม้ที่อาศัยก็เป็นทิพยวิมาน ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าก็กลายเป็นยาทิพย์ไป เครื่องใช้สอยต่างๆก็เป็นทิพย์ ภาวะแห่งจิตใจในสมัยนั้น บริบูรณ์ไปด้วยทิพยภาวะ สิ่งที่ได้ประสพพบเห็นสัมผัสถูกต้อง ล้วนแต่น่าชื่นใจ ประหนึ่งว่าได้เข้าไปอยู่ในโลกทิพย์อย่างเต็มที่แล้วฉะนั้น

ฌานทั้ง 4 เป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจทั้งปวง คือทิพยอำนาจจะเกิดขึ้นแก่บุคคล ย่อมต้องอาศัยฌานทั้ง 4 เป็นบาทฐาน เพราะฌาน 4 เป็นทิพยวิสัยที่บริบูรณ์ด้วยภาวะทิพย์ ซึ่งจะเป็นกำลังหนุนให้เกิดทิพยอำนาจได้ง่าย

ทิพยอำนาจนี้ เมื่อว่าโดยลักษณะอย่างต่ำ ย่อมหมายถึงโลกิยอภิญญา 5 ประการ แต่เมื่อว่าโดยลักษณะอย่างสูง ย่อมหมายถึงโลกุตตรอภิญญา 6 ประการ หรือ วิชชา 8 ประการ คือ:-

1. อิทธิวิธิญาณ - ฉลาดในวิธีทำฤทธิ์
2. มโนมยิทธิ - ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ




บทนำ 22 - 23


3. ทิพพโสตญาณ - ฉลาดในโสตธาตุทิพย์
4. เจโตปริยญาณ - ฉลาดในการรู้ใจผู้อื่น
5. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ - ฉลาดในการระลึกชาติก่อนได้
6. ทิพพจักขุญาณ - ฉลาดในทางตาทิพย์
7. จุตูปปาตญาณ - ฉลาดรู้จุติ และอุปบัติ ตลอดถึงการได้ดีตกยากของสัตว์ ตามกำลังกรรม
8. อาสวักขยญาณ - ฉลาดในการทำอาสวะให้สิ้นไป

ข้อ 1-3-4-5-6 และ 8 เป็นอภิญญา ถ้าขาดข้อ 8 ไป ก็เป็นเพียงโลกิยอภิญญา ถ้ามีข้อ8 ก็เป็นโลกุตตรอภิญญา อภิญญา 6 หรือ วิชชา 8 ประการนี้ ข้าพเจ้าจะเรียกว่า ทิพยอำนาจต่อไป

ทิพยอำนาจนี้ พระบรมศาสดา และพระสาวกสาวิกาได้ทรงมีและได้ใช้บำเพ็ญประโยชน์มาแล้ว มีหลักฐานมากมายในพระไตรปิฎก เราผู้อนุชนหรือปัจฉิมชนไม่ควรจะมองข้ามไป หรือไม่ควรดูหมิ่นว่าไม่น่าเชื่อ แล้วแหละทอดธุระเสีย

บุคคลผู้ฝึกฝนอบรมตนจนได้ทิพยอำนาจนี้ แม้เพียงบางประการ จะต้องมีศีลธรรมเป็นหลักประจำใจมาแล้วอย่างเพียงพอ อย่างต่ำก็จะต้องมีศีล 5 และกัลยาณธรรมประจำใจ เป็นผู้รักดีเกลียดบาป กลัวบาป ชอบสงบตามวิสัยของคนดี ไม่เป็นภัยแก่สังคม เขาจึงควรได้ชื่อว่า นรเทพ ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิพยอำนาจทุกประการนั้น ย่อมบริบูรณ์ด้วยศึลธรรมชั้นสูงสุด เป็นอุดมบุรุษในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นข้าศึกต่อโลก ท่านผู้เช่นนี้ควรได้ชื่อว่า เทวาติเทพได้แล้ว

บุคคลทั้ง 2 จำพวกนี้ เมื่อมีทิพยอำนาจขึ้น ย่อมวางใจได้ว่า จะไม่นำอำนาจนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษ หรือผิดศีลธรรม ย่อมใช้บำเพ็ญประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์ส่วนรวมของชาติและพระศาสนา ดังที่พระบรมศาสดา และพระสาวกสาวิกาได้บำเพ็ญมาแล้ว




24 - 25


ทีนี้มีปัญหาเกิดขึ้นว่า ในสมัยปัจจุบันนี้ จะสร้างทิพยอำนาจขึ้นใช้ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้าขอตอบเพียงสั้นๆว่า เมื่อทิพยอำนาจมีได้ในความบังเอิญ ก็ย่อมจะมีได้ในการทำจริง และขอชี้แจงว่า พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ว่า พระธรรมเป็น อะกาลิโก คือไม่จำกัดกาล มรรค ผล ธรรมวิเศษมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย มิได้สูญหายไปใหน เป็นแต่เมื่อบุคคลไม่ปฏิบัติบำเพ็ญ มรรค ผล ธรรมวิเศษก็ไม่ปรากฏ เพราะมรรค ผล ธรรมวิเศษ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของบุคคล เมื่อบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติจริงจัง ย่อมจะต้องได้ธรรมวิเศษ หรือมรรคผล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ และจะถึงความเป็นสักขีพยานของพระบรมศาสดาจารย์ ในธรรมนั้นๆ สมัยนี้ปฏิปทาเพื่อได้เพื่อถึงมรรคผลธรรมวิเศษนั้นๆยังมีบริบูรณ์ ยังไม่อันตรธานไปจากโลก

ข้าพเจ้าขอเชิญชวนสาธุชนมาร่วมกัน พิสูจน์ความจริงด้วยการปฏิบัติ ข้าพเจ้าจะประมวลปฏิปทามาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อสะดวกแก่ผู้ต้องการปฏิบัติ ดังจะกล่าวในบทต่อไป

บทที่ 1
อะไรเป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจ

---------


ได้กล่าวเกริ่นไว้ในบทนำว่า ฌาน4 เป็นทิพยวิสัย และเป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจด้วย ดังนั้นในบทนี้ จึงจะแสดงฌานไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติสืบไป

สมาธิและฌานในพระพุทธศาสนามีมากประเภท แต่ที่ตรัสไว้เป็นมาตรฐานในการเจริญ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจนั้น ได้แก่ฌาน 4 ประการ ที่เรียกชื่อตามลำดับปูรณะสังขยาว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ฌาน 4 ประการนี้ ตรัสเรียกว่า สัมมาสมาธิ จัดเป็นองค์หนึ่งของมรรค 8 และเป็นองค์ประธานมี องค์ 7 นอกนั้นเป็นบริขาร คือเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อว่าโดยกิจตัดกิเลสแล้ว สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นองค์นำ องค์ 7 นอกนั้นเป็นส่วนประกอบ

สมาธิกับฌาน มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน คือ สมาธิมีความหมายกว้างกว่าฌาน ความสงบมั่นคงของใจตั้งแต่ชั้นต่ำๆชั่วขณะหนึ่ง จนถึงความสงบขั้นสูงสุด ไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องกำหนด เรียกว่าสมาธิได้ทั้งนั้น เช่นขณิกสมาธิ สงบชั่วขณะนิดหน่อยมีได้ แก่สามัญชนทั่วไป อุปจารสมาธิ สงบใกล้ต่อความเป็นฌาน คือเฉียดฌาน อัปปนาสมาธิ สงบแน่วแน่ เป็นฌาน สูญญตสมาธิ สงบ ว่าง โปร่ง อนิมิตตสมาธิ สงบ ไม่มีอารมณ์ปรุงแต่ง อัปปณิหิตสมาธิ สงบไม่มีที่ตั้งลง คือหาฐานรองรับความสงบเช่นนั้นไม่มี สมาธิเหล่านี้เป็นชั้นสูง มีได้แก่บางคนเท่านั้น

ส่วนฌานมีความหมายจำกัดอยู่ในวง คือ มีองค์หรืออารมณ์ เป็นเครื่องกำหนดโดยเฉพาะเป็นอย่างๆไป ฌานที่ 1-2-3-4 นั้นมีอารมณ์ขั้นต้นไม่จำกัด แต่มีองค์เป็นเครื่องกำหนดหมาย คือเพ่งพินิจจดจ่ออยู่ในอารมณ์อย่างเดียว จนสงบลง มีองค์ของฌานปรากฏขึ้นครบ 5 ก็เป็นปฐมฌาน มีองค์ 3 ครบบริบูรณ์ ก็เป็นทุติยฌาน มีองค์ 2 ครบบริบูรณ์ก็เป็น



28-29


ตติยฌาน มีองค์ 2 ครบบริบูรณ์ก้อเป็นจตุตถฌาน พระอาจารย์ในปูนก่อนท่านเรียกชื่อฌานทั้ง 4 นี้ไปตามอารมณ์ขั้นต้นก็มี เช่น อสุภฌาน มีอสุภะเป็นอารมณ์ เมตตฌาน มีเมตตาเป็นอารมณ์ สติปัฏฐานฌาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ อนุสสติฌาน มีอนุสสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ ฌานชั้นสูง

มีอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดเฉพาะอย่างๆไป เช่น อากาสานัญจายตนะ มีอากาศเป็นเครื่องกำหนด วิญญาณัญจายตนะ มีวิญญาณเป็นเครื่องกำหนด อากิญจัญญายตนะ มีความไม่มีอะไรเป็นเครื่องกำหนด เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีความสงบประณีตเป็นเครื่องกำหนด ฯลฯ ฌานชั้นสูงนี้จะไว้กล่าวในบทว่าด้วยอุปกรณ์แห่งทิพยอำนาจข้างหน้า บทนี้จะกล่าวแต่ฌาน 4 ประการ ซึ่งเป็นฌานมาตรฐานและเป็นที่ตั้งแห่งทิพยอำนาจเท่านั้น

ก่อนที่จะวินิจฉัยลักษณะของฌาน 4 ชั้นนี้ จะขอนำพระบาลีอันเป็นหลักฐานแสดงลักษณะฌาน 4 ชั้นนี้ มาตั้งไว้เป็นหลักก่อน พระบาลีอันเป็นหลักฐานแสดงฌาน 4 นี้ มีมากแห่ง และแสดงลักษณะไว้ตรงกันหมด ทั้งแสดงว่าฌาน 4 ชั้นนี้เป็นสมาธิพละ สมาธิสัมโพชฌงค์ และสัมมาสมาธิองค์แห่งมรรคด้วย พระบาลีมีดังต่อไปนี้ :-


นีวรณ์ ๕




ในเบื้องต้นที่จะทำความเข้าใจลักษณะของฌาน ควรทำความเข้าใจลักษณะของกิเลสที่กั้นกางจิตมิให้บรรลุฌานก่อน เพราะเมื่อกิเลสชนิดที่เรียกว่า นีวรณ์ ยังมีอำนาจครองใจอยู่แล้ว จิตจะเข้าถงฌานไม่ได้

นีวรณ์ นั้นมี 5 ประการ คือ : -



กิเลส 5 ประการนี้ แม้แต่ประการใดประการหนึ่ง เข้าครองอำนาจในจิตใจ ใจจะเสียคุณภาพอ่อนกำลัง เสียปัญญาไปทันที และจะมีลักษณะหมองมัว คิดอ่านอะไรไม่ได้เหตุผลที่แจ่มแจ้ง บางทีถึงกับมืดตื้อ คิดอะไรไม่ออกเอาทีเดียว

กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ ตรัสเรียกว่า สัมพาธ คือสิ่งแคบ เมื่อใจไปติดพันอยู่กับสิ่งคับแคบ ก็ย่อมเกิดความรู้สึกคับแคบขึ้นในใจ เหมือนเข้าไปอยู่ในที่แคบฉะนั้น ฌานตั้งแต่ปฐมฌานไป ตรัสเรียกว่า โอกาสาธิคม คือ สภาพว่าง โปร่ง หรือช่องว่าง ใจที่เข้าถึงความสงบ เป็นฌาน

จาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13076&sid=173f3d45c7862966f89392b3bf030324

อ่าน หนังสือ ทิพย์อำนาจ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88-01.htm
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...