ว่าด้วยอัศจรรย์แห่งพระอวตังสกาจารย์ฝ่าจั้งในปีแรกแห่งรัชศกจ่งจาง (สมัยพระเจ้าถังเกาจง เริ่มแต่วันที่ 22 เมษายน 668 - 5 กุมภาพันธ์ 669) ประเทศฝ่ายปัจจิมมีบรรพชิตชาวชมพูทวีปและตรีปิฏกาจารย์ท่านหนึ่งเดินทางมายังนครหลวง (ฉางอัน) พระเจ้าเกาจงบำเรอท่านเยี่ยงพระราชครู สมณะและฆราวาสต่างหลั่งไหลกันมาคารวะท่าน ครั้งนั้นพระอาจารย์ฝ่าจั้งแห่งสำนักฮวาเหยียนยังเป็นสามเณร เดินทางไปคารวะ ก้มกระหม่อมลงแทบเท้าของพระตรีปิฏกาจารย์แล้วอ้อนวอนให้พระอาจารย์บอกศีลโพธิสัตว์แก่ตัวท่าน ผู้คนเล่ากันว่าพระตรีปิฏกาจารย์ได้กล่าวด้วยความตื่นเต้น และยกย่องท่านฝ่าจั้ง ดังนี้
"สามเณรรูปนี้สามารถท่องมหาอวตังสกสูตรได้ และเข้าใจความหมายอีกด้วย เอกยานแห่งฮวาเหยียนเป็นทรัพย์อันลี้ลับแห่งพุทธะทั้งปวง และยากนักที่จะพบพาน แล้วไยจะกล่าวถึงการทำความเข้าใจอีกเล่า? หากมีผู้ใดสามารถสาธยาย "จิ่งสิง" (วิสุทธิจาริตร) ของพระสูตรฮวาเหยียนได้ คนผู้นั้นก้ได้เข้าถึงศีลโพธิสัตว์อันวิสุทธิ์โดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องรับศีลโพธิสัตว์อีก"
พระเถระยังเล่าว่า มีเรื่องเล่าในบันทึกประวัติในประเทศปัจจิม หรือ ซีหยูจ้วนจี้ (西域傳記) ว่า
มีคนผู้หนึ่ง ก่อนจะสวดสาธยายพระสูตรฮวาเหยียน ได้ล้างมือเสียก่อน ปรากฎว่าหยดย้ำจากการล้างมือนั้นสัมผัสกับมดตัวหนึ่ง ครั้นมดตัวนั้นตายไป ก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต มิพักจะกล่าวถึงผู้ที่น้อมรับแล้วเข้าถึงพระสูตรเล่า? ควรจะทราบกันไว้ว่า สามเณรผู้นี้ในภายภาคหน้าจะสร้างคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ไพศาล แล้วจะเปิดเผยความลี้ลับแห่งการไม่เกิดดับแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย"
อนึ่ง บันทึกประวัติพระอวตังสกาจารย์ฝ่าจั้ง บันทึกไว้ว่า
ครั้งหนึ่งท่านกำลังประกอบกิจทางศาสนา ในพลันได้ยินเสียงคนผู้หนึ่ง สาธยายอวตังสกสูตรในชั่วพริบตาเดียว ราวกับได้สดับจนจบทั้งพระสูตร นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งเพราะพระสูตรนี้มีควยามยาวที่สุดในพระไตรปิฎกภาษาจีน มีรทั้งหมด 80 ผูก หรือ 80 บท วันหนึ่งสาธยายายอย่างมากได้เพียง 10 ผูก หากจะสวดจนจบต้องใช้เวลาถึง 8 วัด แต่นี้พระอาจารย์ได้ยินเพียงพริบตาเดียวก็จบพระสูตรแล้ว นับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่ง สมกับที่ท่านได้รับการพยากรณ์ไว้จากพระเถระชาวชมพูทวีปทั้งนี้
พระฝ่าจั้ง เป็นมหาปราชญ์ยุคราชวงศ์ถัง เป็นบูรพาจารย์นิกายฮวาเหยียน หรือนิกายอวตังสก ซึ่งศึกษาข้อธรรมในอวตังสกสูตรเป็นหลัก นิกายนี้เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเฉพาะในรัชสมัยพระนางบูเช็กเทียน ทรงโปรดปรานนิกายนี้มาก นิมนต์พระฝ่าจั้งไปเทศนาธรรม สนทนาธรรมอยู่เสมอ ต่อมานิกายนี้เสื่อมความนิยมลง กระทั่งถูกทำลายย่อยยับในรัชสมัยพระเจ้าถังอู่จง ในยุคแห่งการกวาดล้างศาสนาพุทธ
แต่ต่อมาไปเจริญที่เกาหลี และที่ญี่ปุ่น ภาพเหมือนของพระฝ่าจั้งภาพนี้ วาดขึ้นโดยจิตรกรญี่ปุ่น สมัยคะมะคุระ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดโทไดจิ เมืองนาระ อันเป็นศูนย์กลางของนิกายอวตังสกะ ในญี่ปุ่นจาก
http://prajnatara79.blogspot.com/หัวเหยียนนิกายหัวเหยียน หรือฮวาเหยียน (華嚴宗) หรือนิกายวอตังสกะ เป็นหนึ่งในคณะนิกายของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ถือพุทธธรรมคำสั่งสอนในอวตังสกสูตร หรือพุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร เป็นหลัก นิกายนี้ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์สุย รุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ถัง
ประวัติในราวพุทธศตวรรษที่ 9 ท่านพุทธภัทรได้แปลอวตังสกสูตรออกสู่พากย์จีน และต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านศึกษานันทะได้แปลอีกฉบับหนึ่ง ถือกันว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ ตั้งแต่พระสูตรถูกแปลเป็นพากย์จีน ก็ถูกกับอุปนิสัยของชาวจีนมาก มีผู้ศึกษากันแพร่หลาย [1]
ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 คณาจารย์ตู้ซุ่น (杜順) ได้เขียนนิพนธ์เรื่อง "ธรรมธาตุวิปัสสนา" (華嚴法界觀門) และปัญจศาสน์สมถวิปัสสนา (華嚴五教止觀) ได้สถาปนารากฐานของนิกายหัวเหยียนขึ้น ต่อมามีคณาจารย์ฝ่าจั้ง (法藏) หรือเสียนโส่ว (贤首) ได้เขียนอรรถกถาหลักธรรมในอวตังสกสูตร นิกายหัวเหยียนจึงเจริญรุ่งเรือง บางทีนิกายนี้ก็ชื่อว่า "เสียนโส่ว" ตามนามของคณาจารย์เสียนโส่ว นิกายนี้มีอิทธิพลคู่เคียงกันนิกายเทียนไท้ตลอดมา [2]
ในช่วงปลายราชวงศ์ถัง นิกายหัวเหยียนเริ่มเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการกวาดล้างพุทธศาสนาครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าถังอู่จง (หรือ การกวาดล้างพุทธศาสนาเมื่อปีค.ศ. 854) จนกระทั่งสูญหายไปจากแผ่นดินจีนในที่สุด ปัจจุบันคำสอนของนิกายนี้ยังเหลือที่เกาหลียังสืบสานแนวทางปริยัติอยู่บ้าง และที่ญี่ปุ่นยังคงไว้ที่สำนักวัดโทไดจิ เมืองนาระ ซึ่งในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายเคะงง ส่วนในเกาหลีเรียกว่านิกายฮวาออม
คณาจารย์นิกายหัวเหยียนมีคณาจารย์ หรือบูรพาจารย์ 5 ท่าน สืบทอดมาตั้งแต่เริ่มสถาปนานิกายจนถึงยุครุ่งเรืองสูงสุด เรียกในภาษาจีนว่า "ปัญจบูรพาจารย์" (五祖) มีดังนี้ [3] [4] [5]
บูรพาจารย์รุ่นที่ 1 พระเถระตู้ซุ่น (杜順) หรือ มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 557-640 เป็นผู้ริเริ่มใช้พระสูตรอวตังสกะสอนพุทธธรรม พระเจ้าถังไท่จงมอบสมัญญานามให้แก่ท่านว่า ตี้ซิน (帝心) ผู้คนเรียกท่านว่าอารยะตี้ซิน (帝心尊者) ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ตี้ซิน ตู้ซุ่น (帝心杜順) [6]
บูรพาจารย์รุ่นที่ 2 พระเถระจื้อเหยี่ยน (智儼) ได้วางรากฐานคำสอนของนิกายจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ผู้คนเรียกท่านว่า อารยะจื้อเซียง (至相尊者) อนึ่งคำว่า อารยะในฝ่ายมหายาน เทียบเท่ากับคำว่าอรหันต์ หรืออริยะบุคคลในฝ่ายเถรวาท [7] ท่านมีฉายาทางธรรมว่า หยุนหัว จื้อเหยียน (雲華智嚴) [8]
บูรพาจารย์รุ่นที่ 3 พระเถระฝ่าจั้ง (法藏) นิกายหัวเหยียน ได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ชน ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระนางบูเช็กเทียน บางครั้งเรียกขานท่านว่า เสียนโส่ว ฝ่าจั้ง (賢首法藏) ตามฉายาทางธรรมของท่าน [9]
บูรพาจารย์รุ่นที่ 4 พระเถระเฉิงกวน (澄觀) สืบต่อคำสอนจากรุ่นที่แล้ว เป็นพระราชครูของฮ่องเต้หลาย พระองค์ มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับราชสำนักและวงการเมือง ได้รับสมัญญาว่าเป็นโพธิสัตว์หัวเหยียน ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ชิงเหลียง เฉิงกวน (淸涼澄觀) [10]
บูรพาจารย์รุ่นที่ 5 พระเถระจงมี่ (宗密) นำคำสอนของนิกายไปผสานเข้ากับการวิปัสนาทำสมาธิของนิกายฉาน ท่านมีฉายาทางธรรมว่า กุยเฟิง จงมี่ (圭峯宗密)[11]
อย่างไรก็ตาม ยังมีการจัดคณาจารย์ของนิกายนี้ออกเป็น 7 ท่าน หรือ สัปตบูรพาจารย์ (七祖) โดยรวมเอาพระอัศวโฆษ (馬鳴) และพระนาคารชุนะ (龍樹) เป็นต้นนิกายลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ทำให้พระเถระตู้ซุ่นเลื่อนมาเป็นลำดับที่ 3 ส่วนพระเถรจงมี่เป็นลำดับที่ 7 โดยการจัดลำดับเป็น 7 ท่านนี้เป็นผลงานของปราชญ์ยุคหลังนามว่า หลี่ถงเสวียน (李通玄)
หลักคำสอนนิกายนี้สอนว่า สรรพสัตว์มีสภาวะเป็นเอกีภาพเรียกว่า "เอกสัตยธรรมธาตุ" ในอวตังสกสูตรมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ! สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไฉนจึงบริบูรณ์ด้วยฌานปัญญาแห่งพระตถาคต เต็มเปี่ยมอยู่แล้วในตัวของเขาเอง" นอกจากนี้ คณาจารย์พระเถระเฉิงกวน แห่งนิกายนี้ยังกล่าวว่า "มหึมาจริงหนอ ! สัตยธาตุนี้ เป็นสมุฏฐานแห่งสิ่งทั้งปวง"[12]
หากจะสรุป คำสอนอันเป็นเอกลักษณ์ของนิกายนี้คือ ทุกสรรพสิ่งล้วนแต่มีพุทธภาวะ นับแต่ปรมาณูจนถึงสากลจักรวาล โดยมีวาทะว่า "เอกะคือสรรพสิ่ง สรรพสิ่งคือเอกะ" นี่คือคำสอนอย่างรวบรับที่สุดของนิกายนี้ ดังปรากฏในพุทธาวตํสกะสูตร ความว่า
"ในทุกอณูฝุ่นผงของสากลโลก
ปรากฏสรรพโลกและสรรพุทธะ
ณ ปลายหนึ่งเกศาพระพุทธองค์
ปรากฏพุทธเกษตรแดนทิพย์มิถ้วน
ในพุทธเกษตรแดนทิพย์มิถ้วน
อยู่ ณ ปลายหนึ่งเกศาพระพุทธองค์"การแบ่งหลักคำสอนนิกายนี้แบ่งระยะกาลแห่งพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ออกเป็น 3 กาล เรียกว่า "ตรีการศาสน์" ได้แก่
1.ปฐมกาล ทรงแสดงอวตังสกสูตร เปรียบด้วยพระอาทิตย์ในอรุณสมัยเริ่มแรกขึ้ต้องยอดเขาหลวง
2.มัธยมกาล ทรงแสดงพระธรรมเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปอุปมาดั่งแสงสุริยะในเวลาเที่ยง
3.ปัจฉิมกาล ทรงแสดงธรรม ในการสรุปหลักธรรมในยานทั้งสามเป็นยานเดียว อุปมาดังพระอาทิตย์อัสดง ย่อมส่องแสงสู่ยอดเขาอีกวาระหนึ่ง
คัมภีร์สำคัญฝอซัวโตวซาจิง (佛說兜沙經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระโลกเกษม สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
เหวินซูซือลี่เหวินผู่ซ่าซู่จิง (文殊師利問菩薩署經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระโลกเกษม สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ฝอซัวผู่ซ่าเปิ่นเย่จิง (佛說菩薩本業經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยจือเชียน สมัยอาณาจักรง่อก๊ก
จูผู่ซ่าฉิวฝูเปิ่นเย่จิง (諸菩薩求佛本業經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยเนี่ยต้าวเจิน สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ผู่ซ่าสือจู้สิงต้าวผิ่น (菩薩十住行道品) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
เจี้ยนเป่ยอิเชี้ยจื้อเต๋อจิง (漸備一切智德經) จำนวน 5 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
เติ่งมู่ผูซ่าสั่วเหวินซานเม่ยจิง (等目菩薩所問三昧經) จำนวน 3 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ฝอซัวหรูไหลซิ่งเซี่ยนจิง (佛說如來興顯經) จำนวน 4 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ตู้ซื่อผิ่นจิง (度世品經) จำนวน 6 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
พุทธาวตังสกมหาไพบูลสูตร หรือ ต้าฟางกว่างฝอหัวเหยียนจิง (大方廣佛華嚴經) จำนวน 60 ผูก แปลโดยพระพุทธภัทระ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
คัมภีร์รองหัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน (華嚴法界觀門) หรือ "อวตังสกธรรมธาตุพิจารณ์ทวารบท"
ปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้าฟางกว่างฝอหัวเหยียนจิงก่านอิ้งจ้วน (大方廣佛華嚴經感應傳) ปกรณ์ว่าด้วยอานิสงส์เกี่ยวกับพุทธาวตังสกสูตร
หัวเหยียนจิงก่านอิ้งลวื่อจี้ (華嚴經感應略記) หรือ บันทึกสังเขปว่าด้วยอานิสงส์เกี่ยวกับอวตังสกสูตร
หัวเหยียนจิงก่านอิ้งหยวนชี่จ้วน (華嚴經感應緣起傳) หรือ ปกรณ์ว่าด้วยมูลเหตุแห่งอานิสงส์เกี่ยวกับอวตังสกสูตร
จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/พรหมชาลสูตร (ธรรมทานตัวบท)พรหมชาลสูตรของฝ่ายมหายาน เรียกว่า
ฟั่นวั่งจิง (梵網經) ในสารบบพระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับไทโช อยู่ในลำดับที่ 1418 หรือ CBETA T24 No. 1484 ส่วนในสารบบพระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับเกาหลี อยู่ในลำดับที่ K 527พระสูตรนี้ได้รับการแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนโดยพระกุมารชีพ โดยท่านแปลเมื่อวันที่ 12 เดือน 6 ปีที่ 7 แห่งรัชสมัยจักรพรรดิฉินเหวินหวน หรือ พ.ศ. 949 มีชื่อเต็มในภาษาจีนว่า
梵網經廬舍那佛說菩薩心地戒品第十 แต่มักเรียกโดยสังเขปว่า 梵網經 หรือ ฟั่นวั่งจิง คำว่า ฟั่น แปลง พรหม วั่ง แปลว่า ข่าย หรือ ชาละ ส่วน จิง แปลว่า พระสูตร
พรหมชาล หมายถึงข่ายมณีอันวิจิตรในวิมานพรหม หมายถึงสรรพสิ่งทั้งหวงในหมื่นโลกธาตุล้วนสะท้อนสัมพันธ์กัน ประหนึ่งแสงระยิบระยับจากมณีอันร้อยเป็นข่ายงามประดับวิมานพระพรหม เป็นแสงสะท้อนต้องมณีนับไม่ถ้วน แตกออกเป็นรัศมีแสงประมาณมิได้ โดยนัยแล้วหมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท
พระสูตรเริ่มบทด้วยการปรารภถึงพระไวโรจนพุทธะ จากนั้นในตอนต่อมาจึงกล่าวถึงพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏพระองค์ที่
กุสุมาตลครรภวยุหาลังกรโลกธาตุสมุทร (蓮華蔵世界) หรือปัทมะครรภะโลกธาตุ (華蔵世界) เป็นโลกธาตุอันเป็นที่ประทับของพระไวโรจนพุทธเจ้า โดยพระไวโรจนพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์จำแลงธรรมกายของพระองค์เป็นพระพุทธเจ้านับประมาณมิได้ และพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ทรงออกจากปัทมครรภโลกธาตุมายังแต่ละจักรวาล แต่ละจักรวาลล้วนมีชมพูทวีปของตน ประทับยังใต้ร่มมหาโพธิ์ จากน้นพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในโลกธาตุนับมิถ้วน เสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนายังสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆ จนถึงวิมานชั้นพรหม
ฝ่ายพระศากยมุนีพุทธเจ้า หลังจากทรงออกจากปัทมะครรภะโลกธาตุแล้วเสด็จไปแสดงพระสูตรยังสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆ จนถึงวิมานชั้นพรหมจึงทรงเสนด็จมายังชมพูทวีป แล้วเสด็จสู่พระครรภ์ของพุทธมารดาในกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วเจริญพระชนม์ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ แล้วตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งทรงแสดงพรหมชาลสูตรนี้ โดยทรงมีมนสิการถึงพรหมชาล หรือข่ายมณีอันวิจิตรในวิมานพรหม อันเป็นสถานที่ซึ่งทรงแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้ ข่ายอันวิจิตรของพรหม อันแสงสะท้อนต้องมณีนับไม่ถ้วน แตกออกเป็นรัศมีแสงประมาณมิได้ ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท ยังสะท้อนถึงพระธรรมขันธ์ หรือวิถีทางการบรรลุธรรมอันหาประมาณมิได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหนึ่งแสนโกฏิทรงตรัสไว้
จากนั้นพระองค์ทรงตรัสโพธิสัตว์ศีล หรือโพธิสัตว์ปราติโมกษ์ อันเป็นต้นเค้าของพระธรรมวินัยทั้ปวงในพระศาสนา และเป็นศีลที่พระไวโรจนพุทธเจ้าทรงสาธยายไว้โดยปกติ โดยที่พระไวโรจนพุทธเจ้าทรงเป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหนึ่งแสนโกฏิพระองค์ พระศากยมุนีพุทธเจ้าจึงดังทรงตรัสว่า โพธิสัตว์ปราติโมกษ์นี้ "เป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวง แลเป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธะธาตุ"
จากนั้นทรงตรัสและแจกแจงรายละเอียดของโพธิสัตว์ศีล หรือโพธิสัตว์ปราติโมกษ์ โดยสังเขปแบ่งออกเป็นมหาโพธิสัตว์ศีล 10 และจุลโพธิสัตว์ศีล 48 โดยทรงบรรยายข้อศีล และแนวทางการปฏิบัติอย่างละเอียด ทั้งนี้ มหาโพธิสัตว์ศีล 10 เรียกว่า ปราติโมกษ์ ในภาษาสันสกฤต หรือปาติโมกข์ในภาษาบาลี
หมายเหตุ - บทความนี้ข้าพเจ้าเขียนไว้ในวิกิพีเดีย นำมาปรับปรุงในฐานะบทความ เพื่อเผยแพร่พระสูตรนี้ ในตัวบทภาษาจีนและคำอ่านภาษาจีนอักษรเกาหลี เพื่อประกาศพระศาสนาให้สถาพร ไพบูลย์ เป็นกุศลแก่ข้าพเจ้าและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
จาก
http://prajnatara79.blogspot.com/Ling เพิ่มเติม เนื้อหา ที่ เกี่ยวเนื่องกัน จักรวาลทัศน์ ใน อวตังกะสูตร ว่าด้วยเรื่อง ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ และ ตรีกาย
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4638.0.htmlพระสูตรพวงดอกไม้ ข่ายใยรัตนะ อิทัปปัจจยตา ( หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง )
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2593.0.htmlทศมหาปณิธาน ของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ จริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,955.0.htmlพระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3190.0.html