พระราชวังโปตาลา (Potala Palace) ทิเบต (Tibet) ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชีย ระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขา และที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขา ริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวทิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่ แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวทิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญา และจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวทิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาติเขตปกครองตนเองทิเบต หรือ ทิเบต เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศ และอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า
"แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma)
พระราชวังโปตาลา ตั้งอยู่บนยอดเขาแดง บนความสูงประมาณ 300 เมตร พระราชวังโปตาลาแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานมากว่า 1,300 ปี ที่มีความสวยงามและอลังการมาก มีห้องมากกว่า 1,000 ห้อง ซึ่งนับว่าเป็นศิลปสุดยอดฝีมือที่สวยงามที่สุดของทิเบต ภายในพระราชวังโปตาลานี้จะมีอาคาร 13 ชั้น สูงประมาณ 400 เมตร
พระราชวังโปตาลา สร้างขึ้นมาในคริสตวรรษที่ 7 โดยกษัตริย์ ซงจ้าน กัมโป กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของทิเบต ที่รวบรวมชาวธิเบตให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งแรกเริ่มก็เพียงแต่จะสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นป้อมและตำหนักเล็กๆให้แก่พระมเหสีเจ้าหญิงเหวินเฉิง (ประเทศจีน) และเจ้าหญิงภริคุติ (ประเทศเนปาล) ของพระองค์เท่านั้น แต่ต่อมาทรงใช้ป้อมแห่งนี้เป็นสถานที่ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์ได้เปลี่ยนความเชื่อถือจากการนับถือลัทธิบอน อันเป็นความเชื่อถือเก่าแก่แต่โบราณกาลของชาวธิเบตในสมัยนั้นเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทำให้พระพุทธศาสนา เริ่มวางหลักปักฐานในธิเบต และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งมีพระเป็นผู้ปกครอง ปัจจุบันนี้รูปทรงเดิมของป้อมและพระตำหนักดังกล่าวสองหลังนี้ก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ท่ามกลางสิ่งก่อสร้างที่ตบแต่งเพิ่มเติมใหม่ ที่ต่อเติมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับสิ่งที่บูรณะซ่อมแซมเพิ่มเติม ในช่วงหลังๆมานั้นส่วนใหญ่จะซ่อมแซมบูรณะในสมัยขององค์ดาไลลามะที่ 5 ประมาณปี พ.ศ. 2188 ถึง 2236 (องค์ดาไลลามะองค์ปัจจุบันนี้คือองค์ที่ 14) เพื่อให้เป็นพระราชวังฤดูหนาว พระราชวังโปตาลาแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนของพระราชวังสีขาว สีแดง และสีเหลือง สำหรับพระราชวังสีขาวนั้น เป็นส่วนของสังฆวาส สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ โรงเรียน และโรงพิมพ์ ส่วนที่เป็นสีแดงนั้นจะเป็นส่วนของพุทธาวาส สำหรับปฏิบัติกิจของสงฆ์ ประกอบไปด้วยสถูปทองซึ่งภายในบรรจุพระศพขององค์ดาไลลามะทั้ง 8 องค์เอาไว้ และส่วนที่เป็นสีเหลืองที่ถูกเชื่อมโยงอาคาร เป็นที่ที่ประชุมสงฆ์ พระวิหาร โบสถ์ และห้องสมุดที่ใช้เก็บพระไตรปิฏก
พระราชวังโปตาลา (Potala Palace) พระราชวังโปตาลา หรือ หม่าปู้ยื่อซาน เป็นการตั้งชื่อเลียนเสียงโปตาลกะบรรพตในชมพูทวีป ที่ซึ่งชาวทิเบตเชื่อว่าเป็นที่สถิตขององค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
วังโปตาลา ตั้งอยู่บนยอดเขาแดง บนความสูงประมาณ 300 เมตร พระราชวังโปตาลาแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานมากว่า 1,300 ปี ที่มีความสวยงามและอลังการมาก มีห้องมากกว่า 1,000 ห้อง ซึ่งนับว่าเป็นศิลปสุดยอดฝีมือที่สวยงามที่สุดของทิเบต ภายในพระราชวังโปตาลานี้จะมีอาคาร 13 ชั้น สูงประมาณ 400 เมตร
พระราชวังโปตาลา สร้าง ขึ้นมาในคริสตวรรษที่ 7 โดยกษัตริย์ ซงจ้าน กัมโป กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของทิเบต ที่รวบรวมชาวทิเบตให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งแรกเริ่มก็เพียงแต่จะสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นป้อมและตำหนักเล็กๆให้แก่พระ มเหสีเจ้าหญิงเหวินเฉิง (ประเทศจีน) และเจ้าหญิงภริคุติ (ประเทศเนปาล) ของพระองค์เท่านั้น แต่ต่อมาทรงใช้ป้อมแห่งนี้เป็นสถานที่ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์ได้เปลี่ยนความเชื่อถือจากการนับถือลัทธิบอน อันเป็นความเชื่อถือเก่าแก่แต่โบราณกาลของชาวธิเบตในสมัยนั้นเปลี่ยนมา นับถือศาสนาพุทธ และทำให้พระพุทธศาสนา เริ่มวางหลักปักฐานในธิเบต และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม วังโปตาลาก็ประสบภัยพิบัติในเวลาต่อมา ในราวปี ค.ศ. 762 ในรัชสมัยของกษัตริย์ชื่อซงเต๋อจั๊น เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่เนื่องจากฟ้าผ่า ต่อมาอีกไม่ถึงร้อยปี ในรัชสมัยของกษัตริย์ หล่างต๋าหม่า (ค.ศ.838-842) พระองค์ไม่เลื่อมใสในศาสนาพุทธ จึงเกิดการทำลายล้างพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ ท่ามกลางความไม่สงบและไฟสงครามจากพวกกบฎ วังโปตาลาประสบความเสียหายอย่างหนัก มีเพียงพอพระโพธิสัตว์กวนอิม และคูหาวิปัสสนาของราชันซงจั้นกันปู้เพียงสองส่วนเท่านั้น ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ท่ามกลางสิ่งก่อสร้างที่ตบแต่งเพิ่มเติมใหม่ ที่ต่อเติมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกสร้างใหม่ในศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา
พระราชวังโปตาลา เคยเป็นที่ประทับของมหาราชาและอัครเทวีในอดีต แต่พอในสมัยขององค์ทะไลลามะที่ 5 เป็นต้นมา วังโปตาลาก็เปลี่ยนเป็นที่ประทับของสงฆ์สูง กลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนา ควบกับการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน ปัจจุบันนี้ แม้องค์ทะไลลามะจะมิได้ประทับอยู่ที่วังแห่งนี้แล้ว ทว่าวังโปตาลาก็ยังพระพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก
เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 องค์การยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียนพระราชวังโปตาลา เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เป็นเหตุสำคัญให้นักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศทั่วโลก พากันหลั่งไหลมาเยือนกรุงลาซาของทิเบต โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่วังโปตาลา
ด้วยวังโปตาลา เป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนาแบบทิเบต และยังเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมทั้งประวัติศาสตร์และสิ่งล้ำค่าอันเป็นมรดกของชาวทิเบตไว้อย่างน่าทึ่ง หากจะชมวังโปตาลาให้ทั่วถึง จะต้องใช้เวลาประมาณ 2.30-3 ชั่วโมง แต่การที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากอย่างล้นหลามในปัจจุบัน จึงอนุญาตให้ผู้ถือบัตร สามารถเดินชมภายในวังได้เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากมีผู้เข้าชมมากเกินไป จึงต้องระบายคนเข้าออกให้สัมพันธ์กัน และนักท่องเที่ยวควรเชื่อฟังเคารพกฎและปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
ส่วนประกอบหลักของพระราชวังโปตาลา ในปัจจุบัน วังโปตาลาประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างหลายส่วนบนเนินเขาแดง โดยส่วนที่เด่นเป็นสง่าที่สุด คือหอสีแดงตรงกลางสูง 13 ชั้น เรียกว่า “หงกง” แปลว่า วังแดง มีความสูงถึง 117 เมตร นับเป็นส่วนที่สูงที่สุดของวังแห่งนี้ โดยเมื่อรวมความสูงของเมืองลาซาที่วัดจากระดับน้ำทะเล ซึ่งอยู่ที่ 3,650 เมตรแล้ว ยอดสูงสุดของวังโปตาลาจึงอยู่ที่ 3,770 เมตรจากระดับน้ำทะเล
วังแดง หรือ
หงกง ใช้เป็นที่ประดิษฐานสถูปที่เก็บพระศพขององค์ทะไลลามะหลายพระองค์ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของหอพระพุทธและพระโพธิสัตว์จำนวนมาก
วังขาว หรือ
ไป๋กง แปลว่า ใช้เป็นที่ประกอบพิธีศาสนา และบริหารราชการแผ่นดินของทิเบต ทั้งยังใช้เป็นที่ประทับในฤดูหนาว ขององค์ทาไลลามะตั้งแต่องค์ที่ 5 เป็นต้นมา
วังโปตาลาที่ตั้งบนเขาเนินแดงนั้น ด้านหลังพิงทิศเหนือ หันด้านหน้าไปทางทิศใต้ จากด้านตะวันตกจรดด้านตะวันออก มีความยาวถึง 360 เมตร เฉพาะพื้นที่ใช้สอยของสิ่งปลูกสร้าง มีมากกว่า 130,000 ตารางเมตร หอสีแดงหรือ “วังแดง” ที่อยู่ใจกลางนั้น ขนาบด้วยอาคารสีขาวทั้งซ้ายและขวา ส่วนอาคารสีขาวทางด้านทิศตะวันตก ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวังขาว เป็นแต่เพียงอาคารที่พักของพระสงฆ์ ที่มีหน้าที่ดูแลและประกอบพิธีทางศาสนาในวังโปตาลา นอกจากนี้ ยังมีแผงกำแพงสีขาวขนาดใหญ่อีกส่วนหนึ่ง อยู่ด้านหน้าของ “วังแดง” กำแพงแผงนั้ใช้เป็นที่กางหรือขึงผ้า “ทังก้า” ขนาดใหญ่ ในช่วงที่มีเทศกาล “ไซ่โฝ” หรือเทศกาลกางผ้าพระกบณ กำแพงสีขาวนี้ ต่อเชื่อมกับบันไดหินที่เยื้องยักเฉียงไปเฉียงมา ซึ่งเป็นทางเดินขึ้นสู่วังโปตาลา
วังโปตาลานี้ยังมีสถานที่อีกหลายแห่ง ที่รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของวังโปตาลา อาคารสีเหลืองขนาดย่อมที่อยู่ระหว่างวังแดงและวังขาว เป็นที่เก็บผ้าทังก้าขนาดยักษ์ เพื่อใช้ในเทศกาลไซ่โฝ มีโรงพิมพ์พระคัมภีร์ โรงเรียนพุทธศาสนาอย่างทิเบต สวน และสนาม มีที่คุมขัง โดยทั้งหมดนี้ ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงลักษณะแบบกำแพงเมืองอีกชั้นหนึ่ง มีป้อมและประตูทางเข้าเป็นจุดๆ รวมทั้งมีทางให้รถยนต์วิ่งขึ้นไปถึงด้านหลังของเนินเขาแดงวังโปตาลา เพื่อสำหรับอนุเคราะห์พระสงฆ์ผู้สูงอายุ
วังแดง หรือ
หงกง วังแดง ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1690 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานสถูป ที่ใช้เก็บพระศพของทะไลลามะ องค์ที่ 5 ซึ่งต่อมาได้ประดิษฐ์ฐานสถูปของทะไลลามะองค์ต่อๆ มาอีกหลายพระองค์ แต่วังแดงหรือหงกง ก็มีส่วนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมมาตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด นั่นคือตำหนักโพธิสัตว์กวนอิม และคูหาธรรมราชา
ตำหนักหรือห้องหอที่ใหญ่ที่สุดของวังแดง มีชื่ออย่างย่อว่า ซีต้าเตี้ยน แปลว่าตำหนักใหญ่ปิจฉิมทิศ หรือตำหนักใหญ่ทิศตะวันตก ออกเสียบแบบทิเบตว่า โช่ชินหนู่ ซือซีผิงโช่ ตำหนักนี้ถือเป็นอนุสรณ์ของทะไลลามะองค์ที่ 5 มีเนื้อที่ราว 725 ตารางเมตร มีเสาขนาดใหญ่ค้ำยันถึง 44 ต้น ผนังทั้งสี่ด้าน มีภาพเขียนชีวประวัติของทะไลลามะองค์ที่ 5 ที่เด่นเป็นพิเศษ คือภาพหนึ่งทางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นภาพที่องค์ทะไลลามะเข้าเฝ้าองค์ซุ่นจื้อ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิง
ตรงกลางตำหนักมีพระที่นั่งขององค์ทะไลลามะอยู่ ซึ่งเป็นที่ประทับเดียวกับที่ชางยางเจียโช่ ทะไลลามะองค์ที่ 6 ซึ่งเป็นองค์เดียวที่ไม่มีสถูปอยู่ในวังโปตาลา เสด็จขึ้นรับตำแหน่งทะไลลามะของทิเบต เมื่อปี ค.ศ. 1697 ด้านบนของพระที่นั่ง แขวนแผ่นป้ายขนาดใหญ่ มีอักษรจีน 4 คำ ซึ่งเป็นอักษรพระราชทานจากจักรพรรดิเฉียนหลง เขียนไว้ว่า “หย่งเหลียนชูตี้” มีความหมายว่า แหล่งกำเนิดแห่งดอกบัว
สิ่งสำคัญอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งในวังแดงนี้คือ ม่านประดับทำจากผ้าต่วนหลากสี และเย็บปักถักร้อยด้วยเส้นด้ายทองคำ เล่ากันว่าในสมัยนั้น จักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิงถึงกับให้สร้างโรงงานตัดเย็บผ้าม่านดังกล่าวขึ้นมาหนึ่งหลัง ใช้เวลาประดิษฐ์นานกว่าหนึ่งปีจึงแล้วเสร็จ แล้วพระราชทานม่านประดับชุดนี้มาเป็นของขวัญ เพื่อเฉลิมฉลองการสร้างวังแดง ในปี ค.ศ. 1696
ห้องประดิษฐานสถูปของทะไลลามะ พระศพขององค์ทะไลลามะทุกพระองค์ ไม่ได้ประกอบฌาปนกิจ จึงไม่มีอัฐิให้บรรจุ แต่พระศพของพระทะไลลามะ ต้องได้รับการปฏิบัติแบบถ่าจั้งหรือฝังในเจดีย์ ซึ่งเป็นประเพณีที่พิเศษของชาวทิเบต เฉพาะองค์ทะไลลามะหรือพระลามะที่เสมือนสมมุติเทพเท่านั้นที่จะทำพิธิถ่าจั้งได้ สถูปที่บรรจุพระศพขององค์ทะไลลามะในวังแดงนั้น มีอยู่ด้วยกัน 8 องค์ คือ ตั้งแต่องค์ที่ 5 ถึงองค์ที่ 13 เว้นเฉพาะองค์ที่ 6 ทั้งนี้เนื่องจากองค์ที่ 6 ถูกตราหน้าว่าเป็นของปลอม จึงถูกขับออกจากวังโปตาลา เสียก่อน
คูหาธรรมราชา หรือ ฝ่าหวางต้ง เป็นหนึ่งในสองสถานที่ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างแรกเริ่มของวังโปตาลา ห้องนี้เป็นห้องขนาดเล็ก เนื้อที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร เป็นสถานที่กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ ใช้นั่งวิปัสสนาศึกษาธรรมะ ที่นำเข้ามาสู่ทิเบตโดยองค์หญิงจากจีนและเนปาล ภายในคูหาแห่งนี้ นอกจากรูปเหมือนของกษัตริย์ซงจั้นกันปูแล้ว ยังมีรูปเหมือนของมเหสีชาวทิเบต อัครเทวีของเนปาลและจีน ทั้งยังมีรูปเหมือนของราชฑูตลู่ตงจั้น และอำมาตย์นักปราชญ์ทุนหมี่ซังปู้จา ผู้ประดิษฐ์อักษรทิเบตอีกด้วย
ตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือเสิ้งกวนอิมเตี้ยน มีความหมายว่า ตำหนักพระพุทธที่เหนือธรรมดา เหนือประตูทางเข้าตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม มีแผ่นป้ายที่พระราชทาน โดยกษัตริย์ถงจื้อแห่งราชวงศ์ชิง เขียนด้วยภาษาทิเบตและจีน อักษรจีน 4 คำนั้นเขียนว่า “ฝูเถียนเมี่ยวกั่ว” แปลว่า ผืนนาอันอุดมสมบูรณ์นำมาซึ่งพืชผลที่งดงาม
ในตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิมนี้ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวทิเบตนับถือมากอยู่สิ่งหนึ่ง คือรูปพระโพธิสัตว์ที่เป็นไม้จันทร์หอม อายุพันกว่าปี โดยชาวทิเบตเชื่อว่า เป็นเทพประจำกายของกษัตริย์ซงจั้นกันปู้ และเป็นเทวรูปที่เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครทำขึ้น รวมทั้งมีตำนานความเป็นมาที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากนี้ ในตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม ยังมีรูปพระแม่กวนอิมพันกรพันเนตร รูปเหมือนพระอาจารย์เจ้าจงคาปา ซึ่งล้วนแต่เป็นสมบัติล้ำค่าเคียงคู่กับประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวทิเบต
ตำหนักพิภพอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ ซ่าซงหล่างเจี๋ยเตี้ยน อยู่บนชั้นสุดตรงกึ่งกลางของวังแดง สร้างในสมัยพระทะไลลามะองค์ที่ 7 เป็นห้องที่เคยใช้ประกอบพิธีสำคัญๆ ทั้งทางศาสนาและการเมืองมาโดยตลอด เช่นพิธีเสี่ยงทายคัดเลือกองค์ทะไลลามะหรือองค์ปันเชนลามะขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า พิธีจินผิงเช่อเชียน
องค์พระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือ 11 หน้า สูงราว 3 เมตร สร้างจากเงินบริสุทธิ์ กว่าหนึ่งหมื่นตำลึง สร้างในปีค.ศ. 1903 โดยทะไลลามะองค์ที่ 13 พระพักตร์ขององค์พระปิดทองเหลืองอร่าม
วังขาว หรือ
ไป๋กง วังขาว สร้างในปี ค.ศ. 1645 โดยคำบัญชาของอาว่าง หลัวซังเจียโซ่ หรือทะไลลามะองค์ที่ 5 สร้างอยู่ 3 ปีจึงแล้วเสร็จ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา และบริหารราชการแผ่นดินของทิเบตขององค์ทะไลลามะตั้งแต่องค์ที่ 5 เป็นต้นมา ตั้งอยู่ทางด้านขวาหรือทิศตะวันออกของวังโปตาลา
จิตรกรรมฝาผนังวังขาว ผนังทางด้านตะวันออก มีภาพเมืองฉางอานสมัยราชวงศ์ถังที่โอฬารตระการตา และภาพตำนานราชฑูต “ถู่โป” ที่ฉลาดหลักแหลม สามารถแก้ไขปัญหายากแสนยาก 5 ข้อ ที่ราชสำนักถังยกเป็นเงื่อนไขในการสอบผ่าน เพื่อสู่ขอองค์หญิงจากจีนไปเป็นชายาของทิเบตราชัน ผนังทางด้านทิศเหนือ มีภาพในปี ค.ศ. 641 ที่กษัตริย์ถังไท่ทรงยินยอมยกองค์หญิงเหวินฉิง ให้เป็นพระชายาแก่กษัตริย์ถู่โป(ทิเบต) นอกจากนี้ยังมีภาพของวังโปตาลาที่สร้างอยู่บนเนินเขาแดง โดยมีจุดมุ่งหมายใหญ่คือ เพื่อให้สมเกียรติกับการได้องค์หญิงกรุงจีนมาเป็นพระชายา
ส่วนบนผนังทางด้านทิศใต้ มีสิ่งที่สำคัญคือ รอยประทับฝ่ามือของทะไลลามะองค์ที่ 5 โดยมีกระจกครอบอยู่ ทั้งนี้ เนื่องจากในบั้นปลายของท่าน ท่านต้องการสนับสนุนให้ศิษย์ที่ชื่อตี้ซือ ซังเจี๋ยเจียโช่ ให้ว่าราชการและศาสนกิจแทนท่าน แต่เนื่องจากบารมียังไม่พอ องค์ทะไลลามะจึงได้ประทับฝ่ามือเป็นรอยไว้ให้ผู้คนรับรู้ในเจตนารมณ์ของท่าน
ตำหนักใหญ่บูรพา หรือ ตงต้าเตี้ยน มีเสาขนาดใหญ่ค้ำยันหลายสิบตัน มีเนื้อที่ 717 ตารางเมตร ตรงกลางของตำหนักเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระทะไลลามะ มีแผ่นป้ายขนาดใหญ่เขียนอักษรจีน 4 คำ ความว่า “เจิ้นซีสุยเจียง” มีความหมายว่า “สนับสนุนพุทธศาสนา เพื่อปกปักรักษาเขตแดน” พระพุทธรูปท่านจงคาปา ตั้งอยู่ในตำหนักตงต้าเตี้ยน ซึ่งชาวทิเบตเคารพบูชาเหมือนหนึ่งพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง
ตำหนักตงต้าเตี้ยน สร้างในเวลาเดียวกันกับวังขาว ในปีค.ศ. 1645 ตั้งอยู่ในบริเวณชั้นที่ 4 ของวังขาว และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 ซึ่งเป็นปีทีทะไลลามะองค์ที่ 5 ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดแห่งสงฆ์ ควบกับการเป็นผู้ปกครองแผ่นดินทิเบต ทะไลลามะองค์ต่อๆมา ต่างได้เข้าพิธีรับพระราชทานสมัญญา เป็นผู้นำทางศาสนาและการปกครองเรื่อยมา
องค์ทาไลลามะจะประทับ ณ พระตำหนักขาวเฉพาะในฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงกันยายน จะเสด็จประทับ ณ ตำหนัก นอร์บุหลิงฆา
พระราชวังโปตาลาเป็นที่ประทับของทะไลลามะ ตั้งแต่องค์ที่ 5 จนมาถึงองค์ที่ 14 ก็กลายเป็นเพียงตำนาน เมื่อกองทัพแดงของจีนบุกเข้ายึดครองในทิเบตในปี พ.ศ.2493 ส่งผลให้เกิดจราจลในกรุงลาซา จนในที่สุด วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2502 ทะไลลามะองค์ที่ 14 ต้องเสด็จออกจากวังโปตาลาไปลี้ภัยในประเทศอินเดีย ตราบจนวันนี้
จาก
http://reviewchina.blogspot.com/2012/08/potala-palace-tibet-2.htmlhttp://www.oceansmile.com/China/TibetPotala.htm