ผู้เขียน หัวข้อ: มองปัญหาด้วยปัญญา : วิญญาณ กายทิพย์ และวิธีป้องกันตนจากคุณไสย  (อ่าน 2005 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
 

   ปุจฉา

       วิญญาณ กายทิพย์ คุณไสย       
          วิญญาณคืออะไร มีกี่ดวง สัมพันธ์กับกายทิพย์อย่างไร และจะมีวิธีป้องกันตน มิให้ถูกคุณไสยได้อย่างไร

       
      วิสัชนา

          จริงๆ แล้ว เราต้องเข้าใจความหมายของวิญญาณโดยสถานะสองสถานะก่อนว่า วิญญาณโดยอรรถและพยัญชนะในศัพท์ของพระธรรม แปลว่า การรับรู้ นั่นคือวิญญาณ
       
          แต่วิญญาณโดยอรรถและพยัญชนะของชาวบ้าน แปลว่า สิ่งที่เป็นพลังงานจับต้องไม่ได แต่แสดงกลุ่มก้อนของพลังงานได้ ที่พวกเราเรียกว่า กายทิพย์ หรือปรมันต์ ในภาษาบาลี สันสกฤต เรียกปรมันต์
       
          เมื่อวิญญาณมีโดยสองสถานะอย่างนี้ คำถามที่ถามว่า วิญญาณจริงไปเกิดทันที มีคำถามที่แฝงอยู่ในคำถามสองประโยคนี้ ก็คือ คำถามว่าวิญญาณมีดวงเดียวหรือไม่
       
          จริงๆ แล้ว วิญญาณไม่ได้มีดวงเดียว วิญญาณนี้จะเกิดดับตามสภาวธรรมที่ปรากฏ เช่นตาเห็นรูปเกิดความรู้สึก เขาเรียกว่าวิญญาณสัมผัส วิญญาณผัสสะ ตาเห็นรูปเกิดผัสสะ เป็นวิญญาณคือการปรุงแต่ง มีความรู้สึกรับรู้เรียกว่า โสตวิญญาณ จักษุวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ คือ วิญญาณที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น เพราะฉะนั้นสภาวะของวิญญาณตามอรรถและพยัญชนะแห่งหลักอภิธรรมนั้น ก็คือวิญญาณที่เป็นความรู้สึกที่รับรู้จากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กาย จับต้องสัมผัส มันก็จะเกิดเป็นหลายๆ ร้อยดวง
       
          ในขณะที่ตาเห็นรูปตรงนี้ หันไปอีกที่ก็เห็นรูปตรงนั้นวิญญาณตรงนั้นมันดับไปแล้วเช่น ขณะนี้หลวงปู่มองเห็นองค์กฐิน และหันไปอีกทีก็เห็นต้นกล้วยองค์กฐินดับแล้ววิญญาณแห่งการรับรู้องค์กฐินมันดับแล้วเกิดวิญญาณชนิดใหม่ คือ วิญญาณที่เห็นต้นกล้วย และขณะนั้นที่มองเห็นต้นกล้วยอยู่นั้น หูเกิดได้ยินเสียงมีคนพูดให้ฟังหรือเสียงเด็กร้อง วิญญาณทางหูเกิดขึ้นอีกแล้ว วิญญาณที่เห็นต้นกล้วยก็ดับอีกแล้ว
       
          เพราะฉะนั้น กระบวนการเกิดดับของวิญญาณเป็นปรมาณู เป็นปรมันต์ เป็นสภาวะที่ยากต่อการจับต้องเป็นหลักวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ จากกระบวนการความรู้สึกความนึกคิดของตัวเอง
       
          ทีนี้ในส่วนวิญญาณที่เป็นกายทิพย์ที่พวกเรา เรียกว่า วิญญาณเกิดจากตรงนี้ แล้วไปจุติตรงนั้นเนี่ย เป็นวิญญาณที่เป็นมวลสาร วิญญาณที่เป็นกลุ่มก้อนของพลังงาน ในความเข้าใจของเรา ต้องใช้คำว่า จิตวิญญาณ เข้าไปด้วยเรียกวิญญาณเฉยๆ ไม่ถูกต้อง เรียกจิต บวกควบกล้ำ กับคำว่าวิญญาณเข้าไปด้วยแล้วจะเข้าใจความหมายของมันอย่างถ่องแท้ว่า มันถือกระบวนการของรูปหญิง รูปชายเมื่อตายไปแล้วมันจะมีพลังงานชนิดหนึ่งที่หลุดลอยออกไปจากร่างคนทั้งหลาย ชาวบ้านทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เรียกพลังงานชนิดนี้ว่า จิตวิญญาณ
       
          ถามว่า จิตวิญญาณตรงนี้มันมีดวงเดียวไหม ในกลุ่มก้อน ของพลังงานนั้น มันแปรสภาพ ได้ทุกเวลา มีดวงเดียวไหม มีดวงเดียว แต่องค์ประกอบของ มันนั้นมากมายมหาศาล เหมือนกับพลังงานดึงดูดของโลก ซึ่งบรรจุองค์ประกอบจุลภาคของสสารเข้าไปอยู่ในกระบวนการของจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น พลังงานของจิตวิญญาณมันแปรสภาพได้เสมอ มันเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกระบวนการ เหตุปัจจัยอันพร้อมมูล
       
          กระบวนการเหตุปัจจัยอันพร้อมมูลก็คือกรรม การกระทำของเรานี่แหละเป็นตัวแปลงสภาพพลังงานวิญญาณอันนั้น ว่าจะให้เป็นเพศหญิงหรือชายเป็นสุนัข ไก่ วัว ควาย เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย กรรมตรงนี้มีอำนาจเหนือพลังงานอีก
       
          พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราฝึกจิต เพื่อจะพัฒนาและผลักดันกรรมตรงนั้นออกไปและมีอำนาจครอบงำกรรมให้ได้ คือ ทำให้พลังงานเป็นพลังงานจริงๆ ทำให้กระบวนการ แห่งจิตมีอำนาจจริงๆ ที่สามารถ ควบคุมจุลภาคของสสารได้ ควบคุมอณูแห่งบรรยากาศได้ ควบคุมอณูแห่งสสารทั้งมวลได้ เมื่อเรา สามารถควบคุมมันได้ ก็ถือว่า เรามีอำนาจเหนือกรรม กรรมก็ไม่มีอำนาจที่จะผลักดันให้เราไปเป็น หมู หมา กา ไก่ วัว ควาย แต่เราจะเป็นผู้บ่งบอกเองว่าเราจะไปไหน ตรงนี้คือ การพัฒนา จิต วิญญาณ
       
          ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ ไสยศาสตร์ ต้องมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า ไสยาสน์ กันก่อน ไสยาสน์ แปลว่า นอน ศาสตร์ แปลว่า ความรู้ ความรู้ที่ทำให้เรานอน หรือการนอนเรียน เพราะฉะนั้น ความหมายของคนที่นอนเรียน จะไปได้แค่ไหน ตื่นขึ้นมาแล้ว มันก็หายไปหมด ไปเป็นความฝัน ความรู้ที่เกิดขึ้น เป็นกระบวนการของความฝันที่เหมือนลอยอยู่กลางอากาศ มันเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ขณะที่เหตุปัจจัยพร้อมมูลเท่านั้น มันไม่ใช่ เสมอไปทุกขั้นทุกตอน นั่นคือ ความหมายของคำว่า ไสยศาสตร์
       
          ส่วนคำว่า ”วิทยาศาสตร์” นั้น”วิทยา” คือความรู้ ศาสตร์ ก็คือความรู้ ความรู้ที่บวกความรู้ และก็สามารถค้นหาได้ในความรู้นั้นๆ และทดสอบพิสูจน์ได้
       
          เพราะฉะนั้น ไสยศาสตร์ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า เดรัจฉานวิชาเดรัจฉานวิชาคือ ผู้ขวางไป สัตว์เดรัจฉานจะไม่เดินตรง มันจะเดินขวางๆ คือเอาตัวขวางกับแผ่นดิน ไม่ใช่เดิน รีๆ ขวางๆ คือทำตัวให้ขวางกับแผ่นดินไม่ได้ทำตัวตั้งดิ่งกับแผ่นดิน
       
          เพราะฉะนั้น ไสยศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา เป็นวิชาของผู้ ขวางไปในแผ่นดิน เวลาเดินแข่งกันผู้ขวางจะเดินช้ากว่าคือ จะไปได้ลำบากกว่า ไปได้ทุกข์ยากกว่า เพราะต้องหน้าเลียบแผ่นดินไป ไม่ได้มองตรวจการณ์อะไรได้ไกลเท่าไหร่ เมื่อเป็นอย่างนี้ความเจริญคงไม่ดีเท่าที่ควรนัก
       
          พระพุทธเจ้าจึงทรงไม่ส่งเสริม ไม่สนับสนุนให้เราเรียนรู้

       
          แต่ถ้าถามหลวงปู่ว่า ปัจจุบันนี้จะป้องกันอย่างไร
       
          ก็คือ ต้องทำตัวเองให้เป็นวิทยาศาสตร์ ทำตัวเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ คือ รู้จักเหตุและผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักเวลา รู้จักสถานที่
       
          รู้จักบุคคล รู้จักตน คือรู้จักว่าตนเองจะต้องมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์แบบนี้
       
          รู้จักประมาณ คือ รู้จักสถานะ สภาพของตัวเองว่าเวลาอย่างนี้ อย่าตะกรุมตะกราม ตะกละ ทะยานอยากเกินไปนัก
       
          รู้จักกาล คือ รู้จักว่าสถานการณ์อย่างนี้ เขาไม่ควร ต้องพูดเสียงดัง เราก็อย่าไปพูดมาก แต่ต้องตั้งใจฟัง เพื่อให้เกิด ปัญญาญาณ หยั่งรู้ในการที่ได้จากการฟัง
       
          เมื่อรู้จักเวลาในการที่แสดง ออกต่อสถานะ ต่อบุคคล ต่อสถานที่ เราก็จะมีชีวิตอยู่อย่าง เป็นนักวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่อย่างเป็นผู้ทดสอบ พิสูจน์ทราบ ได้ทุกขั้นตอนทุกสถานการณ์ ไม่ว่าต่อหน้า หรือลับหลัง
       
          เพราะฉะนั้น กระบวนการของวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวที่พิสูจน์ได้
       
          วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา หลวงปู่ก็ยังบอกว่า วิทยาศาสตร์ยังตามหลังพุทธศาสตร์อยู่ เหตุผลก็คือ หลักการของนิวเคลียร์และอะตอมนะ สองพันกว่าปีก่อนพระพุทธเจ้าสอนเอาไว้แล้ว สอนมาก่อนที่ฝรั่งจะค้นหาได้ เมื่อสองร้อยสามร้อยปีนี้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น มีคนเขียนบทโศลกและเขียนปฏิกิริยาของกาย ในคัมภีร์ไตรเพทรู้สึกว่าใครจะเป็น คนเขียนประสบการณ์ของวิญญาณในเทป แล้วหลวงปู่ได้อ่านเจอ คือตรวจต้นฉบับ ก็ได้เขียนความเห็นของหลวงปู่ ลงไปว่า
       
          ร่างกายเราเปรียบได้คือ อวัยวะ และเชลล์ในร่างกาย เปรียบได้กับดวงดาวในจักรวาล ในกาแล็กซี หลวงปู่ได้เขียนข้อวิจารณ์ลงไปว่า หลวงปู่มีความเห็นว่าดวงดาวในกาแล็กซีในจักรวาลนั้น มิใช่มีเฉพาะที่เรารับทราบได้ในร่างกาย มันยังมีประกอบในอนันตจักรวาล ในอนันตกาแล็กซีอีกเยอะแยะ ไม่ใช่มีเฉพาะที่เราเห็นในกาแล็กซีที่ปัจจุบันเราอยู่เท่านั้น
       
          ฉะนั้นการที่บอกว่า ร่างกายของเราคืออวัยวะในร่างกายเซลล์ต่างๆ ในร่างกายที่เท่ากับดวงดาวในกาแล็กซีนั้นไม่ใช่ มันใช่เฉพาะปัจจุบัน กาแล็กซีแต่ละกาแล็กซี จักรวาลแต่ละจักรวาล มีอายุขัยด้วยการเกิด และในอายุขัยของกาแล็กซีนั้นๆ ก็มีการสะสมดวงดาวของแต่ละกาแล็กซีนั้นๆ เทียบเท่านับไม่ได้
       
          เพราะฉะนั้น ถือว่าปัจจุบันเราอยู่ในกาแล็กซีหนึ่งในอนันตจักรวาลกาแล็กซีเท่านั้น ไม่ใช่อยู่ทั้งหมดของกาแล็กซี
       
          ฉะนั้น ข้อนี้อยากจะยกให้ฟังว่า การมีชีวิตอยู่อย่างไสยศาสตร์ มันเป็นชีวิตแค่หลับแล้วตื่น เป็นชีวิตที่ชั่วเผลอ เพราะเราละทิ้งละเลยวิทยาศาสตร์ พุทธศาสตร์ มันก็เลยเกิดกระบวนการไสยศาสตร์ตามมา แต่ถ้าเราไม่ละทิ้ง ไม่ละเลยวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ให้ถ่องแท้ในพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ก็ไม่มีอำนาจเหนือเรา

จาก http://astv.mobi/ANFD9CG

http://www.manager.co.th/Dhamma/viewbrowse.aspx?BrowseNewsID=8101&Page=20
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...