ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร ( พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ วิปัสนาจารย์ )  (อ่าน 1257 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


 หลักปฏิจจสมุปบาท คือ หลักธรรมทั้งหลายที่อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของเหตุผลที่ทำให้วัฏสงสารดำเนินไปเหมือนกงล้อที่หมุนวน ผู้ที่เข้าใจในเรื่องนี้ดีย่อมจะตัดวงจรแห่งภพชาติได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจจะต้องเวียนว่ายตายเกิดภพแล้วภพเล่า ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ในพระสูตรในทุกแง่มุมหลายร้อยสูตร ซึ่งท่านอาจารย์มหาสีสยาดอได้ให้ลูกศิษย์ถอดเทปให้ ในคราวที่ท่านได้เทศบรรยายไว้ และได้พิมพ์เผยแพร่ออกเป็นภาษาอังกฤษซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในส่วนของการแปลเป็นไทย พระคันธสาราภิวงศ์ได้เพิ่มเชิงอรรถกว่า ๓๔๐ แห่ง ซึ่งอธิบายส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเพิ่มเติม จากพระไตรปิฎก อรรกถา ฎีกา เพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเทียบเคียงจากหลักปริยัติธรรม และประสบการณ์จากการปฏิบัติอย่างแท้จริง ให้เห็นชัดเจน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชาวพุทธได้เข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างถูกต้อง

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนา
พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง

ฟังออนไลน์เสียงอ่านหนังสือเล่มนี้ เสียงอ่านโดย เพ็ญศรี อินทรทัต
http://www.puthakun.org/puthakun/index.php?option=com_content&view=article&id=1420:2013-12-23-04-58-05&catid=127:2012-02-26-01-41-52

อนุโมทนาธรรมทานโดย วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง
http://www.wattamaoh.org/



<a href="https://www.youtube.com/v/2ZDhwfe8rVQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/2ZDhwfe8rVQ</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/M1uYVAjMQGs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/M1uYVAjMQGs</a>






ประวัติมหาสีสะยาดอ

พระอาจารย์ อู โสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ซึ่งรู้จักกันกว้างขวางกว่า ในนาม พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ นั้น ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 ( ค.ศ. 1904 ) ในครอบครัวของคหบดีชาวชนบท บิดาชื่อ อู กันถ่อ ( U Kan Htaw ) มารดาชื่อ ดอว์ ซวยออก ( Daw Shwe Ok) ท่านเกิดที่บ้าน เชตโข่น (Seikkhun) ที่อยู่ห่างจากด้านตะวันตกของเมืองชเวโบ( Shwebo )ไปประมาณ 7 ไมล์ เมืองชเวโบ( Shwebo)นี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสหภาพพม่า และเคยเป็นราชธานีของกษัตริย์(อลองพญา)ผู้ก่อตั้งราชวงศ์สุดท้ายของพม่ามาก่อนเมื่ออายุได้ 6 ปีท่านเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนของวัดประจำหมู่บ้าน จนอายุได้ 12 ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณรมีฉายาว่า โสภณะ และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) แต่ละปีในช่วง 3 ปีถัดมา ท่านได้สอบผ่านในสนามสอบบาลีศึกษาของทางราชการ ในชั้นต้น(ปฐมแง) กลาง(ปฐมลัต) สูง(ปฐมจี) และสำเร็จการศึกษาชั้น ธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาของคณะสงฆ์พม่าในช่วงปีพรรษาที่ 4 ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครมัณฑะเลย์ ( Mandalay )ซึ่งเลื่องลือในด้านของพุทธศาสนศึกษา ที่นครมัณฑะเลย์ ( Mandalay )นี้เอง ท่านได้รับการสั่งสอนอบรมเพิ่มเติมจากพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน จนถึงพรรษาที่ 5 จึงได้เดินทางต่อไปยังเมืองมระแหม่ง( Moulmein ) และเข้ารับหน้าที่สอนพระคัมภีร์บาลีไตรปิฎกอรรถกถา( Buddhistscripture )ที่สำนักวัดตองไวกาเล( Taung-waing-galay Taik Kyaung )

 ในปีพรรษาที่ 8 ของท่าน ท่านได้ออกเดินทางจาริกพร้อมกับพระภิกษุสหายอีกรูปหนึ่งโดยมีเฉพาะเครื่องบริขารที่จำเป็นติดตัวไปด้วย(อาทิ บาตรและไตรจีวร) โดยตั้งความประสงค์ที่จะแสวงหาวิธีเจริญกรรมฐานที่ชัดเจนถูกต้องถ่องแท้และได้ผลที่สุด เมื่อเดินทางมาถึงเมืองตะโทง(สะเทิมหรือสุธรรมบุรีในอดีต –Thaton) ท่านได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์ อู นารทมหาเถระ พระกัมมัฏฐานาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม พระอาจารย์ มินกุน เชตวัน สะยาดอว์ ( Mingun Jetawun Sayadaw the First ) และได้ปวารณาตนขอเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานระดับเข้มข้นทันทีการฝึกวิปัสสนากรรมฐานของท่านก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก จนเมื่อคราวที่ท่านกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่บ้าน เชตโข่น (Seikkhun) ท่านสามารถสั่งสอนลูกศิษย์ฆราวาส 3 คน ให้ก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างรวดเร็ว และเป็นเสมือนแรงบันดาลใจที่กระตุ้นให้ชาวบ้านอีก50 คนทยอยกันเข้ามาขอฝึกวิปัสสนากรรมฐานในระดับเข้มข้นกับท่านอีกด้วยอย่างไรก็ตามพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ไม่สามารถอยู่ฝึกฝนกับพระอาจารย์ มินกุนเชตวัน สะยาดอว์ ได้นานเท่าที่ท่านปรารถนา ท่านถูกเรียกตัวกลับมายังวัดที่เมืองมระแหม่ง(Moulmein)เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสซึ่งชรามากแล้วล้มป่วยหนัก หลังจากที่กลับมาถึงวัดได้ไม่นานท่านเจ้าอาวาสก็มรณภาพ พระอาจารย์มหาสี สยาดอว์ ได้รับการขอร้องให้ดำรงตำแหน่งสืบต่อแทน และกลับมาสอนพระภิกษุที่จำพรรษาที่นั่นอีกครั้ง ในช่วงนั้นเองที่ท่านได้เข้าสอบวิชาการสอนบาลีศึกษาซึ่งเปิดทำการสอบเป็นครั้งแรกในเมืองนั้นเมื่อปีพ.ศ.2484(ค.ศ.1941) จนได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระสาสนธชะ ศรีปวระธัมมาจริยะ( Sasanadhaja Sri Pavara Dhammacariya )ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศพม่า ทางการได้สั่งอพยพผู้คนที่อยู่ใกล้เมืองมระแหม่ง(Moulmein ) รวมทั้งพระภิกษุในวัดตองไวกาเล ( Tuang-waing-galay ) และชาวบ้านใกล้เคียงเพราะอยู่ใกล้กับสนามบินและเสี่ยงภัยต่อการถูกถล่มจากเครื่องบินทิ้งระเบิด พระอาจารย์จึงใช้โอกาสทองนี้เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่บ้านเชตโข่น (Seikkhun) และทุ่มเทให้กับการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานของตัวท่านเองอย่างเต็มที่ และพร้อมๆกัน ก็ได้กรุณาสั่งสอนอบรมให้แก่สานุศิษย์ด้วยท่านเลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดชื่อ มหาสี( Maha-Si Kyaung ) หรือ วัดกลองใหญ่ (ที่มาของชื่อวัดก็คือ วัดนี้มีกลองขนาดใหญ่มาก ในภาษาพม่า สี = กลอง และ มหา = ใหญ่ ) และจากชื่อของวัดนี้เองที่ทำให้ชาวบ้านขนานนามท่านต่อ ๆ มา ว่า พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์



  ในช่วงนี้เอง ที่พระอาจารย์ได้รจนาตำราเล่มสำคัญขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2488(ค.ศ.1945) เป็นต้นตำรับที่อธิบายถึงกรรมฐานแบบสติปัฏฐานทั้งในแง่ของปริยัติและปฏิบัติ ให้ชื่อว่า Manual of Vipassana Meditation ที่น่าทึ่งอย่างยิ่งก็คือ ท่านใช้เวลาเพียง 7 เดือนในการรจนาตำราเล่มนี้ ซึ่งเมื่อรวมทั้ง 2 ภาค มีความหนาถึง 858 หน้ากระดาษพิมพ์ อีกทั้งในช่วงเวลาที่เขียนนั้น เมืองชเวโบ(Shwebo) ที่อยู่ใกล้ๆก็ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนักเกือบทุกวัน นับจากนั้นจวบจนถึงบัดนี้ มีเพียงบทที่ 5 ของตำราเล่มนี้เท่านั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ Practical InsightMeditation : Basic and Progressive Stages ( จัดพิมพ์โดย Buddhist Publication Society)จากนั้นไม่นาน ชื่อเสียงของพระอาจารย์มหาสี สยาดอว์ ก็เลื่องลือไปทั่วทั้งแถบเมืองชเวโบและเมืองสกายน์ ( Shwebo-Sagaing ) เรียกความสนใจของท่านเซอร์ อู ตวิน( Sir U Thwin )รัฐบุรุษ อาวุโสของพม่าเป็นอย่างยิ่ง รัฐบุรุษท่านนี้เป็นชาวพุทธที่เปี่ยมด้วยศรัทธาในพระศาสนา ผู้ซึ่งตั้งความปรารถนาไว้ว่าจะส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาในพม่าแข็งแกร่งยิ่ง ขึ้น โดยจะจัดสร้างศูนย์วิปัสสนากรรมฐานให้พระวิปัสสนาจารย์ที่ท่านมั่นใจได้ว่า เปี่ยมด้วยคุณงามความดีและความสามารถ หลังจากที่ท่านรัฐบุรุษได้พบพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ และฟังพระธรรมเทศนาสั่งสอนประกอบกับได้เข้าฟังพระอาจารย์สั่งสอนอบรมแม่ชีใน เมืองสกายน์ ( Sagaing ) ท่านก็ยินดีและมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าท่านได้พบกับบุคคลในอุดมคติที่เฝ้าแสวงหามานานแล้วสมาคมพุทธสาสนะนุคคหะ ( Buddha Sasana Nuggaha Organization ) จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2490(ค.ศ.1947)ในพระนครย่างกุ้ง โดยมีท่านเซอร์ อู ตวิน ( Sir U Thwin )เป็นประธานกรรมการบริหารสมาคมคนแรก ภายใต้จุดประสงค์ที่จะสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ ในปีถัดมา ท่าน เซอร์ อู ตวินได้บริจาคที่ดิน 5 เอเคอร์ที่กกกายน์( Kokkine ) ในพระนครย่างกุ้งเพื่อให้สมาคมจัดสร้างเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งในกาลต่อมาสถานที่แห่งนี้ก็คือที่ตั้งของสำนักวิปัสสนาสาสนยิกต้า( Sasana Yeiktha )ในปัจจุบัน ที่ขยายใหญ่ขึ้นบนเนื้อที่ 20 เอเคอร์พร้อมหมู่อาคารใหญ่น้อยมากมายเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ในปีพ.ศ. 2492(ค.ศ. 1949) ท่าน อู นุ นายกรัฐมนตรีของสหภาพพม่า(ในขณะนั้น) และ ท่านรัฐบุรุษ เซอร์ อู ตวิน ได้ร่วมกันอาราธนานิมนต์พระอาจารย์ มหาสีสยาดอว์ เข้ามายังพระนครย่างกุ้งเพื่อสั่งสอนอบรมวิปัสสนากรรมฐานที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแห่งนี้ โดยได้เริ่มสอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม 25 คนแรก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมพ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) เพียงไม่กี่ปีหลังจากที่พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ได้เริ่มเข้ามาสอนวิปัสสนากรรมฐานในพระนครย่างกุ้ง ได้มีการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนากรรมฐานในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างกว้างขวางจนมีจำนวนกว่าร้อยแห่ง ทั้งในประเทศพม่า และเผยแพร่ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เช่น ประเทศไทยและศรีลังกาด้วย จำนวนของผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้ารับการฝึกจากศูนย์วิปัสสนากรรมฐานทั้งหมด (ทั้งในและนอกประเทศพม่า) จนถึงปีพ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) มีมากมายถึงกว่า 7 แสนคน และ วิปัสสนากรรมฐานยังคงได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องต่อไปยังประเทศทั้งทาง ซีกโลกตะวันออกและตะวันตกในคราวที่การประชุมสังคายนาครั้งที่ 6 ( ฉัฏฐสังคายนา - Chattha Sangayana ) จัดขึ้นที่พระนครย่างกุ้งเป็นเวลานานถึง 2 ปี จวบจนบรรลุความสำเร็จลงในปีพ.ศ.2500(ค.ศ.1956)นั้น พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งเช่นกัน นอกจากท่านจะรับหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการที่รับผิดชอบในการรวบรวม ดำเนินการทำพระคัมภีร์ที่สังคายนาเพื่อให้สังฆสภาที่มาประชุมรับรองแล้ว ท่านยังรับหน้าที่สำคัญยิ่ง อันได้แก่ เป็นผู้ตั้งปุจฉา-ปุจฉกะ (Pucchaka) ซึ่งเป็นผู้ถามข้อความในพระไตรปิฎก เพื่อให้พระเถระระดับสูงซึ่งทรงอภิญญาด้วยความทรงจำเป็นเลิศนามว่า พระเถราจารย์ วิจิตตสาราภิวังสะ (Venerable Vicittasarabhivamsa) เป็น ผู้วิสัชนาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของหน้าที่ทั้งสองนี้ ก็อาจเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อคราวปฐมสังคายนาที่จัดขึ้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานได้หนึ่งร้อยวันนั้นหน้าที่ตั้งปุจฉานี้ได้กระทำโดย ท่านพระมหากัสสปมหาเถระ พุทธสาวกองค์สำคัญ เพื่อให้ พระอุบาลี เถราจารย์ และ พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาหลังจากที่การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 6 เสร็จสิ้นลง ที่ประชุมได้มีมติให้ทำการสังคายนาพระอรรถกถาแต่โบราณ (ancient commentaries and subcommentaries) ซึ่งเป็นงานที่ยากและละเอียดลอออย่างยิ่งนั้น พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็เป็นท่านหนึ่งที่รับหน้าที่หลักในงานสำคัญชิ้นนี้แม้ว่าจะมีภาระหน้าที่มากมาย พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ยังสามารถรจนาตำรับตำราได้มากมายกว่า70 เล่ม โดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่า มีเพียงส่วนน้อยที่รจนาด้วยภาษาบาลี ตำราสำคัญเล่มหนึ่งที่ควรต้องกล่าวถึงไว้ในที่นี้คือ คำแปลพระอรรถกถาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค ( TheCommentary to the Visuddhimagga : Visuddhimagga Maha-Tika ) เป็นภาษาพม่า ซึ่งจากต้นฉบับพระคัมภีร์ภาษาบาลีแต่เดิมทั้ง 2 เล่มนับว่ามีความหนามากอยู่แล้ว พระอรรถกถาเล่มนี้ก็ยิ่งมีเนื้อหาความหนามากขึ้นไปอีก โดยได้แสดงให้เห็นความยากในแง่ต่าง ๆ ทั้งทางด้านภาษาศาสตร์และเนื้อหา ในปีพ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) พระอาจารย์จึงได้รับสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสำคัญยิ่ง คือ อัครมหาบัณฑิต ( Agga-Maha-Pandita ) ภารกิจท่วมท้นดังได้กล่าวมานี้มิได้ทำให้พละกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ถดถอยลงแต่ประการใด ท่านยังคงเดินทางเป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่พระพุทธธรรมไปในประเทศต่าง ๆ หลายต่อหลายครั้ง แม้ว่าการเดินทางสองรอบแรกของท่านจะเป็นไปเพื่อการเตรียมการของงานฉัฏฐสังคายนา แต่ท่านก็ได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการเทศนาและสั่งสอนอบรมสานุศิษย์ไปพร้อม ๆ กัน คณะธรรมทูตของพระอาจารย์ได้เดินทางไปเผยแพร่ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้



• ประเทศไทย, กัมพูชา และ เวียตนาม ปีพ.ศ. 2495 ( ค.ศ.1952)
• ประเทศอินเดีย และ ศรีลังกา ปีพ.ศ. 2496 และ 2502 ( ค.ศ.1952- 1959)
• ประเทศญี่ปุ่น ปีพ.ศ. 2500 ( ค.ศ.1957)
• ประเทศอินโดนีเซีย ปีพ.ศ. 2502 ( ค.ศ.1959)
• ประเทศสหรัฐอเมริกา, ฮาวาย,อังกฤษ และ ภาคพื้นยุโรป ปีพ.ศ. 2522 ( ค.ศ.1979)
• ประเทศอังกฤษ, ศรีลังกา, สิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศไทย ปีพ.ศ. 2523 ( ค.ศ.1980)
• ประเทศเนปาล และ อินเดีย ปีพ.ศ. 2524 ( ค.ศ.1981)


  ไม่ว่างานจะหนัก ภารกิจจะมากมายเพียงใด พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ก็มิเคยละเลยกิจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของตัวท่านเองเลย ท่านจึงสามารถให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าแก่ศิษยานุศิษย์ที่ท่านอบรมสั่งสอนด้วยตนเองด้วยเมตตาที่เปี่ยมล้นอยู่เสมอ ท่านได้ทุ่มเทพละกำลังทั้งแรงกายและจิตใจเพื่อเผยแผ่พระพุทธธรรมจวบจนท่านเจริญอายุถึง 78 ปีพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ได้ละสังขารเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ด้วยอาการหัวใจวายที่คุกคามพระอาจารย์ตั้งแต่คืนก่อนหน้านั้น ทั้งนี้แม้ในค่ำวันที่ 13 สิงหาคมนั้นเองพระอาจารย์ก็ยังคงกรุณาสอนกรรมฐานให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ และสั่งสอนอบรมด้วยเมตตาธรรมที่เปี่ยมล้นเป็นครั้งสุดท้ายพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต เป็นปูชนียบุคคลที่นับว่าหาได้ยากยิ่ง ความผสมผสานกันอย่างลงตัว ของอัจฉริยภาพและความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเชิงปริยัติที่ล้ำลึกและกว้างไกล เมื่อประกอบเข้ากับประสบการณ์และปัญญาญาณที่พัฒนาและสั่งสมจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเป็นบุคคลที่สามารถให้คำสั่งสอนที่ทรงคุณค่าประเสริฐทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างหาได้ยาก



   โอวาทที่พระอาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทั้งด้วยปากเปล่าและที่รจนาเป็นตำรับตำรา ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้คนนับแสนนับล้านทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตก วัตรปฏิบัติอันน่าชื่นชมของท่านตลอดจนผลงานที่ทรงคุณค่าสุดจะนับคณนา ส่งให้ท่านเป็นรัตนะน้ำเอกอีกหนึ่งดวงในวงการพุทธศาสนาในยุคใหม่นี้หนังสือที่รจนาโดยพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว(คัดสรรแล้ว)

• The Progress of Insight through the Stages of Purification. (1)
(วิสุทธิญาณกถา – พร้อมภาษาบาลี)
• Practical Insight Meditation. Basic and Progressive Stages (1)
(แนวปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน – พื้นฐาน และ ลำดับของการพัฒนา)
• Practical Vipassana Meditational Exercises (2)
(แนวการฝึกฝนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน)
• Purpose of Practising Kammatthana Meditation (2)
(วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติกรรมฐาน)
• The Wheel of Dhamma (Dhammacakappavattana Sutta) (2)
(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
(1)= Buddhist Publication Society, Kandy, Sri Lanka.
(2)= Buddha Sasana Nuggaha Organization, 16 Sasana Yeiktha Road, Yangon,Myanmar.


จาก https://sites.google.com/site/montasavi/prawati-mha-si-sa-yad-x
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...