ผู้เขียน หัวข้อ: ตอบโจทย์ : "ศูนย์ค้ำคูณ" ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง  (อ่าน 1116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ศูนย์ค้ำคูณแหล่งรวมปราชญ์อีสาน

ปลุกสำนึกชาวบ้านตื่นตัว! คืนระบบนิเวศห่างไกลโรค
 
อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีจำนวนประชากร 43,000 คน ร้อยละ 90 ของประชากร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพ ค้าขาย การประมงในเขื่อนอุบลรัตน์ รับจ้างและรับราชการ ทีมงานแพทย์ พยาบาลและบุคลากร ภายใต้การนำของ นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผอ.รพ. อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มุ่งมั่นอยากให้ประชาชนกินดีอยู่ดี มีสุขภาพดี ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญา แต่...เริ่มแรก ก็หลงทาง เพราะมีความเชื่อว่า สุขภาพดี หมายถึง โรงพยาบาลดีเท่านั้น
 
เมื่อทีมงานหลงทาง จึงได้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ปี 2534 โดยทีมงานวิจัยได้ลงไปในหมู่บ้านไปดูชาวบ้านและดูคนไข้ทุกคน ตลอดจนดูคนไข้ที่สถานีอนามัยและที่โรงพยาบาลไปพร้อมกัน พบว่าคนไข้ในช่วงนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่รักษาหายไม่รักษาตายหรือพิการ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ท้องนอกมดลูก ปอดบวม หรือไข้เลือดออก กลุ่มนี้ต้องการการดูแลจากหมอและพยาบาลอย่างใกล้ชิด กลุ่มที่ 2 รักษาตายไม่รักษาหาย หรือที่เรียกพื้น ๆ ว่าโรคหมอทำ กลุ่มนี้ใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทีมบุคลากรช่วยกันทำ อาศัยการจัดการความเสี่ยง
 
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย เช่น ไข้หวัดเล็กน้อย และ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มรักษาก็ตายไม่รักษาก็ตาย เช่น เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 รวมกันร้อยละ 76 ซึ่งถ้าบอก คนไข้ว่าเป็นอะไรรีบไปหาหมอ สองกลุ่มนี้จะไปกันเต็มโรงพยาบาล เพราะฉะนั้น กลุ่มที่ 3 กับกลุ่มที่ 4 ต้องหาแนวร่วม โดย รพ.อุบลรัตน์ได้หาแนวร่วมเริ่มจากไปพัฒนาบุคลากรตามสถานีอนามัยทั้ง 8 แห่ง อย่างเต็มที่และเป็นระบบ นอกจากนั้น ยังร่วมกับร้านขายยาและกองทุนยา จำนวน 300 แห่ง ทำบุญช่วยคนไข้โดยจ่ายยาดีมีคุณภาพ พร้อมนิเทศติดตามสม่ำเสมอได้ 250 แห่ง
 
ผลปรากฏว่า ภายหลังนำร่องได้ช่วยดูแลคนไข้ได้ 70,000 ครั้ง แต่ที่ต้องทึ่ง อย่างไม่น่าเชื่อก็คือ มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะให้บริการ แพทย์พื้น  บ้านทั้งนวด อบสมุนไพร คือ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลผู้ป่วย ทำให้เมื่อปี 2547 ก็สามารถช่วยดูแลคนไข้ไปได้ถึง 20,000 ครั้ง ผลจากคนไข้   ลดน้อยลง ทำให้ทีมสุขภาพมีเวลาไปดูแล สร้างสุขภาพของแม่และลูกของ   ผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ทำให้การเจ็บป่วยลดน้อยถอยลง จากระบบป้องกันโรคด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน ราคาไม่แพง เพื่อที่ควบคุมโรคระบาดในกลุ่มต่าง ๆ
 
ทำให้ทีมงานสุขภาพของ รพ.อุบลรัตน์ ไปเรียนรู้จากภูมิปัญญาของชาวบ้านหรือจากปราชญ์ ซึ่งคนกลุ่มนี้อาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ ใช้ระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดมีความสุข มีสุขภาวะดีทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา ทำให้อัตราการตาย อัตราการป่วยน้อยลง อัตราที่จะต้องมาโรงพยาบาลน้อยลง
 
ผลพวงที่ได้รับที่สำคัญที่สุด ก็คือ เกิดพลังในกลุ่มชาวบ้าน เองที่จะมาช่วยโรงพยาบาล ยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลเพื่อชุมชน เป็นของ ชุมชน และโดยชุมชนเอง ส่งผลให้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนี้เป็นจริงมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เหล่านี้
 
กล่าวง่าย ๆ คือ ชาวบ้านหรือปราชญ์ ชาวบ้าน ที่อาศัยหลักอริยสัจสี่ คือ รู้ทุกข์    รู้สาเหตุ รู้ทางเลือก และการวางแผนปฏิบัติ โดยนำแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ ด้วยการรู้จักตนเอง ลดรายจ่าย อุดรูรั่วทั้งหลาย รวมทั้งรู้จักการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมเงิน สั่งสมกัลยาณมิตร
 
ทำให้สภาพดินดำ น้ำชุ่ม ป่าอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศอันบริสุทธิ์ กลับมาอีกครั้ง เพราะไม่มี การใช้ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง รวมทั้งปุ๋ยเคมีก็ลดลง หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักแทน
 
ส่งผลให้มีพืชผักและสมุนไพรเพิ่มขึ้น   มีกุ้ง หอย ปู ปลา และหมู เห็ด เป็ด ไก่กิน คือ มีอาหารมากขึ้น สะอาดขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น มีกินมีออมมากขึ้น จนสามารถลดหนี้สินได้ เด็ก ๆ ขาดสารอาหารน้อยลง ปัญหายาเสพติด คนแก่ไม่มีคนดูแลลดน้อยลง ไม่มีความเครียด ไม่มีความเหงา สามีภรรยารักใคร่กันดี และการอพยพแรงงานไปที่อื่น แล้วติดเอดส์กลับมาไม่มี
 
ในที่สุดจึงได้เกิด ศูนย์ค้ำคูณ ขึ้นที่บ้านทุ่งโป่ง อ.อุบลรัตน์ มี นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผอ.รพ.อุบลรัตน์ เป็น ผอ.ศูนย์ฯ จากนั้นก็มีมูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จ.ขอนแก่น มี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น เป็นประธานมูลนิธิฯ มีปราชญ์ชาวบ้าน เช่น พ่อเธียง ไทยดี จาก จ.สุรินทร์ พ่อผาย สร้อยสระกลาง จาก   จ.บุรีรัมย์ พ่อประคอง มนต์กระโทก จาก จ.นครราชสีมา พ่อบุญเต็ม     ชัยลา อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น ฯลฯ รวม 10 คน จากทุกจังหวัดในอีสานอยู่ในทำเนียบของศูนย์
 
“ผลงานเชิงประจักษ์ในปราชญ์ชาวบ้านเป็นสิ่งดีงาม และสำคัญต่อประเทศชาติบ้านเมือง ช่วยให้คนไทยและสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต จนเกิดสุขภาวะดีทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ” นพ.วีระพันธ์ ประธานมูลนิธิฯ กล่าว
 
น่าเสียดาย ทั้ง ๆ ที่มีสิ่งดี ๆ อยู่ปลายจมูกชาวเมืองหมอแคนขอนแก่นแท้ ๆ แต่...ไม่สนใจฝักใฝ่ใคร่เรียนรู้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้านอันบริสุทธิ์ เท่าที่ควรจะเป็น.

เมธี  สมสีมี


ดูต่อได้ที่ : http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=55930.0

<a href="https://www.youtube.com/v/81sHfUIc4ek" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/81sHfUIc4ek</a>

เพิ่มเติม https://www.youtube.com/user/ThaiPBS/videos
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...