พระสงฆ์วัดต้าเปย เป็นพระจีนที่น่าเคารพนับถือ
พระสงฆ์วัดต้าเปยถือศีลและปฏิบัติกิจอย่างเคร่งครัด
เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ทำให้ผู้คนทั่วไปซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง
วัดต้าเปย(大悲寺) เริ่มสร้างเมื่อค.ศ.1668 มีประวัติความเป็นมากว่า 300 ปีแล้ว ตั้งอยู่ในเขตไห่เฉิง มณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เป็นหนึ่งในวัดที่ไม่ตั้งตู้รับบริจาคเงินทำบุญแห่งเดียวในจีนแผ่นดินใหญ่ พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดถือศีลเคร่งครัดที่จะไม่เก็บเงินทอง แต่ละวันฉันจังหันเพียงมื้อเดียว คืออาหารเที่ยงเท่านั้น แต่ละปีจะจัดพิธีอุปสมบทสองครั้ง ในวันที่ 8 เมษายน และวันที่ 15 กรกฎาคม อุบาสกที่ตั้งตนเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง จะต้องท่อง "หฤทัยสูตร" และ "คัมภีร์มหากรุณา(大悲)" ได้คล่อง ถึงจะได้รับใบประกาศนียบัตรยอมรับจากทางวัด
พระสงฆ์วัดต้าเปย แต่ละวันพักผ่อนเพียง 4 ชั่วโมง ตื่นนอนตอนตี 2 สวดมนต์ 10 รอบ ส่วนช่วงบ่ายต้องสวดมนต์ 2 ชั่วโมง และแต่ละปีกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมออกธุดงค์ ระหว่างนั้นเดินรับบินฑบาตรขออาหารจากญาติโยม
พระวัดต้าเปยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังนี้
1、ไม่เก็บเงินทอง
2、ฉันจังหันวันละมื้อเดียว คืออาหารเที่ยง
3、ต้องเดินธุดงค์
4、ออกบินฑบาตขออาหาร
5、ไม่รับของกำนัลจากญาติโยม
6、ของใช้จำเป็นที่ญาติโยมถวายเป็นของส่วนกลางของวัด
7、ผ้าไตรจีวรและบาตรต้องติดตัวตลอดเวลา
8、ไม่อยากมีอยากเป็น เพราะความอยากมีอยากเป็น ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ อีกทั้ง พระที่บำเพ็ญตนในวัดต้าเปย จะต้องเชื่อฟังและขยันทำงาน
จาก
http://thai.cri.cn/247/2017/10/20/223s259515.htmเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดต้าเปย
1.การเดินธุดงค์จากภูเขาอู่ไถซาน มณฑลซานซี กลับสู่มณฑลเหลียวหนิง ต้องใช้เวลากว่า 2 เดือน พระสงฆ์วัดต้าเปยจะยึดหลักปฏิบัติธรรมอย่างเข้มงวด ไม่พักที่โรงแรม(พระต้าเปยไม่มีเงิน) จึงค้างคืนริมกองหญ้าในชนบท ป่าไม้หรือนอนใต้สะพาน กลางวันถือบาตรขออาหาร เมื่อผ่านสถานที่ที่คึกคักหรือมีฝูงคนหนาแน่น ก็จะเดินก้มหน้า ไม่มองดูที่อื่น จึงมักมีชาวบ้านชื่นชมว่า "เห็นไหม นี่เป็นพระสงฆ์ที่แท้จริง เดินสำรวมไม่เงยหน้าล่อกแล่กแม้แต่น้อย" มีครั้งหนึ่ง พระวัดต้าเปยไปขออาหารที่บ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านไม่รู้หลักการ จึงหยิบเงิน 5 หยวนถวายให้ พระรูปนี้บอกว่า "พระไม่ต้องการเงิน ขอเพียงอาหารเจก็พอ" เจ้าของบ้านฟังแล้วตะลึง ไม่รู้จะปฏิบัติตัวอย่างไรดี พอได้สติรีบร้องบอกคนในบ้านว่า "เร็วเข้า ตักข้าวถวายอาจารย์เยอะๆ"
2.พระสงฆ์ของวัดต้าเปยออกเดินทางโดยสารรถไฟ เมื่อรู้ว่าผู้โดยสารที่นั่งข้างๆเป็นผู้หญิง ก็ลุกขึ้นและออกไปยืนตรงช่วงต่อตู้รถไฟ พนักงานเห็นแล้วซาบซึ้งใจ จึงเปลี่ยนที่นั่งให้ผู้ที่นั่งข้างๆ เป็นผู้ชายทั้งหมด พระรูปนี้จึงยอมนั่งลง และมีกิริยาที่เรียบร้อยสำรวมทั้งวัน โดยฉันจังหันเพียงมื้อเดียว ทั้งนี้ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่นับถือพุทธศาสนาจำนวนมากยอมบริจาคเงินและสิ่งของให้พระ เมื่อได้ยินว่า พระสงฆ์ต้าเปยถือศีลไม่รับเงินทองแล้ว ผู้โดยสารยิ่งรู้สึกทึ่งมาก และเมื่อทราบว่า พระรูปนี้เคยเป็นนักวาดภาพ มีความรู้มากพอสมควร ไม่ใช่ออกบวชเป็นพระเพราะหนีความยากลำบาก จึงมีความเข้าใจใหม่ต่อทั้งพุทธธรรมและพระสงฆ์ และเคารพพระรูปนี้อย่างสูง
3.บาตรของพระสงฆ์วัดต้าเปยไม่มีลายสัตว์ พระอาจารย์บอกว่า "สรรพสิ่งทั้งหมดเป็นพ่อแม่ของฉัน จะต้องเคารพนับถือ" เช่น กลองที่ใช้ในวัด พระได้ถอดผืนกลองที่ทำด้วยหนังสัตว์ลงมาก แล้วฝังอยู่ใต้ดิน เพื่อแสดงความเมตตาต่อสรรพสิ่งในโลก ทำไมจะต้องทำเช่นนี้? พระต้าเปยตอบว่า "การถือศีลธรรมเป็นครู ไม่ใช่พูดอย่างเดียวต้องปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ถ้าไม่มีศีลก็จะกลายเป็นปีศาจ เพราะมีเพียงปีศาจที่ไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทั่งทำลายศีลธรรมด้วย"
4.พระอาจารย์เมี่ยวเสียง เจ้าอาวาสวัดต้าเปยนำลูกศิษย์ออกเดินธุดงค์ ในระหว่างทาง ถือศีลอย่างเข้มงวดเช่นกัน และไม่พักโรงแรม มีครั้งหนึ่ง พระอาจารย์พาลูกศิษย์นอนข้างๆ กองฟางของบ้านชาวนาหลังหนึ่ง มีพระเอาฟางหญ้ามาให้พระอาจารย์ปูบนพื้น เมื่อท่านทราบก็สั่งให้นำกลับไปคืน การไปขออาหาร ข้าวที่ขอมาหล่นลงบนพื้นจนติดดินทราย ลูกศิษย์จึงเทให้เป็ดกิน เมื่อพระอาจารย์ทราบก็นำอาหารออกมาใช้น้ำล้างแล้วกินหมด และสอนว่าอาหารที่โยมถวายมานั้น ต้องทะนุถนอมเห็นคุณค่า
5. อุบาสกที่อยู่ในวัดต้าเปยหลายปีเล่าว่า การถือศีลและบำเพ็ญตนอย่างขยันและเข้มงวดของพระเถระผู้ใหญ่และพระสงฆ์วัดต้าเปย ทำให้เจ้าหน้าที่และเศรษฐีจำนวนมากซาบซึ้งใจ บางคนคุกเข่าต่อหน้าอาจารย์ ขอถวายเงินทอง แต่พระอาจารย์ปฏิเสธหมด บ้างขอสร้างกุฏิและจัดเครื่องจักรที่ทันสมัยไปช่วยงานก่อสร้างแทน แต่พระอาจารย์ตอบว่า ลูกศิษย์สร้างที่พักกันเองได้ เพราะอยากให้ลูกศิษย์สร้างวัดขึ้นด้วยแรงตนเองจะได้รับผลบุญมากขึ้น
จาก
http://thai.cri.cn/247/2017/10/20/223s259519.htm พระสงฆ์ในวัดต้าเปยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับสูง ก่อนบวชเป็นพระ เคยเป็นแพทย์ นักข่าว วิศวกรหรือทำงานอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ "เจี่ยทัวจือลู่" แปลว่า หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน ที่สร้างขึ้นโดยอุบาสกต้าเหนี่ยว มีผู้เขียนและดูแลคอลัมน์ 8 คน ขณะนี้ 5 คนได้บวชพระแล้ว 2 คนกำลังอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของทางวัด ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ตัดสินใจบวชพระ ไม่ใช่เพราะหมดหวังในทางโลกมนุษย์ หรือสิ้นหวังจากเรื่องความรัก แต่เป็นเพราะได้พบหลักศรัทธาของชีวิตตน ได้เห็นทางสงบที่แท้จริงแล้ว
นอกจากการถือศีลและบำเพ็ญตนแล้ว พระสงฆ์วัดต้าเปยยังพยายามสร้างคุณงามความดีให้กับสังคม เมื่อปี 2009 ทั้งพระและอุบาสกร่วมกันปลูกต้นไม้ 20,000 ต้นบนภูเขาร้างที่อยู่รอบวัด แม่ชีของวัดเต้าหยวน(道源寺) ซึ่งเป็นพุทธสถานสำหรับสตรีเพศที่ออกบวชของวัดต้าเปย ก็ช่วยกันปลูกต้นไม้ ปัจจุบันภูเขาลูกนี้ถูกปกคลุมด้วยสีเขียวทั่วทั้งหมดแล้ว
ในวัดต้าเปยไม่มีตู้รับเงินบริจาค และได้ตั้งป้ายมีข้อความกำชับชัดเจนว่า "ห้ามถวายเงิน" "เดินระวังเหยียบสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งหลาย" ตั้งไว้ในหลายจุด ทั้งบนโต๊ะ กระถางธูปขนาดน้อยใหญ่ ซึ่งผู้ที่มาไหว้พระในวัดต้าเปย ไม่ต้องซื้อธูปเอง สามารถหยิบธูปที่ตั้งไว้มาจุดไหว้ได้โดยไม่ต้องเสียเงินสักนิด ซึ่งผู้ที่มาไหว้พระส่วนใหญ่มักเอาธูปมาด้วย และถ้าใช้ไม่หมดก็จะวางบนโต๊ะให้คนอื่นใช้
ในวัดแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยจะมีป้ายที่เขียนว่า "ห้ามผู้มากราบไหว้เข้า" เพราะด้านในเป็นที่พักและบำเพ็ญตบะของพระสงฆ์และอุบาสก ไม่มีเรื่องพิเศษห้ามออกมา ข้างนอกเป็นสถานที่เปิดให้เข้าชม พระในวัดห้ามคุยกับผู้เข้าชม
สำหรับการแต่งตัว เครื่องนุ่งห่มพระสงฆ์วัดต้าเปยมีลักษณะแตกต่างจากวัดอื่น คือ แทบจะไม่พบพระสงฆ์ที่สวมเครื่องนุ่งห่มใหม่เอี่ยมปราศจากการปะซ่อมเลย มีคนไม่เข้าใจว่า การแต่งกายอย่างนี้เพราะไม่มีเงิน หรือคงต้องการโฆษณาเรียกร้องความเห็นใจจากสังคม พระอาจารย์เมี่ยวเสียงอธิบายว่า ที่แท้เป็นเพราะเมื่อบวชเป็นพระแล้ว ไม่ควรยึดติดในการแต่งตัว และไม่ใช่ไม่ให้ใส่เสื้อใหม่ แต่เพราะวัดมีกฎให้พระแต่ละรูปมีเครื่องนุ่งห่มได้มากสุด 2 ชุดเท่านั้น ถ้ายึดติดในเครื่องแต่งภายจะทำให้เกิดกิเลสมากขึ้น อีกอย่าง การแต่งชุดเก่าๆ จะช่วยทำให้ห่างไกลจากสตรีเพศได้ง่าย เพราะคงไม่มีผู้หญิงคนใดอยากคบหากับผู้ที่
สำหรับสิ่งของและอาหารที่ศาสนิกชนบริจาค ทางวัดต้าเปยรับแต่จำนวนที่ต้องการ ทางวัดจะไม่รับเงินและสิ่งของที่ไม่จำเป็นอย่างเด็ดขาด
จาก
http://thai.cri.cn/247/2017/10/20/223s259522.htm