เตรียม 'รับมือ 6 โรคอุบัติใหม่'
* คุณภาพชีวิต
* เรื่องเด่น
ทวีความรุนแรงมากขึ้น
สถานการณ์ และการดำเนินงาน "โรคติดต่ออุบัติใหม่" เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ และอาจกลายเป็นสาธารณภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากสามารถก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสุขภาพ ชีวิต และเศรษฐกิจของประเทศได้มหาศาล
ปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1 N1 2009 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจทั่วโลก และหากประเทศไทยไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่จะส่งผลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง
องค์การอนามัยโลก ให้นิยามของ โรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) หมาย ถึง โรคติดต่อเชื้อชนิดใหม่ๆ ที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือโรคที่เพิ่งจะแพร่ระบาดเข้าไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง และยังรวมถึงโรคติดเชื้อที่เคยควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่เกิดการดื้อยา โดยจัดกลุ่มโรคติดต่ออุบัติใหม่ไว้ 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1.1 โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (New infectious diseases) เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 2009 ไข้สมองอักเสบนิปาห์ไวรัส
1.2 โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (New geographical areas) เป็นโรคที่มาจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง หรือข้ามทวีป เช่น โรคเวสต์ไนล์ไวรัส
1.3 โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) คือ โรคติดต่อที่เคยระบาดในอดีต และสงบไปนานแล้ว แต่กลับมาระบาดอีก เช่น ไข้ชิคุนกุนยา
1.4 เชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial resistant organism) เช่น วัณโรคดื้อยา
1.5 อาวุธชีวภาพ (Deliberate use of bio-weapons) โดยการใช้เชื้อโรคหลายชนิดผลิตเป็นอาวุธเช่น เชื้อแอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ
การ รับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และปัญหาอุปสรรค มากกว่าโรคติดต่อทั่วไป มีความจำเพาะหลายประการ เช่น ธรรมชาติของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่มักไม่สามารถคาดการณ์ขนาดปัญหา และช่วงเวลาเกิดโรคได้ ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อม และประสิทธิภาพในการรับมือ นอกจากนี้ ความรู้และข้อมูลข่าวสารของปัญหา มักจะยังไม่ชัดเจนในระยะต้น ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ง่าย
การ จัดการปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ต้องยึดหลักการความโปร่งใสของข้อมูล และให้ความสำคัญต่อสุขภาพประชาชนเป็นที่ตั้ง เหนือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย
การ บริหารจัดการปัญหายังขาดการบูรณาการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ และยังขาดศูนย์ระดับชาติ เพื่อจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบ บูรณาการ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมรักษา และรับมือกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารสาธารณะเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่ ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติที่ชัดเจน
คณะ รัฐมนตรี เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 มติ 6 โรคติดต่ออุบัติใหม่ ให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการ ภายในระยะเวลา 1 ปี และการจัดทำข้อเสนอจัดตั้งกลไกระดับชาติ เพื่อจัดการแก้ปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมต่อไป ตามมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่เสนอมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กระทรวง กลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุมและแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์
โดย ให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.thaihealth.or.th/node/16625 Update: 19-08-53
อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ
.
.