ผู้เขียน หัวข้อ: หนังอินเดียตอนที่ 2  (อ่าน 822 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
หนังอินเดียตอนที่ 2
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2018, 09:42:17 pm »


http://jina1055.blogspot.com/2018/02/2-2-4-2.html


ครั้นถึงยุคโลกาภิวัตน์ หนังอินเดียพัฒนาไปมากทั้งเทคนิคการสร้าง การถ่ายทำ โปรดักชั่นที่มีมาตรฐาน จนกระทั้ง บอมเบย์ ฐานผลิตหนังอินเดียที่ใหญ่ที่สุด ได้ชื่อว่า BOLLYWOOD สามารถเปิดตลาดไปทั่วโลก ผู้สร้าง ผู้กำกับ ดารา ก้าวสู่ระดับอินเตอร์ หนังอินเดียบางเรื่องพูดภาษาอังกฤษ และคว้ารางวัลจากการประกวดระดับนานาชาติ

แต่ทำไมหนังอินเดียที่เคยเป็นขวัญใจผู้ชมชาวไทย จึงลดน้อยไปจากตลาดไทย จนแทบไม่มีหนังอินเดียฉายตามโรงในรอบปกติ

ทว่า หนังจีน หนังฝรั่ง พาเหรดเข้ายึดครองโรงหนังทั้งในกรุงและต่างจังหวัด รวมทั้งทีวีทุกช่อง ประเด็นที่ถือว่าเป็น จุดเปลี่ยน ของตลาดหนังอินเดียในเมืองไทย คือเงื่อนไขเรื่อง โรงฉาย ไม่ว่าหนังชาติใด ในประเทศใดโรงฉาย ถือเป็นปัจจัยหลัก หนังจะดี จะทุ่มทุนสร้างขนาดไหน ถ้าไม่มีโรงฉายก็ไม่มีทางออก ยิ่งในยุคนั้นยังไม่มี ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ยิ่งอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องพูดถึงเลย แค่คิดก็ยังคิดไม่ถึงโรงหนัง จึงเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้หนังต่าง ๆ ออกมาสู่สายตาผู้ชม รองลงมาคือ ผู้จัดจำหน่าย และ สายหนัง ผู้จัดจำหน่าย ก็คือ ผู้ที่ได้ลิขสิทธิ์ หนังเรื่องนั้น ๆ ในประเทศนั้น ๆ เช่น หนังฝรั่ง หนังจีน หนังญี่ปุ่น หนังอินเดียในเมืองไทย ใครจะได้ลิขสิทธิ์

ในช่วงปี 2510 เป็นต้นมา หนังจีนจากฮ่องกงค่ายชอว์บราเดอร์ เริ่มได้รับความนิยม ผู้ได้ลิขสิทธิ์ในเมืองไทยคือ ยูเนี่ยนโอเดียน มีออฟฟิชอยู่ที่โรงหนังนิวโอเดียน ปัจจุบันก็คือตรงวงเวียนโอเดียนที่มีประตูศิลปะจีนหัวถนนย่านเยาวราช โรงฉายหลักก็นิวโอเดียน

ส่วนหนังฝรั่งก็มีตัวแทนจากเมืองนอกมาจัดจำหน่าย ออฟฟิซอยู่ย่านสีลมที่เรียกว่า หนังตึก กระจายหนังฉายหลายโรง อาทิ พาราเมาท์ เมโทร ย่านประตูน้ำ คิงส์ แกรนด์ ย่านวังบูรพา

หนังญี่ปุ่น ปักหลักฉายที่โรงหนังแคปปิตอล ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่คือ แคปปิตอลฟิล์ม ดาราญี่ปุ่นยุคนั้นที่ดัง ๆ อาทิ โตชิโร มิฟูเน่ คู่บุญของยอดผู้กำกับ คูโรซาว่า แห่งเจ็ดเซียนซามูไร ดาราที่คอหนังชอบในลีลาการแสดงแบบยียวนกวนบาทาก็ต้องโย ชิชิโด ถ้าแบบหล่อเนี๊ยบ ๆ ก็ต้อง อาคีระ โคบายาชิ  ส่วนหนังไทยก็ฉายอยู่ เฉลิมกรุง เฉลิมบุรี เฉลิมไทย เฉลิมเขตต์ เอ็มไพร์     
     
ต่อมามีโรงหนังใหม่เกิดขึ้นยุคโรงหนังสแตนอโลนเฟื่องฟู เช่น เพชรรามา ประตูน้ำ เอเธนส์ ราชเทวี โคลีเซี่ยม ยมราช และต่อมาย่านสยามสแควร์ โรงหนังขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยค่ายสยามมหรสพ คือ สยาม ลิโด สกาล่า ที่ฉายหนังคัดเกรด ทั้งที่ซื้อเองละหนังจากค่ายฝรั่ง และต่อมาได้ผนวกกิจการโรงหนังกับโรงค่ายฮอลลี้วู้ด โคลีเซี่ยม พาราเมาท์เป็นเครือพีรามิด ทำให้มีศักยภาพด้านการตลาดและอำนาจต่อรองมากขึ้น โรงหนัง ชานเมือง ส่วนใหญ่เป็นของค่าย พูนวรลักษณ์ เจ้าของโรง เพชรรามา แมคเคนน่า เชิงสะพานหัวช้าง และโรงที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า เพชร อาทิ เพชรรามา เพชรเอ็มไพร์ แม้กระทั่ง เพชรพรานนก

โรงชานเมือง หรือที่เรียกว่าโรงหนังชั้นสองที่ดัง ๆ ในยุคนั้นอาทิ มงคลราม่า พหลโยธินรามา เฉลิมสิน ย่านสะพานควาย โรงหนังชานเมืองดัง ๆ ในยุคนั้น ถือเป็น รายได้หลัก ของหนังโรงรองลงมาจากโรงใหญ่ ถือเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงที่สำคัญเช่นกัน

ที่ยกเรื่องโรงหนังชั้นหนึ่ง และโรงหนังชั้นสอง มากล่าวก็เพื่อให้เห็นภาพรวมของ ธุรกิจ โรงหนังในกรุงเทพฯ ว่าอยู่ในวงจำกัดของไม่กี่ตระกูล และค่อย ๆ ผนวกรวมกันเหลือเพียงไม่กี่เจ้า

ผู้จัดจำหน่าย หนังชาติต่าง ๆ มีการแข่งขันและพัฒนาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นหนังอินเดียที่อยู่ในวงแคบและมักเป็นธุรกิจของชาวอินเดียและคนในวงในเช่น เคยพากย์หนังอินเดียมาก่อน รูปแบบธุรกิจก็แบบสไตล์นายห้างอินเดีย

ส่วนสายหนัง ที่ทำด้านซื้อหนังออกฉายต่างจังหวัด ในยุคที่หนังอินเดียเฟื่องฟูก็พอไปได้ แต่ก็ต้องรับภาระด้านค่าพากย์ที่ต้องใช้ชายจริง หญิงแท้ เนื่องจากหนังอินเดียมีบทเจรจาของผู้หญิงมาก ผิดกับหนังฝรั่งใช้นักพากย์ชายเป็นหลัก ถ้าเป็นโรงใหญ่จึงจะใช้ชายจริง หญิงแท้ แต่ถ้าโรงหนังบ้านนอกนักพากย์ชายคนเดียวพากทั้งพระเอก นางเอก เพื่อนพระเอก เพื่อนนางเอก นางอิจฉา ยันพ่อตาแม่ยาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2018, 10:18:19 pm โดย 時々कभीकभी一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน