ผู้เขียน หัวข้อ: “หยวกกล้วย-โฟม-ขนมปัง-กรวยไอติม” ทำกระทงแบบไหนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม?  (อ่าน 2553 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
“หยวกกล้วย-โฟม-ขนมปัง-กรวยไอติม” ทำกระทงแบบไหนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม?
.
เผยแพร่ 25 พ.ย. 2558,15:21น.
.
ปรับปรุงล่าสุด 2 พ.ค. 2560,00:23น.
.
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเผยลอยกระทงหยวกกล้วยดีสุด ชี้ย่อยสลาย-กำจัดง่าย แนะลอยร่วมกัน 1 กระทงต่อ 1 ครอบครัว ลดผลกระทบต่อน้ำ เตือนกรวยไอติมไม่ควรนำมาใช้ลอยกระทง! เหตุค่าบีโอดีสูง
.

ในอดีตเราจะเห็นว่ากระทงจะทำมาจากหยวกกล้วยและใบตองเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ากระทงมีหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระทงโฟม กระทงกะลามะพร้าว กระทงเทียนหอม กระทงหัวปลี กระทงผัก และกระทงกรวยไอติม แล้วทุกคนรู้กันหรือเปล่าว่ากระทงที่เรานิยมนำมาลอยกันส่วนใหญ่นั้น ทุกชนิดมีผลกระทบต่อน้ำทั้งสิ้น
.
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยกับทีมข่าว "PPTV HD" ว่าปัจจุบันนี้กระทงที่เป็นที่นิยมจะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ กระทงหยวกกล้วย กระทงขนมปัง และกระทงโฟม ซึ่งกระทงแต่ละชนิดนั้นส่งผลกระทบต่อน้ำหมด แต่จะดูเพียงผลกระทบอย่างเดียวไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าลอยที่ไหน ถ้าเป็นสระปิด เวลาลอยกระทงเสร็จ เจ้าของสระเขาก็จะต้องเก็บกระทงขึ้น พอเก็บกระทงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบพอๆกัน คือ กระทงทุกรูปแบบถูกเก็บขึ้นหมด แต่ว่าประเด็นจริงๆแล้วคือต้องดูการย่อยสลายหลังจากการทิ้ง
.
กระทงแบบไหนย่อยสลายดีสุด?
.
ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า ถ้าเทียบระหว่างใบตองกับโฟม จะเห็นได้ว่า หากเศษขยะของโฟมมาก โฟมก็จะใช้เวลาย่อยสลายนาน แต่ว่าโฟมสามารถรีไซเคิลได้ แต่ข้อดีก็จะสู้กระทงหยวกกล้วยไม่ได้ เพราะกระทงหยวกกล้วยจะย่อยสลายได้ง่ายกว่า
.
ดร.ขวัญฤดี กล่าวต่อว่า ส่วนกระทงขนมปัง ถ้าใช้ลอยในแหล่งน้ำไม่ว่าจะเปิดหรือปิด ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วมีบ่อปลา ก็จะสามารถใช้ได้ จะมีประโยชน์ เพราะปลาสามารถกินขนมปังได้ แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วไม่มีบ่อปลา จะอันตรายต่อสภาพน้ำ เพราะขนมปังจะเกิดการยุ่ย และทำให้น้ำมีค่าบีโอดี หรือค่าสารอินทรีย์สูง ไม่สมควรนำมาลอย
.
ถ้าเป็นแหล่งน้ำปิดหรือตามแม่น้ำ หากมีคนเก็บกระทงขึ้น ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า กระทงหยวกกล้วยจะดีกว่ากระทงโฟมตรงที่เวลาเก็บขึ้นมาแล้วจะย่อยสลายง่ายกว่า ส่วนข้อดีของกระทงโฟมคือสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยกระบวนการคือแกะออกมาแล้วเอาไปหลอมเป็นพลาสติกได้ใหม่ เป็นเม็ดโฟม ส่วนกระทงขนมปัง ถ้าไปเป็นกระทงอยู่ในสระปลา จะมีประโยชน์กับปลา แต่ถ้าเป็นสระน้ำปกติก็ไม่มีประโยชน์อะไร
.
เกร็ดความรู้
.
บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ค่าบีโอดีเป็นค่าที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยใช้บ่งบอกถึงค่าภาระอินทรีย์ (Organic Loading) ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ
.
เวลาในการย่อยสลายของกระทงแต่ละชนิด?
.
ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า เวลาในการย่อยสลาย ขนมปังจะเร็วสุด ใบตองจะช้าหน่อย โฟมจะใช้เวลาย่อยสลายนานมาก ซึ่งขนมปังประมาณ 3 วันก็จะเห็นเป็นรูปของน้ำที่เริ่มมีสารอินทรีย์สูง เหยือกกล้วยเป็นเดือนขึ้นไป ซึ่งทุกรูปแบบจะทำให้น้ำมีค่าบีโอดีสูงและทำให้น้ำเสียได้ แต่ในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งเหยือกกล้วยจะเก็บง่ายสุด
.
นอกจากนี้ยังมีกระทงอีกรูปแบบที่คนเริ่มนิยมนำมาลอยมากขึ้นคือกระทงกรวยไอติม ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า กระทงกรวยไอติมจะคล้ายกับกระทงขนมปัง แต่กระทงกรวยไอติมจะส่งผลให้ค่าบีโอดีในน้ำสูง ก็จะเน่าเสียเร็วขึ้น ไม่เหมาะเอามาลอยเลย ยกเว้นลอยในอ่างปลา ปลาสามารถกินได้ ส่วนกระทงผักหรือหัวปลีก็เหมือนกับหยวกกล้วย
.
ส่วนกระทงเทียนหอม ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เป็นเทียนหรือก็คือน้ำมัน
.
"จริงๆ คือนำกระทงหยวกกล้วยมาลอยจะดีที่สุด เพราะย่อยสลายง่ายและนำไปกำจัดได้ง่าย แต่ทางที่ดีสุดคือลอยร่วมกัน คือ 1 ครอบครัวต่อ 1 กระทง เพราะจะเป็นการลดทำลายทรัพยากรน้ำได้ดีที่สุด" ดร.ขวัญฤดี กล่าว
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
.
ในปี 2553 นางประพิมพ์ บริสุทธิ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาย่อยสลายกระทงแต่ละประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้

– กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน)

– กระทงที่ทำจากขนมปัง โคนไอศกรีม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)

– กระทงที่ทำจากขนมปัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)

– กระทงที่ทำจากกระดาษ (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน)

– กระทงที่ทำจากโฟม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 50 ปี)

– กระทงมันสำปะหลัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง )
.
ที่มา https://www.pptvhd36.com/sport/news/19051
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)