ปริเฉทที่ ๘
พุทธภูมิวรรค
ก็โดยสมัยนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ได้ถามท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า
“ดูก่อนคฤหบดี พระโพธิสัตว์จักพึงบรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยประการใดหนอ ?”
วิมลเกียรติคฤหบดีตอบว่า
“ข้าแต่พระคุณเจ้า หากพระโพธิสัตว์ใดสามารถดำเนินปฏิปทาอันตรงกันข้ามกับปฏิปทาเพื่อบรรลุพระพุทธภูมิไซร้ พระโพธิสัตว์นั้นย่อมชื่อว่าบรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยแท้เทียว.”
ถาม “ที่ชื่อว่าดำเนินตามปฏิปทาอันตรงกันข้ามกับปฏิปทาเพื่อบรรลุพระพุทธภูมินั้น เป็นไฉนเล่า ?”
ตอบ “หากพระโพธิสัตว์สามารถบำเพ็ญโพธิจริยา ในท่ามกลางปัญจานันตริยภูมิได้* โดยปราศจากความวิปฏิสารเร่าร้อนด้วยกิเลสเข้าไปสู่ภูมินรกได้ โดยปราศจากการครอบงำแปดเปื้อนด้วยมลทินใด ๆ ตั้งอยู่ในภูมิเดรัจฉานได้ โดยปราศจากโทษแห่งอวิชชา สาเถยยะ มานะ เป็นต้น บังเกิดในภูมิเปรตอสุรกายได้ โดยมีสรรพกุศลธรรมบริบูรณ์ไม่บกพร่อง แม้จักอุบัติเหตุในรูปาวจรภพ อรูปาวจรภพ แต่ก็ไม่สำคัญหมายว่านั้นเป็นภพอันวิเศษ แม้จักสำแดงให้เห็นและประหนึ่งว่าเป็นผู้มีอภิชฌาวิสมโลภะ แต่ความจริงนั้นเป็นผู้เว้นจากปวงฉันทราคะ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีโทสะ แต่ความจริงเป็นผู้ปราศจากความกีดขวางเป็นภัยต่อสรรพสัตว์ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้โง่เขลา แต่ความจริงเป็นผู้มีสติปัญญาญาณ ฝึกหัดอบรมจิตของตนและของผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีมัจฉริยะตระหนี่ถี่เหนียว แต่ความจริงเป็นผู้เสียสละสรรพสมบัติทั้งภายใจภายนอก จนที่สุดแม้สละชีวิตก็สามารถสละได้ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้ทุศีล แต่ความจริงเป็นผู้สถิตอยู่ในศีลสังวรอันบริสุทธิ์เสมอ จนที่สุดแม้โทษอันเล็กน้อยก็มีความครั่นคร้ามยิ่งนัก มิอาจล่วงสิกขาบทได้ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีความโกรธ แต่ความจริงเป็นผู้มีใจตั้งอยู่ในเมตตากษานติธรรมเป็นนิตย์ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีโกสัชชะ แต่ความจริงเป็นผู้ขวนขวายพากเพียรในการสร้างกุศลธรรมยิ่งนักหนา แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แต่ความจริงเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิจิตมิขาด แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีโมหะโฉดเขลา แต่ความจริงเป็นผู้รอบรู้แตกฉานในโลกิยปัญญา และโลกุตรปัญญา แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีมารยา แต่ความจริงเป็นผู้อนุโลมตจามอรรถแห่งพระสูตรทั้งหลาย โดยกุศโลบายเพื่อโปรดสัตว์ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีความเย่อหยิ่งทะนงถือตัว แต่ความจริงเป็นผู้รับใช้บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ปวงสัตว์ ดุจสะพานเป็นที่อาศัยเดินข้ามของปวงชนฉะนั้น แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสรรพกิเลส แต่ความจริงจิตภายใจของเขาสะอาดหมดจดเป็นนิรันดร์ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้เข้าไปสู่มารสมาคม แต่ความจริงเป็นผู้ปฏิบัติตนตามพระพุทธปัญญา ไม่รับปฏิบัติตามมารานุศาสน์เลย แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้ยากจนเข็ญใจ แต่ความจริงเป็นผู้อุดมด้วยรัตนคุณานันต์ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้พิกลพิการ แต่ความจริงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศุภลักษณ์อันเลอเลิศอเนกพรรณราย ประดับตน แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้อยู่ในวรรณะต่ำ แต่ความจริงเป็นผู้อุบัติในพระพุทธวงศ์อันประเสริฐ สะพรั่งพร้อมด้วยสรรพคุณานุคุณ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้อัปลักษณ์
__________________________
* ปัญจานันตริยภูมิ หมายถึงนรกซึ่งผู้ที่ก่อปัญจานันตริยธรรม เข้าไปเสวยทุกข์อยู่ พระโพธิสัตว์ลงไปเกิดในภูมิดังกล่าว เพื่อโปรดสัตว์นรกเหล่านั้น โดยปราศจากหวาดหวั่นต่อความทุกข์ยากในนรกนั้น.
ทุพพลภาพ แต่ความเป็นจริงเป็นผู้มีสรีรกายดุจองค์นารายณเทพ เป็นปรียทัศนาแห่งสรรพสัตว์ แม้จักสำแดงประหนึ่งว่าเป็นผู้อันชราพญาธิบีฑา แต่ความจริงเป็นผู้ยังพยาธิมุ,สมุจเฉทแล้ว เป็นผู้ข้ามจากมรณภัยแล้ว แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสรรพสิ่ง อุปโภค บริโภค ทรัพย์สินเครื่องบำรุง แต่ความจริงเป็นผู้ตั้งอยู่ในอนิจจานุปัสสนาเป็นนิตย์ ปราศจากอภิชาฌาวิสมโลภะใด ไ แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีภริยาคู่ครองทารสมบัติ แต่ความจริงเป็นผู้ห่างเว้นจากเบญจพิธกามคุณ ดุจปทุมมาลย์ซึ่งเจริญขึ้นพ้นจากโคลนตบฉะนั้น แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีวาจาติดขุดไม่แคล่วคล่องว่องไว แต่ความจริงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสรรพปฏิสัมภิทาปฏิภาณโกศลสำเร็จสมบูรณ์มิเสื่อมถอย แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้แสดงคติธรรมฝ่ายมิจฉาทิฐิของพวกพาหิรลัทธิ แต่ความจริงเป็นผู้แสดงคติธรรมฝ่ายสัมมาทิฐิโปรดปวงสัตว์ให้พ้นทุกข์ แม้จักสำแดงให้เห็นประนึ่งว่าเป็นผู้เข้าถึงคติทั้ง ๖ แต่ความจริงเป็นผู้มีคติมูลสมุจเฉทแล้ว แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน แต่ความจริงเป็นผู้ไม่ละชาติมรณะให้ขาดสิ้น (เพื่ออาศัยชาติมรณะนั้นบำเพ็ญหิตประโยชน์แก่ปวงสัตว์) ข้าแต่พระมัญชุศรีผู้เจริญ พระโพธิสัตว์ใดสามารถดำเนินตามปฏิปทาอันตรงกันข้ามดั่งกล่าวนี้ ย่อมชื่อว่าพระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้บรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยแท้เทียว.”
ลำดับนั้นแล ท่านวิมลเกียรติคฤหบดีได้ถามพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ว่า
“ข้าแต่พระคุณเจ้ามัญชุศรีผู้เจริญ ธรรมอะไรหนอ ชื่อว่าตถาคตพีชะ ?”
พระมัญชุศรีตอบว่า “ดูก่อนคฤหบดี สรีรกายนี้แล ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ อวิชชา ภวตัณหา ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ แม้วิปลาส ๔ และนิวรณ์ ๕ ก็ชื่อว่าพระตถาคตพีชะสฬายตนะ ๖ ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ วิญญาณธาตุ ๗ มิจฉัตตะ ๘ เหล่านี้ก็นับว่าเป็นพระพุทธพีชะ แลเมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว มิจฉาทิฐิ ๖๒ กับปวงกิเลสล้วนเป็นพระพุทธพีชะได้ทั้งสิ้น.”
ถาม “ข้านั้น เพราะเหตุดังฤๅ ?”
ตอบ “เพราะเหตุว่าหากบุคคลเป็นผู้สำเร็จอริยผล ได้บรรลุพระนิพพานไซร้ บุคคลนั้นก็อาจตั้งจิตมณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้.”
อุปมาดั่งพื้นปฐพีดลอันสูงลิ่ว ย่อมไม่เป็นฐานะที่ดอกโกมุทจักพึงอุบัติขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ต่ำ เป็นเลนตมชื้นแฉะ จึงเป็นแหล่งอันปทุมชาติจักพึงอุบัติขึ้นได้ฉันใด บุคคลผู้ได้สำเร็จอริยผล บรรลุพระนิพพานแล้วไซร้ ย่อมบ่ออาจจักยังเขาให้ตั้งจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมธิญาณได้ ในท่างกลางโคลนตมคือกิเลส จึงมีผู้สามารถบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็มีอุปไมยฉันนั้น อนึ่งเปรียบเหมือนผู้ที่หว่านพืชลงในสถานที่พื้นที่โสโครก พืชนั้นกลับจักเจริญงอกงอมขึ้น เช่นเดียวกับบุคคลผู้สำเร็จอริยผล บรรลุพระนิพพานไปแล้ว ย่อมอาจตั้งจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้อีก โดยประการตรงกันข้าม บุคคลผู้ที่ยังอัตตานุทิฏฐิกว้างขวางใหญ่โต ครุวนาดั่งจอมสุเมรุบรรพตกลับจักสามารถบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ด้วยประการฉะนี้แล ท่านคฤหบดี ! ขอท่านพึงกำหนดรู้ไว้ว่า สรรพกิเลสาสวะทั้งหลาย แต่ละล้วนนับเป็นพระตถาคตพีชะ อนึ่ง เปรียบเหมือนบุคคลผู้ปรารถนาจักได้ดวงมณีอันหาค่าเปรียบมิได้ มาตรแม้ว่าเขาไม่ออกไปสู่สาครสมุทรอันล้ำลึกเพื่อเสาะแสวงหาไซร้ ไหนเลยจักได้เป็นเจ้าของมณีรัตน์อันล้ำค่าเห็นปานนั้นได้เล่าความอุปมานี้ฉันใด ความอุปไมยเช่นเดียวกับบุคคลผู้มิได้เข้าไปสู่ท่ามกลางมหาโอฆะกันดารแห่งกิเลส ก็ย่อมบ่ออาจสำเร็จบรรลุในสรรเพชุดาญาณรัตนะก็ฉันนั้นแล.”
ครั้งนั้นแล พระมหากัสสปได้เปล่งวาจาอนุโมทนาขึ้นว่า
“สาธุ ! สาธุ ! ท่านมัญชุศรีผู้เจริญ ท่านกล่าวได้แหลมลึกนักความจริงย่อมเป็นดั่งคำกล่าวของท่านมิ
คลาดเคลื่อน กล่าวคือสรรพกิเลสทั้งปวงย่อมเป็นพระตถาคตพีชะ๑ พวกอาตมภาพทั้งหลาย (หมายถึงพระอรหันตสาวก) มิอาจบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ซึ่งผิดกับบุคคลผู้ประกอบแม้จนกระทั่งปัญจานันตริยกรรม เขายังมีโอกาสที่จักบังเกิดปณิธานในพระพุทธภูมิได้ ก็แต่พวกอาตมภาพกลับเป็นผู้ไม่สามารถตั้งจิตปณิธานในพระโพธิญาณได้ดุจเดียว กับบุคคลผู้มีอินทรีย์อันทุพพลภาพไปแล้ว๒ ย่อมมิอาจเสวยเบญจพิธกามคุณารมณ์ได้ดั่งปกติ ครุวนาเช่นพระอรหันตสาวกผู้ทำงายสังโยชน์โดยสิ้นเชิงแล้ว ย่อมบ่ห่อนจักสามารถบำเพ็ญพุทธการกธรรมได้ ย่อมบ่ห่อนจักบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ เพราะเหตุฉะนั้นแล ท่านมัญชุศรีผู้เจริญ ปุถุชนในพระธรรมวินัย ของพระพุทธแม้จักยังมาความหวั่นไหวกลับกลอก บัดได้บัดเสื่อมจากคุณธรรม นับเป็นกุปปบุคคลแต่พระอรหันตสาวกเป็นอกุปปบุคคล ปราศจากความหวั่นไหว ไม่เสื่อมจากคุณธรรมที่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ก็เพราะว่าหากปุถุชนได้สดับฟังพระสัทธรรมอันเป็นไปเพื่อพุทธภูมิไซร้ ก็จักสามารถบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ เขาย่อมเป็นผู้สืบสายวงศ์พระรัตนตรัยมิให้ขาดสะบั้น๓ ฝ่ายพระอรหันตสาวกนั้น มาตรว่าตลอดชีพจักสดับธรรมอันเป็นไปเพื่อพระพุทธภูมิ มีทศพลธรรม อภัยธรรมเป็นอาทิก็ยังไม่สามารถบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมโพธิญาณได้.”
ลำดับนั้นแล ณ ท่ามกลางธรรมสันนิบาตนั้น มีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง นามกรว่า สัพพัตถทิสมานกาย ได้เอื้อนโอษฐ์ถามท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า
“ดูก่อนท่านคฤหบดี ก็มารดาบิดาภริยาและบุตรธิดา อีกทั้งวงศาคณาญาติบริวารชนของท่านนั้น เป็นใครหนอ ? อนึ่ง บ่าวไพร่ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก อีกทั้งยวดยานพาหนะของท่านเล่า บัดนี้อยู่ ณ แห่งหนใด ?”
ท่านวิมลเกียรติได้สดับถ้อยปุจฉานั้นแล้ว จึงแถลงปฏิพจน์โดยคาถาว่า :-
“พระโพธิสัตว์มีปรัชญาเป็นมารดา มีอุปายะเป็นบิดา อันพระผู้นำทางพ้นทุกข์แก่ส่ำสัตว์ ไม่มีสักพระองค์หนึ่งเลยที่จักไม่อุบัติขึ้นจากมารดาบิดาดังกล่าวนี้. ๔ ”
“กระผมเอาปีติในพระธรรมมาเป็นคู่เคียง มีจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาเป็นบุตรสาว เอาความซื่อสัตย์สุจริตใจเป็นบุตรชาย มีสุญญาตาเป็นเรือนอาศัย เอาสรรพสัตว์เป็นศิษย์ กระผมย่อมอบรมสั่งสอนสัตว์เหล่านั้นได้ตามปรารถนา อนึ่ง กระผมมีโพธิปักขิยธรรมเป็นกัลยารมิตรได้อาศัยธรรมดั่งกล่าวนี้แล้ว จึงถึงภูมิตรัสรู้ได้.”
“ความทรงไว้ซึ่งสรรพธรรมอรรถ เป็นอุทยานของกระผมอนาสวธรรมเป็นไพรพฤกษ์ มีจิตตรัสรู้เป็นบุปผชาติลดาวัลย์ เผล็ดผลกล่าวคือวิมุตติญาณ วิโมกข์ ๘ เป็นสระโบกขรณี มีสมาธิจิตเป็นวารีอันเต็มเปี่ยมเสมอ สะพรั่งด้วยบัวบานปราศจากมลทิน ๗ อย่าง กล่าวคือสุทธิ ๗ กระผมได้อาบรดด้วยวารีดั่งกล่าวนั้น.”
“กระผมมีอภิญญา ๕ เป็นช้างม้าที่ไปได้เร็ว มีมหายานธรรมเป็นยวดยาน เอกัคคตาจิตเป็นนายสารถี กระผมอาศัยยานพาหนะเช่นนี้ท่องเที่ยวไปตามหนทาง กล่าวคืออัฏฐังคิกมรรค ๘.”
“มหาสุริสลักษณะ ๓๒ เป็นรูปร่างของกระผม มีอนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นอลังการแห่งองคาพยพ มี
__________________________
๑. เพราะถ้าไม่มีความทุกข์เพราะกิเลสในสรรพสัตว์ ก็จักไม่มีผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อเปลื้องทุกข์ภัยให้แก่สรรพสัตว์ได้
๒. เช่นโสตินทรีย์วิการไปย่อมไม่อาจเสวยสัททารมณ์ได้เป็นต้น อินทรีย์ในที่นี้หมายถึงจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชีวหินทรีย์ และกายินทรีย์ คู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
๓. หมายความว่า เมื่อเขาได้บำเพ็ญเพียรบารมีจนลุพุทธภูมิแล้ว ก็จักได้ตั้งพระพุทธศาสนาสืบต่อจากพระอดีตพระพุทธเจ้า.
๔. หมายความว่า พระโพธิสัตว์มีทั้งปัญญาและมีทั้งอุปายโกศลที่จะสอนสัตว์ให้พ้นทุกข์ ให้ถูกกับจริตของสัตว์ เมื่อเป็นไปได้เช่นนี้ชื่อว่าได้สำเร็จโพธิญาณ บำเพ็ญพุทธกินโดยสมบูรณ์ สำนวนเหล่านี้เป็นสำนวนเปรียบเทียบธรรมาธิษฐานกับบุคคลาธิษฐาน
หิริโอตตัปปะเป็นวิภูษิตตาภรณ์ จิตที่สุขุมคัมภีรภาพเป็นศิราภรณ์ กระผมมั่งคั่งด้วยอริยทรัพย์ทั้ง ๗ อนึ่ง การสั่งสอนอบรมทวยนิกรสัตว์ให้เป็นผู้สมบูรณ์ในอริยทรัพย์นั้น เพื่ออุทิศในพระโพธิญาณนับว่าเป็นดอกเบี้ยประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของกระผมทีเดียว.”
“กระผมเอารูปาวจรฌานทั้ง ๔ เป็นอาสนะ มีความเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ มีพหุสูตเป็นเครื่องทวีปัญญา กับทั้งเป็นเสียงยังตนเองให้รู้แจ้ง โภชนาหารของกระผมเล่าคือมฤตธรรม มีวิมุตติรสเป็นน้ำปานะกระผมโสรจสรงสนานตัวด้วยการชำระจิตให้บริสุทธิ์ลูบไล้ด้วยสุคันธชาตกล่าวคือศีล.”
“กระผมหักรานโจรคือกิเลสให้พินาศย่อยยับ มีวีรภาพอันยิ่งยงปราศจากผู้เปรียบเกิน ยังมาร ๔ ประเภทให้ตกอยู่ในอำนาจสถาปนาธรรมณฑลขึ้นแล้ว ยังธรรมวิชัยธุชให้โบกไสว.”
“ถึงมาตรว่ากระผมจักรู้แจ้งในธรรม อันปราศจากความเกิดขึ้นและดับไป แต่เพื่อโปรดสรรพสัตว์ จึงยังคงวนเวียนท่องเที่ยวในภพอีกมีกายปรากฏในสรรพโลกานุโลก ดั่งดวงภาณุมาศซึ่งปรากฏแก่ชนทั้งหลายฉะนั้น.”
“กระผมได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีประมาณพระองค์อันจักพึงนับมิได้ทั่วทศทิศ โดยมิได้เกิดวิกัลปสัญญาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับตนเองแตกต่างกันเลย ถึงมาตรกระผมรู้จักว่าสรรพพุทธเกษตร แลสรรพสัตว์ล้วนเป็นสุญญตา แต่กระผมก็บำเพ็ญกรณีกิจเพื่อยังโลกธาตุให้บริสุทธิ์เสมอ เพื่อโปรดทวยประชาสัตว์.”
“สัตว์ทั้งหลาย โดยประเภทมีหลายหลาก รูปลักษณะก็ดี สุ้มเสียงจำนรรจา อีกทั้งอิริยาบถประการต่าง ๆ พระโพธิสัตว์ย่อมอาศัยกำลังแห่งอภัยธรรม สำแดงตนให้ปรากฏโดยลักษณะดั่งกล่าวนั้น ในกาลพียงชั่วครู่เดียว.”
“พระโพธิสัตว์ย่อมรู้เท่าทันเรื่องราวของมาร แต่สำแดงตนประหนึ่งว่าเข้าไปพัวพันกับมารนั้น ก็ด้วยอาศัยปัญญากุศโลบายอันแยบคายตามใจปรารถนา ชักจูงให้มารมุ่งจิตต่อพระพุทธภุมิ.”
“อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตน ประหนึ่งว่ามีชราพยาธิมรณะก็เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้สำเร็จประโยชน์ ในการแทงทะลุสรรพธรรมโดยปราศจากอุปสรรค ว่าสังขารทั้งปวงเป็นมายาไร้แก่นสาร.”
“อนึ่ง ย่อมแสดงให้เห็นกัลป์อันประลัยด้วยอัคนี พร้อมทั้งมหาปฐพี ซึ่งลุกไหม้ยังชนซึ่งยึดถือในนิจจสัญญา ให้บังเกิดความแจ่มชัดในความเป็นอนิจจัง ทวยนิกรสัตว์นับอสงไขยอประไมยต่างก็บ่อยหน้ามาพึ่งพิงพระโพธิสัตว์ยังสถานที่อาศัย ในเวลาเดียวกันพระโพธิสัตว์ย่อมสั่งสอนให้สรรพสัตว์ทั้งนั้นมุ่งจิตต่อพระพุทธภูมิ.”
“ศาสตราคม อาถรรพเวท อีกทั้งนานาศิลปวิทยา พระโพธิสัตว์ย่อมศึกษาเจนจบ นำมาเป็นเครื่องมือบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประชาสัตว์ อนึ่งย่อมสำแดงตนถือเพศเป็นนักบวชในสรรพพาหิรลัทธิ ทั้งนี้เพื่อมุ่งขจัดความหลงของเหล่าพาหิชน โดยที่ตนเองมิได้กลายเป็นมิจฉาทิฐิไปตาม.
“อนึ่ง พระโพธิสัตว์ ย่อมสำแดงตนเป็นสุริยเทพ จันทรเทพฤๅท้าวมหาพรหมปชาบดี ในลางสมัยย่อมสำแดงเป็นปฐพีมหาภูต อาโปมหาภูต ฤๅวาโยมหาภูต เตโชมหาภูต ก็แลหากบังเกิดโรคันตราย ในท่ามกลางความเป็นไปแห่งกัลป์ไซร้ พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงสรรพต้นยาสมุนไพร อันชนใดกินเข้าไปแล้ว ย่อมสามารถดับพิษโรคได้อย่างฉมัง ฤๅหากว่าบังเกิดทุพภิกขภัย พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงโภชนาหารอันประณีต ยังสรรพชนให้อิ่มหนำสำราญระงีบความหิวโหย แล้วแลแสดงธรรมแก่เขาเหล่านั้น ฤๅหากมียุทธภัยเกิดขึ้น พระโพธิสัตว์ย่อมยังชนอันเป็นข้าศึกแก่กันทั้ง ๒ ฝ่าย ให้มีจิตเมตตาต่อกัน ตั้งอยู่ในอรณภูมิ ฤๅหากมีมหารณรงค์ อันกองทัพทั้ง ๒ ฝ่ายตั้งประจัญกัน ณ สมรภูมิ พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงเตชพละ ยังกองทัพทั้งนั้นให้อยู่ในอำนาจแล้ว แลให้อยู่ในสันติความสมัครสมานกันได้ในที่สุด.”
“ในท่ามกลางสรรพโลกานุโลก ประดาที่มีนรกภูมิ พระโพธิสัตว์ย่อมเสด็จไปปรากฏ ณ ที่เช่นนั้น เพื่อช่วงเปลื้องทุกข์ของสัตว์ผู้เสวยทุกข์ในท่ามกลางสรรพโลกานุโลก ประดาที่มีเดรัจฉานภูมิ ซึ่งสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายต่างกัดกินกันเป็นอาหาร พระโพธิสัตว์ย่อมเสด็จไปปรากฏ ณ แดนนั้น เพื่อสั่งสอนให้ระงับการเบียดเบียนยังหิตานุหิตคุณให้มีขึ้น.”
“อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนประหนึ่งว่าเสวยเบญจพิธกามคุณ ในยามเดียวกันก็สำแดงตนประหนึ่งว่าบำเพ็ญฌานสมาบัติยังจิตของมารให้งงงวย ไม่พบช่องโอกาสที่จักสำแดงมายาได้ เปรียบเหมือนดอกโกมุท ซึ่งอุบัติขึ้นจากท่ามกลางแวดวงแห่งกามคุณ แต่กลับสามารถตั้งมั่นอบคมในฌานสมาบัติได้ ก็มีนัยดุจเดียวกัน.”
“อนึ่ง ลางสมัยพระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนประหนึ่งเป็นหญิงหนักในราคะ ชักจูงล่อบรรดาชายผู้อภิรมย์ในรสกามให้มาผู้พัน ทั้งนี้ก็โดยใช้วิธีเอากามคุณมาเป็นเบ็ดเกี่ยวจิตใจของชนผู้มีนันทิราคะให้มาติดเสียก่อน ภายหลังจึงพร่ำสอนให้เขาเหล่านั้น บรรลุภูมิตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.”
“ฤๅลางสมัย สำแดงตนเป็นหัวหน้าแห่งคามนิคม ฤๅเป็นผู้นำแหล่าพาณิช ฤๅเป็นราชปุโรหิต ฤๅเป็นอัครมนตรี ทั้งนี้ก็เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ปวงนิกรชน ในบรรดาชนทุคตะเข็ญใจยากไร้อนาถาพระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงธนทรัพย์อันอเนกอนันต์ แจกจ่ายให้แก่ชนเหล่านั้น แล้วเลยอบรมสั่งสอนแนะนำให้พวกเขาตั้งจิตมุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ”
“ในบุคคลผู้มีความลำพองเย่อหยิ่งทะนง พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนเป็นบุรุษกำยำ มีพละ แรงกล้า เพื่อปราบความลำพองเย่อหยิ่งนั้น ให้เขาตั้งอยู่ในภูมิที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ในชนที่มีแต่ความหวาดหวั่นภัย พระโพธิสัตว์ย่อมไปปลอบขวัญเล้าโลมจิตของเขา ย่อมยังอภัยให้บังเกิดขึ้น ภายหลังจึงชักจูงให้เขามุ่งจิตต่อพระโพธิญาณ.”
“ในชนผู้ปรารถนามีผู้รับใช้ พระโพธิสัตว์ก็ย่อมสำแดงตนเป็นเด็กรับใช้ ปฏิบัติกิจของผู้เป็นนาย ยังความยินดีของนายให้เป็นไป จึงถือโอกาสอบรมจิตของนายให้มุ่งพระโพธิญาณ ยังความปรารถนาของเขาให้เป็นไปตามหวัง กระทำให้เขาเข้าสู่พระพุทธภูมิ ทั้งนี้ก็โดยอาศัยกำลังแห่งกุศโลบาย กระทำให้สมบูรณ์ได้.”
“วิถีของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่มีประมาณ จริยาของพระโพธิสัตว์ก็ปราศจากขอบเขต พระโพธิสัตว์ย่อมปลดเปลื้องสัตว์ไม่มีประมาณให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์ และโดยประการดังกล่าวนี้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จักตรัสสรรเสริญพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ นับเป็นอสงไขยกัลป์ก็ยังบ่อาจจักพรรณนาได้จบสิ้นได้.”
“ผู้ใดมาตรว่าได้สดับธรรมเห็นปานดั่งนี้ไซร้ ใครเล่าจักไม่บังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ นอกเสียแต่ชนผู้โง่เขลา มีแต่อัญญาณเท่านั้นแล.”
ปริเฉทที่ ๘ พุทธภูมิวรรค จบ.
http://www.mahayana.in.th/tmayana/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3.html#ปริเฉทที่_๖_อจินไตยวรรค_
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=22-07-2009&group=18&gblog=15