ผู้เขียน หัวข้อ: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต  (อ่าน 6493 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด






 


ตันตระธิเบต




... วิธีของตันตระนั้น จะต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงจากมรรควิธี
ของพระสูตรหรือความรู้ฝ่ายเถรวาท
ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ
ในเรื่องสุญตา ตระหนักมุ่งมั่นที่จะตรัสรู้เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์
บนพื้นฐานของโพธิจิตรวมถึงการสร้างสมบารมีทั้งหก
เมื่อพื้นฐานมั่นคงจึงเริ่มปฏิบัติตันตระ โดยไม่มีการข้ามขั้นเด็ดขาด




เมื่อเอ่ยถึงคำว่า " ตันตระ " หลาย ๆ คนคงนึกถึงนิกายเร้นลับ เวทมนต์ คาถา และเมื่อเอ่ยถึง " ตันตระธิเบต " หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันว่า " วัชรยาน " ก็ทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจว่าการปฏิบัติของพระธิเบต กลายเป็นเรื่องของ พวกนอกรีตไม่ใช่พุทธอย่างที่เราถูกสอนกันมา แต่ก็น่าแปลกตรงที่น้อยคน นักที่จะหันกลับมามองมาศึกษา มาทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า แท้จริง แล้วสิ่งที่เราถูกสอนให้เชื่อนั้นมันเป็นเพียงเช่นนั้นข้างเดียวจริง ๆ หรือไม่ หรือว่ายังมีความซับซ้อน ความลึกล้ำที่ซ้อนซ่อนอยู่ รอให้เราได้เข้าไปค้น หาความจริง ตามอย่างที่พระพุทธองค์ก็ทรงสอนเราไว้ว่า อย่ารีบด่วนเชื่อ อะไร




และความที่ไม่รู้ ไม่เคยเข้าไปศึกษาสัมผัสนี้เอง จึงอาจเป็นที่มาของความ เข้าใจผิด จนกลายเป็นว่า เมื่อเอ่ยถึง " ตันตระธิเบต " หรือวัชรยาน กลาย เป็นเรื่องของพลังเร้นลับเพียงอย่างเดียวที่ทำให้บางคนอาจมุ่งแสวงหาเพื่อ หวังแค่จะได้พลังอำนาจวิเศษเหล่านั้น โดยไม่เคยได้เรียนรู้เลยว่าแท้จริงแล้ว อำนาจวิเศษอันใดคงมีได้กับผู้ที่ละวางเพื่อการหลุดพ้นแล้วเท่านั้น และตันตระ ธิเบตก็ไม่พ้นจากหลักข้อนี้เช่นเดียวกัน




การที่พุทธศาสนาสายวัชรยานอย่างธิเบต จะถูกมองว่าเป็นเรื่องของความ เร้นลับก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก ทั้งนี้อาจด้วยเพราะนับตั้งแต่บริบททางประวัติ ศาสตร์ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนธิเบตนั้น ลัทธิ บอนซึ่งเป็นลัทธิที่นับถือผี ได้วางรากฐานไว้อยู่ก่อนแล้ว และตามตำนานเล่า ขานที่องค์คุรุปัทมสัมภวะ ได้เข้ามาปราบบรรดาภูติผี ที่คอยขัดขวางการประ ดิษฐานพุทธศาสนาในธิเบต องค์คุรุปัทมสัมภวะก็ต้องใช้เวทมนต์และหลัก คำสอนศาสนาเข้ามาประกอบกัน จนสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนา ได้เป็นผลสำเร็จ และสามารถเปลี่ยนบรรดาภูติผีเหล่านั้นให้มันกลับมาเป็น ผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนาได้อีกด้วย




จากจุดนี้เองจึงเป็นไปได้ว่า พุทธศาสนาธิเบตจึงมีส่วนผสมผสานของความ เป็นพุทธศาสนาและโยคะที่เริ่มเข้ามานับจากปลายศตวรรษที่ ๘ ดังนั้นเส้น ทางการปฏิบัติจึงดูมีข้อแตกต่างไปจากสายการปฏิบัติอย่างที่เราคุ้นเคยคือ เน้นการปฏิบัติเพื่อละวาง ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เส้น ทางของวัชรยาน หรือตันตระนั้น ไม่ได้แตกต่างจากหลักการพุทธศาสนา อย่างที่เราคุ้นเคยเลย เพราะผู้ที่จะเข้าสู่เส้นทางวัชรยาน หรือยานอันเป็นเพชร หรือยานที่ถือว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นโดยฉับพลันนั้น ต้องเป็นผู้ที่ สามารถผ่านการฝึกฝนตามหลักพระสูตร เพื่อละวางตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ให้ได้เสียก่อนและต้องมีครูเป็นต้นสายของของการสืบทอดคอยควบ คุมดูแล มิเช่นนั้นจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ดังที่ชอกยัม ตรุงปะ กล่าวเปรียบ ไว้ว่าการฝึกฝนตันตระเปรียบเสมือนการไถลตัวลงบนใบมีดอันคมกริบ ที่ เสี่ยงต่อการตัดขาดอกเป็นท่อน ๆ หรือมีคำเปรียบเปรยว่า การฝึกตันตระ ก็เหมือนการได้ลิ้มรสหยาดน้ำผึ้งบนใบมีดโกนเพราะหากฝึกได้ดีแล้วก็ลิ้ม รสความหอมหวานของความสำเร็จได้ฉับพลัน แต่หากไม่ผ่านการเตรียม พร้อมที่ดีแล้วก็ย่อมเป็นอันตรายแก่ผู้ฝึกนั่นเอง และการเตรียมพร้อมที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงการเตรียมพร้อมให้ตนเองมีอำนาจวิเศษอันใด แต่เป็นการ เตรียมพร้อมด้วยหลักปฏิบัติของศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยวิถีของมรรค ๘ ด้วยความตระหนักลึกซึ้งของอริยสัจ ๔ และคำสอนอันทรงคุณค่าของ พระพุทธองค์เพื่อนำไปสู่การละวาง ถอนตัวจากกิเลส จนพร้อมที่จะเผชิญ หน้ากับกิเลสอันละเอียดลึกซึ้ง เพื่อถอนรากถอนโคนให้หมดสิ้นไปจากจิต ไม่ให้เหลือแม้แต่กิเลสตกตะกอน ด้วยวิธีการของตันตระนั่นเอง ดังนั้น เส้นทางของตันตระธิเบต ก็คือการต่อยอดของการปฏิบัติของพุทธศาสนา สายจารีต ที่ทุกคนต้องฝึกฝนต้องผ่านการปฏิบัติสายจารีตเสียก่อน จน เฉพาะผู้ที่พร้อมเท่านั้นที่สมควรจะก้าวเดินต่อไป แต่ปัญหาก็คือ จะมีสัก กี่คนที่ตระหนักโดยไม่หลอกตนเองว่าตนนั้นพร้อมจริง ๆ






แต่ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า การฝึกตันตระเป็นเรื่องต้องห้าม เพียงแต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า การที่จะลงมือทำอะไรก็ตาม เราคงต้อง มีการศึกษา มีการทำความเข้าใจโดยปาศจากอคติแล้วจึงเลือกที่จะรับ หรือจะปฏิเสธ เพราะแม้จะกล่าวกันว่าตันตระเป็นเรื่องเร้นลับ แต่ผู้เขียน กลับเห็นว่าที่กล่าวเช่นนั้นเป็นเพราะโลกทัศน์ที่ปรากฏในนตันตระเป็น สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครเข้าไปสัมผัสและด่วนปฏิเสธที่จะสัมผัสด้วยซ้ำ เพราะ ถึงที่สุดแล้วปรากฏการณ์ที่ปรากฏในตันตระก็คือภาวะธรรมชาติเท่านั้น เพียงแต่เป็นธรรมชาติที่อาศัยการมองย้อนเข้าไปในตนเอง จนเชื่อมโยง กับธรรมชาติภายในและภายนอกของโลก และจักรวาลเท่านั้นเอง และ อย่างน้อยการทำความรู้จักกับตันตระอย่างถูกต้องก็ยังเปิดช่องทางให้เรา ได้ตระหนักถึงสาระของความมีชีวิตอยู่ แม้ว่าเราจะไม่เลือกเดินเส้นทาง นี้ก็ตาม
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:06:42 am »



 


มีความเข้าใจที่ผิดเกิดขึ้นอยู่เสมอว่าตันตระธิเบตเป็นอันเดียวกับตันตระ ของฮินดู โดยฉพาะเมื่อเอ่ยถึงตันตระ มักจะนึกถึงการร่วมเพศทันที เพราะมีการกล่าวอ้างและเข้าใจกันว่า นี่คือหนทางของตันตระในการที่ จะบรรลุธรรม เป็นหลักการของการเผชิญหน้ากับกิเลส แล้วผันแปรให้ กลายเป็นพลังทางธรรม ด้วยวิธีการที่ได้ยินบ่อยที่สุดคือ การร่วมเพศ โดยไม่หลั่งน้ำอสุจิ เพื่อเป็นการสั่งสมพลังหรืออะไรก็แล้วแต่ จนกระทั่ง กลายเป็นที่มาของ Tantra House ที่อาศัยการร่วมเพศเป็นสำคัญ ในการ ดำเนินกิจกรรมที่อ้างว่าเพื่อสู่การบรรลุธรรม ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพื้นฐาน ของหลักการที่ว่าเพื่อเผชิญหน้ากับกิเลสให้สามารถเอาชนะกิเลสแล้วผัน แปรกิเลสให้กลายเป็นพลังทางธรรมนั้น คงจะถูกต้อง แต่วิธีการนั้นไม่ใช่ เพราะอย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า การฝึกฝนตันตระนั้นต้องอาศัยความพร้อม เพราะผู้ที่จะปฏิบัติตันตระให้เข้าถึงได้ต้องมีพื้นฐานที่มั่นคง จากมรรควิถี ของพระสูตร หรือความรู้ฝ่ายเถรวาท ประกอบด้วยสัมมาทิฐิในเรื่องสุญตา ตระหนักความมุ่งมั่นที่จะตรัสรู้ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์บนพื้นฐานของ ความเมตตากรุณา รวมถึงการสร้างสมตามบารมีทั้ง ๖ เมื่อพื้นฐานมั่นคง เช่นนี้แล้วจึงจะปฏิบัติตันตระได้ ดังนั้นเส้นทางแห่งตันตระจึงไม่ได้เป็น อย่างที่เข้าใจผิด ๆ กันอยู่ แต่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเช่นนั้น อาจเป็น เพราะการปฏิบัติตันตระธิเบต ดูเผิน ๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับตันตระฮินดู เพราะมีการใช้สัญลักษณ์ด้วยรูปภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปที่เป็นเทพชาย หญิงสวมกอดกันอยู่ มีการสาธยายมนต์ มีการใช้มุทรา ( การเคลื่อนไหว ของมือ ) ซึ่งเป็นการมองดูอย่างผิวเผินภายนอก โดยขาดการเข้าไปศึกษา ให้เข้าใจถ่องแท้จริงเลยว่า นัยที่ซ้อนอยู่ผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้นแท้จริง คืออะไร กระบวนการขั้นการปฏิบัติเป็นเช่นไร ซึ่งในตันตระธิเบตถือว่า เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่จะต้องเรียนรู้ปฏิบัติจะให้มีพื้นฐานมั่นคงในแต่ละ ขั้นตอนจะไม่ข้ามขั้นตอนเด็ดขาด ( ซึ่งรวมถึงตั้งแต่ขั้นตอนของพื้นฐาน ทางมรรควิถีของพระสูตร จนมั่นคงในสุญตา ) เพราะจะทำให้เกิดการ หลงผิด เข้าใจผิด ๆ แล้วปฏิบัติผิด ๆ อันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวดดุจ เดียวกับการไถลตัวลงบนใบมีดโกน และที่สำคัญหากตนเองเข้าใจผิด คนเดียวไม่พอ ยังชักชวนผู้อื่นให้เข้าใจผิดปฏิบัติผิดด้วย โดยอ้างว่านี่คือ ตันตระของพุทธ นี่คือวัชรยาน ซึ่งเกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ ท่านเกเช เกลซัง กยัตโส ( Geshe Kelsang Gyatso ) กล่าวไว้ว่า ก็ไม่ต่างอะไรกับ การเปิดประตูนรกให้กับตนเองและผู้อื่น เพราะจริงอยู่ที่กระบวนการขั้น ตอนการฝึกตันตระ จะมีส่วนที่ต้องเผชิญกับกิเลสคืออารมณ์เพศแล้วผัน แปรให้กลายเป็นพลังทางธรรม แต่กระบวนการนี้มีขั้นตอน ความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักการ เหตุผล และพื้นฐานสุญตาที่มั่นคง และกระบวนการฝึกปฏิบัติก็แตกต่างจากที่เข้าใจผิด ๆ กันอยู่โดยสิ้นเชิง อย่างน้อยขั้นตอนของการรู้จักธาตุ รู้จักปราณ ช่องลม ส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ส่วนประกอบที่มองเห็นได้ทางการ แพทย์ ท่อปราณหลักทั้งสาม ( ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ ๒ ท่ออย่างที่ส่วนใหญ่ เข้าใจ ) การเคลื่อนของปราณ การควบคุมวงโคจรของปราณในแต่ละฐาน ของร่างกาย พินทุของพ่อแม่ หยดขาว หยดแดงในกาย สภาวะของบาร์โด ทั้งหกและการควบคุม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้และอื่น ๆ อีกมายมาย ล้วนเป็น พื้นฐานที่ต้องรู้ ต้องปฏิบัติ ต้องฝึกฝนจนมั่นคงก่อนที่จะก้าวต่อไปทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่มีความเข้าใจเรื่องจักรยานยนต์ แต่จะไป ขับไปซ่อมเครื่องบิน ความเข้าใจที่ผิด ความรู้สึกที่ผิด ก็ย่อมนำไปสู่การ ปฏิบัติที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:08:12 am »

 


นอกจากนี้ท่าน Kyabje Trijang Dorjechang ซึ่งเป็นครูขององค์ทะไลลามะ ได้กล่าวไว้ว่า


" เปรียบเช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลายที่ล้วนอยากหลุดพ้นจากความทุกข์จึงมี ผู้พยายามฝึกฝนปฏิบัติในการละวางซึ่งกิเลส มุ่งฝึกฝนจนได้ฌานขั้นที่ ๔ หรือพยายามฝึกฝนให้ยิ่งยวดจะได้ฌานขั้นสูง แต่หากตราบใดยังคงเป็น เพียงการปฏิบัติเรื่องรูปและนิรรูป แม้จนได้สมาธิ ได้ขั้นของฌานชั้นสูง แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติจนละวางที่ไม่เป็นเพียงแต่สุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ ทุกข์ ยังไม่ได้ปฏิบัติจนตระหนักชัดถึงกิเลสอันละเอียดอ่อน ที่ตะตะกอน ซ่อนอยู่ในจิต จนเผชิญกับมันและขจัดมันออกไปได้หมด เมื่อนั้น แม้ผู้ที่ กล่าวว่าตนบรรลุแล้ว แต่เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ใด ๆ ที่ทำให้กิเลส ทำให้ โลภ โกรธ หลง ย้อนกลับมาเกิดได้อีก วงล้อของกฏแห่งกรรมและการ เวียนว่ายตายเกิดย่อมเคลื่อนตัวอีกครั้ง "




ในระบบการฝึกฝนปฏิบัติตันตระนั้น กล่าวได้ว่ามีการผสมผสานกันทั้งคำ สอนของเถรวาทและมหายาน กล่าวคือ ทางฝ่ายเถรวาทนั้นจะให้ความ สำคัญกับการปลดปล่อยตนเองออกไปจากห้วงแห่งวัฏสงสาร ให้ความ สำคัญกับการตระหนักโทษของการยึดติดในโลภ โกรธ หลง และมุ่งไปที่ การละวางซึ่ง โลภ โกรธ หลง นั้นเป็นสำคัญ ในขณะที่ทางมหายานนั้น จะ ให้ความสำคัญกับวิถีโพธิสัตต์ ที่จะมุ่งปลดปล่อยตนเองไปพร้อม ๆ กับ การช่วยเหลือสรรพสัตว์อื่น ๆ ไปด้วย ด้วยการสั่งสมบารมีทั้ง ๖ ไปตาม ขั้นตอนของโพธิสัตต์ภูมิทั้ง ๑o โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะต้องขจัดเสียให้ สิ้นคือ อุปสรรคทั้งหลายที่คอยขัดขวางการบรรลุธรรม ทั้งนี้วิถีโพธิสัตต์ นั้นจะไม่กลัวหรือหันเหนีจากการยึดติด เพราะโพธิสัตต์ย่อมตระหนักดี ถึงวิธีการสลายความยึดติดให้แปรเปลี่ยนกลายเป็นวิถีแห่งจิตวิญญาณ ดุจ เดียวกับชาวนาชาวสวนที่ย่อมจะไม่รังเกียจที่จะสัมผัสดินสัมผัสปุ๋ย ที่เกิด จากการหมักหมมของมูล ของสิ่งสกปรก เพราะรู้ดีว่าสิ่งสกปรกนี้จะช่วย ให้พืชพรรณได้เติบโตอย่างงดงาม ดังพระโพธิสัตต์จึงใช้มายา ใช้ความ ยึดติด เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การบรรลุธรรม แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความ เข้มแข็งแห่งปัญญา และเมตตาที่มีอยู่ในตนเป็นสำคัญ



ส่วนวัชรยานหรือตันตระนั้นก็คือการผสมผสานบนหลักพื้นฐานของยาน ทั้งสอง โดยแทนที่จะขจัดเสียซึ่งความยึดติดในทันที แต่จะใช้ความยึดติด นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยนำไปสู่ความบรรลุโดยฉับพลัน โดยยังคงยึดมั่น บนหลักการแห่งโพธิสัตต์ และสุญตา และการฝึกฝนปฏิบัติเช่นนี้จำเป็น ต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงอย่างมาก และการเผชิญหน้ากับกิเลส กับความยึดติด โดยตรงนั้นยิ่งย่อมเสี่ยงต่อการเป็นผู้ติดกับอยู่ในบ่วงเสียเอง กลับกลายเป็น ผู้ที่ติดอยู่ในบ่วงแห่งโลกียะมากขึ้นไปเสียอีก และที่สำคัญ ครูผู้ที่มีความ สามารถทั้งทางกาย วาจา ใจ ที่จะสอนและศิษย์ที่มีความพร้อมความสามารถ ที่จะเรียนนั้นยิ่งหายากยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวัชรยานจึงเป็น การถ่ายทอดเฉพาะบุคคล และต้องมีครูที่เหมาะสม ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยว พันกันคอยดูแล



กล่าวกัว่าระบบของตันตระธิเบตก็คือการแปรเปลี่ยนโลภ โกรธ หลง ให้ กลายเป็นการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิเสธมัน หันหลัง ให้มันหรือละวางจากมัน แต่เป็นการหันหน้าเข้าเผชิญกิเลส และชำระล้าง ให้กลายเป็นพลังแห่งความบริสุทธิ์ ก็เปรียบได้กับวิธีการจัดการม้าพยศที่ กำลังวิ่งมุ่งตรงเข้ามาหาเรา หนทางหนึ่งคือการปฏิเสธ หันหลังวิ่งหนี พร้อม ๆ กับตะโกนไล่มันว่า " หยุดนะ อย่าเข้ามาหาฉัน " ซึ่งวิธีนี้ก็ไม่แน่ นักว่าจะได้ผล เพราะหากม้านั้นยังคงกวดเรามาอย่างไม่ลดละ จนอาจวิ่ง ทัน และชนเราล้มไปเลยก็ได้ ก็เหมือนกับการหันหน้าหนีจากกิเลส ข่ม กิเลสไว้ ซึ่งกิเลสยังไม่ได้หนีหายไปใหนยังคงคอยไล่กวดเรามาอยู่เรื่อย ๆ ตราบใดที่เราเผลอหรืออ่อนแรงมันก็พร้อมจะพุ่งชนใส่เราทันที





แต่หากเป็นอีกวิธีหนึ่ง คือแทนที่จะหันหลังแล้ววิ่งหนี เรากลับเลือกที่จะ หันกลับมาเผชิญกับมันอย่างมีสติ หาทางเบี่ยงแล้วขึ้นขี่หลังเจ้ามาพยศ ตัวนั้น เพื่อมีโอกาสที่จะใช้เทคนิคค่อย ๆ ควบคุมมัน จนมันสงบลง แล้วเคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่เราต้องการ แต่การที่เราจะขึ้นขี่เจ้าม้า พยศได้ แน่นอนย่อมต้องอาศัยพื้นฐานอันแข็งแกร่ง อันมั่นคง และเมื่อ ขึ้นหลังมาได้แล้ว ก็ต้องอาศัยความมั่นคงของทั้งการคุมม้า และการควบ คุมตนเอง มั่นคงในสุญตา และโพธิสัตต์ เพื่อจะไม่ควบคุมม้าไปใน ทางที่ผิด



ท่านเกเซ เกลซัง กยัตโส ( Geshe Kelsang Gyatso ) ได้อธิบายเพิ่มเติม ถึงวิถีของตันตระธิเบตว่า มีความแตกต่างสำคัญอยุ่ ๒ ประการของการ ปฏิบัติตันตระธิเบตกับการปฏิบัติอย่างอื่น ประการแรกคือ หลักของการ ที่จะได้ตรัสรู้นั้น ผู้ปฏิบัติต้องสามารถบรรลุถึงทั้งรูปกายและกายแท้ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีเพียงวัชรยานเท่านั้น ที่ให้คำอธิบายและวิธีการในการ บรรลุถึงกายทั้งสองอย่างตรงที่สุด
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:09:29 am »



ประการที่สองมีเพียงวัชรยานเท่านั้นที่อธิบายถึงวิธีการเอาชนะซึ่งกิเลส หรืออุปสรรคอันละเอียดอ่อนต่อการตรัสรู้ ซึ่งก็คือการปรากฏของทวิ ลักษณ์อันละเอียดอ่อนในจิต ในรูปของจิต ๓ อย่าง คือ จิตแห่งสีขาว จิตแห่งสีแดง และจิตไกล้สีดำ ซึ่งจิตทั้งสามจะปรากฏขึ้นเมื่อปราณภาย ในค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่ท่อกลางขณะหลับ ขณะที่กระบวนการตายกำลัง จะเกิดขึ้น และขณะที่อยู่ในช่วงการภาวนาตันตระขั้นสูงระดับสมบูรณ์ ( ในตันตระธิเบต นอกจากท่อปราณหลักของร่างกายซ้ายขวา อันพาด ผ่าจักรทั้ง ๖ แล้วยังมีท่อกลางที่จะปิดสนิท ยกเว้นในช่วงของกระบวน การตาย ที่จิตจะเคลื่อนผ่าท่อนี้เป็นบาร์โด ( ภาวะหลังตายก่อนเกิดใหม่ ) ก่อนที่จะเกิดใหม่อีกครั้ง ) ซึ่งแม้ว่าปรากฏการณ์ของจิตทั้งสามจะละเอียด อ่อนมากแล้ว แต่ก็ยังยึดติดอยู่กับการปรากฏของสีทั้งสาม ซึ่งเป็นการ ปรากฏที่ละเอียดอ่อนที่สุดอยู่ภายใน ซึ่งเป็นทวิลักษณ์อันละเอียด และ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุธรรม ซึ่งไม่มีพระสูตรใดสามารถเข้าถึง และอธิบายความละเอียดเช่นนี้ได้เลย และการเข้าถึงสุญตาที่ยังไม่อาจ หยั่งถึงทวิลักษณ์เช่นนี้ก็เป็นเพียงการเข้าถึงสุญตาของจิตหยาบ ซึ่งไม่ อาจข้ามผ่านทวิลักษณ์เช่นนี้ได้ และหนทางเดียวที่จะผ่านพ้นทวิลักษณ์ นี้ได้ก็คือ การสามารถเข้าสู่สุญตาโดยตรงด้วยจิตอันละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ของแสงอันกระจ่าง และการเข้าสู่แสงอันกระจ่างนี้ได้ก็โดยอาศัยการ ปฏิบัติของตันตระชั้นสูงเพียงอย่างเดียว



แต่การที่จะเข้าไปสู่แสงอันกระจ่างนั้นต้องอาศัยพื้นฐาน ที่จะต้องฝึกฝน ให้มั่นคงเสียก่อนอีกมากมาย และพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ศีล นอก จากศีลทางวินัยอย่างเถรวาท ที่จะยึดถือแตกต่างกันตามสถาณภาพ ของ การเป็นนักบวชหรือเป็นฆราวาสแล้วก็มีศีลโพธิสัตต์ และเมื่อเข้าสู่ตันตระ ก็ต้องมีศีลของตันตระด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเป็นข้อกำหนดไปตามแต่ละสาย ของการปฏิบัติ แต่ก่อนไปสู่ขั้นนั้นจะขออธิบายคร่าว ๆ ของเส้นทาง การปฏิบัติเสียก่อน
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:11:17 am »






ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า เส้นทางของตันตระนั้นต้องอาศัยพื้นฐานที่มั่นคงของ พระสูตรเสียก่อน และเพื่อให้พื้นฐานนั้นมั่นคง การฝึกฝนของตันตระจึง เริ่มต้นด้วย การฝึกปฏิบัติลัมริม ( Lamrim ) หรือประทีปส่องทางสู่การรู้แจ้ง ซึ่งวิถีของลัมริมเปรียบได้กับการผสมผสานการปฏิบัติพื้นฐานที่จำเป็นต่อ การก้าวเข้าสู่วิถีตันตระ ประกอบด้วยการเจริญภาวนาที่สำคัญเป็นลำดับ เป็นขั้น ๆ ไป ได้แก่




. การเจริญภาวนาคุรุเป็นที่พึ่ง ( การเรียนรู้จากผู้ที่สำเร็จบเส้นทางนี้แล้ว )
. การเจริญภาวนาคุณค่าชีวิตของมนุษย์ ( ความสำคัญของการใช้ชีวิต
มนุษย์อย่างมีค่า )
๓. การเจริญภาวนามรณานุสติและความไม่เที่ยง ( ความไม่แน่นอนของ
ความตายและความเป็นทุกข์ ความเป็นอนิจจังของโลก )
๔. การเจริญภาวนาถึงอันตรายของการกลับมาเกิดในภพที่ต่ำกว่า
๕. การเจริญภาวนาเพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
๖. การเจริญภาวนาเรื่องกฏแห่งกรรม
๗. การเจริญภาวนาเพื่อพิจารณาการละซึ่งวัฏสงสาร
. การเจริญภาวนาเพื่อพิจารณาอุเบกขา
๙. การเจริญภาวนาเพื่อตระหนักว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงคือมารดาผู้มีคุณ
( เป็นการเริ่มต้นของการสร้างโพธิจิต )
๑o. การเจริญภาวนาเพื่อรำลึกถึงความกรุณาของผู้อื่น
๑๑. การเจริญภาวนาถึงความเท่าเทียมกันของทุกชีวิต ( เพื่อตระหนักว่า
ทุกชีวิตต่างต้องการและมีคุณค่าที่จะมีความสุข )
๑๒. การเจริญภาวนาถึงข้อเสียของการคิดถึงและยกย่องแต่ตนเอง
๑๓. การเจริญภาวนาถึงข้อดีของการยกย่องผู้อื่น ( ลดละซึ่งอัตตาด้วย
วิธีการเอื้ออาทร )
๑๔. การเจริญภาวนาแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่น ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือได้ว่า
เป็นขั้นตอนสำคัญใน
การพัฒาโพธิจิต ( จิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นพุทธะ เพื่อ
ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้วงปวง )
ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนของการฝึกฝน
เจริญภาวนา เพื่อยินดีน้อมรับปัญหา หรือความทุกข์ของผู้อื่น จากนั้นก็
มอบความสุขให้กับผู้อื่นเป็นการทดแทน




เทคนิคเบื้องต้นพื้นฐานง่าย ๆ ที่พอจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือให้เจริญภาวนา ด้วยการตรึกนิมิตว่า ... ความทุกข์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้กลายเป็น กลุ่มควันสีดำ จากนั้นหายใจเข้า นำควันสีดำเข้าไปด้วยหัวใจของความ เมตตาที่ปรารถนาจะช่วยเหลือชีวิตอื่น ๆ ให้พ้นทุกข์ หายใจเข้าไป แล้ว กำหนดจิตไว้ที่ตรงหัวใจ เพื่อให้ความดีงามที่มีในหัวใจชำระล้างความทุกข์ ที่นำเข้ามา และเพื่อช่วยสลายความยึดมั่นถือมั่นถือดีในตัวตนของเรา ด้วย การยอมน้อมรับความทุกข์ของชีวิตอื่น จากนั้นหายใจออก จินตนาการ แผ่ความสุขของเราให้กับชีวิตอื่นเป็นแสงสีขาวที่แผ่กระจายออกไปจนทั่ว ขอบเขตแห่งจักรวาล


ในขั้นตอนนี้ ความสำคัญก็คือผู้ฝึกฝนต้องอาศัยการจิตนาการ แล้วมีสติ กำกับต่อทุกข์ลมหายใจที่เข้าและออกทุกครั้ง ขณะที่หายใจเข้านั้น ให้ สามารถสัมผัสได้ถึงความทุกข์ ความเป็นจริงของปัญหาที่ผ่านเข้ามาเพื่อ ชำระล้างด้วยหัวใจอันดีงามของเรา และช่วยสลายความยึดมั่นในอัตตา ตัวตของเรา ขณะที่หายใจออกเป็นลำแสงสีขาวแห่งความสุขนั้น ก็ให้ สามารถสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลาย ไม่หลงเหลือความทุกข์หรือปัญหา ใด ๆ ตกค้างอีก สัมผัสได้ถึงแต่ความสุขที่เรามีร่วมกับสรรพชีวิตอื่น ๆ ทั่วพื้นพิภพ




๑๕. การเจริญภาวนา เพื่อพัฒนามหากรุณา
๑๖. การเจริญภาวนา เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบที่จะปลดปล่อยความทุกข์
ของชีวิตอื่น ( การแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่นในการปฏิบัติขั้นสูง )
๑๗. การเจริญภาวนา เพื่อแบ่งปันความสุขและชีวิตที่ดีให้กับผู้อื่น
๑๘. การเจริญภาวนาโพธิจิต เพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต
ทั้งปวง
๑๙. การเจริญภาวนาเพื่อพัฒนาอุเบกขา ( เป็นขั้นตอนการฝึกสมาธิขั้นสูง )
๒o. การเจริญภาวนาสู่สุญตา






จะเห็นได้ว่าในลำดับขั้นตอนของการเจริญภาวนาในการปฏิบัติลัมริม แท้ ที่จริงก็เป็นการฝึกฝนปฏิบัติบนพื้นฐานของหลักศีล สมาธิ ปัญญา โดยค่อย ๆ เป็นการพัฒนาจากระดับเบื้องต้น สู่ขั้นสูงคือ เข้าสู่สุญตา เพื่อละวางให้ได้ จากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนนั่นเอง เมื่อสามารถฝึกฝนพัฒนาตนเอง จนมาถึงขั้นสุดท้าย คือสุญตาแล้วหากผู้ฝึกมีความพร้อม และมีครูพร้อมด้วย เช่นกัน ผู้ฝึกฝนจึงจะสามารถปฏิบัติเข้าสู่วิถีของตันตระได้ ซึ่งวิถีของตันตระ ก็จะมีลำดับขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการฝึกฝนตันตระ ธิเบตหรือวัชรยานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และหากปฏิบัติเป็นไปตามลำดับขั้น ด้วยหัวใจที่ยึดมั่นในโพธิจิตแล้วก็ย่อมไม่หลงทางอย่างที่มีการเข้าใจผิดอย่าง ที่เป็นอยู่
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:15:52 am »

 
 
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะบังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้มีโอกาสเข้ามาเดินทางบนเส้นทาง ตันตระสายนี้ และมีหัวใจที่ยึดมั่นเปี่ยมในโพธิจิตของการอุทิศตนฝึกฝน ปฏิบัติด้วยเป้าหมายเพื่อให้ตนสามารถยังประโยชน์แก่สรรพชีวิตทั้งปวง นั้น จะปรากฏดังที่คุรุ เจ ซองขะปะ ( Je Tsongkapa ) ได้รจนาไว้ในคัมภีร์ " การเผยความลับอันยิ่งใหญ่แห่งวิถีมนตรายาน " ถึงประโยชน์ ๗ ข้อที่จะ มีต่อผู้ปฏิบัติคือ


๑. ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับการอำนวยพรจากเหล่าพระพุทธเจ้าและพระ
โพธิสัตต์ทั้งหลาย
๒. เทพประจำองค์หรือยิดัม ( Yidam ) ย่อมให้การคุ้มครอง ดูแลและชี้นำ
แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติแต่ละคน
๓. ผู้ปฏิบัติย่อมสามารถเข้าถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ในเวลาตาย
ชีวิตหลังความตาย( บาร์โด ) และในยามเกิดใหม่อีกครั้ง
๔. ผู้ปฏิบัติสามารถสั่งสมบุญบารมีและปัญญาบารมีได้อย่างรวดเร็ว
๕. ผู้ปฏิบัติสามารถปลดปล่อยตนเองออกจากอุปสรรคหรือบ่วงร้อย
รัดทั้งปวง
๖. ผู้ปฏิบัติจะบรรลุทั้งธรรมขั้นต้น ธรรมอันยิ่งใหญ่ทั้งแปด จนกระทั่ง
ถึงการตรัสรู้
๗. กายกรรมและวจีกรรมของผู้ปฏิบัติในแต่ละวัน ย่อมเป็นไปเพื่อการ
สั่งสมบุญ



ทั้งนี้ตันตระธิเบตจะมีการปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ ภพทั้งสามของรูปกาย สัมโภคกาย และธรรมกาย หรือกายแท้ของพระ พุทธะ ดังเช่นในขั้นตอนของการปฏิบัติตันตระขั้นสูงที่ว่า


ขั้นของแยกกาย วาจา และจิต( เป็นการฝึกสติขั้นสูงในการจำแนกตาม ความเป็นจริง )

กายจินตภาพ ( เปรียบเทียบได้ว่าคล้าย ๆ กับการพัฒนากายทิพย์ หรือ สัมโภคกาย การเจริญภาวนาจะเป็นที่ฐานของสัมโภคกายแทนที่รูปกาย )


แสงอันกระจ่าง ( เป็นขั้นของการฝึกสติขั้นละเอียดอย่างยิ่งเพื่อไปสู่ระดับ ของกายแท้หรือธรรมกาย )


การหลอมรวมหรือการตรัสรู้อย่างสมบูรณ( เป็นการหลอมรวมธรรมกาย เข้าสู่สัมโภคกายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน )


ทั้งนี้ ตลอดขั้นตอนของการปฏิบัติ ต้องมีการผสานกับการเจริญภาวนา สุญตาที่ได้ฝึกฝนพัฒนามาตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิบัติลัมริมแล้ว ( นี่คือเหตุ ผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ว่า การปฏิบัติลัมริมจึงเป็นรากฐาสำคัญยิ่ง ก่อนที่เข้าสู่ตันตระ )


อย่างไรก็ตามตลอดเส้นทางการไปถึงขั้นของการตรัสรู้นั้น มีรายละเอียด ซับซ้อนมากมาย ตั้งแต่เรื่องปราณ จักร การสลับเปลี่ยนให้เท่าทันกายและ จิต การตรึกภาพ เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามแต่ละขั้นตอนภายใต้การควบ คุมอย่างไกล้ชิดของคุรุ โดยไม่ข้ามขั้นอย่างเด็ดขาด
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:19:50 am »



โดยระดับของตันตระธิเบตแบบดั้งเดิมนั้น แบ่งออกได้เป็น ๔ ระดับ คือ

๑. กิริยาตันตระ ( Action Tantra )
๒. จริยาตันตระ ( Performance Tantra )
๓. โยคะตันตระ ( Yoka Tantra )
๔. อนุตรโยคะตันตระ ( Highest Yoka Tantra )




ซึ่งแต่ละขั้นก็จะมีความซับซ้อน และมีรายละเอียดต่างกันออกไป แต่ หัวใจสำคัญในตันตระแต่ละขั้นก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในระดับชั้นที่ สูงกว่า ดังนั้น การฝึกฝนปฏิบัติย่อมไม่อาจข้ามขั้นตอนได้ และกว่าที่ จะไปสู่ขั้นของอนุตรโยคะตันตระได้นั้น ต้องมั่นใจเสียก่อนว่าตนมีพื้น ฐานที่มั่นคงในกิริยาตันตระ จริยาตันตระ และโยคะตันตระ เสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง



และเพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น ความแตกต่างของตันตระแต่ละ ขั้นอาจอธิบายอย่างง่ายที่สุดได้ว่า ตันตระแต่ละระดับจะต่างกันตรงที่ วิธีการที่ใช้ในการแปรเปลี่ยน ให้ความสุข ความพึงพอใจในกิเลส ผันแปรมาเป็นความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ นั่นคือจากข้อเท็จจริงที่ ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังต้องหมุนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร ยังยึดมั่นหลง วนอยู่ในความสุขความพึงพอใจทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ยามใดที่เรารู้สึกเพลิดเพลินกับสิ่งที่มากระทบอายตนะทั้งห้าเหล่านี้ เราก็จะรู้สึกเป็นสุข แต่โชคร้ายความสุขที่เกิดขึ้นนั้นกลับเป็นต้นเหตุ ที่คอยยึดเหนี่ยวเราไว้ให้ยังคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสาร แล้วในที่สุดความสุขความเพลิดเพลินที่เราเคยได้เคยมีก็นำไปสู่ความ ทุกข์ของการที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสารนั่นเอง แต่เราก็ไม่อาจ ปฏิเสธว่ากิเลสจากอายตนะทั้งห้าเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะกำจัด เพราะมันเป็นสภาพธรรมชาติของมนุษย์ และบ่อยครั้งที่การพยายาม ปกปิด ซ่อนเร้น หรือเก็บกดมันเอาไว้โดยไม่ได้เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้า กับมัน ให้ก้าวข้ามผ่านมันไปได้ ก็จะย้อนกับมาซึ่งส่งผลลบแก่เราใน ที่สุด ดังนั้น วิถีของตันตระก็คือ แทนที่จะเก็บกดความพึงพอใจกิเลส ทางโลกเหล่านี้ ก็หันมาใช้วิธีการผันแปรกิเลสให้มาสู่หนทางธรรม ด้วยวิธีการใช้อุบายในการนำเอากิเลสอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางจิตวิญญาณนั่นเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:20:49 am »






ดังตัวอย่างเช่นที่มหาสิทธาผู้ยิ่งใหญ่อย่างศรหะกล่าวไว้ว่า



" ความสุขทางโลกที่มีอิทธิพลครอบงำมนุษย์ และมนุษย์ให้ความสำคัญ มากที่สุด ประการหนึ่งก็คือความสุขอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็น ภาวะของสัญชาตญาณตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้และ มีมนุษย์จำนวนมากที่ให้ความสำคัญและยินดีสูญเสียพลังงานไปจำนวน มากเพียงเพื่อจะได้รับความสุขจากเพศสัมพันธ์นั้น และเป็นที่น่าเสียดาย อย่างยิ่งที่ไม่มีมนุษย์คนใดจะเข้าใจและเรียนรู้ที่จะรับรู้ความสุขจากสิ่ง เหล่านี้เป็นไปในทางที่มีความหมายยิ่งขึ้น และไม่หลงเพิ่มมายาการในจิต ยิ่งขึ้น ทั้งนี้พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะวิธีการอันหลากหลายในอันที่จะ แปรเปลี่ยนความสุขทางเพศให้กลายเป็นมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ ทางจิตวิญญาณ ซึ่งมีตั้งแต่ระดับขั้นต่ำไปจนถึงขั้นสูง "



ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่มีการโยงเรื่องเพศสัมพันธ์ไปสู่การ ปฏิบัติตันตระ เพราะด้วยวิธีการของตันตระก็คือการฝึกฝนตนเองให้ สามารถเผชิญหน้ากับกิเลสได้โดยไม่หวั่นไหว และกิเลสอันทรงอิทธิพล ประการหนึ่งก็คือเรื่องเพศ อันเป็นสภาวะตามธรรมชาติที่สุดประการ หนึ่งของมุนษย์ เพียงแต่วิธีการของตันตระนั้นต้องมีขั้นตอนการฝึกฝน การเจริญภาวนาอันละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ทั้งการดูแลควบคุมทางกายและ ทางจิต เพื่อให้พลังหรือความสุขจากทางเพศที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นทาง ธรรมให้ได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องยากยิ่งเพราะมันคงเป็นการง่ายกว่าที่จะหลง เพลิดเพลินกับกามสุข แล้วทึกทักเอาว่านี่คือความสำเร็จทางธรรมแล้ว





ส่วนตัวอย่างง่าย ๆ ของหลักการแปรเปลี่ยนความสุขทางโลกมาเป็นการ ปฏิบัติทางธรรมของตันตระในแต่ละระดับ กล่าวคือ ในระดับขั้นของ กิริยาตันตระ ( Action Tantra ) ผู้ปฏิบัติจะฝึกฝนตนด้วยการเจริญภาวนา จินตนาการตรึกภาพนิมิตขององค์เทพหรือองค์พระโพธิสัตต์ที่สะอาด บริสุทธิ์อย่างพร้อมมูล เพื่อน้อมจิตเข้าสู่คุณสมบัติขององค์เทพ หรือพระ โพธิสัตต์องค์ใดองค์หนึ่งที่ตนศรัทธา จนน้อมนำจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับ องค์เทพ หรือพระโพธิสัตต์องค์นั้น ๆ มีกาย วาจา และใจ เป็นหนึ่งเดียว กันพร้อมที่จะเผชิญหน้า เอาชนะกิเลสตัณหาของตนได้ เมื่อผู้ปฏิบัติ สามารถเจริญภาวนาตนถึงพร้อม เล็งเห็นตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับพระ โพธิสัตต์ หากเป็นชายก็เล็งเห็นตนเป็นพระโพธิสัตว์ในร่างชาย อาทิ พระมัญชุศร( พระโพธิสัตต์ฝ่ายปัญญา ) หรือพระอวโลกิเตศวร ( พระ โพธิสัตต์ฝ่ายเมตตา ) จากนั้นจะเจริญภาวนาจินตนาการจนแลเห็นองค์ เทพฝ่ายหญิง หรือ ฑากินี ผู้สวยสดงดงามปรากฏกายอยู่เบื้องหน้า แล้ว อาศัยการตรึกภาพฑากินีนั้น ๆ จนเกิดความสุข ความพึงใจ แล้วใช้อุบาย ในการภาวนาให้แปรความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้เห็นภาพ ฑากินี ผู้สวยงาม เข้าสู่การเจริญภาวนาสุญตา ซึ่งตลอดขั้นตอนยังคงต้องอาศัย อุบาย สัญลักษณ์ภายนอกต่าง ๆ อาทิ มุทรา หรือการชำระล้างศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น




เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติในระดับของกิริยาตันตระจนมั่นคงดีแล้ว กล่าว คือเมื่อได้รับอายตนะทางตา เห็นรูปอันน่าพึงใจก็สามารถแปรกิเลสทางรูป ให้เข้าสู่สุญตาได้ โดยไม่ต้องหลีกเลี่ยง หรือเก็บกดความรู้สึกไว้ จากนั้น จะเข้าสู่ระดับของจริยาตันตระ ( Performance Tantra ) ซึ่งเป็นพื้นฐานขั้น ตอนการเตรียมตัว จะมีเช่นเดียวกันกับกิริยาตันตระ แต่คราวนี้ นอกเหนือ จากการปรากฏกายในนิมิตแล้ว คราวนี้นางยังส่งยิ้มเชิญชวนอย่างเย้ายวน ใจอีกด้วย ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องสามารถเจริญภาวนาจนสามารถผันแปรความ ปรารถนา ความพึงพอใจใด ๆ ที่เกิดขึ้นให้เข้าสู่สุญตาให้ได้ ซึ่งในขั้นตอน นี้ยังคงต้องอาศัยการปฏิบัติภายนอกทางกาย อาทิ มุทรา หรือพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับกิริยาตันตระ แต่ในจริยาตันตระ การปฏิบัติภายนอกทางกาย และการปฏิบัติทางจิตด้วยการเจริญภาวนาจะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน




เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถฝึกฝนปฏิบัติ จนมั่นคงดีทั้งในระดับกิริยาตันตระ และ จริยาตันตระดีแล้ว จากนั้นก็จะเข้าสู่การปฏิบัติโยคะตันตระ ( Yoka Tantra ) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานเบื้องต้น เช่น เดียวกับกิริยาตันตระ และจริยาตันตระ แต่ในส่วนของการฝึกฝนแปรความพึงพอใจทางเพศเข้าสู่ทางธรรมนั้น ใน โยคะตันตระนอกจากจะเจริญภาวนาจนเห็นนางฑากินีที่พึงใจมาปรากฏกาย ตรงหน้าส่งยิ้มเชิญชวนแล้ว คราวนี้ในขั้นตอนของโยคะตันตระ ผู้ปฏิบัติ จะจินตนาการสร้างนิมิต ไปถึงขั้นได้สัมผัสฑากินีผู้เป็นที่พึงใจ จากนั้นผู้ ปฏิบัติจะต้องสามารถแปรเปลี่ยนความปรารถนา ความพึงใจ หรือความสุข ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสนาง ให้เข้าสู่สุญตาให้ได้ ซึ่งในขั้นตอนของ โยคะตันตระนี้ จะเน้นการฝึกจิตภายในมากกว่าการปฏิบัติทางกายภายนอก



หลังจากที่ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญภาวนาเข้าสู่สุญตาได้ทันที ไม่ว่าเมื่อใดก็ ตามที่ได้สัมผัสนางฑากินี จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของอนุตรโยคตันตระ ( Highest Yoka Tantra ) ที่คราวนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเจริญภาวนา จนถึงขั้นมี นิมิตได้สวมกอด หรือมีเพศสัมพันธ์กับนางฑากินีแล้วผู้ปฏิบัติต้องสามารถ แปรเปลี่ยนความปรารถนา ตัณหา หรือความสุขใด ๆ ที่เกิดขึ้นให้เข้าสู่ สุญตาให้ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะต้องยิ่งอาศัยพื้นฐานการ ของการเดินลมปราณตามฐานจักรต่าง ๆ ในร่างกาย ให้สัมพันธ์กับท่อปราณ และช่องลมในร่างกายที่มีความละเอียดซับซ้อน ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า เพื่อนำไป ใช้ควบคุมความปรารถนาทางเพศ หรือความสุขทางเพศให้เป็นพลังในการ ไปเปิดท่อกลางของร่างกาย ( ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในตันตระธิเบต ท่อปราณ หลักในกายมีอยู่ ๓ ท่อ โดยท่อกลางจะปิดสนิท ยกเว้นตอนตายและตอน มีความสุขทางเพศที่ท่อกลางจะเปิดออก ให้พินทุของพ่อและแม่มารวมกัน และเป็นทางเคลื่อนออกจากกายของจิตสู่บาร์โด ที่เล่ากันว่าจะนำไปสู่การ ไขความเร้นลับของชีวิตและจักรวาล ) เพื่อเป็นกุญแจนำไปสู่การไขความ ลับของชีวิตตามที่เชื่อกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากยิ่ง ดังเช่นมีการเปรียบกันว่า ตันตระก็เหมือนกับการได้ลิ้มรสหยดน้ำผึ้งบนใบมีดโกนที่หากมีพื้นฐานการ ปฏิบัติทางจิตที่ดีและมีครูคอยควบคุมดูแลอย่างไกล้ชิดแล้ว ก็จะได้ลิ้มรส ความหอมหวานของการของการเข้าสู่ปริศนาแห่งชีวิตและจักรวาลที่นำไป สู่การบรรลุธรรม แต่หากพลาดแล้วก็ไม่ต่างกับการถูกเฉือนด้วยใบมีดอัน คมกริบให้หลงวนติดอยู่ในบ่วงของตัณหาราคะเท่านั้นเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 09:21:57 am »






ดังนั้น จะเห็นได้ว่า พื้นฐานอันมั่นคงในแต่ระดับมีความสำคัญอย่างยิ่ง นั่น คือ ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถแปรความสุขจากการได้สวมกอด หรือมีเพศ สัมพันธ์เข้าสู่สุญตาได้ ผู้ปฏิบัติก็ต้องสามารถแปรความสุขจากการสัมผัสมือ ให้เข้าสู่สุญตาก่อน และก่อนจะเข้าสู่การจับมือ ก็ต้องผ่านขั้นตอนของการ ได้เห็นองค์เทพไม่ว่าจะเป็นหญิง หรือชายตามลำดับขั้นตอนก่อนทั้งสิ้น ดัง นั้น การปฏิบัติต้องเป็นไปตามขั้นตอน ไม่โกหกหรือหลอกตนเองเพื่อข้าม ขั้นโดยเด็ดขาด และจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตันตระนั้นต้องอาศัยพื้นฐานอัน มั่นคงของการเจริญภาวนาและสุญตาเป็นสำคัญยิ่ง เพราะย่อมเป็นไปไม่ได้ เลยที่จะแปรเปลี่ยนกิจกรรมทางเพศให้เป็นกิจกรรมทางธรรมโดยขาดการ เจริญภาวนา




อย่างไรก็ตาม การแปลงพลังเพศให้เข้าสู่ทางธรรมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของตันตระธิเบต เพราะตันตระธิเบตมุ่งหมายให้เผชิญหน้ากับกิเลสตัณหา ทั้งปวงแล้วแปรกิเลสทั้งปวงให้เกิดความก้าวหน้าในทางธรรม แต่ที่สำคัญ คือส่วนหนึ่งของตันตระธิเบตไม่ปฏิเสธพลังเพศ อันเป็นธรรมชาติที่เอาชนะ ได้ยากยิ่งที่สุดประการหนึ่งของมนุษย์ แต่จะใช้ประโยชน์จากพลังเพศให้ เกิดประโยชน์ในทางธรรม โดยต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงในสุญตา และการ เจริญภาวนาด้วยกุศลจิตของการมีโพธิจิต ที่จะอุทิศตนฝึกฝนปฏิบัติเพื่อยัง ประโยชน์แก่สรรพสัตว์มิใช่เพื่อเป็นการสนองกิเลสตัณหาตนเอง ดังนั้น การปฏิบัติตันตระ จำเป็นยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องและมีความ มั่นคงในการเจริญภาวนา และหลักสุญตาอย่างแท้จริง มิใช่เพียงการกระ โจนเข้าไปมีกิจกรรมทางเพศ โดยขาดหลักปฏิบัติภาวนาแล้วหลงเข้าใจ ผิดว่าเพียงการสูบฉีดปราณต่าง ๆ ในร่างกายซึ่งอาจเกิดจากพลังงานที่ เกิดขึ้นจากการมีกิจกรรมทางเพศนั้นคือ การบรรลุธรรม แล้วตนได้กลาย เป็นผู้ปฏิบัติตันตระที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งท่านเกเช เกลซัง กยัตโส ( Geshe Kelsang Gyatso ) กล่าวไว้ว่า การกระทำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายพุทธ- ธรรม และคงมีแต่ประตูนรกเท่านั้นที่เปิดรออยู่



อนึ่ง มีเรื่องเล่ากันว่า แม้ว่าในขั้นตอนของการปฏิบัติ จะเริ่มต้นด้วยการ อาศัยการตรึกภาพนิมิต แต่เมื่อผู้ปฏิบัติตันตระที่มีคุณสมบัติพร้อมและ ปฏิบัติจนก้าวหน้าไปได้ใระดับหนึ่งภายใต้การดูแลของครูผู้สืบทอดสาย ปฏิบัติมาแล้ว จะถึงวันที่ฑากินีหรือเหรุกะประจำตนของผู้ปฏิบัติของ ผู้ปฏิบัติที่สืบทอดสายปฏิบัติตันตระจะมาปรากฏกายตรงหน้าโดยไม่ต้อง ผ่านนิมิตอีกต่อไป



จากตอนที่ผ่าน ๆ มาได้เล่าให้พบเห็นภาพอย่างคร่าว ๆ แล้วว่า วิถีของ ตัตระธิเบตเป็นเช่นไรและดังที่เล่าไว้แล้วว่า การฝึกฝนตันตระนั้นต้อง อาศัยความพร้อมเพราะผู้ที่จะปฏิบัติตันตระให้เข้าถึงได้ต้องมีพื้นฐาน ที่มั่นคงจากมรรควิถีของพระสูตรหรือความรู้ฝ่ายเถรวาท ประกอบด้วย สัมมาทิฐิในเรื่องสุญตา ตระหนักมุ่งมั่นที่จะตรัสรู้เพื่อช่วยเหลือสรรพ สัตว์บนพื้นฐานของความเมตตากรุณา รวมถึงการสร้างสมบารมีหก เมื่อพื้นฐานมั่นคงจึงเริ่มต้นฝึกปฏิบัติตันตระ และในการฝึกปฏิบัติจะ ต้องไม่มีการก้าวข้ามขั้นอย่างเด็ดขาด อีกทั้งควรได้รับการอภิเษกและ การดูแลจากครูในสายปฏิบัติอย่างไกล้ชิด ทั้งนี้พื้นฐานของการปฏิบัติ ตันตระพึงเริ่มต้นจากการปฏิบัติลัมริม ( Lamrim ) ดังนั้นในตอนหน้า จะขอย้อนกลับมาเล่าเรื่องของลัมริมเพื่อให้ได้เห็นภาพของขั้นตอน ปฏิบัติพื้นฐานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และขอส่งท้ายตอนนี้ด้วยบทภาวนาที่ ท่าน Geshe Kelsang Gyatso ได้แนะนำไว้ว่าให้หมั่นภาวนาทุกครั้ง ก่อนการปฏิบัติลัมริมหรือตันตระ แม้แต่ก่อนเริ่มจะอ่านหรือศึกษา คัมภีร์ลัมริมหรือคัมภีร์ตันตระใด ๆ ก็ตาม โดยเริ่มจากให้กำหนดจิต ทำสมาธิจนจินตนาการว่าเบื้องหน้าของเราคือองค์สมเด็จพระศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตต์รายล้อมพระองค์ ดังหมู่ดาวอันเฉิดฉายรายล้อมพระจันทร์เติมดวง จากนั้นให้ภาวนาด้วย บทภาวนาของระดับแห่งวิถีว่า





วิถีนี้เริ่มต้นด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า
ต่อองค์คุรุผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตากรุณา ผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งกุศลทั้งปวง
ขอพระองค์ได้โปรดอำนวนพรให้ข้า ฯ ได้เข้าถึงสัจธรรมนี้
เพื่อก้าวตามรอยพระพุทธบาทด้วยศรัทธาอันสูงสุด
เสรีภาพของชีวิตมนุษย์นั้นไซร้
ช่างหายากและมีความหมายยิ่งนัก
ขอได้โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ ได้เข้าถึงสัจธรรมนี้
เพื่อยึดมั่นในแก่นธรรมทุกคืนวัน
อันกายข้า ฯ เปรียบเหมือนพรายฟองน้ำ
เสื่อมสลายและดับสูญในไม่ช้า
เหลือแต่เพียงผลแห่งกรรรมที่ทำมา
เปรียบดั่งเงาเฝ้าคอยติดตามตัว
ด้วยการหยั่งรู้และยึดมั่นในธรรมนี้
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ ตั่งมั่นในมหาสติ
ที่จะไม่ก่ออกุศลกรรมอันสิ้นคิด
และเฝ้าเพียรสั่งสมแต่ความดี
ความสุขในสังสารวัฏล้วนเพียงมายา
มิเคยให้ความสุขที่จริงแท้
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ ก้าวอย่างแน่วแน่
สู่สุขเกษมของเสรีภาพอย่างแท้จริง
โปรดอำนวยพรเพื่อว่าจากความคิดอันพิสุทธิ์นี้
ข้า ฯ จะพึงระลึกและมีสติอย่างแน่วแน่
ที่จะหมั่นฝึกฝนปฏิบัติบนรากฐานของความดี
ของวิถีแห่งพระปาฏิโมกข์
มารดาทั้งหลายนั้นดุจเดียวกับตัวข้า ฯ
ต่างแหวกว่ายในมหาสมุทรแห่งสังสาร ( วัฏ )
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ ฝึกฝนโพธิจิต
เพื่อปลดปล่อยเหล่ามารดาได้ในสักวัน
แต่ข้า ฯ ยังมิอาจสู่ความเป็นองค์พุทธะ
หากมีเพียงโพธิจิต แต่ปราศจากคุณธรรมทั้งสาม
โปรดประทานพลังให้ข้า ฯ ได้ก้าวตาม
สู่มรรคาแห่งวิถีโพธิสัตต์
ด้วยการขจัดความลังเลสงสัย
และหมั่นเจริญวิปัสสนา หลักสัจธรรมที่แท้
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ ได้บรรลุถึง
ความเป็นหนึ่งเดียวของปัญญาและความสงบสุขภายใน
เมื่อข้า ฯ ได้เป็นภาชนะที่ว่างเปล่า ด้วยมรรควิถีแห่งพระสูตร
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ มีโอกาสได้เข้าสู่
แห่งเส้นทางการปฏิบัติเพื่ออนาคตที่ดี
ของวิถีอันเป็นเพชรแห่งวัชรยาน
แต่การจะบรรลุถึงมรรควิถีทั้งสองต้องขึ้นกับ
ศีลและสัตย์ปฏิญาณของตัวข้า ฯ
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ กระจ่างแจ้งในศีลนี้
และรักษาไว้ยิ่งด้วยชีวิต
ด้วยการฝึกฝนต่อเนื่องในตันตระทั้งสี่
ตามวิถีที่ชี้นำโดยคุรุผู้ประเสริฐ
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ เข้าถึงพุทธภาวะ
อันเป็นแก่นแท้แห่งตันตระ
ขอให้ผู้ที่ชี้แนะเส้นทางธรรมให้แก่ข้า ฯ
และเหล่ากัลยาณมิตร จงมีชีวิตที่ดีและยืนยาว
โปรดอำนวยพรให้ข้า ฯ สามารถขจัดอุปสรรค
ทั้งภายนอกและภายในได้อย่างสมบูรณ์
ขอให้ข้า ฯ ได้พบคุรุผู้ประเสริฐอยู่เสมอ
และสามารถกระจ่างในพระธรรมอันพิสุทธิ์
เพื่อเข้าถึงเส้นทางอันพ้นทุกข์
สู่พุทธภาวะแห่งพระวัชรธร






- จาก ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม -
 
 
http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=92&ss=
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม : ตันตระธิเบต
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 08:45:26 pm »
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~