อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
ฐิตา:
- ไม่ว่าประเทศไหน -เอาความโลภเป็นหัวหน้าปฏิบัติงาน
- พังทุกราย
- ความโลภเป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย แก่ความเจริญทั้งหลาย
- โลภมากเท่าไร เป็นอันตรายแก่ตัวเองเท่านั้น - รีบกำจัดความโลภ
ด้วยการทำทานขัดเกลากิเลส
- อย่าให้ความตระหนี่ถี่เหนียวมาเป็นนายกุญแจ ปิดกุญแจแห่งกุศลของเรา
- ใครจะว่าจะนินทา - เฉยไว้ก็ดีเอง
- สนิมกินเหล็ก - กิเลสกินใจ
- การเจริญเมตตาปรานี
- ต้องให้มีไมตรีจิตมิตรภาพปรารถนาดีในเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
- เมื่อมีเมตตามากๆ
- ความยินดีในความโกรธอาฆาตพยาบาทจะหมดไป
- เมื่อเราทำเช่นนี้มากๆ - ความตระหนี่ถี่เหนียวก็จะหายไป
- จะกลายเป็นผู้เสียสละอยู่อย่างนั้น
- เมื่อเป็นเช่นนี้ ราคะ โทสะ ก็จะเบาบาง ด้วยการแผ่เมตตาปรารถนาดี
ให้กันและกันเสมอๆ
- เมื่อไม่มีความโกรธแล้ว แต่ความหลงยังมีอยู่นะ
- หลงโลภ หลงรัก หลงชัง อะไรต่างๆ
- เหล่านี้เป็นกิเลส เป็นตัณหา เป็นกิเลสวัฏฏะ เป็นตัวจักรของกิเลส
- ซึ่งเป็นเหตุให้ทำกรรมไปต่างๆ
- เพราะฉะนั้น เรจึงต้องมาทำกรรมฐาน ทำสมาธิภาวนากัน
- หมากัดขาเรา - เราอย่าไปกัดขาหมาตอบ - ถ้าไปกัด คงน่าเกลียดจริงๆ
- หมากัดขาเรา ก็รักษาแผลไป ไม่ต้องไปกัดขาหมาตอบ
- ถ้ามีคนอื่นตำหนิเรา อย่าอย่าไปตำหนิเขาตอบ
- ใครทำให้เราโกรธ เราอย่าหลงไปโกรธเขาตอบ
- ตบมือข้างเดียวไม่ดังหรอก
ฐิตา:
- เราได้อาศัยร่างกายที่มีแต่ของเน่าๆ เปื่อยๆ มาทำประโยชน์
ไปวันๆ เท่านั้นเอง
- ยังน่าปลื้มใจที่อาศัยไหว้พระสวดมนต์ รักษาศีล ทำบุญให้ทาน
ทำสมาธิภาวนา ทำคุณความดีเพื่อประโยชน์ตนบ้าง เพื่อประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
ยังน่าปลื้มนะ
- ให้ทำความดีเยอะๆ ทำบุญให้ทาน นั่งสมาธิ และรักษาศีลให้บริสุทธิ์ให้มากๆ
- อย่าได้ประมาทเลย พยายามทำให้ต่อเนื่อง มันจะแก่กล้าขึ้น
- การทำอย่างที่ว่ามานี้ เขาเรียกว่าอบรมบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้า
- สร้างบุญบารมีให้ใหญ่โต
- ถ้าเราพิจารณกายให้ลึกลงไป ให้เห็นลงไปจริงๆ
- ลงไปถึงใส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เหล่านี้มันมีอะไรวิเศษนัก
- จึงถือทิฐิมานะ ไม่ยอมกราบไหว้ผู้อื่น
- ทำไมยึดถือของเน่าๆ อยู่เต็มตัว จนไม่ยอมกราบไหว้ เคารพนับถือผู้อื่น
- ก็ได้ร่างกายเน่าๆ นี่แหละ พิจารณาให้ซึ้งให้ถึงแก่นเถอะ
- ให้ช่ำชอง ชำนาญในการเข้าและออกจนจิตใจผ่องใส ไม่มีมลทินโทษแล้ว
- ทิฐิบริสุทธิ์ ญาณทัศนะ ธาตุก็จะบริสุทธิ์ - ตายแล้วกระดูกเป็นพระธาตุแน่นอน
- พระคุณต้องทดแทน ถ้าเคียดแค้นต้องอโหสิ - อเวรัง อะสะปัตตัง
- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่จองเวร เป็นผู้อโหสิ
- ผู้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา - ได้ชื่อว่ามีใจที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว
- จะไม่มีทางเอารัดเอาเปรียบ - มีแต่การเสียสละ จะอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข
- บุคคลใดเป็นคนเลี้ยงง่าย มีกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย
- ใจจะสบาย การปฏิบัติก็รวมใจเป็นหนึ่งได้ง่าย
- ความวุ่นวายก็น้อยลง ความกังวลติดยึดจะไม่มี
ฐิตา:
- การทำความเพียร -ไม่ใช่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ ไม่ใช่ทำทั้งวันทั้งคืนหรอก
- ถ้ายังเดินคิด นั่งคิด ก็จัดว่าเป็นความเพียรไม่ได้ - เรียกว่าฟุ้งซ่าน
- การทำความเพียร หมายถึงการมีสติ ทำอะไรทำอย่างมีสติระลึกได้อยู่
- จะก้าวหน้า จะถอยหลัง เหลียวซ้าย แลขวา จะพูดจาอะไรมีสติ กำหนดรู้ทั่วอยู่
ระลึกได้อยู่เสมอ - นี่เรียกทำความเพียร
- ทุกอิริยาบถจดจ่ออยู่ อย่าเผลอ
- ร่างกายมันพักผ่อน ใจก็ยังมีสติอยู่ นี่เรียกว่าความเพียร
- ทรัพย์ภายใน ท่านว่า แสวงรู้ แสวงอ่าน แสวงฟัง แสวงเรียน
- นี่เป็นทรัพย์ภายใน
- แต่ถ้าท่านผู้ใดปล่อยให้วันเวลาล่วงไปๆ ไม่แสวงหาทรัพย์เหล่านี้ไว้ในใจ
- ก็จะโง่ ไม่ฉลาด จะทำให้เป็นคนจนได้
- คนที่ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
- จะเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้ พึ่งตัวเองก็ไม่ได้ ไม่มีทางออก
- บางคนพอคิดอะไรไม่ออก ก็คิดสั้นฆ่าตัวตายไปให้เป็นวิบากกรรม
ติดตามไปในภพหน้าชาติหน้าต่อไปอีกชั่วกาลนาน
- มีหลายคนแล้วที่ประสบกับปัญหาเข้าขั้นวิกฤติ ยามเข้าตาจน
- แล้วรอดปลอดภัยจากเหตุการณ์ จากปัญหาร้ายแรงมาได้อย่างคาดไม่ถึง
- เป็นเพราะเขาระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งบ่อยๆ
- เพียงน้อมระลึกนึกถึงก็ได้บุญกุศล ทำให้ผ่านพ้นวิกฤตไว้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ฐิตา:
- ราคะไม่มี, โทสะไม่มี, โมหะไม่มี - ความดึงดูดของโลกดูดไม่ได้เลย
- เพราะไม่มีสิ่งที่จะดึงดูดดูดกันได้แล้ว
- เพราะฉะนั้น พระอริยเจ้าท่านไปไหนมาไหน ท่านเหาะเอา
- เพราะโลกไม่ดึงดูด
- มัวแต่คิดจะต่อต้านผู้อื่น
- ทำไมไม่คิดต่อต้านกิเลสตัวเอง เอาชนะกิเลสตัวเอง
- ทำอย่างไรความโลภมันจึงจะเบาบางลง
- ทำอย่างไรความโกรธมันจึงจะเบาบางลง
- ทำอย่างไรความหลงมันจึงจะเบาบางลงไป - นี่คือหน้าที่ของเราโดยตรง
- ผู้ภาวนาชั้นยอด - ท่านเพียรฆ่าความโกรธให้มันหมด
- ฆ่าความโลภให้มันหมด - ฆ่าความหลงให้มันหมด
- ไปเดือดร้อนอะไรกับคนนินทา - ใครนินทา เราไม่ได้ยิน ไม่ใส่ใจก็สบาย
- คนนินทาน่ะ เป็นยาชูกำลังที่จะเตือนตัวเอง - เขาติดีกว่าเขาชม จะได้รู้ตัว
- ถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะได้ปรับปรุง เราจะไปโกรธเขาทำไม
- ถ้าไปโกรธเขา ก็เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง
- ไม่ต้องรู้อะไรมาก - รู้ภายในน้อยๆ รู้ตามคำสั่งสอนน้อยๆ
มันก็กว้างออกมาได้
- รู้ทุกขัง รู้อนิจจัง รู้อนัตตา รู้แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว
- สังขารความคิดปรุงแต่ง มันไม่ใช่เรา
- แต่มันลากเราให้ติดให้ทุกข์ ไม่รู้จักจบจักสิ้น- เพราะฉะนั้นจงอย่าเชื่อสังขาร
- เรียนทางโลก - เรียนไปๆ ก็ยิ่งหนาไปเรื่อย ไม่เบาบางได้เลย
- เรียนทางธรรม เรียนละ- ละโลภ ละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหา
- มันก็เบาไปๆ จนไม่มีภาระ หมดภาระ
ถาม - ทำสมถะมากๆ มันแช่ในอารมณ์ นิ่งไปเลย มันติดในสมาธิ
ตอบ - มันจะแช่อะไร - เราวุ่นวายมาตั้งเท่าไหร่
- จะทำความสงบให้ใจ มันจะแช่อะไร
- สมถะนี่แหละตัวสมาธิ ให้ใจมันสงบ ให้ใจมันแน่เสียก่อน
- จึงค่อยวิปัสสนา พิจารณาร่างกาย ผมขนเล็บ ฟัน หนัง
ฐิตา:
- เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส - ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เป็นใหญ่ มีอำนาจมาก
-แต่โกงกินแผ่นดิน จนประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก
- ต่อมาประชาชนรวมตัวกันขับไล่ จนต้องหนีออกนอกประเทศ
- เงินที่โกงกินแผ่นดินมาถูกยึดคืนหมด
- ในที่สุดก็ตายอย่างหมาข้างถนน
- ความโลภ
เป็นอันตรายแก่ความเจริญทั้งหลาย - ทำลายชื่อเสียง เกียรติยศ
รสนิยมพังไปตามๆ กัน
- ทำทานรักษาศีลเจริญภาวนาก็เพื่อกำจัดกิเลส
- มีศีล มีธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
- จึงเป็นคนดีได้ - ถ้าไม่มีก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉาน
- สัตว์เดรัจฉานเห็นกันก็กัดกัน -มีอาหารกิน มันก็ไม่แบ่งใคร
- มันหวงแต่ตัวคนเดียว กินไม่หมดโน่นแหละจึงให้เขา
- ไวปากเสียศีล ไวตีนตกต้นไม้ - เขามาว่า หรือทำไม่ดีกับเรา ก็สาธุๆไว้
- อย่าไปโกรธเขา - เราจะไม่โกรธ จะไม่ต่อสู้ใครเลย
- แม้แต่ยุงมากัด ก็ไม่คิดทำร้ายมันเลย
- ไม่ต้องถามปัญหาอะไรหลาย - ไม่มีปัญหา ไม่ต้องสงสัยอะไร
- มีความสงสัยเกิดขึ้น รู้อยู่ อย่าไปตาม - ถ้าปล่อยให้มันสงสัย มันก็สงสัยเรื่อยไป
- รู้เท่าทันความสงสัยพอ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version