ผู้เขียน หัวข้อ: อนามัยโลกใช้ ‘Physical Distancing’ แทน ‘Social Distancing’  (อ่าน 2289 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
.
.
อนามัยโลกใช้ ‘Physical Distancing’ แทน ‘Social Distancing’
โดย PPTV Online
.
เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563,09:23น.
.
ปรับปรุงล่าสุด 31 มี.ค. 2563,09:49น.
.
.
องค์การอนามัยโลกหันมาใช้คำว่า ‘Physical Distancing’ แทน ‘Social Distancing’ ในความหมายของการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
.
30 มี.ค. 63 ผู้เชี่ยวชาญยกย่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งหันมาใช้คำว่า ‘Physical Distancing (การเว้นระยะห่างทางกายภาพ)’ แทน ‘Social Distancing (การเว้นระยะห่างทางสังคม)’ เนื่องจากเป็นคำที่อาจมีผลลบต่อสุขภาพจิต
.
ในการแถลงข่าวประจำวันในวันที่ 20 มี.ค. 63 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การรักษาระยะห่างทางกายภาพนั้นเป็น “สิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง” ท่ามกลางการระบาดทั่วโลก แต่ “ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะต้องตัดขาดการเชื่อมต่อกับสังคม ครอบครัว หรือคนที่เรารัก”
.
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ทำให้หลายประเทศต้องประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ปิดสนามบิน และคุมเข้มพฤติกรรมของประชาชน
.
มาเรีย แวน เคอร์โคฟ (Maria Van Kerkhove) นักระบาดวิทยาขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “เทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวไกลไปมากจนเราสามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกัน ในห้องเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกัน”
.
เธอยังเสริมว่า “เรากำลังเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางกายภาพ’ แทน ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ เพราะเรายังคงต้องการให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันอยู่”
.
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนเว้นระยะห่างกันมากกว่า 1 เมตร จากคนข้าง ๆ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะให้เว้นระยะมากกว่า 2 เมตร
.
หลายมาตรการถูกใช้เพื่อสร้างระยะห่างทางกายภาพระหว่างผู้คน รวมถึงการให้อยู่แต่บ้าน ทำงานจากที่พัก คุยกับแฟนทางออนไลน์แทนการพบหน้า จำกัดจำนวนบุคคลที่จะมาเยี่ยมบ้าน หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกันในที่สาธารณะหรือในขนส่งสาธารณะ และออกห่างจากคนอื่นในที่สาธารณะ
.
เจเรมี ฟรีส (Jeremy Freese) ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “คำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ ฟังแล้วเหมือนต้องการให้ประชาชนต้องการหยุดการติดต่อกับคนอื่น ๆ ในขณะที่ความจริงแล้วเราควรรักษาความสัมพันธ์ในสังคมไว้โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกันทางกาย”
.
เขาเสริมว่า “เราต้องเว้นระยะห่างทางกายภาพ เพื่อปกป้องสุขภาพทางกายของทุกคน แต่สุขภาพใจเองก็สำคัญ และการแยกตัวทางสังคม (Social Isolation) ก็ไม่ดีต่อสุขภาพใจ”
.
มาร์ติน บาวเออร์ (Martin W. Bauer) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคมและระเบียบวิธีวิจัย วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอน กล่าวว่า เขายินดีอย่างยิ่งที่องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนคำที่ใช้เสียที
.
“ผมคิดตั้งแต่แรกแล้วว่าคำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี เมื่อเราความหมายจริง ๆ ของมันคือ ‘การเว้นระยะห่างทางกายภาพ’” บาวเออร์เสริม
.
“ระยะห่างทางกายภาพคือการวัดด้วยหน่วยเมตริก เมตรหรือเซนติเมตร เป็นระยะห่างทางภูมิศาสตร์ระหว่างคน ๆ หนึ่งกับคนอีกคน ส่วนระยะห่างทางสังคมเป็นการวัดระยะข้ามขอบเขตทางสังคม” ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
.
บาวเออร์บอกว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแยกคำ 2 ตำนี้ออกจากกัน “เป็นเรื่องดีที่ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็พยายามแก้ไขความผิดพลาด ในช่วงเวลาแบบนี้ เราต้องการการเว้นระยะห่างทางกายภาพอย่างน้อย 2 เมตร แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการให้ผู้คนยังคงคบค้าสมาคมกันอยู่”
.
ที่มา:  Aljazeera
.
ที่มา:  pptvhd36
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)