ผู้เขียน หัวข้อ: สนทนาธรรมะ กับ พระอาจารย์ชนินทร์ เขมจาโร วัดป่าถ้ำเสือ จ.ลพบุรี  (อ่าน 1308 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ควันหลงจากทริปงานบุญ 3 วัด ในวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564
.
ทริปงานบุญนี้ ผมได้นำคำถามที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้า  ที่นำไปขอความรู้ในทางธรรมะ  กับ พระสงฆ์ 
ที่แต่เดิม  ผมใช้การตั้งคำถามที่นั้นเลย 
ผมจะเขียนมาเฉพาะที่ผมลงแล้วจะได้ประโยชน์กับท่านผู้อ่านเป็นสำคัญ
.
การสนทนาธรรมะกับพระอาจารย์ชนินทร์ วัดป่าถ้ำเสือ (จ.ลพบุรี)
.
เรื่องแรก การที่คนเราเกิดมาในภพชาตินี้แล้วได้มาพบกัน  เป็นเรื่องที่เราได้เคยพบกันมาก่อนในอดีตชาติ  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในเรื่อง อภิณหปัจจเวกขณ์ คนเรามีกรรมเป็นแดนเกิด , มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ , มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น 
.
หมายเหตุ อภิณหปัจจเวกขณ์  อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
ชราธัมโมมหิ  ชะรัง อะนะติโต เรามีความแก่เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
พะยาธิธัมโมมหิ  พะยาธิง  อะนะตีโต เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย
กัมมัสสะโกมหิ  กัมมะทายาโท เรามีกรรมเป็นของๆตน  เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
กัมมะโยนิ   กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
กัมมะปะฏิสะระโน   ยัง กัมมัง กะริสสามิ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  เราทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา เป็นกรรมดีก็ตาม  เป็นกรรมชั่วก็ตาม
ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสามิ เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น
เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.
จบอธิบายเพิ่มเติมในส่วน อภิณหปัจจเวกขณ์ (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
.
ในการรู้จักกับบุคคลใดก็ตาม หากยิ่งมีคุณธรรมมากเท่าไหร่  แสดงว่า เรายิ่งมีความผูกพันธ์กับบุคคลนั้นมาก และ ต้องรู้จักกันในอดีตชาติ  ยกตัวอย่าง  เช่น ผู้ชาย กับ ผู้หญิง ที่แต่ละคนอยู่กันคนละสถานที่ ได้มาพบกัน  มาแต่งงานกัน  นั่นคือ ทั้งสองคน ต้องมีความผูกพันธ์กันมาในอดีตชาติ จึงส่งผลมาให้ได้พบกัน  เมื่อแต่งงานแล้ว มีลูก  หากมีลูกหลายๆคน   ลูกแต่ละคนก็มีนิสัยไม่เหมือนกัน  ทั้งๆที่มีพ่อแม่คนเดียวกัน  แต่เนื่องจากมนุษย์มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์  จึงต้องมาเจอกัน มาเป็นพ่อแม่พี่น้อง  ส่วนนิสัยของแต่ละคน  เป็นเรื่องของความละเอียดปราณีตในกรรมของแต่ละคนที่สร้างมาไม่เท่ากัน จึงส่งผลให้การประพฤติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลูกบางคนช่วยพ่อแม่ตนเองอย่างเต็มที่ ลูกบางคนมาล้างผลาญพ่อแม่  การกระทำเหล่านี้ เกิดจากกรรมของแต่ละคน
.
เรื่องที่สอง  คนที่ไปด่าพ่อแม่ของคนอื่น
คนในปัจจุบันนี้ มีการผิดในเรื่องของวาจากันมาก  เหตุที่เกิดมา  มาจากจิต(ความคิด)ของตนเอง เปลี่ยนมาเป็นพฤติกรรม  จากพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆจนเป็นอุปนิสัย  จากอุปนิสัยที่ทำซ้ำๆจนเป็นสันดาน  ทุกอย่างเกิดจากความคิดทั้งนั้น 
คนที่ไปด่าพ่อแม่ของคนอื่น ในขณะที่กระทำ  กระทำด้วยจิตที่เศร้าหมอง  ตนเองก็ร้อน(อยู่ในใจ)  และคนที่กระทำเป็นคนที่จิตไม่บริสุทธิ์  อีกทั้งเป็นการกระทำพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ  ครบองค์ประกอบในการกระทำกรรมที่จะส่งผลบริบูรณ์ในภายภาคหน้า
ส่วนคนที่ถูกด่าพ่อมแม่แล้วไม่ด่ากลับไป  เป็นคนที่มีสติมากกว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คนที่ด่าเราแล้วเราด่ากลับ เราเลวกว่าคนที่ด่าเราอีก
.
อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
ถ้ามีคนด่าเรา แล้วเราไม่รับคำด่า แล้วจะให้ผลเช่นไร?
ในสมัยพุทธกาลมีพราหมณ์ผู้หนึ่งที่แค้นเคืองพระพุทธองค์ เมื่อพบหน้าก็ตรงเข้าด่าทอ
พระองค์ทันที เมื่อพราหมณ์พูดจบ พระองค์ตรัสว่า
“พราหมณ์เอ๋ย ท่านมีผองเพื่อน หรือญาติมิตรหรือไม่”
“มีซิ เราไม่ใช่คนไร้ญาติขาดมิตร”พราหมณ์ตอบ
พระพุทธองค์ “แล้วท่านให้อะไรต้อนรับผู้มาเยือน”
“ก็เอานำดื่มและของกินต้องนรับ” พราหมณ์ตอบ
พระพุทธองค์ “ถ้าแขกของท่านไม่ทาน ของเหล่านั้นจะตกเป็นของใคร”
“ก็เรานะซิ” พราหมณ์ตอบ
พระพุทธองค์”เฉกเช่นเดียวกัน ท่านด่าทอเรา เราไม่รับคำด่าท่าน คำ
พูดนั้นย่อมตกเป็นของท่านเอง”
พราหมณ์สำนึกผิดว่าตนด่าผู้ไม่สมควรด่าจึงได้รับพระรัตนตรัยและทูลขอ
บวชในพระพุทธศาสนาในที่สุด
ผู้โกรธตอบคนด่า…นับว่าแย่ยิ่งกว่าคนด่าเสียอีก
ผู้ไม่โต้ตอบคนด่า…นับว่าชนะสงครามที่ชนะยากที่สุด
เพราะฉะนั้นเมื่อเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ จึงต้องรู้จักคำว่า”ให้อภัย”คิดเสีย
ว่าเขายังไม่เข้าใจและลืมไปเสีย หากเราทำเช่นนี้ได้โดยไม่ติดขัดใด ๆ
ในใจอย่างสิ้นเชิง แม้จะเจอคนที่ด่าเราก็ไม่มีความคิดโกรธแค้นใดๆผุด
ขึ้นมา เช่นนี้ จึงว่าเป็น”บุคคลผู้สูงค่าและน่าถือยิ่งนัก”
ที่มา dhamma.serichon.us
จบคำอธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
.
การกระทำของบุคคลที่ทำนั้น จิตของผู้กระทำเก็บข้อมูลที่กระทำไว้ทั้งหมด  (เหมือนกับการบันทึกเทป)  เช่น สมัยเด็ก อาจจะเคยขโมยเงินพ่อแม่มา  พอผ่านมาหลายปี ทั้งๆที่เราเองได้ลืมไปแล้ว  แต่อยู่ดีๆก็ผุดเรื่องนั้นขึ้นมา (ทำไมไม่ลืม) เพราะจิตใต้สำนึกเก็บข้อมูลไว้หมด
เวลาก่อนตาย  หากยังไม่เป็นพระอรหันต์  จิตใต้สำนึกที่เคยบันทึกการกระทำไว้  ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว  จิตใต้สำนึกนั้นเป็นผู้ที่พาคนที่ตาย  ไปในภพภูมิตามที่ตนกระทำไว้เสมอ
.
ส่วนจิตของคนที่ยังไม่ได้ตาย  ในแต่ละช่วงขณะ  ถึงแม้ว่ายังไม่ตาย สามารถเป็นได้ทุกอย่างตามในแต่ละวัน อยู่ที่การกระทำของตนเอง
เป็นสัตว์เดรัชฉานก็ได้ เช่น พ่อข่มขืนลูก , อาจารย์ข่มขืนลูกศิษย์  เหมือนกับหมา  เมื่อหมาคลอดลูกออกมาแล้ว เลี้ยงลูกจนโต  เมื่อลูกมันโตแล้ว มันก็กลับไปผสมพันธ์กับพ่อหรือแม่ของมัน 
เป็นเปรต หรือ อสูรกายก็ได้  เช่น การมีความโลภอย่างไม่สิ้นสุด
เป็นมนุษย์ก็ได้ จิตของมนุษย์สูงกว่าจิตของสัตว์เดรัชฉาน รู้ผิดชอบชั่วดี
เป็นเทวดาก็ได้  เพราะเทวดามีหิริโอตัปปะเป็นคุณธรรมประจำตัว (หิริ คือ ความละอายแก่ใจในการทำบาป ส่วน โอตัปปะ หรือ ความเกรงกลัวต่อบาป)
เป็นพรหมก็ได้  เพราะ พรหมมีพรหมวิหาร 4 เป็นคุณธรรมประจำตัว (พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่  มี 4 ข้อคือ 1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข 2.กรุณา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 3.มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และ 4.อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย
.
บุคคลเลือกว่าจะเป็นอะไรก็ตาม (ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดรัชฉาน , เปรต , อสูรกาย , มนุษย์(คน) , เทวดา หรือพรหม)  จิตใต้สำนึกเป็นผู้ที่บันทึกข้อมูลที่กระทำไว้ทั้งหมด  ถ้าบุคคลใดที่มีความเข้าใจ ก็สามารถที่จะเตือนตนเอง ว่า อย่าเผลอให้ความไม่ดีเข้ามาในใจ  แต่อย่างไรก็ตาม  บุคคลปกติที่ไม่มีสติ และ สัมปชัญญะ  ในบางวันจิตก็แพ้ความไม่ดีได้
เมื่อจิตของเรามี สติ(ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ) และ สัมปชัญญะ(ความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว) มากพอ  ตัวเราเองสามารถชนะกิเลสได้  แต่เมื่อใดที่จิตของเราอ่อนแอ  เราแพ้กิเลสได้เช่นกัน 
ดังนั้น เราต้องระมัดระวังจิตของตนเอง  ให้จะทำอะไรก็ช่างเขา  แต่เราปฎิบัติตัวเราให้ดีขึ้น
.
เรื่องที่สาม เรื่องของการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนและการจ่ายโบนัส ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ , รัฐวิสาหกิจ และ บริษัทห้างร้านต่างๆ
.
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนในเรื่อง อคติ 4 (อธิบายไว้ด้านล่างของเรื่องนี้)  คนที่มีกิเลส และ ความไม่ยุติธรรม เป็นคนที่มีอคติ 4 เป็นพื้นฐาน
ผลที่ได้รับคือ คุณธรรมของตนเองไม่สูง วาสนาไม่เจริญก้าวหน้า จะเป็นอยู่ในลักษณะนี้ และเป็นมาหลายๆภพชาติแล้ว  อีกทั้งปัญญาน้อย และ มีคุณธรรมน้อย
ถ้าคนที่มีสติปัญญามาก มีคุณธรรมมาก เป็นคนที่วางจิตให้เป็นกลางได้ดี ตามงานที่เกิดขึ้นจริง โดยเป็นไปตามหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
.
ส่วนผลที่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับผลจากการพิจารณาในการขึ้นเงินเดือนและการจ่ายโบนัสที่ไม่เป็นธรรม  คือ มีความน้อยใจ , ความโกรธ และ ประชด  ในเรื่องของการน้อยใจ หรือ โกรธ สามารถเกิดได้กับทุกคน แต่อย่าให้ถึงกับการประชด (อย่าขาดสติ) เพราะการประชดนั้น บางครั้งอาจจะถึงกับการฆ่าตัวตาย หรือ ไปฆ่าบุคคลที่เกี่ยวข้องได้  ในเรื่องนี้จำเป็นมากสำหรับ การมีสติและสัมปชัญญะให้มาก
.
อีกเรื่องก็คือ คนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา  ผลของการกระทำทุกอย่าง จิตเก็บบันทึกข้อมูลไว้ทั้งหมด และ จิตเป็นผู้ที่นำพาตนเองไปตามวิบากกรรมที่ได้กระทำไว้นั่นเอง
ในเรื่องของการกระทำของบุคคล  มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1.เคยกระทำกรรมต่อกันมาในอดีต
2.มากระทำกรรมใหม่ในปัจจุบัน
.
หมายเหตุ อคติ 4   อธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
อคติ 4 ประการ และแนวทางการละอคติ
อคติ 4 หมายถึง วิถีในทางที่ผิดหรือการดำเนินไปในทางที่ผิด ทั้งนี้ อันเกิดจากทัศนะหรือความคิดเห็นในทางที่ผิด ซึ่งต่อมาจึงใช้คำให้เข้าใจง่ายเป็น ความลำเอียง หรือ ความไม่เที่ยงธรรม ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบพอ
2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง
3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา
4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัว
อคติ 4 เป็นธรรมสำหรับปุถุชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเป็นข้าราชการ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นสัจจะความจริงที่มักเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้ และมีผลอย่างมากต่อการบริหารงาน ต่อการปกครอง และความสงบสุขของสังคม
ผู้นำ หัวหน้างานหรือฝ่ายปกครองที่ละเว้นจากอคติ 4 ประการนี้ได้ ย่อมทำให้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือประชาชนเกิดความสุข อันส่งผลต่อความเจริญของสังคม และความสงบสุขของสังคมตามมา
อคติ มาจากภาษาบาลี คำว่า
อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร
คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก
คติ มีความแตกต่างกับ ทัศนะ คือ
ทัศนะ หมายถึง ความเห็น, ความคิดเห็น, มุมมอง ส่วน คติ หมายถึง ดังข้างต้น ดังนั้น ทัศนคติ จึงหมายถึง การแสดงออก หรือ วิถีที่ดำเนินไปอันเกิดจากความคิดหรือความเห็น
ความหมายที่ครอบคลุมของอคติ
– วิถีในทางที่ผิด
– แนวทางที่ผิด
– สิ่งที่เป็นไปในทางที่ไม่ดีงาม
– การดำเนินไปในทางที่ผิด
– ความลำเอียง
– ความไม่เที่ยงธรรม
– ความไม่เป็นกลาง
ความหมายของอคติแต่ละประการ
1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบพอ
ฉันทาคติ มาจากคำว่า ฉันทะ + อคติ
ฉันทะ หมายถึง ความชอบใจ หรือ ความพอใจ
2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง
โทสาคติ มาจากคำว่า โทสะ + อคติ
โทสะ หมายถึง ความโกรธ
ปัจจัยที่ก่อเกิดความโกรธหรือชิงชังในคัมภีร์ปริวาร
– โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
– โกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
– โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่ตนเอง
– โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
– โกรธเพราะกำลังทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
– โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือก่อโทษแก่คนที่ตนรัก
– โกรธเพราะได้ทำแล้วซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
– โกรธเพราะกำลังทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
– โกรธเพราะคิดจะทำซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่ตนชิงชัง
3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา
โมหาคติ มาจากคำว่า โมหะ + อคติ
โมหะ หมายถึง ความหลง ความลุ่มหลง
4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัว
ภยาคติ มาจากคำว่า ภยะ + อคติ
ภยะ หมายถึง ความกลัว ความหวาดหวั่น หรือ มักเรียกกลายเป็นศัพท์ว่า ภัย
แนวทางการละอคติ 4
1. ไม่คบคนพาล
2. จักกสูตร 4 ประการ
– อยู่ในประเทศอันสมควร หมายถึง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นคนดี
– การคบสัตบุรุษ
– การตั้งตนไว้ชอบ คือ ยึดมั่นในการประพฤติตนให้เป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอ
– ความเป็นผู้มีบุญที่ทำไว้ในปางก่อน คือ เชื่อถือในความดีงามที่ทำมาว่าจะเกิดกุศลกรรมที่ดีงามต่อเราในภพนี้ และภพหน้า
3. สัมมาทิฏฐิ คือ ตั้งมั่นในความเห็นชอบ
4. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาสภาพจิตของตนเอง
5. กุศลวิตก 3 คือ การตรึกตรองถึงสิ่งที่เป็นกุศล 3 อย่าง คือ
– การตรึกตรองที่เว้นจากกาม
– การตรึกตรองที่เว้นจากพยาบาท
– การตึกตรองที่เว้นจากการเบียดเบียน
6. สาราณียธรรม 6
7. พรหมวิหาร 4
ที่มา thaihealthlife
จบอธิบายเพิ่มเติม (เพิ่มจากในส่วนที่พระอาจารย์ชนินทร์ท่านให้ธรรมะมา)
.
รักษาธรรม ธรรมรักษา
Noom Wangna
ผู้เขียน ที่ได้เรียบเรียงจากการสนทนาธรรมะกับพระอาจารย์ชนินทร์ วัดป่าถ้ำเสือ จ.ลพบุรี
บทความ ไม่สงวนลิขสิทธิ์
#พระอาจารย์ชนินทร์เขมจาโร
#วัดป่าถ้ำเสือ
#ชมรมพระวังหน้า
#คณะพระวังหน้า
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)