ผู้เขียน หัวข้อ: วันสิ้นโลก  (อ่าน 1400 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ होशདངພວན2017

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 625
  • พลังกัลยาณมิตร 291
    • ดูรายละเอียด
วันสิ้นโลก
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2021, 01:11:53 pm »






ซินยวนยางหูเตี๊ยเหม่ง.mp3


https://www.4shared.com/mp3/h9HnX9Iv/_online.html

http://youtu.be/SKIOcu9a8w0


วันสิ้นโลกกำลังจะมาถึง
เกิดแผ่นดินไหว เกิดน้ำท่วม
เกิดสงครามกลางเมือง
สงครามโลกและอื่น ๆ
จะตามมาเตรียมรับมือ
ความขาดแคลนอาหาร
ยารักษาโรคในหลาย ๆ
ประเทศเริ่มมีภัยพิบัติ
แล้วอันดับแรก
ภัยจากโรคระบาด
17 - 18 สิงหาคม 2564
ผู้เสียชีวิตจาก CV- 19
ในประเทศไทย = 239
+ 312 ราย


ผู้มีจิตศรัทธาได้พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในวาระมงคลต่าง ๆ เช่น งานครบรอบวัดเกิด - พิธีมงคลสมรสความจริงเนื้อหาของหนังสือยาวมากจึงคัดลอดส่วนหนึ่งมาเท่านั้นถ้าให้มานั่งพิพม์ทั้งเล่มคงไม่ไหวและยังมีหนังสือของสมเด็จพระสังราชอีกหลายเล่มเช่น "พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก"ซึ่งข้าพเจ้า มีอยู่ถ้ามีโอกาสเหมาะ ๆ จะใช้ความพยายามพิมพ์คัดลอกออกามจากในหนังสือ เพราะว่าการพิมพ์ออกมาจากในหนังสือไม่ใช่เรื่อง่าย ๆ เลยต้องใช้เวลานานมากบางทีต้องใช้เวลาหลายวันเลยทีเดียว แต่ก็จะพยายามหาเนื้อหาดี ๆ มาจากในหนังสือเพราะว่าที่บ้านมีหนังสือธรรมมะเยอะมาพยายามอ่านวันละ 1 เล่มใช้เวลาสะสมมาตลอดชีวิตเมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้วแล้วคงไม่มีผู้สืบทอดหนังสือที่มีอยู่เหล่านี้


(ธรรม)ทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้วจะพูดหรือจะทำทุกข์ย่อมติดตามผู้นั้นไปเพราะเหตุนั้น เหมือนอย่างล้อไปตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปฉะนั้นนี้เป็นคำแปลพระพุทธภาษิตในพระธรรมบทคาถาต้น กับอีกบทหนึ่งในลำดับต่อไปว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้ามีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้วจะพูดหรือทำสุขย่อมติดตามผู้นั้นไปเพราะเหตุนั้นเหมือนอย่างเงาไม่ละตัวฉะนั้นบุคคลผู้มีใจร้ายคือบุคคลผู้มากด้วย กิเลส บุคคลผู้มีใจผ่องใสคือบุคคลผู้ไกลกิเลสหรือมีกิเลสเบาบาง พระพุทธภาษิตข้างต้นมีความหมายง่าย ๆ ว่า บุคคลผู้มากด้วย กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะคิดจะพูดจะทำอะไรย่อมเป็นเหตุให้ตนเองเป็นทุกข์ ส่วนบุคคลผู้ไกลกิเลสหรือมีกิเลสบางเบา คือ ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือมีเพียงเบาบาง จะคิดจะพูดจะทำอะไร ย่อมเป็นเหตุให้ตนเองเป็นสุขดังนี้ย่อมแสดงว่า ใจสำคัญที่สุด ความสุขความทุกข์ของทุกคนเกิดจากใจ ใจดีทำให้เกิดสุข ใจไม่ดีทำให้เกิดทุกข์ ความสุขความทุกข์ของทุกคนไม่ได้เกิดจากภายนอก คือ ไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่น ไม่ได้เกิดจากเรื่องภายนอก คือ ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ทั้งหลายอย่างไรก็ตาม สามัญชนมักจะเข้าใจว่าความสุขความทุกข์ของตนเกิดจากภายนอก เกิดเพราะบุคคลอื่นบ้างเกิดเพราะเหตุการณ์ทั้งหลายบ้าง โดยเฉพาะความทุกข์ สามัญชนมักจะหลงเข้าใจผิดว่าเกิดขึ้นแก่ตนเพราะผู้อื่นเป็นเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะใจตนเป็นเหตุสำคัญเมื่อไม่รู้เหตุที่แท้จริงของความ ทุกข์ จึงแก้ความทุกข์ไม่ได้ เพราะการแก้โรคทุกชนิดต้องแก้ที่เหตุ คือ แก้ให้ถูกตรงเหตุจึงจะแก้ได้ โรคจึงจะหาย เช่น ผู้ที่จับไข้ มีอาการหนาวสั่น คิดว่าเหตุของอาการหนาวสั่นนั้นเกิดจากแรงลม จึงเข้าห้องปิดประตูหน้าต่างหมด มิได้ใช้ยาแก้ไข้ อาการหนาวสั่นก็หายไม่ได้ ต่อเมื่อใดรู้ว่าอาการหนาวสั่นนั้นเกิดจากความไข้ ใช้ยาแก้ไข้แก้ให้ถูกกับโรค เรียกว่าแก้ให้ถูกที่เหตุ จึงจะหายแต่ไหนแต่ไรมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ความทุกข์ของบุคคลผู้มีใจร้ายมีอยู่มากมาย และความสุขของบุคคลผู้มีใจ

ผ่องใสก็มีอยู่พิจารณาพระพุทธภาษิตข้าง ต้นที่ว่า ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว จะพูดหรือจะทำ ทุกข์ย่อมติดตามเขาไปเหมือนล้อตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูดหรือจะทำ สุขย่อมติดตามเขาไปเหมือนอย่างเงาตามตัว ย่อมจะสามารถรู้จักตัวเองได้ตามความเป็นจริงคือ รู้จักว่าตนเป็นผู้มีใจร้ายหรือมีใจผ่องใส ถ้าพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว หรือเพียงคิดแล้ว เกิดความทุกข์ ก็รู้จักตนเองได้ว่าเป็นผู้มีใจร้ายถ้าพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว หรือเพียงคิดแล้ว เกิดความทุกข์ ก็รู้จักตนเองได้ว่าเป็นผู้มีใจผ่องใสแม้ไม่ปรารถนาความทุกข์ แต่ปรารถนาความสุข ก็ต้องพยายามอบรมตนเองให้พ้นจากความเป็นผู้มีใจร้าย กลายมาเป็นผู้มีใจผ่องใส หรือใจดีนั่นเองผู้ใดมีความโลภในทรัพย์ สิ่งของของใครก็ตาม มีความโกรธแค้นขุ่นเคืองอาฆาตพยาบาทในใครก็ตาม มีความหลงผิดในเรื่องหนึ่งใดก็ตามผู้นั้นจักเป็นผู้ได้รับทุกข์ด้วยตนเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้อื่นที่ต้องสูญทรัพย์สิ่งของ เพราะความโลภของผู้นั้นก็ตาม ต้องถูกโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทปองร้ายเพราะผู้นั้นก็ตาม หรือต้องได้รับความหลงผิดของผู้นั้นก็ตาม ยังพอสามารถหลีกเลี่ยงความทุกข์ที่ผู้นั้นพยายามก่อให้ได้บ้าง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้ การฝึกจิตจึงเป็นการดี ปกตินั้นจิตเป็นสิ่งที่ข่มยาก แต่ก็ข่มได้ เบา ไว อ่อนไหวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ง่าย แต่ด้วยการข่มการฝึกก็สามารถทำให้หนักแน่นมั่นคงสม่ำเสมอได้ และแม้มีปกติตกไปตามใคร่ คือยินดีพอใจในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ แต่ด้วยการข่มการ ฝึกก็สามารถทำให้ละความยินดีพอใจนั้นได้ เมื่อจิตได้รับการข่มการฝึกแล้วให้ไม่อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ต่าง ๆ โดยง่าย และให้ละความยินดีพอใจในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจได้ จิตก็จะเป็นจิตที่เป็นสุข และนี้แลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าจิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้ที่กล่าวว่า จิตไว หรือเบา หรืออ่อนไหว หมายถึงจิตเปลี่ยนแปลงง่าย เกิดดับเร็ว เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางตาเช่นรูป เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางหูเช่นเสียง เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางจมูกเช่นกลิ่น เป็นต้นว่า เดี๋ยวเห็นรูป ปรุงว่าสวยหรือไม่สวย ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้ยินเสียง ปรุงว่าไพเราะหรือไม่ไพเราะ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้กลิ่น ปรุงว่าหอมหรือไม่หอม ชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตที่ไปอยู่กับอารมณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วเป็นต้น เป็นไปอย่างรวดเร็ว ว่องไว จนปกติสามัญชนยากจะจับจะตามจิตของตนให้ทันได้ หรือเรียกว่าสามัญชนตามไม่ทันรู้อาการแห่งจิตของตน เพราะความเบา ไว ดังกล่าวแล้วอย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกโดยอาศัยสติตามรู้อาการของจิต ก็จะ

สามารถข่มจิตไว้ได้ให้หนักแน่นมั่นคง ไม่เบา ไม่ไว ไม่รับอารมณ์ต่าง ๆ โดยง่ายที่กล่าวว่าจิตมีปกติตกไปตามใคร่ หมายถึง จิตของสามัญชนมักจะหมกมุ่นอยู่ในกามคุณารมณ์คืออารมณ์อันเป็นที่น่าใคร่น่า ปรารถนาพอใจทั้งปวงจนยากที่จะถอนเสียได้ แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกจิตโดยอาศัยสติและปัญญาประกอบกันสม่ำเสมอ ก็จะสามารถทำให้จิตละอารมณ์อันเป็นที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจได้อันสติและปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จำเป็นในการข่มจิตฝึกจิตปราศจากสติและปัญญาแล้วการข่มจิตจะไม่เกิดผลจิตนั้นข่มยาก พระพุทธองค์ก็ทรงกล่าวไว้แล้ว จิตที่ข่มยากจึงน่าเปรียบได้กับคนดื้อเกเรซึ่งเคารพเหตุผล เพราะคนดื้อเกเรซึ่งเคารพเหตุผลนั้นเป็นคนที่อาจเอาชนะให้หายดื้อหายเกเรได้ ถ้าสามารถหาเหตุผลมาทำให้ยอมจำนนให้ยอมเชื่อว่า ความดื้อเกเรทั้งหลายของเขานั้นไม่ดีอย่างไร จิตที่ข่มยากก็เช่นกันแม้อบรมสติปัญญาให้เกิดขึ้นเพียงพอจนสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีอะไรควรอะไรไม่ควรได้แล้ว จิตก็จะละสิ่งที่ผิดที่ชั่วที่ไม่ควรได้ เรียกว่าสติและปัญญาสามารถข่มจิตไว้ได้ ไม่ให้กวัดแกว่งดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอ ใจทั้งหลาย โดยไม่คำนึงถึงความดี

ไม่ดี ควไม่ควรเสียเลยจิตที่ข่มได้แล้ว หยุดกวัดแกว่งวุ่นวายแล้ว หยุดตกอยู่ใต้อำนาจความปรารถนาพอใจแล้ว เป็นจิตที่นำสุขมาให้จริง ๆ ลองเปรียบเทียบดูก็จะเข้าใจพอสมควรผู้ที่ปกติวุ่นวาย ไปนั่นมานี่อยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน จะเป็นสุขได้อย่างไรเพราะความยุ่งความเหน็ดเหนื่อยจิตที่เบาไวก็เช่นกัน ย่อมเหน็ดเหนื่อยยุ่งยากหาความสุขไม่ได้ ส่วนจิตที่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจความยินดีพอใจรักใคร่ในสิ่งที่น่าใคร่น่า ปรารถนาพอใจ เหมือนผู้เป็นอิสระ มีเสรีภาพ ไม่ถูกจองจำด้วยเครื่องพันธนาการ คือความติดอยู่ในอารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจย่อมเป็นสุข......
17 August 2021 Tuesday





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2022, 07:18:06 pm โดย होशདངພວན2017 »
ตั้งมั่น แน่วแน่ แก้ไขทุกสิ่ง