ผู้เขียน หัวข้อ: เอเลี่ยนสปีชี่ส์  (อ่าน 1124 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เอเลี่ยนสปีชี่ส์
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2022, 07:57:52 pm »
.
การทำบุญด้วยการปล่อยสัตว์  ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ หรือ สัตว์บก
ต้องเรียนรู้ประเภทของสัตว์ชนิดนั้นๆ มากพอสมควร
ว่า มีนิสัยอย่างไร แหล่งที่จะดำรงชีวิตมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น
แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ให้ระมัดระวังสัตว์ในกลุ่ม เอเลี่ยนสปีชี่ส์
ห้ามปล่อยสู่ธรรมชาติอย่างเด็ดขาด
ไม่อย่างนั้น เท่ากับเป็นการทำบุญได้บาปแน่นอน
.
.
.
.
.
#เอเลี่ยนสปีชี่ส์
.
โพสโดย เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน
20 มีนาคม 2022 เวลา 18:40 น.  ·
.
เอเลี่ยนสปีชี่ส์ หรือผู้รุกรานในระบบนิเวศจำกัดความง่ายๆก็คือสัตว์หรือพืชที่ไม่เคยมีอยู่มาก่อนแต่ถูกนำเข้ามาด้วยความบังเอิญหรือตั้งใจและเกิดการแพร่ขยายพันธุ์จนไม่สามารถควบคุมได้
.
ผลกระทบจาก “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน” แบ่งออกได้ง่ายๆ เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, ผลกระทบทางการเกษตร, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
.
สาเหตุของผลกระทบที่เกิดจากจาก “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน” เป็นต้นว่า มาจากการเข้าไปเบียดเบียนชนิดพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิม ไม่ว่าจะด้วยการไล่กัดกิน แย่งอาหาร แย่งชิงพื้นที่สืบพันธุ์ ข่มเหงพันธุกรรมที่มีความใกล้เคียงผสมพันธุ์ออกมากระทั่งลูกที่เกิดมีโอกาสรอดต่ำและเป็นหมันในรุ่นถัดไป ส่งผลทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง หรือบางกรณีเป็นพาหะนำโรคหรือปรสิตเข้าสู่พื้นที่โดยที่ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นอาจไม่สามารถต้านทานได้ หรือการรบกวนสภาพนิเวศ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสมดุลนิเวศวิทยาเดิม เป็นต้น
.
รายชื่อ และ ระดับ
การทำลายระบบนิเวศน์
.
คลาส S
รุกรานสำเร็จจนสามารถครอบครองและกลมกลืนเข้ากับระบบนิเวศได้และทำให้ระบบนิเวศดั้งเดิมเสียหายไปแล้ว
.
1. ผักตบชวา
2. สาบเสือ
3. หญ้าคา
4. สาหร่ายหางกระรอก
5. ไมยราบยักษ์
6.หอยเชอรี่
7.ปลาซักเกอร์
.
ระดับ A มีการแพร่พันธุ์อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่และอาจยกระดับเป็นคลาส S ได้ในอนาคต
.
1. กุ้งขาว
2. ปลาเทราต์สายรุ้ง
3. ผีเสื้อหนอนเจาะผลเงาะ
4. เพลี้ยแป้งอ้อย
5. หอยนักล่าสีส้ม
6. กบบูลฟร็อก
7. ปลาหมอสีคางดำ
8. หอยทากยักษ์แอฟริกา
9. หนอนตัวแบนนิวกินนี
.
คลาส B
.
มีการแพร่พันธุ์และพบเห็นในหลายภูมิภาคแต่ยังไม่กระจายตัวไปอยู่ทุกจุดของประเทศ
.
1. พีค๊อคแบส
2. อะราไพม่า
3. ตะพาบไต้หวัน
4. หอยกระพงเทศ
5. กุ้งเครฟิชต่าง ๆ
.
คลาส C สร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศของประเทศต่างๆมากมายแต่ยังไม่มีการแพร่พันธุ์ในบ้านมากนัก เราถือเป็น List เฝ้าระวังประกอบไปด้วย
.
ป่านมะนิลา
บุหงาส่าหรี
ถั่วคุดสุ
หอยนักล่าสีชมพู
ปลาปิรันยา
อีกัวนา
จระเข้ไคแมน
นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป
.
.
.
อ้างอิง
.
หมายเหตุ : เก็บตกจากลงพื้นที่ Top Rank ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น กับการสูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ นิตยสาร สารคดี ฉบับ ๓๑๑ มกราคม ๒๕๕๔
.
ขอขอบคุณ : ดร.นณณ์ ผาณิตวงค์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพหรือ siamensis.org
.
ปล. แมวบ้าน ก็ถือเป็น เอเลี่ยนสปีชี่ส์ คลาส X คือ ถ้าเจริญ เติบโตในป่าหรือธรรมชาติและแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมากได้ก็จะส่งผลกระทบกับสัตว์ขนาดเล็กจำนวนมากได้แต่โดยส่วนใหญ่มักได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าของหรือคนธรรมดา จึงทำให้ ถูกถอดออกจากอันดับ ทุกคลาส
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)