ผู้เขียน หัวข้อ: ประเทศไทย เสียดินแดนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  (อ่าน 2316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
.
.
คน และ กลุ่มบุคคล รวมถึง คน และ กลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนทั้งทางตรง และ ทางอ้อม
ที่มีเจตนาในการนำต่างชาติเข้ามาครอบงำประเทศไทย
.
มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับ การเสียดินแดนให้กับต่างชาติ
เพียงแต่เป็นการเสียเอกราช แต่ไม่ได้เสียดินแดน (เหมือนกับสมัยก่อน)
และ ให้ต่างชาติมาจูงจมูกและสั่งให้เดินไปตามที่ต่างชาติต้องการ
.
แต่ ..................
ดินแดน และ ความเป็นเอกราช ที่องค์พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์
และ วีระบุรุษของคนไทย ที่ยอมเสียสละ ชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องอธิปไตยของคนไทย
จะถูกคนบางกลุ่ม(ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทั้งทางตรงและทางอ้อม) กระทำการเนรคุณต่อ องค์พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ และ วีระบุรุษของคนไทย ที่ยอมเสียสละ ชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องอธิปไตยของคนไทย
.
ตราบใดที่กรรมดียังส่งผลอยู่  กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ ไม่สามารถส่งผลได้
หากเมื่อใดที่กรรมชั่วส่งผล ทำอย่างไรก็ตาม ยังไงก็ต้องรับผลของกรรมชั่วแน่นอน
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
ประวัติศาสตร์ไทย กับการเสียดินแดนให้ต่างชาติจำนวน 14 ครั้ง
.
ที่มา guideubon
.
.
นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อพ.ศ.2325 จวบจนปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ชาติไทย ต้องเสียดินแดนให้ต่างชาติ ถึง 14 ครั้ง ต้องดูให้จบนะ น้ำตาไหล ขอขอบคุณผู้จัดทำ รวมทั้งผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง และผู้ขับร้องแหล่ด้วยครับ ขอคารวะและขอปรบมือให้ สุดยอด สุดยอด
.
.
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย มีดังนี้
.
.
ครั้งที่ 1 เสียเกาะหมาก (ปีนัง) ให้กับประเทศอังกฤษ
เมื่อ 11 สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375 ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิด จากพระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
.
.
ครั้งที่ 2 เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า
เมื่อ 16 มกราคม 2336 พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1 แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
.
.
ครั้งที่ 3 เสียบันทายมาศ (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อ พ.ศ.2353 ในสมัยรัชกาลที่ 2
.
.
ครั้งที่ 4 เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่า
เมื่อ พ.ศ.2368 พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3 แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
.
.
ครั้งที่ 5 เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษ
เมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการสูญเสีย ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี
.
.
ครั้งที่ 6 เสียสิบสองปันนา ให้กับจีน
เมื่อ 1 พฤษภาคม 2393 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราช หนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
.
.
ครั้งที่ 7 เสียเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4 ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง จากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5 ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
.
.
ครั้งที่ 8 เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อ 22 ธันวาคม 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ 2กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
.
.
ครั้งที่ 9 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับประเทศอังกฤษ
ในสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากรอันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
.
.
ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่องแต่งกาย เพื่อนำเงินมาถวาย ร.5 เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
.
.
ครั้งที่ 11 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี) ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อ 12 พฤษภาคม 2446 พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรี แล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้ว ยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
.
.
ครั้งที่ 12 เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส
เมื่อ 23 มีค. 2449 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6 กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
.
.
ครั้งที่ 13 เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษ
เมื่อ 10 มีนาคม 2451 พื้นที่ 80,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
.
.
ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมร
เมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
ความทุกข์ในพระราชหฤทัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสยามต้องเสียดินแดน
.
ที่มา เว็บไซด์ ศิลปวัฒนธรรม
.
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2560
ผู้เขียน ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2562
.
.
 “—เป็นการจำเป็นที่เราต้องละวางเขตรแดน อันเราได้ปกปักรักษามาแล้วช้านานนับด้วยร้อยปีเสียเป็นอันมาก โดยผู้ที่ต้องการไม่มีข้อใดจะยกขึ้นกล่าวทวงถามเอาโดยดี นอกจากใช้อำนาจได้—” เป็นข้อความในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระราชโอรสซึ่งทรงกำลังศึกษาวิชาการทหารบกอยู่ ณ ประเทศเดนมาร์ก เป็นพระราชปรารภถึงความทุกข์ในพระราชหฤทัยที่เกิดจากการคุกคามของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือการล่าเมืองขึ้น และเวลานั้นประเทศเพื่อนบ้านมี ลาว เขมร ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแล้ว แต่ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมหยุดยั้งเพียงนั้นยังคงคุกคามที่จะเข้าครอบครองสยาม จนทำให้ต้องยอมเสียดินแดนที่เคยเป็นของสยามไปจำนวนหนึ่ง จึงเป็นที่มาของข้อความที่ว่า “—เป็นการจำเป็นที่เราต้องละวางเขตรแดน อันเราได้ปกปักรักษามาแล้วช้านานนับด้วยร้อยปี—”
.
การคุกคามของนักล่าอาณานิคมตะวันตก เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มาในรูปของการติดต่อค้าขาย การเผยแผ่ศาสนา การคุกคามเริ่มชัดเจนจริงจังและรุนแรงขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะเมื่อสองประเทศมหาอำนาจ คือ อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้าน คืออังกฤษยึดได้พม่ามลายู ฝรั่งเศสยึดได้ญวนและกำลังขยายขอบเขตมาสู่เขมรและลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม ฝรั่งเศสมีทีท่าคุกคามสยามอย่างหนักและเปิดเผยเพื่อจะได้ครอบครองเขมรและลาว โดยไม่ฟังเหตุผลหรือข้ออ้างใดๆ มุ่งแต่จะใช้เล่ห์กลและอำนาจเข้ายึดครอง ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาที่ว่า “—โดยผู้ที่ต้องการไม่มีข้อใดจะยกขึ้นกล่าวทวงถามเอาโดยดี นอกจากใช้อำนาจได้—” ซึ่งนับเป็นความทุกข์โทมนัสอย่างใหญ่หลวงในพระองค์ ดินแดนในครอบครองที่ทรงต้องยอมเสียให้แก่ฝรั่งเศสนั้นในเบื้องแรกถึง ๓ ครั้ง
.
ครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ ไทยต้องเสียเขมรส่วนนอก เพราะหลังจากฝรั่งเศสยึดดินแดนบางส่วนของญวนได้ก็ใช้ดินแดนนี้เป็นที่มั่นขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย โดยอ้างว่าตนเป็นผู้สืบสิทธิญวนเหนือเขมร เพราะฝรั่งเศสอ้างว่าเขมรเคยเป็นประเทศราชของญวนมาก่อน เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนฝรั่งเศสจึงต้องมีสิทธิปกครองเขมรด้วย
.
ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ต้องทรงยอมเสียแคว้นสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส เพราะเมื่อฝรั่งเศสยึดญวนได้หมด ญวนอ้างว่าดินแดนแคว้นสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหกเคยเป็นของตนมาก่อน ฝรั่งเศสจึงถือเป็นข้ออ้างเข้ายึดแคว้นสิบสองจุไท ทั้งที่ขณะนั้นแคว้นสิบสองจุไทเป็นหัวเมืองของลาว และลาวก็เป็นประเทศราชของไทยฝรั่งเศสก็ไม่ให้ความสนใจ ไทยจึงต้องเสียแคว้นสิบสองจุไทให้กับฝรั่งเศส
.
ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยต้องเสียดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงคือลาวให้กับฝรั่งเศส ครั้งนี้เป็นครั้งที่ทรงทุกข์โทมนัสที่สุด เพราะฝรั่งเศสใช้เล่ห์เพทุบายล้วนๆ
.
เริ่มด้วยการพยายามเกลี้ยกล่อมและผูกมิตรกับชาวลาวทุกชั้นด้วยกลวิธีต่างๆ ให้ชาวลาวยอมรับอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส และเมื่อสยามพยายามที่จะปกป้องอาณาเขตของตน ฝรั่งเศสก็กล่าวหาว่าการกระทำของสยาม เป็นการเตรียมที่จะทำสงครามกับฝรั่งเศส การคุกคามของฝรั่งเศสเริ่มรุนแรงขึ้น ยิ่งเมื่อฝรั่งเศสคาดว่าลาวเต็มใจที่จะอยู่ในปกครองของตน ฝรั่งเศสก็ยิ่งคุกคามสยามหนักขึ้น แม้สยามจะเสนอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนเรียบร้อยก่อน แต่ฝรั่งเศสก็หลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด
.
ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสจึงอยู่ในภาวะตึงเครียด มีการปะทะกันประปรายตามลำน้ำโขง และยิ่งตึงเครียดขึ้นเมื่อฝรั่งเศสส่งกำลังทหารญวนและเขมรคืบคลานเข้ายึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งก็คือหัวเมืองลาวทั้งหมด สยามพยายามต่อสู้กับฝรั่งเศสด้วยวิธีสันติ เช่น ขอให้มีการเจรจาปักปันเขตแดนซึ่งขณะนั้นยังไม่เรียบร้อยตามมาตรฐานของอารยประเทศ เป็นการใช้วิธีทางการทูตนำการทหารซึ่งเป็นวิถีทางของประเทศที่เป็นอารยะ แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ยอม คงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมเจรจาด้วย และส่งทหารญวนเขมรเข้ายึดหัวเมืองลาว ไทยได้พยายามต่อสู้ป้องกันอาณาเขต แต่ก็ต้องพยายามระมัดระวังให้การสู้รบอยู่ในขอบเขตของการป้องกันตัว เพื่อที่จะได้มีโอกาสเจรจากับฝรั่งเศสได้ในยามจำเป็น แต่ฝรั่งเศสก็มุ่งแต่จะยึดครองลาวซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยามทั้งหมด
.
ในการปะทะกันครั้งหนึ่งที่เมืองคำม่วนและทุ่งเชียงคำ มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ ฝรั่งเศสจับตัวพระยอดเมืองขวางเจ้าเมืองคำม่วน และในขณะที่กองทัพสยามยกไปช่วยพระยอดเมืองขวาง ปรากฏว่า นายโกรสกูแรง (Grosgurin) นายทหารฝรั่งเศสเกิดเสียชีวิตลง ฝรั่งเศสกล่าวหาว่านายโกรสกูแรงถูกฆาตกรรมและเรียกร้องให้ไทยลงโทษพระยอดเมืองขวาง ทำให้เหตุการณ์ทวีความตึงเครียดและคับขันขึ้น ในขณะเดียวกันทั้งกระทรวงอาณานิคม สื่อสารมวลชน และวงการศาสนาต่างสนับสนุนรัฐบาลฝรั่งเศสให้ใช้มาตรการรุนแรงกับไทย
.
จนในที่สุดผู้บังคับการเรือฝรั่งเศสได้นำเรือ ๒ ลำ คือ เรือปืนแองกองสตอง (Inconstant) และเรือโกแมต (Comete) พร้อมเรือนำร่องได้มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพฯ เมื่อแล่นผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาชลยุทธโยธินทร์ได้ยิงเตือนแต่เรือรบฝรั่งเศสก็มิได้หยุดยั้ง จึงเกิดการยิงปะทะกันขึ้น ได้รับความเสียหายทั้ง ๒ ฝ่าย คือเรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงจม ส่วนเรือปืนมกุฎราชกุมารของสยามถูกยิงได้รับความเสียหาย เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ฝรั่งเศสใช้อำนาจที่ปราศจากทั้งเหตุผลและความเป็นธรรมต่อไป ด้วยการยื่นข้อเสนอเรียกร้องทั้งให้ไทยเพิกถอนสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ให้จัดการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ยิงเรือปืนฝรั่งเศส พร้อมกับชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นเงิน ๒ ล้านฟรังก์ และยังมีข้อกำชับทิ้งท้ายว่า “—ถ้าถูกโจมตี จะทำลายกองทัพเรือไทย ตลอดจนป้อมปราการ—”
.
เหตุการณ์ครั้งนั้นนำความทุกข์โศกโทมนัสมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างที่สุดครั้งหนึ่งในพระชนมชีพ ถึงแก่ทรงพระประชวร ทรงทอดอาลัยในพระชนมชีพมิยอมเสวยพระโอสถอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้ทรงจำเป็นต้องเก็บความเจ็บปวดและทุกข์โทมนัสไว้แต่ในพระราชหฤทัย และกลับมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองต่อไป ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงพระราชปรารภถึงพระราชภาระที่ทรงต้องปฏิบัติต่อไปคือ “—ประสงค์แต่จะรักษาอำนาจ แลที่แผ่นดินอันปู่แลบิดาของเราได้ปกครองสืบๆ กันมาแล้วช้านาน มิให้ร่อยหรอเข้าไป และให้ไพร่บ้านพลเมืองของเราเป็นศุข ตลอดทั่วหน้าจนสุดกำลังที่จะทำได้—”
.
แต่ถึงกระนั้นความรู้สึกที่ถูกมหาอำนาจกดขี่ข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรม ไม่มีความละอายละเลยต่อหลักการปฏิบัติของอารยประเทศ ดังที่ทรงกล่าวว่า “—เป็นความลำบากอย่างยิ่งแก่เมืองเราที่ฝรั่งเศสคิดแลทำการข่มขี่แสนสาหัสโดยปราศจากยุติธรรม อันเป็นการจำเป็นบีบรัดที่ให้เราป้องกันตัวโดยกำลังตามที่จะทำได้—” ในเวลานั้นทรงคิดถึงพระราชโอรสซึ่งเป็นความหวังแรกในอันที่จะกลับมาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของบ้านเมือง คือพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เพราะเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบกตามแบบอารยประเทศ ที่ประเทศเดนมาร์ก แต่ขณะนั้นทรงกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา แม้จะทรงพระราชปราถนาให้พระราชโอรสได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ในเหตุการณ์นี้ แต่ก็ยังมิถึงเวลา ดังที่ทรงกล่าวว่า “—พ่อรู้ว่าเจ้าจะต้องอยู่อีกนาน จึงจะทำการได้ดีอย่างยิ่ง เว้นแต่ขอให้คิดสักหน่อยหนึ่งว่า เมืองเราต้องการคนที่รู้จริงในเวลานี้มากนัก—เรายังต้องการผู้ที่รู้วิชาชั้นสูงๆ ในการทหารทุกอย่าง—ความต้องการของเรานั้นเป็นการรีบร้อนยิ่งกว่าที่เจ้าจะคิดเห็น—”
.
ทุกข้อความที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาแสดงอย่างชัดเจนถึงพระราชหฤทัยที่ทรงว้าเหว่และว้าวุ่น เพราะเหตุการณ์คับขันขณะนั้น พระราชโอรสทุกพระองค์ยังทรงพระเยาว์ทรงอยู่ในระหว่างการศึกษาขั้นต้นหรือขั้นกลาง มีพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชเพียงพระองค์เดียวที่ทรงเติบใหญ่ และร่ำเรียนวิชาการอันสามารถจะเป็นประโยชน์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงมีพระราชหฤทัยผูกพันระลึกถึงแต่ก็ทรงตระหนักดีว่า ยังไม่ถึงเวลาที่พระราชโอรสจะเสด็จกลับ ดังที่ทรงกล่าวว่า “—พ่อยังไม่ได้คิดจะเร่งให้กลับ เพราะเห็นว่าการที่เรียนอยู่ยังเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะกลับในเวลานี้ แต่เมื่อมีความว้าเหว่อย่างใดขึ้น ก็ย่อมนึกถึงอยู่ เมื่อคิดถึงการที่เก็บลูกไม้ดิบ ไม่ปล่อยให้สุกเสียก่อนเป็นอันเสียประโยชน์ ก็หายที่จะคิดเช่นนั้นไป—”
.
แม้เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ จะผ่านพ้นไป แต่ยังคงมีปัญหาสืบเนื่องที่ต้องทรงแก้ไขอย่างหนัก คือข้อเรียกร้องต่างๆ ที่ฝรั่งเศสต้องการให้สยามทำตาม ทำให้ต้องปลงพระราชหฤทัยกับดินแดนที่เสียไป ดังปรากฏข้อความในพระราชปรารภที่ว่า “—การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักร ซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน—” และในพระราชหัตถเลขาที่ว่า “—เป็นการจำเป็นที่เราต้องละวางเขตรแดน อันเราได้ปกปักรักษามาแล้วช้านานนับด้วยร้อยปี—”
.
จากพระราชดำริตัดพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอาณาเขตที่เสียไปนี้เอง ทำให้ทรงมีกำลังที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาอย่างหนักตลอดเวลา เพื่อปกปักรักษาราชอาณาเขตส่วนใหญ่มิให้ตกเป็นอาณานิคมของนักล่าชาวตะวันตก ซึ่งทำให้สยามสามารถรักษาความเป็นเอกราชของชาติไว้ได้
.
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 25 กุมภาพันธ์ 2561
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
ที่มาของรูป เฟซบุ๊ก เด็กภูมิ
ที่มาของรูป ทวิตเตอร์ kissza9
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
youtube เหล่เสียดินแดน 14 ครั้ง
โดย ทวี ไมตรีจิต
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
การเสียดินแดน 14 ครั้ง ของไทย ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อน​ #The​ History​
.
https://www.youtube.com/watch?v=9gE-Sp7tyZk
.
โพสโดย เรื่องเล่าสาระดี
20 มิ.ย. 2021
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ
#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น
.
.
.
#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี
#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ
.
.
.
#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก
#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น
.
.
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
.
.
.
#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
.
.&&&&&&&&&&&&&&&&&&.
.
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)