ผู้เขียน หัวข้อ: อนาคาริก ธรรมปาละ รัตนะบุรุษแห่งศรีลังกา ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนา ใน อินเดีย  (อ่าน 231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
อนาคาริก ธรรมปาละ รัตนะบุรุษแห่งศรีลังกา ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนา ใน อินเดีย






<a href="https://www.youtube.com/v//R8x3dLz1bpk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//R8x3dLz1bpk</a> 

https://youtu.be/R8x3dLz1bpk?si=Af-XDtTjldaxwUWy



เพิ่มเติม จาก http://www.watthaibuddhagaya935.com/anakarika.html

ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala)

ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407  มรณภาพเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2476  เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย   เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียและเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ  ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่อง  ประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยาก อุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่
อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้ จากนั้นจึงเดินทางกลับลังกาและก่อตั้ง สมาคมมหาโพธิ์ ขึ้นที่โคลัมโบ  ประเทศอินเดีย    สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานในรูปของสมาคม เรียกกันว่า“มหาโพธิสมาคม” โดยมีผู้บริหารเป็นทั้งฮินดูและพุทธ การก่อกำเนิดของมหาโพธิสมาคมนั้น ต้องย้อนกลับไปรำลึกถึงบุคคลผู้มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูให้พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งนั่นคืออนาคาริกธรรมปาละ


  ในช่วงปีพุทธศักราช 2400 ชาวอินเดียเจ้าของประเทศอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ยังคงสับสนทางความคิดเพราะอิทธิพลของฮินดูครอบงำคนอินเดียมายาวนานหลายร้อยปี พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในชมพูทวีปเป็นช่วงระยะเวลาติดต่อกัน 1,700 ปี และหายไปเป็นช่วงเวลาถึง 700 ปีไม่เหมือนกับฮินดูที่คงอยู่คู่กับชาวอินเดียมาเป็นเวลานาน แม้จะเสื่อมไปก็เป็นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในวิถีชีวิตของคนอินเดียยังคงเป็นฮินดูอยู่นั่นเอง เหมือนในอดีตแม้พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ภายใต้ร่มเงาของฮินดู จนมีนักปราชญ์อินเดียบางท่านถึงกับกล่าวว่า “พระพุทธศาสนาคือฮินดูนิกายหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็คืออวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์นั่นเอง”   

 การสรุปเช่นนั้นเป็นการสรุปที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งเหมือนที่ครั้งหนึ่งในประเทศไทยที่เคยมีนักวิชาการท่านหนึ่งสรุปในงานวิจัยว่า “พระพุทธเจ้าคือปกาศกของพระผู้เป็นเจ้า” ทั้งๆที่ในข้อเท็จจริงพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ปฏิเสธพระเจ้าจัดอยู่ในกลุ่มนาสติกะ คือศาสนาที่ไม่ยอมรับว่ามีพระผู้เป็นเจ้าในปรัชญาอินเดีย  อย่างนี้แล้วพระพุทธเจ้าจะกลายเป็นอวตารของพระนารายณ์และปกาศกของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

                ในยุคของการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในยุคใหม่นั้น มีการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง  และได้พบชิ้นส่วนและซากปรักหักพังที่สำคัญ ๆ ทางพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนกระทั่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เป็นระบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อท่านอนาคาริก ธรรมปาละ พุทธศาสนิกหนุ่มชาวสิงหล ได้อ่านบทความที่เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ เขียนไว้เกี่ยวกับการที่พุทธสถานที่สารนารถถูกปล่อยปะละเลย ในหนังสือพิมพ์ เทเลกราฟ

                อนาคาริกธรรมปาละจึงตัดสินใจเดินทางไปที่สารนารถและพุทธคยาในเดือนมกราคม 2434 เพื่อให้เห็นด้วยตาตนเอง พลันที่อนาคาริกมาถึงพุทธคยาทำให้เขาต้องตกตะลึงที่เห็นสภาพสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถูกยึดครองและอยู่ในกรรมสิทธิ์ของฮินดูนิกายมหันต์ รูปเคารพ และสิ่งที่เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาถูกฮินดูทำลาย และจัดการตามใจชอบโดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่ควรหรือไม่ควรอนาคาริกธรรมปาละจึงตัดสินใจที่จะเรียกร้องกรรมสิทธิ์พุทธคยาคืนมาจากฮินดู ในการดำเนินการนี้ท่านต้องเดินทางเพื่อแสวงหาความร่วมมือจากพระภิกษุจากหลายประเทศเช่นลังกา พม่า ไทย และญี่ปุ่น ในที่สุดก็สามารถก่อตั้งมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 2434 ได้นิมนต์พระสงฆ์จากศรีลังกา 4 รูปจำพรรษาที่พุทธคยาอีกด้วย วันที่ 31 ตุลาคม 2434 อนาคาริกธรรมปาละยังได้ดำเนินการเพื่อจัดประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติขึ้น โดยมีตัวแทนจากศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น และเบงกอล เข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นที่อินเดีย ดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ในปีเดียวกันนั่นเอง(2434) พระกฤษปาสรัน มหาสถวีระ ภิกษุชาวเบงกอล ได้ก่อตั้งพุทธสมาคมขึ้นที่เบงกอล ในปีนั้นยังค้นพบโกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในรัฐอันตรประเทศ โดยนายเรีย แอต ปัตติโปรลู                                                     
               
 นอกจากนั้นพระมหาวีระพระภิกษุรูปแรกชาวอินเดียที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในยุคแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้สร้างวัดขึ้นที่กุสินารา(ปัจจุบันเรียกชื่อเป็นกุสินาคาร์) สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเวลานั้นยังเป็นป่ารกชัฏ ประชาชนไม่กล้าเข้าไป เพราะเกรงกลัวต่ออันตราย แต่เมื่อพระมหาวีระสร้างวัดขึ้น ประชาชนจึงได้เดินทางเข้าไปยังกุสินาการ์เพื่อสักการะบูชาและระลึกถึงสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

                ในปี พ.ศ. 2435 มหาโพธิสมาคมได้ย้ายที่ทำการไปที่เมืองกัลกัตตา อนาคาริกธรรมปาละได้ออกวารสารมหาโพธิ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาโพธิสมาคมและเผยแพร่คำสอนของพระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ในปีเดียวกันนั่นเองนักวิชาการชาวอินเดียจึงจึงได้ก่อตั้งสมาคมปาลีปกรณ์ขึ้นที่เมืองกัลกัตตา เพื่อจัดพิมพ์ตำราทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาของชาวอินเดีย (อินเดียมีภาษาพูดประมาณ 1,625 ภาษา ใน 25 รัฐ ภาษาที่สำคัญ ๆ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 18 ภาษา มีภาษาฮินดีและอังกฤษเป็นภาษาราชการ ไม่มีศาสนาประจำชาติ มีประชากรประมาณ 900 ล้านคน ในปีพ.ศ.2539 (ปัจจุบัน 2551 เพิ่มจำนวนเป็น 1,200 ล้านคนแล้ว) ร้อยละ 80 นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 10 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลืออีกร้อยละ 10 นับถือศาสนาอื่นๆเช่นสิกข์,ไชนะ,ปาร์ชีและพระพุทธศาสนา (อรุณ เฉตตีย์, อินเดียแผ่นดินมหัศจรรย์,โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2539 หน้า 12) ในการพิมพ์หนังสือเพื่อให้ชาวอินเดียอ่านจึงต้องพิมพ์เป็นหลายภาษาที่สำคัญๆคือภาษาฮินดี ภาษาเบงกลี ภาษาพราหมี เป็นต้น โดยผู้ที่ร่วมก่อตั้งประกอบด้วย ราเชนทรา ลาล มิตรา,หราประสาท ศาสตรี,สรัตจันทราทัสและสาธิตจันทรา วิทยาภูสาน ปีพุทธศักราช 2436 ธรรมปาละได้เข้าร่วมประชุมในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา และได้พบสุภาพสตรีผู้เลื่อมใสพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งคือนางแมรี่ ฟอสเตอร์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยบริจาคเงินให้สมาคมเป็นจำนวนมาก

                ในปี 2439 พูห์เลอร์ ได้พบเสาหินพระเจ้าอโศกที่ลุมพินี(รุมมินเดย์) พบถ้อยคำจารึกมีใจความว่า “พระพุทธเจ้าศักยมุนีประสูติที่นี้” สองปีต่อมา พ.ศ. 2441 ได้พบโกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสวนลุมพินีมีคำจารึกไว้ว่า “โกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแห่ง สกุลศากยะ”

                วิหารแห่งแรกในอินเดียที่สร้างขึ้นในยุคแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาสมัยใหม่อยู่ที่กุสินาการ์ (กุสินารา) สร้างในปี พ.ศ. 2445 โดยการนำของพระมหาวีระสวามี    นอกจากนั้นยังได้สร้างธัมมันกุรวิหารที่กัลกัตตา ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของพุทธสมาคมที่เบงกอล

                ส่วนวิหารแห่งแรกที่พุทธสมาคมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 คือศรีธัมมราชิกวิหารที่เมืองกัลกัตตา โดยมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าค้นพบที่ปัตติโปรลูในอันตรประเทศบรรจุไว้ด้วย และศรีธัมมราชิกวิหารนี้เป็นสำนักงานใหญ่ของพุทธสมาคม เพื่อดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย  เป็นอันว่าช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่อนาคาริกธรรมปาละ เดินทางเข้ามาอินเดีย ได้เริ่มต้นปลุกกระตุ้นความสนใจของชาวอินเดียต่อพระพุทธศาสนา โดยใช้นโยบายป่าล้อมเมืองคือประกาศอุดมการณ์ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาต่อนานาชาติ ทั้งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาและประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาแต่ให้ความสนใจในหลักปรัชญาของพระพุทธศาสนา จนในที่สุดชาวอินเดียเอง ก็เริ่มให้ความสนใจในการศึกษาหลักการของพระพุทธศาสนา โดยมีชาวอินเดียเข้ามาอุปสมบทเป็นพระภิกษุหลายรูปที่มีบทบาทสำคัญคือพระมหาวีระสวามี,พระโพธินันทะ   พ.ศ.2457ทำการอุปสมบทบนเรือกลางแม่น้ำคงคา ใกล้เมือกัลกัตตา เพราะขณะนั้นอินเดียยังไม่มีการสมมุติสีมาอุโบสถขึ้นเลย มีพระภิกษุเข้าร่วมในพิธีอุปสมบทครั้งจากพม่า ศรีลังกา และจิตตะกอง (ปัจจุบันเป็นเมืองๆ หนึ่งในประเทศบังคลาเทศ) ท่านอนาคาริกธรรมปาละก็ได้เข้าร่วมในพิธีกรรมครั้งสำคัญนี้ด้วย

                เมื่ออุปสมบทเสร็จ พระโพธินันทะ ได้เดินทางไปยังลัคเนาว์ได้ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งอินเดียขึ้น เพื่อดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนมาสู่อินเดียอันเป็นถิ่นกำเนิดอีกครั้ง ที่ลัคเนาว์ได้มีชาวอินเดียเข้ามาอุปสมบทอีกเป็นจำนวนมาก ผลงานของพระโพธินันทะทำให้ชาวอินเดียส่วนหนึ่งได้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาอีกครั้ง พระมหาวีระและพระโพธินันทะพระภิกษุชาวอินเดียทั้ง 2 รูป นับว่ามีบทบาทสำคัญสำหรับการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เพราะความที่เป็นชาวอินเดีย ย่อมสามารถชักจูงชาวอินเดียได้ง่ายขึ้น เราไม่อาจจะยืนยันได้ว่าพระพุทธศาสนาที่ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งนี้จะเป็นพระพุทธศาสนานิกายอะไร แต่ที่เริ่มต้นขึ้นจริงๆโดยอนาคาริกธรรมปาละนั้น เป็นนิกายจากศรีลังกา และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

                 สิ่งที่สูญหายไปเกือบ 700 ปี เมื่อหวนกลับมามีบทบาทอีกครั้งย่อมมีความแตกต่างจากอดีตเป็นธรรมดา ส่วนพระพุทธศาสนาที่เจริญนอกถิ่นอินเดีย ก็ได้ให้ความสนใจในอุบัติการณ์นี้ด้วย ประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพเป็นเมืองหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2325) อนาคาริกธรรมปาละเดินทางไปอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2434 และเริ่มดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เป็นระบบภายใต้การดำเนินการในรูปของสมาคม ดังนั้นคำว่าพุทธสมาคม จึงเป็นวิธีดำเนินการที่สามารถนำมาใช้ได้ในยุคสมัยที่อินเดียไม่มีพระภิกษุเหลืออยู่เลย เพราะสมาคมเป็นการรวมตัวของคณะบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นพระภิกษุหรือฆราวาส   



             
                จากวันที่โพธิสมาคมก่อตั้งมาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 115 ปีแล้ว ภายใต้การริเริ่มของท่านอนาคาริกธรรมปาละ พระพุทธศาสนาที่ถูกลืมก็ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

                ต้องขอบคุณท่านอนาคาริกธรรมปาละอย่างยิ่งที่เสียสละชีวิตทั้งชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ท่านก็ไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แต่ทำตัวเหมือนพระภิกษุ (ตำราบางเล่มบอกว่าท่านอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2474 ) 2 ปีก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตในปี 2476 ปล่อยภาระหน้าที่ที่ยังต้องดำเนินการต่อไปให้ภิกษุในยุคต่อมาดำเนินการอุดมการณ์ของอนาคาริกธรรมปาละ จึงเป็นการจุดประกายแห่งการตื่นตัวของชาวพุทธ เพราะเมื่อมหาโพธิสมาคมเริ่มก่อตั้งขึ้น ก็ได้มีสมาคมและพุทธวิหารเกิดขึ้นในหลายส่วนของประเทศเช่นมหาโพธิสมาคมที่เมืองเดลี เมืองหลวงของอินเดีย(2482),เทวสังฆปาณีวิหาร ที่เมืองอัสสัม(2482),พุทธวิหารที่เมืองบังกาลอร์ (2483),เวฬุวันวิหาร อการตาลา (2489),มัทราสวิหาร (2490),พุทธสมาคมแห่งลาดัก (2480)พุทธสมาคมแห่งอัสสัม (2482),พุทธสมาคมแห่งหิมาลัย (2485)

                พุทธสมาคมเหล่านี้บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการ แม้แต่มาหาโพธิสมาคมก็มีคณะกรรมการที่เป็นชาวพุทธและฮินดูคนละครึ่ง บางครั้งการลงมติที่ต้องอาศัยเสียงส่วนมากจึงมักจะมีปัญหา หากการดำเนินการนั้นไปกระทบกับความเชื่อของชาวฮินดูเข้า

                จากยุคแห่งการขุดค้นสถูปวิหารเจดีย์ของชาวตะวันตกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2293 เป็นต้นมา จนถึงยุคแห่งการก่อตั้งพุทธสมาคมและการสร้างวิหารเริ่มต้นในปี พ.ศ.2434 พระพุทธศาสนาที่ถูกลืมเลือนไปเป็นเวลายาวนานเกือบ 700 ปี ก็ได้กลับฟื้นคืนมายังมาตุภูมิอีกครั้ง โดยแรงผลักดันของท่านอนาคาริกธรรมปาละ ชาวศรีลังกา และเป็นที่น่าปีติอย่างยิ่งคือได้มีชาวอินเดียอุปสมบทเป็นพระภิกษุมากขึ้น และมีการสร้างวัด อาราม และวิหารเกือบทั่วประเทศอินเดีย  ต้นโพธิ์อันเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เมื่อพุทธศาสนิกท่านใดได้ไปสักการบูชาก็มีความรู้สึกเหมือนหนึ่งกำลังเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์ แต่เพราะผลประโยชน์ ต้นโพธิ์ถูกลิดรอนกิ่ง นำใบมาขายให้กับพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธา การค้าขายกับศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมานาน ถ้าตราบใดที่ชาวพุทธยังมัวสนใจเพียง "ใบโพธิ์" มากกว่า "โพธิ" คือการรู้แจ้งแล้ว คงอีกไม่นานต้นโพธิ์ก็คงเหลือแต่ต้นยืนตายอย่างน่าเสียดาย

 :yoyo106: เด๋วมาต่อ
 

                     


" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...