ข้าพเจ้ายังมีประสบการณ์อื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกเช่น ข้าพเจ้ามีเพื่อนชาวยิวคนหนึ่ง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการพบชาวตะวันตกเป็นครั้งแรกของข้าพเจ้าในอินเดีย เมื่อใดก็ตามที่เขารู้สึกไม่มีความสุข เข้าจะเจ็บสะโพก เขาเป็นคนที่แข็งแรงมากๆ แต่ถ้าใครก็ตามทำให้เขาไม่มีความสุข เขาจะมีอาการเจ็บแถวๆ สะโพกขึ้นมาทันทีทันใด ข้าพเจ้าแน่ใจว่าพวกคุณต้องรู้จักใครก็ตามสักคนที่มีลักษณะคล้ายๆ กันนี้ นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากที่แสดงให้เราเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่จิตใจที่ป่วยของเราแข็งแรงขึ้น ร่างกายของเราก็จะเจ็บป่วยขึ้นมาทันที
ระบบของตันตระานไม่ใช่อะไรที่ไม่มีลำดับขั้นหรืออะไรที่คุณต้องเชื่อถือด้วยศรัทธาอย่างงมงาย หากแต่ระบบของธิเบตถูกสร้างขึ้นมาอย่างไดอะเลคติคที่คุณจะสามารถเรียนรู้มันด้วยวิธีการทางปรัชญาก็ได้ แต่ข้าพเจ้าที่พูดอยู่ที่นี่ ไม่มีเวลาที่จะศึกษาตันตระอย่างเป็นปรัชญาแท้จริงตั้งแต่ต้นจนจบได้ แต่ถ้าคุณต้องการ คุณสามารถทำได้ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่นั่นเองอย่างไดอะเลคติค อย่างเป็นปรัชญา การศึกษาเรื่องตันตรสามารถเป็นเรื่องทางปัญญาขั้นสูงสุดได้เช่นกัน“
พี่ช้าง พี่ช้างจะเหนื่อยหรือยัง จะจบแล้ว แต่ต่ออีกหน่อยนะ
พอดีต่อไปนี้ อาจารย์เค้าจะอธิบายเรื่องของการอภิเษกที่ได้เกริ่นๆ มานิดหน่อยข้างบนให้เข้าใจนิดหนึ่งค่ะ
นะ นะ พี่ช้างอ่านอีกนิดหนึ่งนะ จะจบแล้ว ว่าแต่ยังอ่านสนุกอยู่เลยใช่ไหมล่ะ ^_^
แต่เราก็เริ่มจะเมื่อยมือแล้วเหมือนกันนะ
“ตันตระมีอยู่ ๔ ระดับด้วยกัน โดยแตกต่างกันตามหน้าที่และวิธีการชำระให้บริสุทธิ์ในขีดขั้นต่าง ๆ กัน
อันดับแรก เรียก ชากู (cha-gyu) หรือ กริยาตันตระ (kriya)
อันดับสอง เรียก ชอกู (cho-gyu) หรือ จรรยาตันตระ (charya)
อันดับสาม เรียก นัลจอกู (nal-jor-gyu) หรือ โยคะตันตระ (yoga)
และอันดับสี่ เรียก นัลจอลานะเมปะ (nal-jor-la-na-me-pa) หรือ มหาโยคะตันตระ หรือมหาอนุตตรโยคะตันตระ (mahayoga or maha-anuttara yoga) ทั้งสี่ระดับนี้สอนตันตระในรูปแบบและวิธีการที่ต่างกันออกไป เหมือนกับลัมริม (lam-rim) ที่มีทั้งระดับเล็ก กลาง และใหญ่ ดังนั้นด้วย ๔ ระดับนี้เอง ใครก็ตามที่เลือกฝึกปฏิบัติในรูปแบบหรือระดับไหน ก็จะมีระดับและขั้นที่แตกต่างกันตามความสามารถของตัวเองออกไป แต่ที่สำคัญคืออย่างไรก็ตามทั้ง ๔ ระดับนี้ล้วนต่างยึดถือเอาพลังแห่งความปรารถนา (energy of desire) เป็นหนทางไปสู่การรู้แจ้งเหมือนกันทั้งสิ้น โดยในทั้ง ๔ ระดับนี้ก็จะยังมีระดับขั้นย่อยๆ ต่างๆ กันไปอีก”
พี่ช้าง เราขอแทรกตรงนี้อีกนิดหนึ่งได้ไหม คือพอดีเราเคยไปอ่านเจอในหนังสืออีกเล่มหนึ่ง แต่ดันจำไม่ได้แล้วว่าเล่มไหน เค้าเขียนไว้ว่า
ตันตระทั้งสี่ระดับนี้ ถือได้ว่าถูกออกแบบมาเพื่อผู้ฝึกแต่ละแบบต่างกันออกไป
มีขั้นต่างๆ กัน ตามความชำนาญของผู้ฝึกว่ามีความสารถในการแปรพลังความปรารถนา ความอยากของตนเองได้ในระดับใด
กริยา คือระดับของการกระทำ หรือการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพุทธะโดยใช้ท่าทางภายนอก หรือกาย วาจา ใจ (กายคือการนึกภาพพุทธะหรือทำท่ามุทรา วาจาคือการท่องมนตร์ และใจคือการทำสมาธิ)
จรรยา คือระดับของการแสดง หรือการให้ความสำคัญกับทั้งท่าทางภายนอกและการฝึกฝนจิต โดยการนั่งสมาธิเข้าเงียบหรือนั่งสมาธินึกถึงภาพเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
โยคะ คือระดับของการฝึกฝนภายในที่ก็ยังมีกิริยาภายนอกอยู่บ้าง หรือการเน้นการชำระตนให้บริสุทธิ์ ชำระมรรควิถีให้บริสุทธิ์ และชำระปัจจัยนั่นเอง
และตันตระโยคะขั้นสูง คือระดับของการฝึกฝนภายในล้วนๆ อย่างเดียว
โดยมีตัวอย่างการอธิบายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแปรความปรารถนาในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงเอาไว้ ดังนี้เช่น
ระดับแรกก็คือเรื่องมองผู้หญิง
ระดับที่สองก็คือขั้นของการจับมือ
และระดับที่สี่ก็คือขั้นของการร่วมประเวณี
เข้าเรื่องต่อแล้วค่ะ คราวนี้ถึงเรื่องการอภิเษกจริงๆ แล้วค่ะ
“เอาล่ะ มาถึงตอนนี้ดูเหมือนว่าขั้นตอนของการรับการอภิเษกจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ข้าพเจ้ารู้ภาษาอังกฤษไม่มากนัก แต่การอภิเษก (initiation) ในที่นี้นั้นหมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนประสบการณ์เริ่มต้น หรือประสบการณ์เริ่มแรก เมื่อคุณจะรับการเริ่มต้น คุณกำลังเริ่มด้วยการสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่บางสิ่งบางอย่างอยู่ มีการสื่อสารบางอย่างเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงกำลังเริ่มจะเกิดขึ้น นั่นเองคือการสร้างพลัง แต่ประสบการณ์ที่คุณได้รับเมื่อการอภิเษกนั้นจะต้องเป็นไปตามสิ่งที่คุณสัมผัสได้หรืออ่านได้เอง บางครั้งการอภิเษกของคุณ คุณอาจจะได้รับพลังเข้ามา “โช๊ะ” คือคุณอาจได้รับผลของมันอย่างทันทีทันใด แต่ถ้าคุณเหมือนกับข้าพเจ้าแล้ว มันจะเป็นไปอย่างช้าๆ หรือบางครั้งอาจไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยก็ได้ในประสบการณ์ครั้งแรกของคุณ ซึ่งนั่นคุณก็จำเป็นต้องได้รับการอภิเษกเช่นนี้ซ้ำๆ อีกหลายครั้ง เพื่อที่จะจัดแจงพลังงานบางอย่างบางชนิดให้อยู่ในรูปในร่างในที่ในทางที่จะทำให้การเกิดพลังของคุณได้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
กล่าวถึงการอภิเษกนี้ ก็มีทั้งขั้นตอนและระดับขั้นของมันเองอยู่ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นใน ๔ ระดับของตันตระนั้น กริยาตันตระและจรรยาตันตระจะมีเพียงการอภิเษกขั้นตอนแรกที่เป็นแบบกว้างเท่านั้น แต่จะไม่มีขั้นตอนอื่นๆ และภายใต้การอภิเษกขั้นตอนแรกนี้ ก็จะมีระดับขั้นของตัวเองอีกต่างหาก คุณจะไม่สามารถได้รับการอภิเษกแบบกว้างของมหาอนุตตราโยคะตันตระในกริยาตันตระหรือหรือจรรยาตันตระได้เลย แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่าเราจำเป็นจะต้องลงกันไปในรายละเอียดขนาดนั้น เพราะพวกคุณยังไม่พร้อมที่จะลงไป หรืออีกนัยหนึ่งมันจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องนำมากล่าวถึงในที่นี้ แต่อย่างไรก็ตามคุณควรเข้าใจว่าการอภิเษกนี้มันมีขั้นตอนของมันอยู่ และสำนักที่ต่างกันก็มีจำนวนครั้งของการอภิเษกที่ต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ยามันตะกะ (yamantaka) มี ๔ ขั้นตอน แต่ของกาลจักร (kalachakra) มี ๑๖ ขั้นตอน และอื่นๆ อีกเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การอภิเษกหนึ่งๆแต่ละครั้งนั้นก็จะเป็นการอภิเษกเฉพาะสำหรับคุณเท่านั้น ที่คุณจะได้รับประสบการณ์นั้นๆ ว่าไปมันก็เหมือนกับการเพาะเมล็ดพันธุ์หนึ่งๆ ที่เราต้องเลี้ยงดู รดน้ำ และใส่ปุ๋ยอยู่เสมอๆ จนท้ายที่สุดมันถึงจะเติบใหญ่ขึ้นมาได้ เป็นหนึ่งเดียวที่เป็นองค์รวมที่สัมพันธ์กับทั้งหมดได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ข้าพเจ้าอยากบอกว่า แทนที่เราจะคิดว่าลัมริมนั้นใหญ่เหลือเกิน แต่เราน่าจะคิดว่ามันเป็นชุดสำเร็จรูปเล็กๆ สำหรับทุกคนมากกว่า ในการทำสมาธิครั้งหนึ่ง เมื่อมีสิ่งใดเปลี่ยนไป คุณควรจะตามจิตของคุณตรงดิ่งไปทันทีที่การเกิดใหม่นั้น ที่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้น ปล่อยให้มันเกิดขึ้น อย่าไปหยุด อย่าไปยอมรับ ปล่อยให้มันเป็นไป ปล่อยให้มันเกิดขึ้น และหลังจากนั้นก็จับเอาเจ้าสิ่งนั้นนั่นเองเข้าสู่สมาธิโพธิจิต และเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นอีก ก็ให้พิจารณาเข้าสุญญตาไปเลย แต่ดูเหมือนว่าข้าพเจ้าจะต้องอธิบายว่าจะทำอย่างนี้ได้อย่างไร
พิจารณาพลังงานของความคิดที่ใสสะอาดและกระจ่าง นี่คือสุญญตา “นี่คือภาพสุญญตาของข้าพเจ้า” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นจิตสำนึกหรือจิตของคุณเหมือนกับกระจก กระจกคือผู้รับรู้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงอะไรต่างๆ เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรเข้าไป กระจกจะรับมันเอาไว้ ซึ่งก็เหมือนกับจิตของพวกเรา มันเหมือนกระจกที่สามารถรับความคิดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปไว้ได้ และปฏิกิริยาตอบกลับทุกสิ่งทุกอย่างก็จะมาปรากฏอยู่ในจิตใจของเรา มีทั้งปฏิกิริยาที่เป็นขยะ มีทั้งปฏิกิริยาที่ดีๆ สิ่งเหล่านี้เองทั้งหมดคือความงาม มนุษย์ทั้งหมดคือความสวยงาม อย่าคิดว่ามนุษย์นั้นเป็นเหมือนไม้ นั่นเองทำไมเราถึงควรเคารพมนุษย์ มนุษย์นั้นมีสติปัญญาของการแยกแยะ มนุษย์มีความสามารถเช่นนั้น ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ถึงความชัดเจน ธรรมชาติของจิตและของความคิดที่สะอาดและส่องสว่างชัดเจน
ก่อนอื่น ความชัดเจนนั้นไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นสี ไม่ได้มีสี ให้ตระหนักว่าเป็นที่ว่างๆ เป็นที่ว่างๆ ในจักรวาลที่ว่างเปล่า และเข้าไปพิจารณา ผลที่ได้รับ ผลกระทบและสิ่งที่เกิดขึ้นของการทำสมาธินั่นเองคือสิ่งนั้น การมีประสบการณ์ของความว่าง จักรวาลที่ว่างเปล่าเช่นนี้ จะทำให้คุณสามารถกำจัดสิ่งเหนือจริงและความขัดแย้งต่างๆ ของอีโก้คุณออกไปได้ การมีประสบการณ์เช่นนี้จะกำจัดความคิดที่เป็นอีโก้ที่เต็มอยู่ในจิตใจของคุณไปได้
และเมื่อถึงตรงนั้น คุณก็ถูกนำไปสู่การไม่คิดอะไรเลย ไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เมื่อมีความคิดต่างๆ แวะเวียนเข้ามา แต่ความคิดของคุณอันหนาแน่นและมากมายหลายระดับของคุณนั้นก็จะค่อยๆ หายไป ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าคุณจะได้รับประสบการณ์ของการไม่มีความคิดบ้างแล้ว ความรู้สึกที่ว่า “ความคิดของฉันอยู่ตรงไหน ฉันอยู่ไหน” นี่เองคือประสบการณ์ที่คุณจะได้รับ แน่นอนนี่ไม่ใช่ประสบการณ์สุญญตาอย่างแน่นอน แต่มันให้ประสบการณ์ที่คล้ายๆ กัน ข้าพเจ้าไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับภาษา ว่าคำว่า “serve” นี้หมายถึงอะไร [นักเรียนตะโกนตอบขึ้นมาว่า แทนที่(instead of)] ใช่แล้ว มันมาแทนที่ หรือบางทีอาจดีกว่าถ้าเราจะพูดว่า มันทำให้จิตใจเราบริสุทธิ์สูงส่งขึ้น อืม…ดีกว่าจริงๆ บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายใน เราต้องผ่านจุดนี้ไปให้ได้ เราไม่สามารถอ้างและพูดได้ว่า “ฉันต้องการสัมผัสกับประสบการณ์ของสุญญตาที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง” มันจะไม่เกิดขึ้น นั่นเป็นเพียงอีโก้เท่านั้น เราต้องเริ่มที่จุดบางจุดและให้มันดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตามประสบการณ์นั้นๆ เราควรที่จะพึงพอใจแม้เพียงประสบการณ์เล็กๆน้อยๆ ที่ผ่านเข้ามา
วันนี้ข้าพเจ้าขอพอเท่านี้ก่อน หวังว่าทุกท่านคงได้รับฟังอะไรที่มีประโยชน์บ้างตามสมควร และขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างมาก”
พี่ช้าง วันนี้ข้าพเจ้าขอพอเท่านี้ก่อนบ้างนะ และหวังว่าพี่ช้างก็คงจะได้รับประโยชน์อะไรไปบ้างเช่นกัน แต่ถ้าไม่ได้ ก็เอาเป็นว่า เป็นการเขียนจดหมายมาเล่าให้พี่ช้างฟังแล้วกันนะว่า เมื่อเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เรามีความสุข หรือเราได้อะไรบ้าง ก็ทั้งหมดนี้เลยแหละที่เราเขียนมา คือสิ่งที่เราได้ การได้อ่านบทความนี้ ทำให้เกิดการจุดประกายใหม่ๆ ให้กับเราหลายเรื่องเลย
อย่างน้อย เราก็ได้เรียนรู้ว่าตัวเรานั้นเป็นโพธิจิตหรือมีโพธิจิตอยู่เป็นพื้นฐาน จากที่เดิมไม่เคยรู้มาก่อนเลย แหม....เราก็นึกว่า....เราก็เป็นคนธรรมดาๆ ทั่วๆ ไปที่มีรักโลภโกรธหลงเป็นพื้นฐานน่ะสิ ก็ดูซิดู ไม่รู้มีใครมาพูดให้ฟัง หรือสอนฝังหัวเรามานมนานแล้ว ว่าเรานั้นไม่ดี แต่เราก็ต้องพยายามทำตัวเป็นคนดีให้ได้นะ โหย....แล้วมันทำง่ายอยู่ซะเมื่อไหร่ล่ะ ถ้ามันทำง่าย คนเค้าคงทำกันได้หมดแล้วล่ะ ใช่ไหม
แต่พี่ช้างเชื่อไหม เพียงแค่การอธิบายหรือการพูดแค่ไม่กี่ประโยคข้างบนนั้น ทำให้เราได้รับรู้อีกมุมมองหนึ่งที่ต่างไปเลย ว่า เฮ้ย...จริงๆ แล้ว เราทุกคนพื้นฐานเดิมเป็นคนดีต่างหาก มีจิตใจที่ดีต่างหาก เรามีโพธิจิตต่างหาก แต่เจ้าเมฆหมอก หรือความชั่วร้ายที่มาปกคลุม ปิดหูปิดตาเราอยู่ต่างหากที่มันเป็นสิ่งไม่ดี แล้วมันก็บังอาจมันมาห่อหุ้มตัวเรา เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราก็จะพยายามอย่างยิ่งยวดต่างหากที่จะสลัดเจ้าสิ่งเหล่านี้ให้มันออกไปจากตัวเรา แล้วเราก็จะได้มาเป็นคนที่ดี คนที่ใสได้ดังเดิม
แล้วพี่ช้างดูสิ ระหว่างเราสำคัญตัวว่าเราเป็นคนไม่ดี แต่เราต้องพยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนดีกับสำคัญตัวว่าเราเองเป็นคนดีแต่แรกเริ่มเดิมทีมานั้น แต่เราต้องแค่สลัดเจ้าสิ่งไม่ดีที่มาเกาะกุมตัวเราอยู่ให้หลุดออกไป ก็แค่นั้นเอง อันไหนมันจะง่ายกว่ากัน และอันไหนมันจะมีกำลังใจให้เราทำได้มากกว่ากัน มีความหวังมากกว่ากัน เนอะ
เราว่านี่ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เลยเนอะ ^_^
พี่ช้างว่าอย่างไร หรือพี่ช้างมีความเห็นว่าอย่างไรบ้าง เล่าสู่กันฟังบ้างก็ได้นะ
จดหมายฉบับนี้ชักจะยาวเกินไปแล้วใช่ไหม งั้นพอแค่นี้ก่อนนะ นี่ก็จะเช้าแล้วด้วย พระอาทิตย์เริ่มจะมาเยือนแล้วล่ะ แต่เราคงต้องแอบไปนอนแทน เพราะฉะนั้น....นอนหลับฝันดีนะพี่ช้าง และราตรีสวัสดิ์จ้า
จากน้องลิงผู้น่ารักที่สุดในโลกค่ะ ^_^
ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๑ : : ตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๔๘
http://www.semsikkha.org/review/content/view/82/201/