ผู้เขียน หัวข้อ: กรรม...ที่สร้างลักษณะทั้ง 32 ประการของพระพุทธเจ้า  (อ่าน 1702 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
กรรม...ที่สร้างลักษณะทั้ง 32 ประการของพระพุทธเจ้า

กรรม...ที่สร้างลักษณะทั้ง 32 ประการของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ามีปกติตรัสเล่าเกี่ยวกับกรรมของพระองค์ เพื่อให้เป็นแบบอย่างอยู่แล้ว เมื่อจะแสดงเกี่ยวกับมหาบุรุษลักษณะก็เพื่อให้พวกเรา รู้ว่าแม้รูปพรรณสัณฐาน แต่ละส่วนก็ได้มาโดยกรรม

๑) ฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ตั้งอยู่ได้มั่นคง คือทรงเหยียบพระบาทเสมอกันบนพื้น ทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน ทรงจดภาคพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ถือความประพฤติมั่นคงในกุศลธรรม ไม่ย่อหย่อนในความสุจริตทางกายวาจาใจ ในการบำเพ็ญทาน ในการรักษาศีล ๕ และศีล ๘ ในการปฏิบัติดีต่อมารดาและบิดา ในการปฏิบัติดีต่อสมณะ ในการปฏิบัติดีต่อพราหมณ์ ในความเป็นผู้เคารพต่อผู้ควรเคารพเป็นอันมาก (คือมากกว่าชนทั่วไปอย่างเทียบกันอย่างไม่อาจประมาณ)

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือถ้าเลือกเป็นราชามหาจักรพรรด ิ์ จะทรงมีราชอาณาจักรมั่นคง มีพระราชโอรสจำนวนมากที่ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า สามารถย่ำยีเสนาแห่งปรปักษ์ได้โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่มีข้าศึกใดข่มได้

๒) ลายพื้นพระบาทปรากฏเป็นรูปจักรจำนวนมาก มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้นำความสุขมาให้แก่มหาชนเป็นอันมาก บรรเทาภัยร้ายที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและความหวาดเ สียว จัดการรักษาความปลอดภัยโดยธรรม และบำเพ็ญทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริวารม าก ทั้งพราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท โหราจารย์ มหาอำมาตย์ กองทหาร นายประตู ผู้มีอิทธิพล เศรษฐี ราชกุมาร

๓) มีส้นพระบาทยาว ๔) มีนิ้วพระหัตถ์และพระบาทยาว และ ๕) พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม

สามข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ละปาณาติบาตแล้ว เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้ไม่จับอาวุธ มีความละอายในการเบียดเบียน มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระชนมา ยุยืน ดำรงอยู่นาน ไม่มีใครๆ ที่เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นข้าศึกศัตรูสามารถปลงพระชนม์ชี พได้

๖) ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่มและ ๗) ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าบาทมีลายดุจตาข่าย

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้สงเคราะห์ประชาชน ได้แก่การให้ทาน การกล่าวคำเป็นที่รัก การประพฤติให้เป็นประโยชน์ และความเป็นผู้ไม่ถือตัว

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริวารม าก ทั้งพราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท โหราจารย์ มหาอำมาตย์ กองทหาร นายประตู ผู้มีอิทธิพล เศรษฐี ราชกุมาร

๘) มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน และ ๙) มีปลายพระโลมชาติ (ขน) ทุกๆเส้นเวียนขวาเส้นช้อนขึ้นข้างบนล้วน

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถธรรม แนะนำประชาชนเป็นอันมากไปในทางดี เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมเป็นปกติ

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะเป็นประธา นสูงสุด ดีกว่าหมู่ชนที่บริโภคกามทั้งปวง

๑๐) พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย คือเรียวไปโดยลำดับ

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ตั้งใจสอนศิลปะวิชา ข้อที่ควรประพฤติ หลักกรรมวิบาก ด้วยความครุ่นคิดว่าทำอย่างไรชนทั้งพึงรู้เร็ว พึงสำเร็จเร็ว ไม่พึงลำบากนาน

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะได้เฉพาะซ ึ่งพาหนะที่ยิ่งใหญ่เช่นช้างเผือกคู่บารมี

๑๑) ส่วนพระกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์) และ ๑๒) เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองสามารถลูบจับถึงพระชานุ (เข่า)

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จักชนที่เสมอกัน รู้จักตนเอง รู้จักบุรุษ รู้จักบุรุษพิเศษ หยั่งทราบว่าผู้นั้นควรสักการะอย่างนี้ บุคคลผู้นี้ควรสักการะอย่างนั้น รวมทั้งเกื้อกูลพวกท่านเป็นพิเศษ

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะได้เป็นผู ้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีข้าวเปลือกมาก มีคลังเต็มบริบูรณ์ มีเครื่องอุปกรณ์น่าปลื้มใจมาก

๑๓) มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหายที่สูญหายพลัดพรากไปนานให้ กลับมาพบกัน เมื่อทำพวกเขาให้พร้อมเพรียงกันแล้วก็ชื่นชมยินดีปรี ดาอยู่ วิบากของกรรมทำให้เกิดลักษณะของมหาบุรุษคือมีพระคุยห ะเร้นอยู่ในฝัก

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระโอรส มาก ล้วนกล้าหาญและมีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้

๑๔) พระฉวี (ผิวกาย) ละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้เข้าหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วซักถาม (ด้วยความเคารพและน้อมนำไปปฏิบัติ) ว่ากุศลกรรมเป็นอย่างไร อกุศลกรรมเป็นอย่างไร กรรมส่วนที่มีโทษเป็นอย่างไร กรรมส่วนที่ไม่มีโทษเป็นอย่างไร กรรมที่ควรเสพเป็นอย่างไร กรรมที่ไม่ควรเสพเป็นอย่างไร วิบากของกรรมทำให้เกิดลักษณะของมหาบุรุษคือมีพระฉวี (ผิวกาย) สุขุมละเอียด ธุลีละอองไม่อาจติดกายได้

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีปัญญามา ก ไม่มีบรรดาชนผู้บริโภคกรรมใดมีปัญญาเสมอหรือประเสริฐ กว่าพระองค์

๑๕) มีฉวีวรรณ (สีผิว) ประดุจทองคำ

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความแค้นใจ แม้ถูกคนหมู่มากว่าเอาก็ไม่ขัดใจ ไม่ปองร้าย ไม่จองเวรล้างผลาญ ไม่แม้ทำความโกรธเคืองและความเสียใจให้ปรากฎ นอกจากนั้นยังมีกรรมที่ให้ผลเป็นผิวประดุจทองอื่นอีก คือเป็นผู้ให้เครื่องปูหลังสัตว์มีเนื้อละเอียดอ่อน และให้ผ้า สำหรับนุ่งห่ม คือ ผ้าโขมพัสตร์มีเนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายมีเนื้อ

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะได้เครื่อ งลาดมีเนื้อละเอียดอ่อน ทั้งได้ผ้าสำหรับนุ่งห่ม เช่นผ้าโขมพัสตร์เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด เป็นต้น (หมายถึงถ้าเป็นกษัตริย์จะทรงอยู่ในถิ่นที่มีช่างผู้ ฉลาดในทางภูษาอาภรณ์ และทั้งชีวิตจะไม่ขาดจากเครื่องนุ่งห่มชั้นเลิศ มีความประณีตยิ่ง เข้ากันกับผิวอันงามประดุจทองคำของพระองค์ แต่ถ้าทรงผนวชและเลือกที่จะมักน้อยก็เป็นอีกเรื่องหน ึ่ง บางครั้งเมื่อมีคนถวายจีวรชั้นดีท่านก็สนองศรัทธา แต่โดยมากท่านจะเป็นอยู่ด้วยจีวรปอนๆ)

๑๖) มีเส้นพระโลมา (ขน) เฉพาะขุมละเส้น และ ๑๗) มีอุณาโลม (ขนหว่างคิ้ว) เวียนขวา

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์มีถ้อยคำเป็นหลักเป็นฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีมหาชนยก ย่องและยึดถือเป็นแบบอ ย่าง เป็นบุคคลในอุดมคติ

๑๘) มีพระมังสะ (เนื้อ) อูมเต็มในที่ ๗ แห่ง คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสา (บ่า) ทั้ง ๒ กับลำพระศอ (คอ)

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ให้ของที่ควรเคี้ยว และของที่ควรบริโภคอันประณีต และมีรสอร่อย รวมทั้งให้น้ำที่ควรซด ควรดื่ม

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะได้ของที่ ควรเคี้ยวและของที่ควร บริโภคอันประณีต มีรสอร่อย และได้น้ำที่ควรซด ควรดื่ม

๑๙) มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ ล่ำพีดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์
๒๐) พระปฤษฎางค์ (ส่วนหลัง) ราบเต็มเสมอกัน
๒๑) มีลำพระศอ (คอ) กลมงามเสมอตลอด

สามข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยความคิดว่าทำอย่างไรชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธ า เจริญด้วยสละออก เจริญด้วยศีล เจริญด้วยการฟังสาระธรรม เจริญด้วยการเป็นผู้รู้แจ้งตื่นจากการหลับไหล เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยโภคทรัพย์ เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสและกรรมกร เจริญด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีความไม่ เสื่อมเป็นธรรมดาจาก ทรัพย์ บุตรภรรยา ญาติมิตร และบริวาร

๒๒) มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี มีปลายในเบื้องบนประชุมอยู่ที่ลำพระศอ สำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านไปสม่ำเสมอทั่วพระกาย

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ หรือศาสตรา

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระโรคา พาธน้อย สมบูรณ์ด้วยธาตุไฟ (ความเผาผลาญ) อันยังอาหารให้ย่อยดีไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก

๒๓) มีพระหนุ (คาง) ดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)

ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบประโยชน์โดยกาลอันควร

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะไม่มีใครๆ ที่เป็นข้าศึกศัตรูกำจัดได้

๒๔) มีพระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) และ ๒๕) พระทนต์ชิดสนิทมิได้ห่าง

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น ไม่ประสงค์ยุแยงตะแคงรั่วให้คนเขาแตกคอกัน ตรงข้ามพยายามพูดสมานสามัคคี ทำให้คนที่เขาแตกร้าวกันกลับมาคืนดีกัน มีความเพลิดเพลินยินดีในการเห็นผู้คนปรองดองกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้ใครต่อใครปรองดองกัน

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริษัทส ่วนใหญ่จะไม่แตกคอกัน (คือไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่ตั้งก๊กตั้งป้อมโจมตีกันจนเสียความเป็นปึกแผ่น เสียความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจนกระทั่งพระราชบัลลั งก์คลอนแคลนได้)

๒๖) พระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๒๗) เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ละอาชีพทุจริตแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพสุจริต เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวง การทำตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชกขู่เอาทรัพย์ผู้อื่น (ข้อนี้ต้องดูว่าบางชาติอาจยากจนข้นแค้น แต่แม้จนตรอกขนาดไหน มีใครชักชวนอย่างไรก็ห้ามใจไว้ ไม่ประพฤติผิดแม้มีกำลังมากพอที่จะทำได้)

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริวารส ะอาดปราศจากมลทิน

๒๘) พระชิวหา (ลิ้น) อ่อนและยาว (อาจแผ่ปกหน้าผากได้) และ ๒๙) พระสุรเสียงยิ่งใหญ่ดุจท้าวมหาพรหม ทว่ายามตรัสมีสำเนียงเพราะพริ้งราวกับนกการเวก

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้
ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เสนาะเพราะโสตจับใจ ชวนให้รัก คนส่วนใหญ่พึงใจ

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระวาจา อันมหาชนพึงเชื่อถือ

๓๐) พระเนตร (ตา) ดำสนิท และ ๓๑) ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู ไม่ชำเลืองตาดูใครๆด้วยอำนาจความโกรธ เป็นผู้ตรง มีใจตรงเป็นปรกติ แลดูใครๆตรงๆด้วยดวงตาทอแววรักใคร่เมตตา วิบากของกรรมทำให้เกิดลักษณะของมหาบุรุษคือมีพระเนตร (ตา) สีดำสนิทและงามดุจประกายตาแห่งโค

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะเป็นผู้ที ่อันมหาชนเห็นแล้วเคารพรัก

๓๒) มีพระเศียร (ศีรษะ) งามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

ข้อนี้คือวิบากจากการ
เป็นหัวหน้าของมหาชนในธรรมทั้งหลายที่เป็นฝ่ายกุศล เป็นประธานของมหาชนด้วยกายสุจริต ด้วยวจีสุจริต ด้วยมโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน ในการตั้งใจรักษาศีล ๕ และศีล ๘ ในความเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อมารดาและบิดา ในความเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อสมณะ ในความปฏิบัติดีต่อพราหมณ์ ในความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล รวมทั้งเป็นผู้นำในธรรมเป็นมหากุศลอื่น ๆ

กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะเป็นผู้ที ่ได้รับความช่วยเหลือจากมหาชนอย่างล้นหลาม

ที่มา เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน

ขอขอบคุณ

http://www.wattiabsilaram.net/upload/showthread.php?t=2274
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~