ผู้เขียน หัวข้อ: พระยาละแวก ศัตรูตลอดกาลในพงศาดารอยุธยา  (อ่าน 5527 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระยาละแวก ศัตรูตลอดกาลในพงศาดารอยุธยา
-http://www.dek-d.com/board/view/1530838/-

"สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังคำพระยาละแวกดังนั้นจึงตรัสว่า
เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีชัยแก่ท่านเราจะทำพิธีปฐมกรรม
เอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้จงได้
ท่านอย่าอาลัยแก่ชีวิตเลย จงตั้งหน้าหาชอบในปรโลกนั้นเถิด"

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล

********************

พุทธศักราช ๒๑๑๒ หลังจากกรุงพระนครศรีอโยธยาเสียซึ่งเอกราชให้กับกองทัพหงสาวดีของพระเจ้าชนะสิบทิศ บุเรงนอง ซึ่งอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าผู้เป็นโอรสแห่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในการศึกครั้งนั้นกองทัพหงสาวดีล้อมกรุงฯอยู่ตั้งแต่เดือนเก้า จนถึงเดือนสิบสอง ก่อนที่จะยกพยุหโยธาหาญไปยังล้านช้าง ซึ่งการเคลื่อนกองทัพหงสาวดีในครั้งนั้นก็รวมไปถึงการเสด็จของพระหมินทราธิราชเจ้าเฉกเช่นกัน พงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าเสด็จสวรรคตระหว่างทาง

ทางด้านกรุงพระนครอโธยา พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าผู้ครองแปรพักต์เข้าด้วยพระองค์ ขึ้นครองราชธานีแห่งนี้สืบต่อไป ทั้งยังส่งขุนนางของหงสาวดีมากำกับดูแลในทุกๆเรื่องทั้งทางการเมืองและการทหาร จึงเรียกได้ว่าในเวลานั้นกรุงอโยธยาก็อยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก จริงๆ

ในช่วงหลังการเสียกรุงครั้งนั้น กรุงอโยธยานับได้ว่าอ่อนแอลงสุดๆนับแต่สถาปนากรุงเลยทีดียว นอกจากจะต้องเป็นเมืองขึ้นของเขาแล้ว ยังต้องจัดการปัญหาภายในของตัวเอง รวมทั้งรับมือกับการรุกรานของกองทัพกรุงกัมพูชาธิบดี!!!!

กรุงกัมพูชานั้นต้องตกเป็นเบี้ยล่างกรุงอโยธยามานับแต่รัชสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยา ถึงแม้กัมพูชาจะมีกษัตริย์ปกครองตัวเองก็ตามทีแต่ก็เป็นไปโดยสัญลักษณ์ ในครั้งอดีตกัมพูชามีอิทธิพลเหนือพื้นที่บริเวณประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เรารับวัฒนธรรมประเพณี ภาษา มากมาย หลังจากนั้นเมื่อเราสถาปนาบ้านเมืองสำเร็จก็พยายามผลักดันอาณาเขตของอาณาจักรออกไป จนกระทั่งรชสมัยเจ้าสามพระยาสามารถบุกตีเมืองพระนครหลวงจนสำเร็จนับแต่นั้นมาอิทธิพลของเขมรหรือกัมพูชาลดลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นมันจึงส่งผลมาเมื่อถึงคราวที่อโยธยาอ่อนแอ กัมพูชาจึงต้องตอบโต้และประกาศเอกราชของตนเองจึงนำไปสู่การบุกโจมตีของกองทัพพระยาละแวกกษัตริย์กรุงกัมพูชาที่พยายามกวาดต้อนคนไทย และก่อกวนชายแดนมาตลอด ซึ่งทำความเสียหายให้กองทัพอโยธยาอย่างมากมายมหาศาล!!!!

" พระยาละแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุทธยา
พระยาละแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร แลได้รบพุ่งกัน
แลชาวในเมืองพระนครยิงปืนออกไป ต้องพระญาจัมปาธิราชตายกับคอช้าง
ครั้งนั้นเศิกพระยาละแวกเลิกทัพกลับคืนไป"

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ

พงศาวดารของไทยเรียกกษัตริย์กัมพูชาว่าพระยาละแวก(ในขณะนั้นคือพระบรมราชา) นับตั้งแต่เขมรย้ายเมืองหลวงมาอยู่เมืองละแวก ในการศึกครั้งนั้นกองทัพพระยาละแวกยกทัพมาถึงกรุงฯ แต่ชาวเมืองนั้นต่อสู้จนสามารถสังหารแม่ทัพของพระยาละแวกได้ จนพระยาละแวกจำต้องเลิกทัพกลับไในที่สุด ซึ่งในพงศาวดารอีกฉบับได้ขยายความมากขึ้นว่าการมาของกองทัพพระยาละแวกนั้นแสดงได้ถึงควาอ่อนแอของกองทัพอโยธยาเป็นอย่างมากเพราะกองทัพพระยาละแวกสามารถเดินทัพมาล้อมราชธานีได้อย่างง่ายดาย อโยธยาทำได้เพียงปิดเมืองรับศึก แม้ว่าในการศึกครั้นั้นเราจะสังการแม่ทัพศัตรูได้ก็ตามที แต่เมื่อถึงครากองทัพพระยาละแวกถอนทัพเราก็มิอาจสามารถนำไพร่พลตามตีไปได้ มิหนำซ้ำกองทัพพระยาละแวกยังกวาดต้อนครัวไทยไปยังเมืองละแวกได้อีกจำนวนมาก

การศึกครั้งต่อมากองทัพพระยาละแวกยกพลมาทางเรือ ระหว่างทางที่กองทัพเรือของพระยาละแวกผ่านไปก็มีการปล้นสะดม กวาดต้อนเชลยเสียเป็นอันมาก ในการศึกครั้งนั้นกำลังข้างเมืองยโสธรถูกส่งมาสกัดทัพพระยาละแวก แต่ก็ไม่อาจต้านทานกองทัพละแวกมิหนำซ้ำแม่ทัพเมืองยโสธรยังถูกจับไปส่งพระยาละแวกเสียด้วย กองทัพพระลาละแวกผ่านขึ้นมายังธนบุรีก็กวาดต้อนครัวไทยไปมากโข จนมาถึงกรุงฯ กองทัพเขมรที่เราเคยกำราบจนต้องย้ายเมืองหลวงไป กลับมาล้อมกรุงอโยธยาได้เป็นครั้งที่สอง!!! ในศึกครั้งนี้ทางอโยธยาระดมปืนใหญ่ยิงใส่กองทัพพระยาละแวก พร้อมทัพส่งทัพเรืออโยธยาไปรบ พระยาละแวกเห็นท่าไม่ดีจึงต้องยกทัพกลับเป็นครั้งที่สอง แต่ครานี้กองทัพพระยาละแวกก็กวาดต้อนเชลยไทยได้มากมายพร้อมทัพยังขนเทวรูปสำคัญที่ขุดพบในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทองกลับไปยังเมืองละแวกอีกด้วย

การศึกสองครั้งนั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงความ"อ่อนแอ"ด้านกำลังของกองทัพ แต่สิ่งที่ยังไม่อ่อนแอคือ พละกำลังที่จะปกป้องบ้านเมืองจากศัตรูที่มารุกรานในยามที่เราอ่อนแอ

ต่อมาการศึกของอโยธยากับเมืองละแวกก็เปลี่ยนยุทธศาสตร์เมื่อพระยาละแวกไม่คิดที่จะเข้าล้อมกรุงเหมือนแต่ก่อนแต่กลับโจมตีบางเมืองเท่านั้น โดยเลือกเอาหัวเมืองสำคัญๆ ดังเช่นในการศึกครั้งที่สามทัพละแวกยกพลมาหมายจะชิงเมืองเพชรบุรี แต่ก็ไม่สามารถที่จะเอาเมืองได้จึงต้องถอนทัพกลับไป ในการศึกครั้งนี้ปรากฏชื่อแม่ทัพฝั่งเมืองละแวกที่สำคัญคือพระยาจีนจันตุ ซึ่งพระยาจีนจันตุทำทัณฑ์บนมาแต่เมืองละแวกให้เอาเมืองเพชรบุรีให้ได้หากกระทำมิสำเร็จจะยอมรับโทษ เมื่อการไม่สำเร็จพระยาจีนจันตุก็กลัวโทษจึงพาครอบครัวมาขอพึ่งพะบรมโพธิสมภาร เมื่อทราบข่าวว่าพระยาละแวกมิได้สนพระทัยในโทษทัณฑ์นั้นก็คิดจะกลับไปยังละแวกอีก โดยหนีไปทางเรือสำเภา สมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จลงเรือติดตาม แต่ก็ไม่สามารถจับพระยาจีนจันตุผู้นั้นได้

จากการโจมตีของกองทัพเมืองละแวกหลายๆครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ปี ทำให้กรุงอโยธยาจำต้องปรับเปลี่ยนระบบการป้องกันโดยทำการสร้างกำแพงต่อเติมให้ติดแม่น้ำและขยายกำแพงเมืองให้ออกห่างจากพระบรมมหาราชวังให้มากขึ้น

หลังจากการโจมตีครั้งที่แล้วไม่สำเร็จผลทัพเมืองละแวกได้ยกกลับเข้ามาใหม่ครานี้เมืองเพชรบุรีไม่สามารถต้านทานทัพละแวกได้จึงต้องเสียเมืองลงไปในปี ๒๑๒๔ รวมทั้งกวาดต้อนครัวไทยไปมากมายในแถบบริเวณชายแดนฝั่งตะวันออกไปอย่างต่อเนื่อง

ในปี ๒๑๒๘ เมืองละแวกส่งราชสาร์สเจริญทางไมตรีต่ออโยธยาเหตุเพราะเกรงกลัวกองทัพอโยธยาหลังจากการประกาศอิสรภาพกองทัพอโยธยากลับมีกำลังกล้าแข็งมากขึ้น อโยธยาเองก็มีศึกติดพันกับหงสาวดีทำให้ต้องยอมรับไมตรีกับเมืองละแวก

ปีถัดมาพระยาละแวกส่งพระอนุชาพระศรีสุพรรณมาธิราชมาช่วยราชการศึกอโยธยากับหงสาวดีแต่ทางอโยธยาให้ยั้งทัพไว้ก่อนไม่ต้องไปรบ เมื่อกองทัพอโยธยามีชัยกลับมา ขบวนเสด็จสมเด็จพระนเรศวรเสด็จผ่านกองทัพพระศรีสุพรรณ แต่พระศรีสุพรรณกลับมิทำความเคารพเฉกเช่นทหาร ประชาชนทั้งปวง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธให้จับเอาเชลยศึกตัดหัวแล้วส่งไปให้พระศรีสุพรรณ เมื่อพะศรีสุพรรณกลับไปยังเมืองละแวกก็นำเรื่องดังกล่าวทูลพระยาละแวก ทางเขมรจึงตัดไมตรีกับอโยธยาในทันที

ปี ๒๑๓๐ กองทัพพระยาละแวกกลับมาโจมตีอโยธยาอีกครั้งครานี้กองทัพสมเด็จพระนเรศวรสามารถตามตีกลัไปจนถึงเมืองหลวงได้ แม้ว่าไม่สามารถเอาชัยได้แต่ก็ต้อนวัว ควาย เชลย มาได้มากมายเหมือนกัน

ปี ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปเอาเมืองละแวก ทรงจับตัวพระศรีสพรรณได้และในพงศาวดารยังบันทึกไว้ว่าทรงจับพระยาละแวกได้ด้วยและจัดพิธีปฐมกรรมพระยาละแวก คือการตัดศรีษะแล้วเอาโลหิตมาล้างพระบาท ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนมากยังกังขาในเรื่องพิธีปฐมกรรมอยู่มากว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ บ้างก็ว่าพระยาละแวกหนีไปได้ แต่อย่างไรก็ตามสงครามครั้งนั้นก็นับได้ว่าเป็นการปิดฉากพระยาละแวก ศัตรูผู้ฉวยโอกาสยามที่เราตกที่นั่งลำบาก ไปได้อีกคนหนึ่ง!!!!


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 10 ธันวาคม 2552 / 12:59
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 10 ธันวาคม 2552 / 14:51
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 10 ธันวาคม 2552 / 14:50
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 10 ธันวาคม 2552 / 14:48
แก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อ : วันที่ 29 มีนาคม 2556 เวลา 11:16 น.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระยาละแวก ศัตรูตลอดกาลในพงศาดารอยุธยา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 08:52:58 pm »
พญาละแวกบรรพบุรุษเขมรผู้ขลาดเขลา

พญาละแวกบรรพบุรุษเขมรผู้ขลาดเขลา

พญาละแวกบรรพบุรุษเขมรผู้ขลาดเขลา

-http://www.youtube.com/watch?v=LgIIpQPMfKo-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระยาละแวก ศัตรูตลอดกาลในพงศาดารอยุธยา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 08:55:34 pm »
บทความ ประวัติศาตร์2ทางพระยาละแวกอาจไม่ได้ถูกพระนเรศวรปฐมกรรม(บันทึกของสเปน)
-http://atcloud.com/stories/21881-

ข้อมูลที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้มีเจตนาให้เห็นประวัติศาสตร์2ทางเป็นบทความของ ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช ซึ่งเป็นการค้นคว้าและวิจัยประวัติศาสตร์ในรัชสมัย พระนเรศวร โดยที่รายละเอียดทั้งหมดในบทความนี้ เป็นการวิเคราะห์การสงครามระหว่าง พระนเรศวร ( พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ) กับ พระยาละแวก ( พระเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา ) ซึ่งแตกต่างไปจากความรับรู้ทางประวัติศาสตร์แบบเดิมๆที่ว่า พระนเรศวร ได้ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมต่อ พระยาละแวก ( นำพระโลหิตของ พระยาละแวก มาล้างพระบาทของ พระนเรศวร ) แต่บทความชิ้นนี้ของ ศาตราจารย์ ขจร สุขพานิช ได้ชี้ให้เห็นว่า พระนเรศวร ไม่ได้ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมต่อ พระยาละแวก เนื่องจาก พระยาละแวก ได้ทรงหลบหนีออกจากพระนครละแวกธานี ก่อนที่พระนเรศวรจะบุกยึด นครละแวกธานี ซึ่งอาจารย์ ขจร สุขพานิช ได้นำหลักฐานของสเปนมาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ช่วงนี้มิใด้มีเจตนาลบหลู่แต่ประการใด




 บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

(ผมในที่นี้ไม่ใช่ผมboi9999แต่คือศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช )

ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติฯ ลงข้อความสั้น ๆ เกี่ยวกับสงครามกับพระยาละแวกครั้งนั้นว่า
“ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก…ณ วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัย ตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณ ในวันอาทิตย์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ นั้น”
และในพงศาวดารเขมร (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑) ลงข้อความเรื่องเดียวกันว่า
“ลุ ศักราช ๙๕๕ ศกมะเส็ง นักษัตรได้ ๒ เดือน… จึงสมเด็จพระนเรศวรพระเจ้ากรุงไทยยกกองทัพไพร่พล ๕ หมื่นมารบกับพระองค์ (คือพระสัตถาหรือพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี) พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับสมเด็จพระราชบุตรทั้ง ๒ หนีไปอยู่เมืองศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๙๕๖ ศกมะเมียนักษัตร…พระองค์พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ไปเมืองลาว ฝ่ายพระองค์บรมบพิตร เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๗ ศกมะแมนักษัตร พระชันษาได้ ๔๓ ปี พระไชยเชษฐาพระราชบุตรใหญ่ เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตร พระชันษาได้ ๒๓ ปี นักองค์บรมบพิตรทั้งสองพระองค์สุรคตอยู่ที่เมืองลาว ยังแต่พระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระอนุชา พระชันษาได้ ๑๘ ปี อยู่เมืองลาว…ฝ่ายสมเด็จพระศรีสุพรรณผู้เป็นพระอนุชา… ครั้งนั้นจึงพระนเรศวรเป็นเจ้าไพระองค์กับพระราชบุตรแล้วกวาดต้อนตัวเขมรไปเป็นอันมาก ลุ ศักราช ๙๕๖
ศกมะเมีย นักษัตรเดือน ๓ จึงพระนเรศวรเป็นเจ้านำพระองค์ไปกรุงศรีอยุธยาให้แต่พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่รั้งอยู่อุดงฦๅไชย…”

จากหลักฐานทั้งของไทยและของเขมรนี้ได้ความตรงกันว่า
๑. ในปีจุลศักราช ๙๕๕ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองละแวก จับพระศรีสุพรรณพระอนุชาของพระยาละแวกได้ จึงนำตัวมาที่กรุงศรีอยุธยา
๒. สำหรับตัวพระยาละแวกนั้นจากหลักฐานของไทยมิได้ระบุถึง แต่หลักฐานของเขมรระบุว่า พระองค์หนีไปได้ไปพิงพักอยู่เมืองลาวพร้อมด้วยพระมเหสีและโอรสอีก ๒ องค์ และอีก ๓ ปีต่อมาคือในจุลศักราช ๙๕๘ พระยาละแวกและโอรสองค์โตก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองลาวนั้น
พงศาวดารเขมรยังได้กล่าวต่อไปว่า
“ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตรมีฝรั่งคนหนึ่งชื่อละวิศเวโล…ฝรั่งนั้นไปเชิยพระบรมราชา ผู้เป็นพระราชบุตรน้อยของพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีมาจากเมืองลาว เมื่อศักราช ๙๕๙ ศกระกานักษัตร…ลงมาทรงราชย์อยู่ ณ เมือง ศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๖๗๑ ศกกุนนักษัตร… จึงมีจามชื่อโปรัตกับแขกชื่อฬะสะมะนา ลอบฆ่าพระองค์สุรคต… จึงสมเด็จพระเทวีกษัตริย์เป็นสมเด็จพระอัยกี พระองค์ให้ราชสาส์นไปขอสมเด็จพระศรีสุพรรณ ผู้เป็นพระภัคินีโยแต่งกรุงศรีอยุธยา… จึงพระเจ้ากรุงไทยปล่อยให้สมเด็จพระศรีสุพรรณมาจากกรุงไทย มาทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียม ณ เกาะสาเกดในปีฉลูนั้น จึงสมเด็จพระเทวีกษัตริย์ผู้เป็นพระมาตุจฉา…พระนางให้ไปขอพระไชยเชษฐาเป็นพระราชบุตรผู้น้องแต่พระเจ้ากรุงไทย จึงพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มา แล้วพระองค์ให้สมเด็จพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ปราบบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยราบสิ้นแล้ว พระองค์ไปสถิตอยู่ที่เมืองละวาเอมแขวงเมืองพนมเพ็ญ เมื่อศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตร”


การที่ฝรั่งชื่อละวิศเวโลไปเชิยพระราชโอรสองค์น้อยของพระยาละแวกมาจากเมืองลาวมาให้ขึ้นครองเป็นกษัตริย์กัมพูชา และต่อมาสมเด็จพระเทวีเป็นสมเด็จพระอัยกีส่งพระราชสาส์นมาขอสมเด็จพระศรีสุพรรณจากพระเจ้ากรุงไทยที่กรุงศรีอยุธยา พระเจ้ากรุงไทยก็พระราชทานพระศรีสุพรรณไปทรงราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐมิได้กล่าวไว้ ส่วนที่พระนางให้ไปขอสมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นพระราชบุตรของพระศรีสุพรรณแต่พระเจ้ากรุงไทยและพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มากขึ้น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐระบุว่า
“ศักราช ๙๖๕ เถาะศก ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้ เรื่องที่พงศาวดารเขมรบันทึกว่า สมเด็จพระเทวีให้มาทูลสมเด็จพระไชยเชษฐาผู้เป็นราชบุตรของสมเด็จพระศรีสุพรรณเป็นเรื่องราวอยู่ในจุลศักราช ๙๖๕ ศกฉลูนักษัตร และจุลศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตร (ที่ถูกควรเป็นกุน) พระราชพงศาวดารกรุงเก่าของเราระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นจุลศักราช ๙๖๕ เถาะศก และถ้าพระเจ้าฝ่ายหน้าในหลักฐานของเราเป็นคน ๆ เดียวกันกับพระไชยเชษฐา พระราชบุตรของพระศรีสุพรรณกษัตริย์เขมรตามหลักฐานของพงศาวดารเขมร คือสงสัยที่ว่า “พระเจ้าฝ่ายหน้า” นี้จะเป็นผู้ใดก็จะตอบได้ในตัวว่าคือเป็นพระเจ้าฝ่ายหน้าของกรุงกัมพูชา หาใช่พระเจ้าฝ่ายหน้าของกรุงศรีอยุธยาไม่
ต่อไปนี้ขอเชิญพิจารณาหลักฐานของสเปนเกี่ยวกับสงครามพระยาละแวก ดังปรากฎอยู่ในจดหมายเหตุของ ดร.อันโตนิโอ เดอมอร์ก้าได้ต่อไป
หลักฐานนี้ ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า รองผู้สำเร็จราชการหมู่เกาะฟิลิปปินส์เขียนไว้เป็นภาษาสเปน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. ๑๖๐๘ ที่เมือง San Geronimo อเมริกาใต้ตรงกับปีที่ ๓-๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ มีคนแปลออกเป็นหลายภาษาเฉพาะฉบับภาษาอังกฤษชื่อ Hon. Henry E.J. Stanley เฉพาะเรื่องราวพระยาละแวกในรัชกาลสมเด็จพระนเรศ



หน้า ๔๓ “ในระหว่าง ค.ศ. ๑๕๙๔ ดอน หลุยส์ (เดอ เวลาสโก้) เป็นผู้สำเร็จราชการ (หมู่เกาะฟิลิปปินส์) มีเรือสำเภาลำใหญ่มาทอดสมออยู่ที่ฟิลิปปินส์ (เมืองมนิลา) มีคนโดยสารเป็นคนเขมร คนไทย คนจีน ชาติละ ๓-๔ คน (a few Gonzales) และมีคนในบังคับสเปน ๓ คน คนหนึ่งเป็นชาวเมือง คาสตีล ชื่อ Blas Ruyz Hernan อีก ๒ คนเป็นชาวปอร์ตุเกส ชื่อ Pontaleon Carnero และ Antonio Machado.
เมื่อคนเหล่านี้อยู่ในราชอาณาจักรกัมพูชาที่เมืองจัตุรมุข กับพระเจ้า Langara (ละแวก) กษัตริย์กัมพูชานั้น พระเจ้าแผ่นดินสยามกรีฑาทัพมาโจมตีพระองค์ด้วยรี้พลและ (กองทัพ) ช้างมากมาย ยึดพระนคร พระราชวัง และพระคลังสมบัติได้ พระเจ้ากัมพูชาจึงเสด็จหนีไปเมืองเหนือจนถึงอาณาจักรลาวพร้อมด้วยพระมเหสี พระมารดา พระขนิษฐา พระธิดา และพระโอรสสองพระองค์
พระเจ้ากรุงสยามเสด็จยกทัพกลับราชอาณาจักรของพระองค์ โดยทรงมอบหมายให้นายทหารอยู่รักษาบ้านเมือง (กัมพูชาที่ทรงตีได้) ส่วนทรัพย์สิ่งของที่ทรงนำไปทางบกไม่ได้ พระองค์ก็ทรงส่งกลับโดยทางทะเล”
หนังสือนี้เล่ารายละเอียดพิสดารต่อไปจนถึงหน้า ๒๒๓ เป็นเรื่องราวของพระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชาพระยาละแวกว่า
หน้า ๒๒๓ “กษัตริย์องค์ใหม่ของกัมพูชาพระองค์นี้ ตกเป็นเชลยศึกของพระเจ้าแผ่นดินสยาม แต่เสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุการณ์พิสดารและการผจญภัยนานาประการ”
ระหว่างหน้า ๔๓–๒๒๓ มีเรื่องราวสำคัญเล่าไว้ดังจะระบุอย่างย่อ ๆ ดังนี้
หน้า ๔๗ …เรือสเปน ๓ ลำ บรรทุกทหารชาติสเปน ญี่ปุ่น และชาวเกาะ ๑๒๐ คน มาถึงเมืองจตุรมุข (กัมพูชา) ใน ค.ศ. ๑๕๙๖ จึงได้ทราบว่า ขุนนางไพร่พลเขมรได้ขับไล่กองทัพไทยที่ยึดครองอยู่ให้พ่ายแพ้ถอยออกไปนอกพระราชอาณาจักรแล้ว


หน้า ๕๐–๕๑… พวกสเปนสืบได้ความว่า พระยาละแวกเสด็จอยู่ในประเทศลาว จึงออกติดตามเพื่ออัญเชิญให้เสด็จกลับกรุงกัมพูชา พวกหนึ่งไปทางบก พวกหนึ่งไปทางเรือจนถึงเมืองตังเกี๋ย แล้วเดินบกไปประเทศลาวจนถึงนครหลวงของลาว (เขียนชื่อไว้ว่า Alanchan) จึงได้ทราบว่าพระยาละแวกสวรรคตที่นั่น พระโอรสองศ์ใหญ่และพระธิดาก็สิ้นพระชนม์ด้วย เหลืออยู่แต่โอรสอีกองศ์หนึ่งมีชื่อว่า Prauncar กับพระมารดาเลี้ยงพระอัยยิกา และพระมาตุฉาหลายพระองค์ (ไม่บอกจำนวน) จึงอัญเชิญท่านเหล่านี้ลงเรือ ล่องลงมาตามลำน้ำ (โขง) จนเข้าเขตแดนกัมพูชา เมื่อ Prauncar ปราบปรามยุคเข็ญเกือบเสร็จสิ้นแล้วก็ได้เสด็จขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (ทรงพระนามสุธรรมราชา)
หน้า ๙๒–๙๓… ลงคำแปลพระราชสาส์นของกษัตริย์เขมร องค์ที่ระบุชื่อ Prauncar (เห็นจะเป็นพระสุธรรมราชาในพงศาวดารเขมร) ถึง ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า ยกย่องว่านายทหารสเปน ๒ คน ซึ่งออกติดตามพระราชบิดาของพระองค์ท่านจนถึงเมืองหลวงของประเทศลาวและได้นำพระองค์กลับมาครองกรุงกัมพูชาสืบไปพระองค์จึงพระราชทานยศชั้น เจ้าพระยา ให้ทั้ง ๒ คน และให้กินเมืองด้วย นายทหารชื่อ Don Bas Castino ทรงให้กินเมืองตรัน และนายทหารชื่อ Don Diego Portugal ให้กินเมือง Bapano
หน้า ๙๓–๑๑๒… เป็นจดหมายของ Blas Ruyz be Hurnan Ghnzales เขียนถึงรองผู้สำเร็จราชการเดอมอร์ก้า เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรกัมพูชาไว้อย่างยืดยาวยืนยันเรื่องราวการติดตามพระยาละแวกจนถึงเมืองลานช้าง (Lanchan) อันเป็นเมืองหลวงของลาว “เมื่อเรามาถึง กษัตริย์กัมพูชาที่ทรงชราแล้วได้สวรรคตเสียก่อน พระราชธิดาและโอรสองค์ใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ด้วย (หน้า ๙๙) นอกนั้นก็กล่าวเช่นเดียวกับเรื่องราวของ Don Bas และ Don Diego



หน้า ๑๓๖–๑๓๗… เล่าเรื่องลักษมานากับพวกรบพุ่งกับสเปนจนพวกสเปนต้องพ่ายแพ้ และลักษมานาปลงพระชนม์ King Prauncar คือ พระสุธรรมราชาด้วย (ตรงกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายไว้ (หน้า ๔๕๒) เล่ม ๑ ตอน ๒ ว่า “สุธรรมราชาทรงราชย์อยู่ ๓ ปี… มีจามคนหนึ่งชื่อโปรัดกับแขกชื่อลักษมานาลอบปลงพระชนม์พระสุธรรมราชาเสีย…”
หน้า ๒๒๒–๒๒๓… เล่าเรื่องขุนนางเขมรปราบลักษมานาได้แล้ว บ้านเมืองก็ยังไม่ปกติสุขจึงส่งฑูตมากรุงศรีอยุธยาทูลขอพระศรีสุพรรณมาธิราชไปครอบครองกรุงกัมพูชาพระเจ้าแผ่นดิน (สมเด็จพระนเรศวร) จึงโปรดให้กองทหารจำนวน ๖,๐๐๐ คน แห่แหนพระศรีสุพรรณมาธิราชกลับไปครองกรุงกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๖๐๓ (ศักราชนี้ หรือ จุลศักราช ๙๖๕ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐระบุว่า “ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้” พระเจ้าฝ่ายหน้าจึงน่าจะหมายถึงพระศรีสุพรรณมาธิราชนี่กระมัง
เรื่องศึกสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตีเมืองละแวกครั้งนี้ (ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๕๕ ค.ศ. ๑๕๙๓) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (โอเดียนสโตร์) เล่ม ๑ ตอน ๒ หน้า ๔๐๙ ว่า “หนังสือพงศาวดารเขมรลงศักราชถูกต้องกับต้นฉบับหลวงประเสริฐ แต่ไม่กล่าวถึงเรื่องจับนักพระสัฎฐาได้ เป็นแต่ว่าสมเด็จพระนเรศวรจับพระศรีสุพรรณมาธิราช กับพระราชเทพีราชบุตร และกวาดต้อนครัวเขมรมาเป็นอันมาก และว่าสมเด็จพระนเรศวรให้พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่อยู่รักษากรุงกัมพูชาที่เมืองอุดง” ส่วนเรื่องตั้งพระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชานั้น พระองค์ทรงอธิบายไว้ว่า (หน้า ๔๕๑) “…พระสุธรรมราชาเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย พระยาเขมรมีใบบอกเข้ามาขอพวกศรีสุพรรณมาธิราช น้องพระยาลาแวกนักพระสัฎฐา ที่จับเอาเข้ามาไว้ในกรุงศรีอยุธยาไปครองกรุงกัมพูชาเมื่อปีขาล จุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕…”


เอกสาร เดอ มอร์ก้า นี เป็นเรื่องราวของชาวสเปนหลายคน ที่ออกมารบพุ่งแสวงหาโชคลาภในประเทศเขมร แล้วต่างก็รายงานไปยังกรุงมนิลา ดร. อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า เป็นเพียงผู้รวบรวมเรื่องราวเหล่านี้ตีพิมพ์ขึ้น จึงเห็นได้ว่า เรื่องพระยาละแวกมิได้ถูกปฐมกรรม ไม่ใช่ฝรั่งเพียงคนเดียวเขียนไว้ แต่เป็นเรื่องราวของฝรั่งหลายสิบคนออกไปแสวงหาโชคลาภในประเทศเขมรเขียนรายงานไปยังกรุงมนิลา และที่มีน้ำหนักเป็นพิเศษก็คือ พระราชสาส์นของกษัตริย์เขมร (พระสุธรรมราชา) ทรงมีไปยืนยันการกระทำของฝรั่งพวกนี้ว่า ได้ติดตามไปเฝ้าพระราชบิดา (พระยาละแวก) ถึงเวียงจันทน์ แต่พระยาละแวกสวรรคตเสียก่อนฝรั่งพวกนี้ไปถึง
เอกสารของ เดอ มอร์ก้า นี้ นอกจากจะยืนยันเรื่องราวดังปรากฎในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ในเรื่องไทยตีเมืองละแวกได้ เมื่อ ค.ศ. ๑๕๙๓ แล้ว ยังยืนยันในเรื่องสมเด็จพระนเรศวรทรงอภิเษก พระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชาพระยาละแวกให้ได้กลับไปครองกรุงกัมพูชา ใน ค.ศ. ๑๖๐๓ อีกด้วย
เฉพาะในเรื่องสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชนี้ ฉบับหลวงประเสริฐระบุพระนามว่า “พระเจ้าฝ่ายหน้า” ซึ่งเป็นปัญหาแก่นักศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมานานปีว่า จะหมายถึงผู้ใด คือจะหมายถึง สมเด็จพระเอกาทศรฐ (ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงน ทรงเชื่อหรือจะหมายถึงพระราชโอรสของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งมีนักศึกษาบางคนเริ่มสงสัยเช่นนั้น แต่เอกสาร เดอ เมอร์ก้าให้ความกระจ่างในปัญหานี้ ทำให้น่าเชื่อว่า “พระเจ้าฝ่ายหน้า” หมายถึง วังหน้าของกัมพูชาคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราช เพราะสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นอนุชาพระยาละแวกเป็น “พระเจ้าฝ่ายหน้า” ของกรุงกัมพูชาไม่ใช่หมายถึงเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา

บันทึกเพิ่มเติม
เอกสารของ อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า (ตีพิมพ์เป็นภาษาสเปน เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๖๐๘) ตามฉบับแปลภาษาอังกฤษของ สแตนเลย์ มีเรื่องสำคัญดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าได้รับคำแปลนี้ตั้งแต่หน้า ๔๒–๒๒๓ ก็จริง แต่ตอนกลางระหว่างหน้า ๑๑๔–๑๑๙ และระหว่างหน้า ๑๓๘–๒๑๙ ทางกรุงลอนดอนไม่ได้ถ่ายมาให้ จึงจำต้องรอจนกว่าจะได้เพิ่มเติมมาจนครบ
วันนี้เอง ข้าพเจ้าได้รับเอกสารที่เขาส่งมาให้ใหม่ เป็นคำแปลเอกสารนี้รุ่นใหม่ของคนอื่น อยู่ในหนังสือชุดของ Blair & Robertson ข้าพเจ้ายังไม่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับฉบับแปลของสแตนเลย์ แต่คาดว่าในการประชุมคราวหน้า ข้าพเจ้าคงจะได้ทำการศึกษาแล้วพร้อมทั้งทำบันทึกเสนอให้คณะกรรมการฯ ทราบต่อไป
เมื่อพิจารณาข้อความในพระราชพงศาวดาร ฯ ฉบับหลวงประเสริฐ เกี่ยวกับเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ฯ มีเรื่องจับตัวพระศรีสุพรรณ ฯ ได้ และนำมากรุงศรีอยุธยาและเรื่อง “พระเจ้าฝ่ายหน้า” ยกทัพไปเอาเมืองขอมได้ แต่ไม่ปรากฎมีการระบุพระนามพระศรีสุพรรณ ฯ ว่าเสด็จกลับไปครองกัมพูชา
แต่พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ โดยเฉพาะฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุเรื่องจับตัวพระศรีสุพรรณ ฯ ได้ (ฉบับที่อ้างหน้า ๑๘๕) ระบุการทูลขอพระศรีสุพรรณฯ ไปครองกัมพูชา (หน้า ๒๕๓) และยังระบุเรื่อง “พระมหาธรรมราชา ราชโอรสยกทัพไปตีพระยาอ่อน (หน้า ๒๕๔)
ข้อความตอนนี้มีว่า “พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งทัพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา… ยกทัพไปโดยทางโพธิสัตว์” ข้อความที่ชัดเจนก็คือ สมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ หมายถึง พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ส่วนข้อความที่คลุมเครือก็คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา” จะเป็นพระเจ้าลูกเธอของใคร ?
เอกสารของ เดอ มอร์ก้า ฉบับแปลของสแตนเลย์ เท่าที่มีอยู่ในมือไม่อธิบายปัญหาข้อนี้ พระราชพงศาวดาร ฯ ฉบับพระราชหัตถเลขา ก็มีใจความคลุมเครือ ส่วนฉบับหลวงประเสริฐก็ไม่ให้ความกระจ่างในถ้อยคำที่ว่า “พระเจ้าฝ่ายหน้า” คือใคร ใจความกระจ่างก็ต่อเมื่อพิจารณาเรื่องราวจากพงศาวดารเขมร (ฉบับที่อ้าง) คือพงศาวดารเขมรอธิบายว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาส่งพระศรีสุพรรณ ฯ ไปให้แล้ว ทางกรุงกัมพูชายังทูลขอบุคคลอีกคนหนึ่ง ระบุพระนามว่า “พระไชยเชษฐา” แลว่า “เป็นพระราชบุตรผู้น้อง” ท่านผู้นี้ ได้ร่วมกับพระศรีสุพรรณ ฯ ปราบปรามความวุ่นวายในกัมพูชา จนสงบราบคาบ พระศรีสุพรรณ ฯ จึงได้ขึ้นครองราชย์ ในจุลศักราช ๙๖๓ ต่อมาอีก ๑๘ ปี จึงเวนคืนราชสมบัติให้บุคคลผู้นี้ขึ้นครองราชย์ ในจุลศักราช ๙๘๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยเชษฐา
ท่านผู้นี้คือ “พระเจ้าฝ่ายหน้า” (ตามฉบับหลวงประเสริฐ) หรือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา” (ตามฉบับอื่น ๆ) คือเป็นฝ่ายหน้า หรือลูกเธอของกรุงกัมพูชาไม่ใช่ของกรุงศรีอยุธยา

ดูข้อมูลละเอียดที่
-http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=shalawan&topic=916-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระยาละแวก ศัตรูตลอดกาลในพงศาดารอยุธยา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 08:57:11 pm »
.

โดยส่วนตัว ผมเองเกลียด  พระยาละแวก มากครับ

ที่แอบลอบกัดไทยเราบ่อยมาก

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)