ผู้เขียน หัวข้อ: บทสนทนาระหว่าง กิมย้ง และ ไดซากุ อิเคดะ  (อ่าน 2989 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
 
* ภาพกิมย้ง ปราชญ์ หนังจีนกำลังภายใน



กิมย้งกับเหตุแห่งความเป็นพุทธมามกะ



ที่มา: หนังสือบทสนทนาระหว่างกิมย้ง และ ไดซากุ อิเคดะ
โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
พิมพ์ปี 1998 เดือน ธันวาคม


กิมย้ง ( 1924-ยังมีชีวิตอยู่ ): นักประพันธ์นิยายกำลังภายในชาวจีน ชื่อจริง จาเหลียงยง หรือรู้จักในโลกตะวันตกว่า Louis Cha นิยายที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ มังกรหยก แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฯลฯ
อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Jin_Yong
ไดซากุ อิเคดะ ( 1928-ยังมีชีวิตอยู่ ): ประธานโซคางักไกนานาชาติ
อ่านประวัติพอสังเขปที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Daisaku_Ikeda


เกริ่นนำ

บทสนทนานี้ ได้ถอดความจากส่วนเล็กๆในหนังสือที่อ้างด้านบน เนื่องจากผมเห็นว่าน่าสนใจในเชิงเนื้อหา อีกทั้งแฟนๆของกิมย้งในเมืองไทยก็ไม่น้อย การได้รู้มุมมองในพุทธศาสนาของท่าน คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ส่วนตัวของผู้แปลนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทอย่างซื่อตรง พร้อมทั้งศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนาพากย์จีนเป็นส่วนเสริม ( ทั้งนิกายเริ่มแรกและมหายาน ) อีกทั้ง เมื่อยังเด็ก มีความหลงไหลในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ( ทั้งภาพยนต์ และ หนังสือ ) อยู่พอควร

หลังจากได้อ่านบทสนทนาชิ้นนี้แล้ว รู้สึกชื่นชมในการเลือกอ่านพระสูตรของกิมย้ง โดยเฉพาะการสนใจในพุทธดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา ( อนึ่ง ปัจจุบันกระแสการเรียนรู้คัมภีร์บาลีในหมู่ชาวจีนมีมากขึ้น อีกทั้งมักจะนำไปเทียบเคียงกับพระสูตรใกล้เคียงที่เหลืออยู่ในพากย์จีน โดยเฉพาะชุดที่เรียกว่า “อาคม 4” ) แล้วจึงศึกษามหายานเพิ่มเติมภายหลัง ส่งผลให้มีมุมมองที่ลึกซึ้งในพุทธธรรม

ในส่วนของสมาคมโซคางักไกนั้น เป็นที่ทราบว่าถือคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นพระสูตรหลัก
ในความเห็นของผู้แปล ถึงแม้ว่าตัวกิมย้งเอง ในบทสนทนาดูจะมีความคล้อยตามคู่สนทนาในบางจุดเกี่ยวกับพระสูตรมหายาน ทว่าในส่วนของคัมภีร์มหายานพากย์จีน จริตท่านกลับมาลงรอยในเรื่องปรัชญามาธยมิก หรือ หลักสุญญตาของท่านนาคารชุนที่ดูจะใกล้เคียงกับเรื่องอนัตตาในพุทธเถรวาทของเรา ( ช่นเดียวกัน อ.เสถียร โพธินันทะ ที่ท่านได้กล่าวสรุปไว้ในหนังสือ “ปรัชญามหายาน” หน้า 299-300 ว่า “ข้าพเจ้าไม่เป็นพุทธศาสนิกชนสังกัดนิกาย ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธองค์เป็นพระบิดาทางใจ เลื่อมใสได้ทุกนิกาย ข้าพเจ้าเป็นทั้งพุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานและมหายาน เวลาสวดมนต์ก็สวดทั้งพระสูตรบาลีและสันสกฤตของมหายาน ที่บูชาภายในบ้านของข้าพเจ้ามีพระพุทธรูปมหายาน และ พระโพธิสัตว์มหายานประดิษฐานไว้บูชาด้วย แต่ในด้านความเลื่อมใสในหลักธรรมโดยส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าเลื่อมใสหลักธรรมของฝ่ายเถรวาท ในทางมหายานข้าพเจ้าเลื่อมใสปรัชญาของนาคารชุน และในทางเวทมนตร์ ช้าพเจ้าเลื่อมในธารณีของมนตรยาน พุทธศาสนิกชนไม่ควรยึดถือในเรื่องพรรค พวกนิกาย นี้เป็นคำสรุปของข้าพเข้า” )


หวังว่าบทสนทนานี้ คงให้อรรถรสในการอ่านพอควร
ศริน
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสนทนาระหว่าง กิมย้ง และ ไดซากุ อิเคดะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 09:32:10 pm »



*ภาพท่าน ไดซากุ อิเคดะ ปราชญ์ชาวพุทธ มหายาน นิกายนิจิเรน





การเป็นพุทธมามกะกับปัญหาเรื่องความเกิดและความตาย


........


ไดซากุ อิเคดะ: เราพึ่งคุยถึงในประเด็นเรื่องพระพุทธศาสนา คุณกิมย้งก็เป็นผู้นับถือพุทธ อีกทั้งยังได้ผลในการปฏิบัติ ช่วยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ทำให้คุณเป็นพุทธมามกะ


กิมย้ง: ที่ผมเข้ามานับถือพุทธนั้น ใช่ว่าได้รับคำแนะนำหรือโน้มน้าวจากพระภิกษุหรืออุบาสกอุบาสิกาท่านใดไม่ ทว่าเป็นเรื่องของประสบการณ์อันน่าพิศวง อีกทั้งการต้องข้ามผ่านความทุกข์สุดรำเค็ญในชีวิตด้วยตนเอง


ไดซากุ อิเคดะ: เชิญคุณเล่าแจ้ง


กิมย้ง: เมื่อเดือนตุลาคม ค..1976 ( ..2519 ) ลูกชายคนโตของผม ( ชื่อฉวนเสีย เป็นลูกที่เกิดกับภรรยาคนที่สอง โดยที่กิมย้งได้แต่งแล้วเลิกเลิกแล้วแต่ง จำนวน 3 ครั้ง : ผู้แปล) ที่อายุเพิ่ง 19 ได้กระทำอัตตวินิบาต ( ฆ่าตัวตาย ) ในขณะศึกษาที่มหาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค เรื่องนี้ทำให้ผมประหนึ่งเสมือนถูกสายฟ้าฟาด สร้างความทุกข์ทางใจอย่างมากจนอยากจะฆ่าตัวตายตกตามไป ช่วงเวลานั้นในใจมีแต่วิจิกิจฉาอันร้อนเร่าว่า “ทำไมต้องทำร้ายตัวเอง ทำไมถึงรังเกียจการมีชีวิตถึงเพียงนี้” ผมอยากจะตามไปปรภพถามลูกชายด้วยตนเอง ให้เค้าตอบคำถามนี้กับผม


ไดซากุ อิเคดะ: นี่กลับเป็นครั้งแรกที่ผมได้ฟังเรื่องนี้ ภาวะจิตใจที่สูญเสียบุตรไป จะมีแต่พ่อแม่นี่แหละที่จะเข้าใจ ผมเองก็เช่นกัน เคยเสียบุตรคนที่สอง อาจารย์ของผม ( โทดะ เซนไซ ) ก็เช่นกัน ได้สูญเสียบุตรสาวไปก่อนวัยอันควรด้วยวัยเพียงหนื่งขวบ ซึ่งเป็นเรื่องก่อนที่เค้าจะมานับถือพุทธ ท่านรำลึกให้ฟังว่า “ตลอดทั้งคืน ผมกอดร่างบุตรสาวที่เย็นยะเยือกพร้อมทั้งร่ำไห้” ไม่นานหลังจากนั้น คู่ชีวิตก็ยังมาลาจากโลกไป เหตุการณ์เหล่านี้ เป็นเหตุให้ท่านจริงจังกับการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับปัญหา “ความตาย”


กิมย้ง: หลังจากนั้นประมาณหนึ่งปีเศษ ผมเพียรอ่านหนังสือจำนวนนับไม่ถ้วน พยายามค้นคว้าเกี่ยวกับความลึกลับในเรื่อง “ความเกิดและความตาย” ในระหว่างการเที่ยวหาอย่างพินิจพิเคราะห์นั้น ได้พบหนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า “ผู้ข้องเกี่ยวกับความตาย” ( Man Concern with Death ) ในเนื้อหานั้น มีบทความยาวชิ้นหนึ่งของดอกเตอร์ทอยน์บี ( Arnold Joseph Toynbee ) ที่เนื่องด้วยความตาย บทความนี้มีความคิดเห็นที่จุดประกายจิตวิญญาณอยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังไม่สามารถตอบคำถามเรื่องความเกิดและความตายที่ยังค้างคาอยู่ในใจไปได้ ผมจึงคิดได้ว่า ปัญหานี้ จริงแล้วจะหาคำตอบได้จากศาสนาเท่านั้น สมัยผมยังเรียนอยู่มัธยมปลาย ได้เคยอ่านพระคัมภีร์เก่าของคริสตศาสนา ( หรือ พันธสัญญาเดิม The Old Testament : ผู้แปล) ตั้งแต่ต้นจนจบ ขณะนั้นรำลึกย้อนกลับถึงเนื้อหา พร้อมพิจารณาทวนไปทวนมาในเนื้อความ เป็นที่แน่ว่าคริสตศาสนาไม่ถูกกับจริตของผม จากนั้นอยู่ๆ ผมกลับคิดถึง ( หรือจะว่าความหวังลึกๆในใจ ) เรื่องสภาวะวิญญาณที่ไม่ดับสูญหลังความตาย ดังนั้นจึงมุ่งไปสู่คลังหนังสือพระพุทธศาสนาเพื่อหาคำตอบ


ไดซากุ อิเคดะ: อาจารย์โทดะก็ได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์หลังจากสูญเสียบุตรสาวและภรรยาได้ไม่นาน ทว่าท่านก็ยังมิถูกโน้มน้าวให้ก่อเกิดศรัทธาในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับชีวิต อีกทั้งไม่สามารถสร้างความกระจ่างและคลายความสงสัยไปได้ เช่นกัน รู้สึกว่าไม่ถูกจริต โดยเฉพาะเหตุผลหลักคือ ไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องความเกิดความตายได้แจ่มแจ้ง ในการพูดคุยครั้งนั้น เราทั้งสองก็ได้อ้างอิงถึง.... ( ชื่อปราชญ์ท่านหนึ่ง หาคำแปลจากจีนไม่ได้จริงๆ : ผู้แปล )....... “สำหรับปรัชญาตะวันออก อุปมาการเกิดตายก็เหมือนหนังสือหนึ่งเล่ม ซี่งแต่ละหนึ่งหน้า เมื่อเปิดผ่านไป หน้าถัดมาก็แสดงตนขึ้นอีก จะว่าอีกนัยคือเรื่องการเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด สลับไปมา” แต่สำหรับ “ปรัชญาตะวันตกแล้ว การเกิดเหมือนหนังสือทั้งเล่ม อ่านแต่ต้นจนจบ” ( ชีวิตเดียว เกิดทีเดียวตายหนเดียว : ผู้แปล)” “นี้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างปรัชญาทั้งสอง ในเรื่อง “ทัศนคติเกี่ยวกับความกิดและความตาย” คุณได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการคิดตรึกตรอง แน่นอนว่าไม่มีทางที่ให้ความพอใจในการมองชีวิตที่แท้ได้จริงจากหนังสือเพียงหนึ่งเล่มได้ ( จากการเทียบปรัชญาตะวันออก )” ทว่าความกว้างใหญ่ไพศาลในเนื้อหาคัมภีร์พุทธ มิใช่เพียงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ แต่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย


กิมย้ง: ใช่ครับ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาของจีนมันช่างมากมายจนนับไม่ถ้วน ทว่าเพียงหยิบจับเล่มที่เป็นเบื้องต้น กลับรู้สึกว่าเต็มไปด้วยเรื่องงมงายและเพ้อฝัน ไม่เหมาะกับจริตผมที่มักจะมองโลกตามความเป็นจริง ทว่า ผมก็ยังฝืนที่จะหามาอ่านต่อ จนเมื่อมีโอกาสอ่าน สังยุกตาคม <จ๋าอาหัน> มัธยามาคม <จงอาหัน> ทีรฆาคม <ฉางอาหัน> ( 3 พระสูตรนี้ ถือได้ว่าเป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับพระบาลีของเรา อันได้แก่ สังยุตตนิกาย มัชฌิมนิกาย และ ทีฆนิกาย ถือว่าเป็นพระสูตรในยุคต้นก่อนการก่อเกิดมหายาน โดย 2 พระสูตรแรกเป็นของนิกายสรวาสติวาทิน และสูตรสุดท้ายเป็นของนิกายธรรมคุปต์ อนึ่งคัมภีร์ต้นฉบับสันสกฤตปัจจุบัน “แทบจะ” เรียกได้ว่าไม่เหลือ ส่วนฉบับพากย์จีนได้รับการแปลในระยะ 800-1000 ปีหลังพุทธกาล: ผู้แปล )
หลายเดือนที่แทบไม่หลับไม่นอน ใช้ความอุตสาหะในการอ่าน ตรึกตรองเนื้อหา ระหว่างนี้ เกิดความรู้สึกในใจว่า “ความจริงอยู่ที่นี่เอง จักต้องเป็นเช่นนี้แน่แล้ว” อย่างไรก็ตาม คัมภีร์พุทธภาคจีนมีความยากและลึกมาก เพราะในการใช้จีนภาษาโบราณที่แปลจากอินเดียนั้น บางครั้งตัวหนังสือเพียงตัวเดียวกลับแฝงนัยยะในความหมายที่ต่างไป ไม่มีทางที่จะเข้าใจได้กระจ่าง ( ภาษาจีนเป็นรูปภาษาคำโดด อีกทั้งรูปแบบอักษรเป็นแบบรูปภาพแทนการใช้พยัญชนะ ในขณะที่ภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นรูปภาษามีวิภัติปัจจัย ฉะนั้น การแปลสันสกฤตเป็นจีน จึงเป็นปัญหามากสำหรับนักแปลในสมัยโบราณ เราจึงเห็นว่า คัมภีร์เดียวกัน หลังจากแปลเป็นพากย์จีนแล้ว การบัญญัติศัพท์มี่ความแตกต่างกันเสมอ ยกตัวอย่างการคงอรรถะอย่างคำเช่น ฉันทะ กับ ตัณหา ภาษาจีนใช้แทนคำว่า “อ้าย ( แปลว่าความรักในภาษาปัจจุบัน )” ในคำๆเดียวกัน หรือ กระทั่งการแปลพระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ก็มีความแตกต่างไปหลายสำนวน: ผู้แปล )
ฉะนั้น ผมได้สั่งซื้อพระไตรปิฎกเถรวาทฉบับแปลอังกฤษจากสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ( Pali Text Society ) ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความเก่าแก่ และ ใกล้เคียงกับที่พระศรีศากยมุนีได้แสดงธรรมไว้มากที่สุด เพราะได้ถูกรักษาไว้ในอินเดียใต้ จนถึงศรีลังกาฉะนั้นจึงเรียกว่า “พุทธแบบทักษิณนิกาย (หรือเถรวาทนิกาย : ผู้แปล)” ทว่า กลับถูกฝั่ง มหายาน และ มหายานนิกายต่างๆ เรียกอย่างดูถูกว่า “ฝ่ายหีนยาน ( “ยานที่เลว ยานที่ด้อย” ปัจจุบัน ในวงพุทธศาสนานานาชาติจะเลี่ยงใช้ เนื่องจากแสดงถึงสถานะที่ดูแคลน อนึ่งเราสามารถใช้คำแทนด้วยคำว่า “พุทธเถรวาท” ทว่า บางท่านอาจจะให้รูสึกว่าความหมายแคบ โดยคิดว่า เถรวาท เป็นเพียงหนึ่งใน 18 นิกายต้นๆ หลังพุทธปรินิพพาน แต่จริงๆ คำนี้หลายท่านใช้ครอบคลุมถึง “พุทธแบบดั้งเดิม” ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงนิกายย่อยต่างๆในเบื้องต้นด้วย : ผู้แปล )” สุดท้ายจึงเข้าใจได้ดังนี้


ไดซากุ อิเคดะ: สามารถเทียบเคียงระหว่างบาลีฉบับแปลอังกฤษและคัมภีร์ภาษาจีน ยิ่งลงลึกได้มากในการทำความเข้าใจ


กิมย้ง: ฉบับภาษาอังกฤษง่ายต่อการอ่านมากครับ พุทธแบบทักษิณนิกาย ( หรือเถรวาทนิกาย ) มีความธรรมดาและเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งมีความเข้าถึงความจริงในชีวิตอย่างมาก สถานะความรู้อย่างผมทำความเข้าใจได้ดี เกิดการยอมรับ พร้อมทั้งน้อมนำให้เกิดศรัทธาปสาทะ เชื่อในการบรรลุธรรมและมรรคาในการดำเนินชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นำมาสอนผู้คนในโลก ผมใช้เวลาในการไตร่ตรอง สอบทาน โต้แย้ง ค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายยอมรับด้วยใจจริงว่า พระพุทธศาสนาได้แก้ปมในใจ ตอบความสงสัย นำพาให้จิตใจเปี่ยมล้นไปด้วยปีติสุขอย่างไม่มีสิ้นสุด “ที่แท้เป็นเช่นนี้ ในที่สุดก็เข้าใจ” นับจากวันที่ทุกข์ที่สุดจนถึงการพบความสุขนี้ ต้องใช้เวลากว่าปีครึ่ง


ไดซากุ อิเคดะ: ผมยังอยากจะฟังภาวะจิตใจของคุณในครั้งนั้นต่อครับ


กิมย้ง: คล้อยหลังมา ผมกลับมาอ่านคัมภีร์มหายานต่างๆ เช่น วิมลเกียรตินิเทศสูตร สุรางคมนสูตร ปรัชญาปารามิตาสูตร ฯลฯ ความแคลงใจยังคงวนกลับมา เนื้อหาในคัมภีร์เหล่านี้กับพระไตรปิฏกฝ่ายใต้ ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คัมภีร์มหายานช่างเต็มไปด้วยเรื่องเกินจริง เหนือธรรมชาติ พรรณาถึงเรื่องที่สุดหยั่งคิด สำหรับผมแล้ว ยากแก่การน้อมรับ กระทั่งได้มาอ่าน สัทธรรมปุณฑริกสูตร ( พระสูตรสำคัญของทางฝ่ายมหายาน แปลเป็นไทยว่า “พระสูตรดอกบัวแห่งธรรมมหัศจรรย์” ปัจจุบันถึงแม้จะหลงเหลือฉบับสันสกฤต แต่ก็ไม่เก่าแก่ไปกว่าฉบับพากย์จีนที่แปลในยุคของท่านกุมารชีวะ ประมาณ 800 ปีหลังพุทธกาล ฉบับแปลเป็นไทยมีอยู่หลายสำนวน: ผู้แปล) ผ่านเวลาในการพิจารณาเป็นเวลานาน สุดท้ายหยั่งรู้ได้ว่า แท้จริงเนื้อหาหลักในคัมภีร์มหายานล้วนอยู่ในพระสูตรนี้ ภายในใช้เรื่องอุปมาอุปไมเป็นกุศโลบายในการสอน อธิบายธรรม เป็นเหตุให้ผู้ด้อยในปัญญินทรีย์ ผู้มีความสามารถในการเข้าใจธรรมต่ำ สามารถเข้าใจและรับได้ ในเนื้อหาของสัทธรรมปุณฑริกสูตร มีเรื่องอุปมาง่ายๆ เช่น บ้านที่ไฟใหม้ รถเทียม น้ำฝน ฯลฯ ในการอธิบายธรรม จุดประสงค์หลักก็เพื่อการเผยแผ่พระศาสนา


ไดซากุ อิเคดะ: สัทธรรมปุณฑริกสูตร เปี่ยมด้วยสุนทรียภาพเชิงศิลปะ มีความเป็นอมตะ มีโลกทัศน์และจักรวาลทัศน์อันกว้างขวาง ครอบคลุมในทุกสรรพสิ่ง มีหลายวจนะที่สวยงามที่แสดงถึงการกล่าวเตือนและผลกระทบต่างๆของการกระทำ หรือจะพูดได้ว่าเป็นภาพรวมที่ยิ่งใหญ่ที่แสดงถึงชีวทัศน์ทั้งมวล สามารถที่จะเปิดผ่านดูทุกหน้า แล้วประหนึ่งมีภาพชีวิตผ่านเข้ามา


กิมย้ง: ผมเองก็เข้าใจในคำสองคำนี้ ( คำจีน “เมี่ยวฝ่า” แปลตรงตัวเท่ากับ “ธรรมะมหัศจรรย์” ซึ่งในพากย์สันสฤตใช้คำว่า “สัทธรรม” ) ภายหลังจึงไม่เกิดรู้สึกในการต่อต้านความเหนือจริงของคัมภีร์มหายาน จากความทุกข์ที่สุดจนถึงสุขที่สุด ผมใช้เวลาประมาณ 2 ปี


ไดซากุ อิเคดะ: สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นคำสอนที่สมบูรณ์แบบ เรียกได้ว่าเป็นธรรมขั้นสูงสุดของพุทธมหายาน โดยที่พระสูตรอื่น พูดถึงความจริงในบางส่วน แต่ทุกพระสูตรล้วนแล้วแต่ลงเอยในความบริบูรณ์ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ดุจดังแม่น้ำทุกสายที่ต้องไหลลงทะเลฉันนั้น คุณเริ่มจากการอ่านพระสูตรของหีนยาน จากนั้นจึงศึกษาเพิ่มเติมของมหายาน สุดท้ายเข้าใจถึงความสำคัญของสัทธรรมปุณฑริกสูตร สิ่งนี้ได้สะท้อนถึงความจริงจังในการเสาะหาจิตวิญญาณของคุณจริง


กิมย้ง: ถึงตรงนี้ อยากจะให้คุณเล่าถึงครั้งที่เริ่มต้นองค์กร ( สมาคมโซคางักไก: ผู้แปล ) จุดริเริ่มในการรับพระพุทธศาสนา และการเดินทางของจิตวิญญาณ สำหรับผม ( ตัวกิมย้ง ) ถึงแม้ว่าแต่เด็กจะได้ยินคุณแม่สวด “ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร” “วัชรสูตร” และ “สัททธรรมปุณฑริกสูตร” ทว่า กลับต้องรอถึง 60 ปี จึงผ่านความทุกข์ในการสำรวจและค้นหา กว่าจะได้เข้ามาในเขตแดนของพุทธธรรม อนึ่งสำหรับนิกายต่างๆ ในพุทธศาสนาของจีน จิตวิญญาณภายในของผมใกล้เคียงกับ นิกายปรัชญา ( หรือมีชื่อเรียกอีกหลายแบบเช่น มาธยมิกศาสตร์ ตรีศาสตร์ หรือว่าที่เรู้จักกันมากที่สุด คือหลักสุญญตาของท่านนาคารชุน: ผู้แปล ) มากที่สุด


http://www.oknation.net/blog/siran/2007/10/24/entry-1

เพิ่มเติม http://thaishido.net/

http://www.sgt.or.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2016, 03:00:22 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: บทสนทนาระหว่าง กิมย้ง และ ไดซากุ อิเคดะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 09, 2010, 10:51:39 pm »
 :45: ขอบคุณครับพี่มด^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~