เตือนปชช.อย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องดื่มลดความอ้วน
* คุณภาพชีวิต
* เรื่องเด่น
เพราะอาจได้รับยาลดความอ้วนที่ห้ามใช้ในอาหาร
กระทรวง สาธารณสุขเผยผลตรวจวิเคราะห์สารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ลดความอ้วน (ไดเอต) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล บางผลิตภัณฑ์ใส่สารให้ความหวานเกินมาตรฐาน เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องดื่มหรือกาแฟลดความอ้วน เพราะอาจได้รับยาลดความอ้วนที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ดร.พรรณ สิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันเครื่องดื่มหลายชนิดได้นำสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมาใช้ สารให้ความหวานเหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลหลายเท่า และให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก โดยสารให้ความหวานที่พบว่า นิยมนำมาใช้ในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้แก่ แอสปาร์เทม (Aspartame) อะซีซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ซัคคาริน (Saccharine) ซูคลาโลส (Sucralose)
หากรับประทานในปริมาณมากก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะสารแอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค phenylketonuria ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมของเฟนิลอะลามีน (Phenylalamine) เกิดอาการโลหิตเป็นพิษได้
สำนัก คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สำรวจวิเคราะห์ปริมาณสารให้ความหวานที่มีการใช้ในเครื่องดื่มลดความอ้วน ชนิดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 84 ตัวอย่าง
ผล การตรวจวิเคราะห์พบว่า เครื่องดื่มมีการใช้สารให้ความหวานร่วมกัน 2 ชนิด คือ แอสปาร์เทม และอะซีซัลเฟม-เค โดยน้ำอัดลมพบสารแอสปาร์เทม 98 และพบสารอะซีซัลเฟม-เค 56.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำรสผลไม้พบสารแอสปาร์เทม 82 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 82 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และน้ำหวานเข้มข้นพบสารแอสปาร์เทม 221.4 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 261.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ปริมาณสารไม่เกินมาตรฐานที่ Codex กำหนด ยกเว้นเครื่องดื่มชนิดผง รวมทั้งโกโก้และกาแฟปรุงสำเร็จจะมีการใช้สารให้ความหวาน 2 ชนิดที่เกินมาตรฐาน คือ พบสารแอสปาร์เทม 564 และพบสารอะซีซัลเฟม-เค 1,040 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ผู้บริโภคต้องเจือจางก่อนรับประทาน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้พิจารณาจากวิธีเจือจาง Codex ได้กำหนดมาตรฐานสารให้ความหวานในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ดังนี้
-สารแอสปาร์เทม มีในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
-สารอะซีซัลเฟม-เค มี ในเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 350 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
-สาร ซัคคาริน มีในเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
อย่างไรก็ตามยังพบว่า มีการโฆษณากาแฟหรือผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน บางยี่ห้อ มีการเติมสารคาร์นิทีน (Carnitine) โดยกล่าวอ้างสรรพคุณสามารถลดความอ้วน และบางผลิตภัณฑ์เติมสารคอลลาเจน (collagen) โดยกล่าว อ้างสรรพคุณว่า บำรุงสุขภาพ ลดรอยเหี่ยวย่น ซึ่งการเติมสารเหล่านี้ลงในผลิตภัณฑ์ยังไม่มีรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุน นอกจากนี้ ยังมีบางผลิตภัณฑ์ผสมยาลดความอ้วน ได้แก่ ไซบูทามิน (Sibutamin) ซึ่งห้ามใช้ในอาหาร และอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรเลือกเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.thaihealth.or.th/node/16954