ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญ
ฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้า
ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อ
ประเทศที่ผลิตด้วย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี
- ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือ
สัญลักษณ์แทนก็ได้
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพ
หรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
- ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจ
อย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่ม
ีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ใน
การโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม
- ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
- ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ
สถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ
- ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
- ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด ในกระทรวงที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐาน
ดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย
เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้นหรือร้องเรียนมาที่สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้ม ครองผู้บริโภค
ประจำจังหวัด
การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิ
ของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ดังนั้นการร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ
ชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้ บริโภค
การเตรียมตัวของผู้บริโภค เพื่อจะมาร้องทุกข์เป็นขั้นตอน ที่มีความสำคัญ หากเอกสารหลักฐานที่ผู้บริโภค นำมาไม่ครบถ้วน จะทำให้ผู้บริโภคเสียเวลา ในการยื่นเรื่อง
การเตรียมเอกสาร หลักฐานของผู้ร้องเรียน
ผู้ร้องเรียนจะต้องเตรียม เอกสารหลักฐานให้พร้อม เพื่อจะนำมาใช้ประกอบกับการบันทึกร้องเรียน ดังนี้
กรณีร้องเรียนเรื่องบ้าน ที่ดินจัดสรรและอาคารชุด (เอกสารทั้งหมดให้ถ่ายสำเนา 5 ชุด)
1. บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ
2. ทะเบียนบ้านผู้ร้องเรียน
3. ที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจ
4. หนังสือจอง,สัญญาจอง,สัญญาจะซื้อขาย
5. เอกสารโฆษณา,ภาพถ่าย (ถ้ามี)
6. ใบเสร็จรับเงิน,เอกสารรับเงินเรียงรับดับการชำระค่างวด
7. หนังสือ, จดหมายโต้ตอบระหว่างผู้ร้องเรียน กับผู้ประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)
8. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือรับรอง ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
9. เตรียมไปรษณียบัตร จำนวน 1 แผ่นพร้อมกรอก ชื่อ -ที่อยู่ของ ผู้ร้องเรียน
10. เตรียมอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท
การยื่นเรื่องร้องเรียน
ผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคประจำจังหวัด
ในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบบันทึกคำร้องเรียนพร้อมแนบเอกสาร (เอกสารลงชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ) มอบให้เจ้าหน้าที่
2. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบหนังสือมอบอำนาจ (มอบอำนาจให้ สคบ. ดำเนินการแทนผู้ร้อง) พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท
3. กรณีผู้บริโภคไม่สามารถร้องเรียนด้วยตนเองได้ ผู้มาร้องเรียนแทน จะต้องมีหนังสือรับรองมอบ อำนาจจากผู้บริโภค (พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท) นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
http://www.ocpb.go.th/main_introduce.aspหากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม หมายเลขโทรศัพท์ ติดต่อหน่วยงาน คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ
http://www.ocpb.go.th/main_contact.asp