การสั่งสอนญาติโยมชาวบ้านหนองผือของท่านพระอาจารย์มั่นในสมัยนั้น
ส่วนมากท่านจะเน้นให้ญาติโยมสมาทานศีลห้าเป็นหลัก ส่วนศีลแปดหรือศีล
อุโบสถ ท่านไม่ค่อยจะเน้นหนักเท่าไหร่ท่านกล่าวว่า ศีลห้าเหมาะสมที่สุด
สำหรับฆราวาสญาติโยมผู้ครองเรือน ถ้างดเว้น ตลอดไปไม่ได้ก็ขอให้งดเว้น
ให้ได้ในวันพระวันศีล สำหรับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นท่านบอกว่า " สัตว์ที่มีบุญ
คุณนั้นห้ามเด็ดขาด " นอกจากนั้นท่านกล่าวว่า " จะงดเว้นไม่ได้ดอกหรือ
เพียงวันสองวันเท่านั้น การกินในวันรักษาศีลจะกินอะไรก็คงได้ ไม่จำ
เป็นต้องเป็น สัตว์ที่ฆ่าเอง แค่นี้ทำไม่ได้หรือ ไม่ตายดอก... "
สำหรับการขอศีลนั้น ท่านไม่นิยมนิยมให้ขอ และท่านก็ไม่เคยให้ศีล
( ตอนอยู่หนองผือ ) ท่านให้ใช้วิธีรัติงดเว้นเอาเลย ไม่ต้อง ไปขอจากพระซ้ำ ๆ
ซาก ๆ ผู้ใดมีเจตนาจะรักษาศีลจะเป็นศีลห้า ศีลแปดก็ตาม ให้ตั้งอกตั้งใจเอา
เลย แค่นั้นก็เป็นศีลได้แล้ว และการ ถวายทานในงานบุญต่าง ๆ ท่านก็ไม่นิยม
ให้กล่าวคำถวายเช่นกัน ท่านอธิบายว่า
" บุญนั้นผู้ถวายได้ถวายได้แล้ว
สำเร็จแล้วตั้งแต่ตั้งใจ หรือเจตนาในครั้งแรก ตลอดจนนำมาถวาย
สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องกล่าวอะไรอีก เพียงแต่ตั้งเจตนาดีเป็นกุศลหวังผล
คือความสุข การพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเท่านี้ก็พอแล้วนั่นมันเป็นพิธีการ
หรือกฏเกณฑ์อย่างหนึ่งของเขา ไม่ต้องเอาอะไรทุกขั้นทุกตอนดอก "
ครั้งนั้นมีศรัทธาญาติโยมจากสกลนคร เขาเป็นคนเชื้อสายจีน มีชื่อว่า
เจ๊กไฮ แซ่อะไรนั้นเขาไม่ได้บอกไว้ เขามีความลื่อมใส ศรัทธาในองค์ท่านพระ
อาจารย์มั่นมาก ขอเป็นเจ้าภาพกฐินในปีนั้น เมื่อถึงเวลากำหนดกรานกฐินแล้ว
จึงได้ตระเตรียมเดินทางมาพัก นอนค้างคืนที่บ้านหนองผือหนึ่งคืน โดยพัก
บ้านของทายกวัดคนหนึ่ง เพื่อจะได้จัดเตรียมอาหารคาวหวานสำหรับไปจังหัน
ตอนเช้าด้วย พอเช้าขึ้นพวกเขาจึงพากันนำเครื่องกฐินพร้อมกับเครื่อง
ไทยทานอาหารต่างๆ เหล่านั้นไปที่วัด เมื่อถึงวัดล้างเท้าที่หัวบันไดแล้วพากัน
ขึ้นบนศาลาวางเครื่องของ คุกเข่ากราบพระประธาน แล้วจึงรวบรวมสิ่งของ
เครื่องผ้ากฐิน พร้อมทั้งของอันเป็นบริวารต่างๆ วางไว้ที่หน้าพระประธานใน
ศาลา
ส่วนเจ๊กไฮ ผู้เป็นหัวหน้านำผ้ากฐินมานั้น เมื่อวางจัดผ้ากฐินพร้อมทั้งของ
อันเป็นบริวารต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว นั่งสักครู่ เห็นว่ายังไม่มีอะไร จึงพากันกราบ
พระประธาน ( เจ๊กไฮ ก็กราบเหมือนกัน ท่าทางเหมือนคนจีนทั่วไปเขากราบนั่น
แหละ ) แล้วเขาก็ลง จากศาลาไปเดินเลาะเลียบชมวัดวาอารามเฉยอย่าง
สบายอารมณ์ จนกระทั่งพระเณรกลับจากบิณฑบาตรแล้ว ขึ้นบนศาลาเตรียม
จัด แจงอาหารลงบาตรจนเสร็จสรรพเรียบร้อยทุกองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นจึง
ให้เรียกเจ๊กไฮมาเพื่อจะได้อนุโมทนารับพรต่อไป แต่เจ๊กไฮ ก็ไม่มารับพรด้วย
มีคนถามเขาว่า " ทำไมไม่รับพรด้วย
" เขาบอกว่า " อั๊วได้บุญแล้ว ไม่
ต้องรับพรก็ได้ การกล่าวคำถวายก็ไม่ต้องว่า เพราะอั๊วได้บุญตั้งแต่อั๊ว
ตั้งใจจะทำบุญทีแรกแล้ว ฉะนั้นอั๊วจึงไม่ต้องรับพรและคำกล่าวถวาย
ใดๆ เลย "
ภายหลังฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้พลิกวิธีคำว่าผ้า
กฐินมาเป็นผ้าบังสุกุลแทน ท่านจึพิจารณากองผ้ากฐิน เป็นผ้าบังสุกุล เสร็จ
แล้วท่านได้เทศน์ฉลองยกย่องผ้าบังสุกุลของเจ๊กไฮเป็นการใหญ่เลย
ท่านกล่าวถึง
ผ้ากฐินนั้นได้รับอานิสงส์น้อยเพียง แค่ ๔ เดือนเท่านั้นไม่เหมือนกับผ้า
บึงสุกุลซึ่งได้อานิสงส์ตลอดไป คือ ผู้ใช้สามารถใช้ได้ตลอดไม่มี
กำหนดเขตใช้จนขาดหรือใช้ไม่ได้จึง จะทำอย่างอื่นต่อไป และสุดท้าย
ท่านกล่าวอีกว่า " ใครทำบุญก็ไม่เหมือนเจ๊กไฮทำบุญ เจ๊กไฮทำบุญได้
บุญมากที่สุด พรเขาก็ไม่ต้องรับ คำถวายก็ไม่ต้องว่าเขาได้บุญตั้งแต่
เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเต็มอยู่แล้ว ไม่ตกหล่นสูญหายไปไหน บุญ
เป็นนามธรรมอยู่ที่ใจ อย่างนี้จึงเรียกว่า ทำบุญได้บุญแท้.. "
ทุกคนที่ไปกฐินในครั้งนี้ต่างก็มีความปลาบปลื้มปีติในธรรมะ ที่ท่านกล่าว
ออกมาซึ่งล้วนแต่มีเหตุผลที่แปลกใหม่ ยังไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาจากที่อื่นเลย
โดยเฉพาะกับเจ๊กไฮผู้เป็นเจ้าภาพยิ่งมีความปลื้มปีติมากกว่าเพื่อน เพราะสิ่งที่
เขาได้ทำไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ ถูกต้องเป็นที่พออกพอใจของครูบาอาจารย์ที่เขา
เคารพเลื่อมใส จึงเป็นที่ตรึงตราใจของเขาไปจนตลอดสิ้นชีวิตและได้เป็นเรื่อง
เล่าขาน กันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ขอขอบคุณที่มา - - < Phra Ajaan Mun Bhuridatta Mahathera >