ผู้เขียน หัวข้อ: แด่เธอผู้มาใหม่ : เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่า ธรรมะ  (อ่าน 9008 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ผลของการดูจิต และข้อสรุป


จิตที่อบรมปัญญามากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้แจ้งเห็นจริงว่า
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิต เจตสิก กระทั่งรูป ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น
ถ้าจิตเข้าไปอยาก เข้าไปยึด จิตจะต้องเป็นทุกข์
ปัญญาเช่นนี้แหละ จะทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูลง

ความทุกข์ก็จะเบาบางลงจากจิต เพราะจิตฉลาด
ไม่ไปส่ายแส่หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง

(แต่ลำพังคิดๆ เอา ในเรื่องความไม่มีตัวกูของกู
ย่อมไม่สามารถดับ ความเห็นและความยึด ว่าจิตเป็นตัวกูของกูได้
จะทำได้ก็แค่ "กู ไม่ใช่ตัวกูของกู" คือจิตยังยึดอยู่
ส่วนการที่จะลดละได้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เท่านั้นครับ)

สรุปแล้ว การดูจิตที่ชาวลานธรรมพูดถึงกันนั้น ไม่ใช่การดูจิตจริงๆ
เพราะจิตนั้นแหละ คือผู้รู้ ผู้ดู ผู้ยึดถือ อารมณ์
แต่การดูจิต หมายถึงการเจริญวิปัสสนา โดยเริ่มต้นจากการรู้นามธรรม
ซึ่งเมื่อชำนิชำนาญแล้ว ก็จะรู้ครบสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเอง

ดังนั้น ถ้าไม่ชอบคำว่า ดูจิต ซึ่งนักปฏิบัติส่วนหนึ่งชอบใช้คำนี้เพราะรู้เรื่องกันเอง
จะใช้คำว่าการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
+ การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
+ การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ได้ครับ

แต่การที่นักปฏิบัติบางส่วนชอบพูดถึงคำว่า "การดูจิต" ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน
คือเป็นการเน้นให้ทราบว่า จิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง
และเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้า
เพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลสตัณหาชัดไปด้วย

เนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง
ในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ
แม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์ตัวจริงได้
นอกจากจะเป็นเพียงการคิดถึงปรมัตถ์เท่านั้น



ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :45:อนุโมทนาครับครับพี่แป๋ม อ่ะ ผมเห็นภาพที่พี่กบแต่งเองด้วย สวยมากครับ ขอบคุณพี่กบด้วยครับ สู้ๆครับพี่ๆ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
โมทนาค่ะพี่แป๋ม ขอบคุณนะคะ :')
ปล.รูปสวยมากมาย :13:
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ถ้าเข้าใจจิตใจตนเองให้กระจ่างชัดแล้ว การเจริญสติปัฏฐานก็จะทำได้ง่าย
ถ้าไม่เข้าใจจิตใจตนเอง ก็อาจจะเกิดความหลงผิดได้หลายอย่างในระหว่างการปฏิบัติ
เช่นหลงเพ่ง โดยไม่รู้ว่าเพ่ง อันเป็นการหลงทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่

พอเกิดนิมิตต่างๆ ก็เลยหลงว่าเกิดวิปัสสนาญาณ
หรือหลงเผลอ ไปตามอารมณ์ โดยไม่รู้ว่ากำลังเผลอ
หรือหลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์

หรือหลงคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ
แล้วคิดว่ากำลังรู้ปรมัตถ์หรือสภาวะที่กำลังปรากฏ เป็นต้น
ถ้าเข้าใจจิตตนเองได้ดีพอประมาณ ก็จะไม่เกิดความหลงผิดเหล่านี้ขึ้น

ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูจิตก็คือ
การดูจิตเป็นวิปัสสนาชนิดเดียวที่ทำได้ทั้ง 3 โลก

คือในกาม(สุคติ)ภูมิ รูปภูมิ(ส่วนมาก) และอรูปภูมิ

แม้แต่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อันเป็นภวัคคภูมิหรือสุดยอดภูมิของอรูปภูมิ
ก็ต้องอาศัยการดูจิตนี้เอง เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนาต่อไปได้จนถึงนิพพาน

อันที่จริงสิ่งที่เรียกว่าการดูจิตนั้น แม้จะเริ่มจากการรู้นามธรรมก็จริง
แต่เมื่อลงมือทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง 4 อย่าง
โดยจิตจะมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เอง
เพียงก้าวเดินก้าวเดียว ก็เกิดการเจริญสติปัฏฐานได้ตั้งหลายอย่างแล้ว

คือเมื่อเท้ากระทบพื้น ก็จะรู้รูป ได้แก่ธาตุดินคือความแข็งภายในกาย (รูปภายใน)
และธาตุดินคือความแข็งของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป (รูปภายนอก)
อันนี้ก็คือการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว
และรู้ถึงความเย็น ความร้อนคือธาตุไฟของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป เป็นต้น

ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าสติรู้เข้าไปที่ความรู้สึกอันเกิดจากการที่เท้ากระทบพื้น
เช่นความเจ็บเท้า ความสบายเท้า
ก็คือการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าพื้นขรุขระ เจ็บเท้า ก็สังเกตเห็นความขัดใจ ไม่ชอบใจ
หรือถ้าเหยียบไปบนพรมนุ่มๆ สบายๆ เท้า ก็สังเกตเห็นความพอใจ
อันนี้ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

ขณะที่เหยียบนั้น ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ก็จะเห็นกายเป็นส่วนหนึ่ง
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่ละส่วนๆ
หรือรู้ถึงความทะยานอยากของจิตที่ส่งหลงเข้าไปที่เท้า

หรือรู้อาการส่งส่ายของจิต ตามแรงผลักของตัณหาคือความอยาก
แล้วหนีไปเที่ยวทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
หรือรู้ถึงความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในจิต

หรือรู้ถึงนิวรณ์ที่กำลังปรากฏขึ้น แต่ยังไม่พัฒนาไปเป็นกิเลสเข้ามาครอบงำจิต
หรือรู้ชัดถึงความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร มีปีติ มีความสงบระงับฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยลงมือเจริญสติสัมปชัญญะจริงๆ มาก่อน
อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยครับ
ดังนั้น ถ้าอ่านแล้วเกิดความสงสัยมากขึ้น

ก็ลองย้อนมารู้เข้าไปที่ ความรู้สึกสงสัยในจิต เลยทีเดียว
ก็จะทราบได้ว่า ความสงสัยมันมีสภาวะของมันอยู่
(ไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่สงสัยนะครับ แต่ให้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของความสงสัย)

เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น มันจะยั่วจิตให้คิดหาคำตอบ
แล้วลืมที่จะรู้เข้าไปที่สภาวะความสงสัยนั้น  เอาแต่หลงคิดหาเหตุหาผลฟุ้งซ่านไปเลย

พอรู้ทันมากเข้าๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความสงสัยนั้นมันตามหลังความคิดมา
เป็นการรู้เท่าทันถึงเหตุใกล้ หรือสาเหตุที่ยั่วยุให้เกิดความสงสัยนั่นเอง

เมื่อรู้ที่ สภาวะของความสงสัย ก็จะเห็นสภาวะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มันเกิดขึ้นเพราะความคิด พอรู้โดยไม่คิด มันก็ดับไปเอง

หัดรู้อยู่ในจิตใจตนเองอย่างนี้ก็ได้ครับ แล้วต่อไปก็จะทำสติปัฏฐาน 4 ได้ในที่สุด
เพราะจะสามารถจำแนกได้ชัดว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์
อะไรเป็นอารมณ์ของจริง
และอะไรเป็นเพียงความคิดนึกปรุงแต่งหรือสมมุติบัญญัติที่แปลกปลอมเข้ามา
รวมทั้งจำแนกได้ด้วยว่า อันใดเป็นรูป อันใดเป็นจิต อันใดเป็นเจตสิก

ขอย้ำแถมท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า
การดูจิต ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเสมอไป
เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดในโลก

มีแต่ "วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด" เฉพาะของแต่ละบุคคลเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าถนัดจะเจริญสติปัฏฐาน  อย่างใดก่อน ก็ทำไปเถิดครับ
ถ้าทำถูกแล้ว ในที่สุดก็จะทำสติปัฏฐานหมวดอื่นๆ ได้ด้วย



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



จตุราลักษณ์ เป็นหนังสือที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้แสดงแต่งไว้ สรุปได้ดังนี้
       
        ๑. ให้มนุษย์เราทุกคน รู้จักระลึกถึงคุณ พระพุทธเจ้า คือให้เจริญพุทธานุสติ
       
       ๒.ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้ว เข้าใจตนว่า นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จงให้เจริญ
       
       เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นอนุสติ
       
       ๓. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่า เมื่อเกิดมาแล้ว จงรู้กฏของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
       
       ซึ่งหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือ การเกิด แก่ เจ็บตาย จึงให้รู้ถึงความไม่เที่ยง มีความทุกข์
       
       และไม่ใช่ตัวตนเราเขา ฉนั้น จงเจริญ อสุภานุสติ
       
       ๔. ให้มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์ นับตั้งแต่เกิดมา จนวาระสุดท้าย คือ ความตาย
       
       เพราะทุกคนหนีความตายไปไม่ได้ จงให้เจริญ มรณานุสติ

ธรรมโอวาท
       
       จากหนังสือ ธรรมวิสัชนา เรื่องแนวปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้
       
       โดยหลักการที่ ท่านอาจารย์เสาร์ ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนา พุทโธ และอานาปานสติ เป็นหลักปฏิบัติ การบริกรรมภาวนา ให้จิตอยู่ ณ จุดเดียวคือ พุทโธ ซึ่ง พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕ คือ การนึกถึง พุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจารณ์ หลังจากนี้ ปีติ และความสุข ก็เกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่งสว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต ถ้าจะเรียกโดยสมาธิ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าเรียกโดยฌานก็เรียก อัปปนาฌาน บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่ ๕ จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
       
       เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ สอนกรรมฐานในสายนี้ จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายคตาสติ เรียกว่า กายานุปัสสนาปฏิปทา โดยการพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นเห็นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นอสุภกรรมฐาน
       
       และเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ จนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้วในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ได้ได้ แนะนำให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อรู้จิตเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าตามที่พูดกันมาว่า สัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา ไม่มี มีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมรู้จักอำนาจของความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ ไม่มีอะไรอัตตา ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐาน และในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ   ปฏิบัติความรู้ไปสู่ พระไตรปิฎก คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่ท้จริง ถ้าหากมี อนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายไม่เที่ยง ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่ามิใช่ตัวตนที่แท้จริง ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ ภูมิแห่งวิปัสสนา



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระครูวิเวกพุทธกิจ
(หลวงปู่เสาร์   กนฺสีโล)


หลักธรรมของพระอาจารย์เสาร์   กนฺสีโล

    จตุรารักขกัมมัฏฐาน

(1) วิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย

...อนึ่ง เมื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ถึงระลึกดังนี้ก็ได้ว่า เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ลุกโพลงรุ่งเรืองไหม้สัตว์เผาสัตว์ ให้รุ่มร้อนอยู่เป็นนิตย์ในภพทั้ง 3 เลิงกิเลสนั้น คือ ราคะ ความกำหนัดยินดี โทสะ ความเคืองคิด ประทุษร้าย และโมหะ ความหลงไม่รู้จริง

ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3 นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเพลิงเพราะเป็นเครื่องร้อนรนกระวนกระวายของสัตว์ เพลิงทุกข์ นั้นคือ ชาติ ความเกิด คือ ขันธ์ อายตนะและนามรูปที่เกิดปรากฎขึ้น ชรา ความแก่ทรุดโทรมคร่ำคร่า และ มรณะ ความตายคือ ชีวิตขาดกายาแตกวิญญาณดับ
 
  โสกะ  ความเหือดแห้งใจเศร้าใจ
  ปริเทวะ  ความบ่นเพ้อคร่ำครวญร่ำไร
  ทุกข์  ทนยากเจ็บปวดเกิดขึ้นในกาย
  โทมนัส  ความเป็นผู้มีใจชั่วเสียใจ
  อุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นใจ

 ทุกข์ มีชาติเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นทุกข์ให้เกิดความร้อนรนกระวนกระวายต่างๆ แก่สัตว์ เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์เหล่านี้ ยกพระพุทธเจ้าเสียแล้วไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกดับได้ แต่ผู้ที่จะรู้ว่าเป็นเพลิงเครื่องร้อนเท่านั้นก็หายากเสียแล้ว ผู้ที่จะดับเพลิงนั้นจะได้มาแต่ไหนเล่า ก็ในโลกหมดทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งดับได้ จึงพากันร้อนระกระวนกระวายอยู่ด้วยเพลิงหมดทั้งโลก ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเพลิงมันไหม้มันเผาเอาให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิตย์ เพราะอวิชชาความหลงไม่รู้จริง

สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเราพระองค์ตรัสรู้ชอบตรัสดีแล้วเอง ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของพระองค์ได้แล้ว คือทำให้แจ้งซึ่งกิเลสนิพพานได้แล้ว ทรงสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยพระองค์นั้น จึงเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นผู้อัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนักควรเลื่อมใสจริงๆ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมที่เป้นที่พึ่งของเรามีพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ทรงคุณคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของสัตว์ผู้ปฏิบัติชอบ ช่วยให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน พระธรรมนั้น ท่านทรงคุณ คือดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ได้อย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว ทำให้บริบูรณ์ใน ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของตนได้แล้ว สั่งสอนผุ้อื่นให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทกุข์ได้ด้วย และเป็นเขตให้เกิดบุญเกิดกุศล แก่เทวดา มนุษย์มากมายนัก พระสงฆ์นั้นท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

   เมื่อนึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้ ตรึกตรองด้วยปัญญา ครั้นเห็นจริงเกิดความเลื่อมในขึ้นแล้ว จะนึกแต่ในใจหรือจะเปล่งวาจาว่า

อะโห พุทโธ พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลส เครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์ น่าเลื่อมใสจริงๆ
อะโห ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลสเครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
อะโห สังโฆ พระสงฆ์ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว เป็นเขตบุญอันเลิศ หาเขตบุญอื่นยิ่งกว่าไม่มี เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
ภาวนาดังนี้ ก็ได้ดีทีเทียว

อนึ่ง ผู้ใดได้ความเชื่อความเลื่อมในในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลื่อมใสแล้วในที่อันเลิศ ผลที่สุดวิเศษเลิศใหญ่ยิ่งกว่าผลแห่งกุศลอื่นๆทั้งสิ้น ย่อมมีแก่ผู้เลื่อมใสใจรัตนะทั้งสามนั้น

  ....อนึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ เป็นรัตนะอันเลิศวิเศษยิ่งกว่ารัตนะอื่นๆหมดทั้งสิ้น ย่อมให้สำเร็จความปรารถนาแก่สัตว์ผู้ที่เลื่อมในได้ทุกประการ เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอุตสาห์นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความเลื่อมใสทุกๆวันเถิด จะได้ไม่เสียทีประสบพบพระพุทธศาสนานี้



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


(2) วิธีเจริญเมตตา

   อนึ่ง เมื่อจะเจริญเมตตา พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะพยาปัชยา จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความเจ็บไข้ลำบากกายลำบากใจเลย
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะนีฆา จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น

   เมตตาภาวนานี้ เป็นข้าศึกแก่พยายาท โดยตรง เมื่อเจริญเมตตานี้ ย่อมละพยาบาทเสียได้ด้วยดี เมตตานี้เชื่อว่า เจโตวิมุต เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากพยาบาทของใจมี อานิสงส์ ยิ่งใหญ่กว่าทานและศีลหมดทั้งสิ้น

   เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอย่าประมาทในเมตตาภาวนานี้เลย อุตสาห์เจริญเถิด จะได้ประสบอานิสงส์วิเศษต่างๆซึ่งว่ามานี้ เทอญฯ...
 
(3) วิธีเจริญอสุภะ

  อนึ่ง เมื่อจะเจริญอสุภะ พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า

อัตถิ อิมัสมิง กาเย ของไม่งามเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดมีอยู่ในกายนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง คือ เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง คือ เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรียัง คือ ไส้ใหญ่ สายเหนี่ยวไส้ ราก ขี้
ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท คือ น้ำดี น้ำเสมหะ น้ำเหลือง (หนอง ) น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
อัสสุ วะสา เขโฬ สังฆาณิกา ละสิกา มุตตัง คือ น้ำตาม น้ำมันเปลง น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำเยี่ยว

ผม นั้นงอกอยู่ตามหนังศรีษะดำบ้างขาวบ้าง ขน นั้นงอกอยู่ตามขุมขนทั่วร่างกาย เว้นไว้แต่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บ นั้นงอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ฟัน นั้นงอกอยู่ตามกระดูก คางข้างบน ข้างล่าง สำหรับบดเคี้ยว อาหารชุ่มอยู่ด้วยน้ำลายเป็นนิตย์ หนัง นั้นหุ้มทั่วกาย ผิดนั้นลอกออกเสียแล้วมีสีขาว เนื้อ นั้นมีสีแดงเหมือนกะชิ้นเนื้อสัตว์ เอ็น นั้นรึงรัด รวบโครงกระดูกไว้ มีสีขาว กระดูกนั้นเป้นร่างโครงค้ำแข็งอยู่ในกาย มีสีขาว เยื่อในกระดูก นั้นมีสีขาวเหมือนกะยอดหวายที่เผาไฟอ่อนแล้ว ใส่ไว้ในกระบอกไม้ฉะนั้น เยื่อในขมอง ศรีษะ นั้นเป็นยวงๆ เหมือน กะเยื่อในหอยจุบแจง ม้าม นั้นคือแผ่นเนื้อมีสีแดงคล้ำๆ สองแผ่นมีขั้วอันเดียวกัน เหมือนกะผลมะม่วงสองผลมีขั่วอันเดียวกันฉะนั้น อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ เนื้อหัวใจ นั้นมีสีแดง สัณฐานดังดอกบัวตูม ตั้งอยู่ท่ามกลางอก

ตับ นั้นคือแผ่นเนื้อสองแผ่นสีแดงคล้ำตั้งอยู่ข้างเคียงเนื้อหัวใจ พังผืด นั้นมีสีขาว เหนี่ยวหนังกับเนื้อ เอ็นกับเนื้อ กับกระดูกติดกันไว้บ้าง ไต นั้นเป็นชิ้นเนื้อสีดำคล้ำเหมือนกะลิ้นโคดำอยู่ชายโครงซ้าย ปอด นั้น เป็นแผ่นเนื้อสีแดงคล้ำ ชายเป็นแฉกปกเนื้อหัวใจอยู่ท่ามกลางอก ไส้ใหญ่ นั้นปลายข้างหนึ่งอยู่คอหอย ปลายข้างหนึ่งอยู่ทวารทบไปทบมามีสีขาวชุ่มอยู่ด้วยเลือดในท้อง สายเหนี่ยวไส้ใหญ่ นั้นมีสีขาว ราก นั้นคือของที่กลืนกินแล้ว สำรอก ออกมาเสียฉะนั้น คูถ นั้นคือของที่กินขังอยู่ในท้องเสียแล้ว ถ่ายออกมาฉะนั้น น้ำดี นั้นสีเขียวคล้ำๆ ที่เป็นฝักตั้งอยู่ท่ามกลางอก ที่ไม่เป็นฝักซึมซาบอยู่ในกาย น้ำเสมหะ นั้นมีสีขาวคล้ำๆ เป็นมวกๆ ติดอยู่กับพื้น ไส้ข้างใน น้ำเหลือง (หนอง) นั้น มีอยู่ในที่สรีระมีบาดแผลเป็นต้น น้ำเลือด นั้นมีอยู่ตามขุมขนในกาลเมื่อร้อนหรือกินของเผ็ด น้ำมันข้น นั้นมีสีเหลืองติดยอุ่กับหนังต่อเนื้อ น้ำตา นั้นไหลออกจากตาในกาลเมื่อไม่สบายใจดีใจ น้ำมันเปลว นั้นเป็นเปลวอยู่ในพุงเหมือนกับเปลวสุกร น้ำลายนั้น ใสบ้าง ข้นบ้าง น้ำมูก นั้นเหลวบ้าง ข้นบ้าง เป็นยวงออกจากนาสิก น้ำไขข้อ นั้นติดอยู่ตามข้อกระดูก น้ำเยี่ยว นั้นเกรอะออกจากรากและคูถ

   อะยะเมวะ กาโย กายคือประชุมส่วนเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด นี้นั่นแหละ อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนตั้งแต่เท้าขึ้นมา อะโธ เกสะ มัตถะกา เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มันมีหนังหุ้มอยู่ที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เชคุจโฉ ปฏิกกุโล แต่ล้วนเป็นของไม่งาม มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูลน่าเกลียดหมดทั้งสิ้น

  อสุภกัมมัฏฐาน (อสุภสัญญา) นี้ เป็นข้าศึกแก่ราคะความกำหนัดยินดีโดยตรง ผู้ใดมาเจริญอสุภะเห็นเป็นของไม่งามในกาย เห็นกายเป็นของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด จะเกิดความเบื่อหน่าย ไม่กำหนดยินดี ดับราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งรส คือ พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญกายะคตาสติอสุภกัมมัฏฐานนี้ว่า

" ผู้ใดได้เจริญกายะคตาสตินี้ ผู้นั้น ได้เชื่อว่าบริโภค ซึ่งรส คือ นิพพาน เป็นธรรมมี ผู้ตายไม่มี อมตธรรม
ดังนี้ นิพพาน นั้นก็ดับราคะ โทสะ โมหะ นั้นเอง
เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในกายะคตาสตินี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบพบพระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เลิศกว่าธรรมหมดทั้งสิ้น.."



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


  (4) วิธีเจริญมรณสติ

  อนึ่ง เมื่อจะเจริญมรณสติ ถึงเจริญดังนี้ ก็ได้ว่า

              ธัมโมมหิ มะระณัง อนตีโต ชายว่า
มะระณะ
              ธัมมามหิ มะระณัง อนตีตา หญิงว่า

แปลว่า " เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงความตายไปไม่ได้แล้ว"
ความตายนั้น คือสิ้นลมหายใจ กายแตก วิญญาณดับ

   อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า อะธุวัง ชีวิตัง ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืน ธุวัง มะระณัง ความตายของเรามันยั่งยืน อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง เราคงจะตายเป็นแน่ มะระณะปะริ โยสานัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตัง เม อะนิยะตัง ชีวิตของเรามันไม่เที่ยง มะระณัง เม นิยะตัง ความตายของเรามันเที่ยงแล้ว

   อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า สัพเพ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะริสสะเร ที่ตายดับสูญไปแล้วก็ดี จักตายต่อไปข้างหน้าก็ดี ตะถาวาหัง มะริสสามิ เราก็จะตายดับสูญไปเช่นนั้น เหมือนกันนั่นแหละ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย ความสงสัยในความตาย นี้ไม่มีแก่เรา เราไม่สงสัยในความตายนี้แล้ว

  เหตุนั้น เราจงเร่งขวนขวายก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตนเสียให้ได้ทันเป็นมีชีวิตอยู่นี้เถิด อย่าให้ทันความตายมาถึงเข้า ถ้า ความตายมาถึงเข้าแล้ว จะเสียทีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้ทีเดียว

  ผู้ใดได้เจริญมรณสติ นึกถึงความตายได้เห็นจริง จนเกิดความสังเวชได้ ผู้นั้นย่อมไม่เมาในชีวิต ละอาลัยในชีวิตเสียได้เป็นผู้ไม่ประมาท รีบร้อนปฏิบัติละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ชำระตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเร็วพลัน


   เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรั้สสรรเสริญมรณสติที่บุคคลเจริญทำให้มากนี้ว่า มีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่มากนัก นับเข้าพระนิพพานเป็นธรรมมี ผู้ตายไม่มี ดังนี้ มรณสติ มีผลานิสงส์มากอย่างนี้

  อนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งไว้ ให้คิดถึงความตายให้ได้ทุกวันๆมาในอภิณหะปัจเวกขณ์ เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญ มรณสติ คิดถึงความตายให้เห็นจริงจนเกิดความสังเวชให้ได้ทุกวันๆ เถิด จะได้ ประสบผลอานิสงส์ที่วิเศษ เป็นเหตุไม่ประมาทในอันก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตน

  ที่นึกถึง คุณพระรัตนตรัย เจริญเมตตา อสุภะ และมรณสติ ทั้ง 4 อย่างซึ่งว่ามานี้ ท่านกล่าวว่า จตุรารักข์ เพราะเป็นธรรมป้องกันปกครองรักษาผุ้ที่เจริญนั้น ให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายวิบัติทั้งสิ้นได้ และเป็นทางสวรรค์และนิพพานด้วย

   เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญให้ได้ทุกๆวันเถิด อย่าให้ขาดได้เลย จะได้เป็นความดี ความชอบ อย่างยิ่งของเราที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เทอญฯ......

นี่คือ วิธีเจริญ " จตุรารักข์"


•พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นรัตนะ
อันเลิศวิเศษยิ่งกว่า รัตนะอื่นๆหมดทั้งสิ้น ย่อมให้สำเร็จตามปรารถนา
แก่สัตว์ผู้เลื่อมใสได้ทุกประการ ..



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


หลวงปู่มั่น   ภูริทตฺโต

มุตโตทัย
(ลิขิตธรรมโดย หลวงปู่มั่น )

1. การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์

      สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชน แล้วย่อมกลายเป็นของปลอม(สัทธรรมปฏิรูป) ไป แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริงและเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมฝ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจ กำนัดเหล่ากะปอมก่า คืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จแต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

 
    2. ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า

       ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
 สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์ จนได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิณาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อน แล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษ ผู้มีอุปนิสัยบารมี ควรแก่การทรมาน ในภายหลัง จึงทรงเป็นพระคุณปรากฏ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต เสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศ จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกธรรมสั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป้นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโทฺหติ คือเป็นผู้มีเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในกาลก่อนทั้งหลาย
 

    6. มูลการของสังสารวัฏฏ์ ( ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโวชาติ)

     คนเราทุกรูปทุกนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิด ทั้งสิ้น กล่าวคือ มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการ แต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชาเกิดมาจากอะไร? ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังมีบิดามารดา อวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วย ความหลง จึงมีเครื่องต่อกล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้ว จึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่เป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภาพชาติ คือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียกปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกันวิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยอวิชชา จึงไม่รู้เท่าอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบด้วยวิชชา จึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงนี่พิจารณาด้วยวุฎฐานคามินีวิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฎ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า " มูลตัดไตร" เพราะฉะนั้น เมื่อจะตัดสังสารวัฏให้ขาดสูญจึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้ เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงก็จะหายหลง แล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆอีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยประการนี้
       

    11. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย

     นายสารถีผู้ฝึกม้ามีชื่อเสียงคนหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามถึงวิธีทรมารเวไนย พระองค์ทรงย้อนถามนายสารถีก่อนถึงการทรมารม้า เขาทูลว่ามี ม้า อยู่ 4 ่ชนิด คือ 1. ทรมานง่าย 2. ทรมานอย่างกลาง 3. ทรมาน ยากแท้ 4. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย พระองค์จึงตรัสว่า เราก็เหมือนกัน 1. ผู้ทรมานง่ายคือ ผู้ปฏิบัติทำจิตรวมง่าย ให้กินอาหารเพียงพอเพื่อบำรุงร่างกาย 2. ทรมานอย่างกลาง คือผู้ทำจิตไม่ค่อยจะลง ให้กินอาหารแต่น้อยอย่าให้มาก 3. ทรมานยากแท้ คือผู้ปฏิบัติทำจิตลงยากแท้ ไม่ต้องให้กินอาหารเลย แต่ต้องเป็น อตฺตญฺญู รู้กำลังของตนว่าจะทนทานได้สักเพียงไร แค่ไหน 4. ทรมานไม่ได้เลยต้องฆ่าเสียคือ ผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ได้เป็นปทปรมะ พระองค์ทรงชักสะพานเสีย กล่าวคือ ไม่ทรงสั่งสอน อุปมาเหมือนฆ่าทิ้งเสียฉะนั้น