ผู้เขียน หัวข้อ: แด่เธอผู้มาใหม่ : เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่า ธรรมะ  (อ่าน 8972 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net
 

แด่เธอผู้มาใหม่
: เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่า ธรรมะ


เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่า
ธรรมะเป็นเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่สุด
เพราะภาพลักษณ์ของศาสนา หรือของธรรมะ ที่เรารู้จักนั้น
ดูอย่างไรก็ไม่ธรรมดาเลย
เริ่มตั้งแต่ภาษาที่ใช้ เต็มไปด้วยภาษาบาลี มีศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะมากมาย
แค่ทำความเข้าใจศัพท์ก็ยากนักหนาแล้ว

พอรู้ศัพท์แล้วลงมือศึกษาตำราจริงๆ
ก็พบความยากอีก คือธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีมากเหลือเกิน
และตำราที่พระรุ่นหลังลงมาท่านเขียนไว้ ก็มีอีกมากมาย


บางท่านพอใจที่จะลงมือปฏิบัติ ก็มีปัญหาอีกว่า
สำนักปฏิบัติมีมากมาย ทุกสำนักบอกว่าแนวทางของตน
ถูกตรงที่สุดตามหลักมหาสติปัฏฐาน

บางทีก็ทับถมสำนักอื่นหน่อยๆ ว่า  สอนไม่ตรงทาง

ความยากลำบากนี้ พบกันทุกคนครับ
ทำให้ผมต้องนั่งถามตนเองว่า เป็นไปได้หรือไม่
ที่เราจะศึกษาธรรมได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องรู้ศัพท์บาลี
หรือไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือเข้าสำนักปฏิบัติใดๆ เลย



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2010, 04:36:43 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ความจริงธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ เป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดาๆ
ดังที่ผู้ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ มักจะอุทานว่า
"แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า  ธรรมที่ทรงแสดงเหมือนดังเปิดของคว่ำให้หงาย"
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรนัก ที่ผู้ฟังจะรู้สึกเช่นนั้น
ก็เพราะผู้ฟังเอง เกิดมากับธรรม อยู่กับธรรม จนตายไปกับธรรม
เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
เพียงแต่มองไม่เห็นว่า ธรรมได้แสดงตัวอยู่ที่ไหน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะ ก็สามารถรู้เห็นตามได้โดยง่าย

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยความรอบรู้
สามารถอธิบายธรรมอันยุ่งยากซับซ้อนให้ย่นย่อเข้าใจง่าย
สามารถขยายความธรรมอันย่นย่อให้กว้างขวางพอเหมาะแก่ผู้ฟัง
ทรงปราศจากอุปสรรคทางภาษา
คือสามารถสื่อธรรมด้วยภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายๆ

ไม่เหมือนผู้ศึกษาและสอนธรรมจำนวนมากในรุ่นหลัง
ที่ทำธรรมะซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและแสนธรรมดา
ให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน และไกลตัวเสียเหลือประมาณ
จนเกินความจำเป็นเพื่อความพ้นทุกข์
และสั่งสอนด้วยภาษา ที่ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



แท้จริงแล้ว ธรรมเป็นเรื่องใกล้ตัว ใกล้จนถึงขนาดที่เรียกว่า
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ตัวเราเอง
และขอบเขตของธรรมะก็มีเพียงนิดเดียวคือ
ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์

ถ้าจะศึกษาธรรมะ ก็ศึกษาลงไปเลยว่า
"ความทุกข์อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และดับไปได้อย่างไร"
และความสำเร็จของการศึกษาธรรมะ อยู่ที่ปฏิบัติ
จนเข้าถึงความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้รกสมอง
หรือเพื่อความสามารถในการอธิบายแจกแจงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร

แท้จริงแล้ว ความทุกข์ของคนเราอยู่ในกายในจิตของตนนั่นเอง
สนามศึกษาธรรมะของเรา จึงอยู่ที่กายที่จิตนี้แหละ
แทนที่เราจะเที่ยวเรียนรู้ออกไปภายนอก
ก็ให้เราย้อนเข้ามาศึกษาอยู่ในกายในจิตของเรานี้แหละ

วิธีการก็ไม่มีอะไรมาก ขอเพียงให้หัดสังเกตกายและจิตของเราเองให้ดี
เริ่มต้นง่ายๆ จากการสังเกตร่างกายก่อนก็ได้

ขั้นแรก ทำใจให้สบายๆ อย่าเคร่งเครียด
อย่าไปคิดว่าเราจะปฏิบัติธรรม แต่ให้คิดเพียงว่า
เราจะสังเกตดูร่างกายของเราเองเท่านั้น
สังเกตแล้วจะรู้ได้แค่ไหนก็ไม่เป็นไร
เอาแค่ว่าจะเฝ้าสังเกตให้ได้เท่าที่ทำได้ก็พอ

เมื่อทำใจสบายๆ แล้ว ลองนึกถึงร่างกายของเรา
นึกถึงให้รู้พร้อมทั้งตัวเลยก็ได้

เหมือนเรากำลังดูหุ่นยนต์อยู่สักตัวหนึ่ง ที่มันเดินได้ เคลื่อนไหวได้
ขยับปากได้   กลืนอาหารอันเป็นวัตถุ
เข้าไปในร่างกาย ขับถ่ายกากอาหารออกจากร่างกาย




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ถ้าเราเห็นหุ่นยนต์ที่ชื่อว่าตัวเรา มันทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ
เราเป็นคนดูเฉยๆ
ถึงจุดหนึ่งก็จะเห็นแจ้งประจักษ์ใจเองว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา   มันเป็นวัตถุก้อนหนึ่งเท่านั้น
มีความไม่หยุดนิ่ง ไม่คงที่ แม้แต่วัตถุที่ประกอบเป็นเจ้าหุ่นตัวนี้

ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงไหลเข้าไหลออกอยู่ตลอดเวลา เช่นหายใจเข้าแล้วก็หายใจออก
กินอาหารและน้ำแล้วขับถ่ายออก ไม่ใช่สิ่งที่เป็นก้อนธาตุที่คงที่ถาวร

ความยึดถือด้วยความหลงผิดว่า กายเป็นเรา ก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ แล้วก็จะเห็นอีกว่า
ยังมีธรรมชาติที่เป็นผู้รู้ร่างกาย อาศัยอยู่ในร่างกายนี้เอง


เมื่อเห็นชัดแล้วว่า กายนี้เป็นแค่ก้อนธาตุ ไม่คงที่ ไม่ใช่ตัวเรา คราวนี้ก็ลองมาสังเกต
สิ่งที่ซ่อนเร้น
อยู่ในร่างกายนี้ต่อไป เป็นการเรียนรู้เรื่องของเราเองให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

สิ่งที่แฝงอยู่ในร่างกายที่เห็นได้ง่ายๆ  คือความรู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง
เช่นเมื่อเราเห็นหุ่นยนต์ตัวนี้เคลื่อนไหวไปมา

ไม่นานก็จะเห็นความเมื่อยปวด ความหิวกระหาย หรือความทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้
แทรกเข้ามาเป็นระยะๆ พอความทุกข์นั้นผ่านไปทีหนึ่ง

ก็จะรู้สึกสบายไปอีกช่วงหนึ่ง(รู้สึกเป็นสุข) เช่นกระหายน้ำ เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น
พอได้ดื่มน้ำ ความทุกข์เพราะความกระหายน้ำก็ดับไป
หรือนั่งนานๆ เกิดความปวดเมื่อย รู้สึกเป็นทุกข์
พอขยับตัวเสีย ก็หายปวดเมื่อย รู้สึกว่าทุกข์หายไป(รู้สึกเป็นสุข)

บางคราวมีความเจ็บไข้ได้ป่วย  ก็จะรู้ความทุกข์ทางกายได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น
เช่นเกิดปวดฟันติดต่อกันนานๆ เป็นวันๆ ถ้าคอยสังเกตรู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น

ก็จะเห็นชัดว่า ความปวดนั้นเป็น สิ่งที่แทรก อยู่กับเหงือกและฟัน
แต่ตัวเหงือกและฟัน มันไม่ได้เจ็บปวดด้วยเลย

กายเหมือนหุ่นยนต์ที่ไม่มีความเจ็บปวด
เพียงแต่มีความเจ็บปวด เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ที่แฝงอยู่ในกาย

เราก็จะรู้ชัดว่า ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ
ไม่ใช่ร่างกาย แต่เป็นสิ่งอีกสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ในร่างกายและที่สำคัญ เจ้าความรู้สึกเหล่านั้น
ก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกรู้ ถูกดูอยู่ เช่นเดียวกับร่างกายนั้นเอง




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ถัดจากนั้น เรามาเรียนรู้เรื่องราวของตัวเองให้ละเอียดมากขึ้น
คือคอยสังเกตให้ดีว่า เวลาที่เกิดความทุกข์ขึ้นนั้น
จิตใจของเรามันจะเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจตามมาด้วย
เช่นหิวข้าวแล้วจะโมโหง่าย เหนื่อยก็โมโหง่าย
เจ็บไข้ก็โมโหง่าย เกิดความใคร่แล้วไม่ได้รับการตอบสนองก็โมโหง่าย
ให้เราหัดรู้ให้เท่าทันความโกรธที่เกิดขึ้น ในเวลาที่เผชิญกับความทุกข์

ในทางกลับกัน เมื่อเราได้เห็นของสวยงาม ได้ยินเสียงที่ถูกใจ
ได้กลิ่นหอมถูกใจ ได้ลิ้มรสที่อร่อย
ได้รับสิ่งสัมผัสร่างกายที่นุ่มนวล
มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
ได้คิดถึงสิ่งที่พอใจ
เราจะเกิดความรักใคร่พึงพอใจในสิ่งที่
ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น  ได้รส ได้สัมผัส และได้คิดนึกนั้น
ก็ให้เรารู้เท่าทันความรักใคร่พอใจที่เกิดขึ้นนั้น

พอเรารู้จักความโกรธ หรือความรักใคร่พอใจแล้ว
เราก็สามารถรู้จักกับอารมณ์อย่างอื่นๆ ได้ด้วย
เช่นความลังเลสงสัย ความอาฆาตพยาบาท ความหดหู่ใจ
ความอิจฉาริษยา ความคิดลบหลู่ผู้อื่น
ความผ่องใสอิ่มเอิบของจิตใจ ความสงบในจิตใจ ฯลฯ

เมื่อเราเรียนรู้อารมณ์หรือความรู้สึกเหล่านี้มากขึ้นๆ
เราก็จะเริ่มรู้ว่า ความจริงแล้วอารมณ์ทุกอย่างนั้นไม่คงที่
เช่นเมื่อโกรธ และเราก็รู้อยู่ที่ความโกรธนั้น
ก็จะเห็นระดับของความโกรธเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อยู่ไปๆ ความโกรธก็ดับไปเอง
และไม่ว่าความโกรธจะดับหรือไม่ก็ตาม
ความโกรธก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีเราอยู่ในความโกรธ
แม้อารมณ์อื่นๆ ก็จะเห็นในลักษณะเดียวกับความโกรธนี้ด้วย




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ถึงตอนนี้ เราจะรู้ชัดว่า ร่างกายก็เป็นแค่หุ่นยนต์ตัวหนึ่ง
ความรู้สึกสุขทุกข์ และอารมณ์ทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา

เมื่อหัดสังเกตเรียนรู้จิตใจตนเองมากขึ้น คราวนี้ก็จะเห็นการทำงานของจิตใจ
ได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
จนรู้ความจริงว่า ความทุกข์เป็นเพียงสิ่งที่มีเหตุทำให้เกิดขึ้นเป็นคราวๆ เท่านั้น

เราจะพบพลังงานหรือแรงผลักดันบางอย่างในจิตใจของเรา
เช่นพอเห็นผู้หญิงสวยถูกใจ
พอจิตใจเกิดความรู้สึกรักใคร่พอใจแล้ว





มันจะเกิดแรงผลักดันจิตใจของเรา ให้เคลื่อนออกไปยึดเกาะ
ที่ผู้หญิงคนนั้น
ทำให้เราลืมดูตัวเอง เห็นแต่ผู้หญิงคนนั้นเท่านั้น

(เรื่องจิตเคลื่อนไปได้นี่ ถ้าเป็นคนที่เรียนตำราอาจจะงงๆ
แต่ถ้าลงมือปฏิบัติจริง จะเห็นว่า ความรับรู้มันเคลื่อนไปได้จริงๆ
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านพูดเรื่องจิตเที่ยวไปได้ไกล
ไม่มีคลาดเคลื่อนแม้แต่คำเดียว)


หรือเมื่อเราเกิดความสงสัยในธรรม ว่าเราควรปฏิบัติอย่างไร
ก็จะเห็นแรงผลักดัน
ที่บังคับให้เราคิดหาคำตอบ  จิตใจของเราเคลื่อนเข้าไปอยู่ในโลกของความคิด

ตอนนั้น เราลืมดูตัวเราเอง

เจ้าหุ่นยนต์นั้นก็ยังอยู่ แต่เราลืมนึกถึงมันก็เหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก
ความรู้สึกต่างๆ ในจิตใจเราเป็นอย่างไร
เราก็ไม่รู้  เพราะมัวแต่คิดหาคำตอบ  ในเรื่องที่สงสัยอยู่นั่นเอง

หัดรู้ทันจิตใจตนเองมากเข้า ไม่นานก็จะทราบด้วยตนเองว่า
ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร  ความพ้นทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร
สภาพที่ไม่ทุกข์ เป็นอย่างไร
สภาพจิตใจมันจะพัฒนาของมันไปเองทุกอย่าง
ไม่ต้องไปคิดเรื่องฌาน เรื่องญาณ หรือเรื่องมรรคผลนิพพานใดๆ ทั้งสิ้น

ถึงตรงนี้ อาจจะพูดธรรมะไม่ได้สักคำ แปลศัพท์บาลีไม่ได้สักตัว
แต่จิตใจพ้นจากความทุกข์ หรือมีความทุกข์ ก็ทุกข์ไม่มากและไม่นาน






Credit by : http://www.vipassana.es.tl/106-%26%233649%3B%26%233604%3B%26%233656%3B%26%233648%3B%26%233608%3B%26%233629%3B%26%233612%3B%26%233641%3B%26%233657%3B%26%233617%3B%26%233634%3B%26%233651%3B%26%233627%3B%26%233617%3B%26%233656%3B-.htm

Pics by : Google
           : K. peem


มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



การดูจิต
: ความหมาย วิธีการ และผลของการปฏิบัติ

เนื้อความ :
เพื่อนใหม่ที่เข้ามาสู่ลานธรรม มักจะมีคำถามเสมอว่า
การดูจิตคืออะไร ทำอย่างไร ดูแล้วมีผลอย่างไร
คำตอบที่ได้รับจากหลายๆ ท่าน ค่อนข้างแยกเป็นส่วนๆ
วันนี้ผมขอโอกาสเล่าถึง การดูจิตในภาพรวม สักครั้งนะครับ


ความหมายของการดูจิต

คำว่า การดูจิต เป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่ง
บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่ม
หมายถึงการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ)
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ)

รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน(บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม)
กล่าวอย่างย่อ ก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรม
ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



วิธีการเจริญวิปัสสนา(ดูจิต)

การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ
"รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น"
แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง (1) มีจิตที่มีคุณภาพ
และ (2) มีอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง เท่านั้น

ซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา
ได้แก่จิตที่มีสติ(สัมมาสติ) สัมปชัญญะ(สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิ
ส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้
หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์

เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้ (1) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ)
(2) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์)
(3) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ)
แล้ว (4) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ)

การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทัน
เช่นขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุข
เมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป

มีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธ  เมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไป
เมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดัน
ให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็นต้น

อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ  ต้องเป็นอารมณ์ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติ
โดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า   
อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรม  อันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรม

เช่นเมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆ
เมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆ
เมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯ

และเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยรูป
แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยรูป
หากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับ

ถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริง
เช่นเอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้ว
จะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้น

และการมีสติรู้ของจริง ก็ไม่ใช่การคิดถามตนเอง หรือคะเนเอาว่า
ตอนนี้สุขหรือทุกข์ โกรธหรือไม่โกรธ สงสัยหรือไม่สงสัย อยากหรือไม่อยาก
ตรงจุดนี้สำคัญมากนะครับ ที่จะต้องรู้สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรมให้ได้

เพราะมันคือ พยานหรือแบบเรียนที่จิตจะได้เรียนรู้
ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมันจริงๆ
ไม่ใช่แค่คิดๆ เอาว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




เมื่อมีสติรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น
ไม่เผลอไปตามความคิดซึ่งจะเกิดตามหลังการรู้สภาวธรรม
เช่นเมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในจิต อันนี้เป็นปรมัตถธรรม
ถัดจากนั้นก็จะเกิดสมมุติบัญญัติว่า นี้เรียกว่าราคะ
สมมุติตรงนี้ห้ามไม่ได้ เพราะจิตเขามีธรรมชาติเป็นนักจำและนักคิด
ผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปห้ามหรือปฏิเสธสมมุติบัญญัติ

เพียงรู้ให้ทัน อย่าได้เผลอหรือหลงเพลินไปตามความคิดนึกปรุงแต่งนั้น
หรือแม้แต่การหลงไปคิดนึกเรื่องอื่นๆ ด้วย
แล้วให้เฝ้ารู้สภาวะ(ที่สมมุติเรียกว่าราคะนั้น)ต่อไป ในฐานะผู้สังเกตการณ์
จึงจะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะอันนั้นได้

ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติที่ไปรู้สภาวะที่กำลังปรากฏ
จะต้องไม่เพ่งใส่สภาวะนั้นด้วย
เพราะถ้าเพ่ง จิตจะกระด้างและเจริญปัญญาไม่ได้
แต่จิตจะ "จำ และจับ" สภาวะอันนั้นมาเป็นอารมณ์นิ่งๆ แทนการรู้สภาวะจริงๆ
พึงให้จิตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เหมือนคนดูละคร ที่ไม่โดดเข้าไปเล่นละครเสียเอง
จิตที่ทรงตัวตั้งมั่น นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงาน
โดยไม่เผลอและไม่เพ่งนี้แหละ คือสัมมาสมาธิ
เป็นจิตที่พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่การเจริญปัญญาอย่างแท้จริง

คือเมื่อจิตมีสติ รู้ปรมัตถธรรม ด้วยความตั้งมั่น ไม่เผลอและไม่เพ่ง
จิตจะได้เรียนรู้ความจริงของปรมัตถธรรมอันนั้นๆ 4 ประการ
คือ (1) รู้สภาวะของมันที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (รู้ตัวสภาวะ)
(2) รู้ว่าเมื่อสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นแล้ว
มันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร (รู้บทบาทของสภาวะ)
(3) รู้ว่าถ้ามันแสดงบทบาทของมันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น (รู้ผลของสภาวะ)
และเมื่อชำนาญมากเข้า เห็นสภาวะอันนั้นบ่อยครั้งเข้า
ก็จะ (4) รู้ว่า เพราะสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว
จึงกระตุ้นให้สภาวะอันนั้นเกิดตามมา (รู้เหตุใกล้ของสภาวะ)
การที่จิตเป็นผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ หรือวิจัยธรรม (ธรรมวิจัย)
อันนี้เองคือการเจริญปัญญาของจิต หรือสัมปชัญญะ หรือสัมมาทิฏฐิ




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตัวอย่างเช่นในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้า
จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม

แล้วสภาวธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ)
การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมัน

แล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด
ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้น

ผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ
ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะ

และเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า
การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะ

จึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้น

ในส่วนตัวสภาวะของราคะเอง เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อยู่นั้น
มันจะแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นทันที คือระดับความเข้มของราคะจะไม่คงที่

มันตั้งอยู่ไม่นาน เมื่อหมดกำลังเพราะเราไม่ได้หาเหตุใหม่มาเพิ่มให้มัน (ย้อนไปมองสาว)
มันก็ดับไป แสดงถึงความเป็นทุกข์ของมัน

และมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ตั้งอยู่ก็ตาม ดับไปก็ตาม
ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยกำหนด ไม่ใช่ตามที่เราอยากจะให้เป็น

นอกจากนี้ มันยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา
เหล่านี้ล้วนแสดงความเป็นอนัตตาของสภาวะราคะทั้งสิ้น