แสงธรรมนำใจ > หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์
ดวงตะวันในใจฉัน : ภาค จักรวาลในของฝุ่นผง
มดเอ๊กซ:
จักรวาลในของฝุ่นผง
เมื่อบ่ายวันก่อน เมื่อฉันกลับมายังที่พำนัก ฉันปิดประตูและหน้าต่างทุกบาน เพราะลมพัดแรง เช้าวันนี้ เปิดหน้าต่างเอาไว้ ฉันสามารถมองเห็นป่าไม้เขียวชอุ่มที่เย็นยะเยือก ดวงตะวันสาด แสงลงมาและนกตัวหนึ่งส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว ตุยน้อยไปโรงเรียนแล้ว ฉันจะหยุดเขียนหนังสือ สักครู่หนึ่ง เพื่อจะมองดูบรรดาต้นไม้ที่ทอดกิ่งอยู่ข้างเชิงเขา ฉันรับรู้ถึงการมีอยู่ของต้นไม้และ ตัวของฉันเอง ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องปิดประตูการรับรู้ทางอายตนะ เพื่อที่จะได้เกิดสมาธิ สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่ ๆ อาจจะพบว่าการหลับตาลงตลอดจนการได้อยู่ในที่ที่มีเสียงรบ กวนน้อย อาจจะช่วยให้การตามลมหายใจ หรือการปฏิบัติสมาธิด้วยวิธีอื่น ๆ ง่ายขึ้น แต่การ ปฏิบัติก็อาจเป็นไปได้เมื่อเปิดหน้าต่างของอายตนะ วัตถุที่อยู่ในความรับรู้ของเรามิได้อยู่นอกกาย เสมอไป ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มองเห็นรูป ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้ดมกลิ่น หรือไม่ได้ลิ้มรส แต่เรา ก็ไม่สามารถมองข้ามการรับรู้ความรู้สึกภายในร่างกายของเราได้ เมื่อคุณปวดฟันหรือเป็นตะคริว ที่ขา คุณจะรู้สึกถึงความเจ็บปวด เมื่ออวัยวะทุกอย่างของคุณเป็นปกติ คุณจะรับรู้ถึงความสุขสบาย ของร่างกาย พุทธศาสนาพูดถึงความสุข ๓ ประการด้วยกัน คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ และกลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ แต่จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกกลาง ๆ ก็เป็นความรู้สึกรื่นรมย์ไม่น้อย ถ้าเราตื่นตัวอยู่เพื่อ รับรู้ความรู้สึกนั้น ๆ
ความรู้สึกภายในกาย เป็นสายธารที่ไหลอย่างต่อเนื่องมิได้ขาดสาย ไม่ว่าเราจะระลึกรู้หรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้การที่จะปิดประตูอายตนะทั้งปวง จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือแม้ว่าเราจะกักกั้นมันด้วย วิธีหนึ่งใดก็ตาม จิตและความรับรู้ ( วิญญาณ ) ก็ยังคงทำงานของมันต่อไป เรายังคงมีภาพบัญญัติและ ความคิดจากความทรงจำของเรา บางคนคิดว่าการนั่งสมาธิ ก็คือการแยกตัวออกมาจากโลกของ ความคิดและความรู้สึก กลับสู่สภาวะบริสุทธิ์ ที่จิตมีตัวเองเป็นวัตถุแห่งการภาวนา และจิตจะกลาย เป็น " จิตเดิมแท้ " นั้น เป็นความคิดที่สวยสดงดงาม แต่เป็นความคิดที่ผิดพลาดในขั้นพื้นฐานเลยทีเดียว เพราะจิตมิได้เป็นอยู่โดยแยกขาดออกจากความคิดและความรู้สึก จิตจะผละออกไปอยู่กับตัวเองได้อย่างไร เมื่อฉันมองดูต้นไม้ข้างหน้า จิตของฉันไม่ได้ออกจากตัวฉันเข้าไปอยู่ในป่า หรือจิตไม่ได้เปิดประตูเพื่อ ให้ต้นไม้เข้ามาอยู่จิต อันที่จริงจิตของฉันอยู่ที่ต้นไม้ แต่ทั้งสองจิตและต้นไม้มิใช่สองสิ่งที่ดำรงอยู่เป็น เอกเทศ จิตของฉันและต้นไม้เป็นหนึ่งเดียว ต้นไม้เป็นเพียงหนึ่งในการสำแดงให้ปรากฏแห่งจิตอันน่ามหัศจรรย์
ป่าไม้
ภาพร่างแห่งต้นไม้นับพัน และจิตของฉัน
ใบไม้พลิ้วเป็นคลื่น
หูได้ยินเสียงเพรียกของลำธาร
ตาเห็นท้องฟ้าแห่งใจ
รอยแย้มยิ้มสถิตอยู่ทั่วทุกใบของใบไม้
มีป่าไม้อยู่ที่นี่
เพราะฉันอยู่ที่นี่
จิตติดตามป่าไม้
และได้นุ่งห่มอาภรณ์สีเขียว
ปราชญ์เข้าสู่มาธิ เขาหรือเธอไม่รู้หรอกว่า นี่โลกภายนอกที่จะต้องหนีออกมา หรือมีโลกภายใน ที่จะต้องเทรกเข้าไป โลกปรากฏตนขึ้นเอง แม้ดวงตาทั้งสองจะปิดลง โลกไม่ใช่จะอยู่ภายในหรือ ภายนอก ในทุก ๆ วัตถุแห่งการภาวนาจะเป็นโลกอยู่พร้อมมูลไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ปลายจมูก หรือสิ่งอื่น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้แม้จะมีขนาดเล็กเพียงฝุ่นผงหรือ ยิ่งใหญ่ปานขุนเขาก็ตาม จะเป็นวัตถุใด ก็ตาม วัตถุนั้นหาได้เป็นเพียงเสี้ยวส่วนของความจริงอันสูงสุดไม่ อันที่จริงวัตถุนั้นได้คลอบคลุม ความเป็นจริงทั้งมวลอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นไว้แล้ว
มดเอ๊กซ:
เล็กมิได้ภายอยู่ใน ใหญ่มิได้อยู่ภายนอก
ฉันขอเชื้อเชิญเธอให้มาเข้าสมาชิกกับฉัน โปรดนั่งในท่าที่สบายผ่อนคลาย ให้ความสนใจ ของเธอไปอยู่ที่ลมหายใจ ปล่อยลมหายใจให้อ่อนโยนอย่างยิ่ง เบาสบายอย่างยิ่ง สักชั่วครู่ เคลื่อนย้ายความสนใจไปสู่ความรู้สึกในร่างกายของเธอ ถ้าเธอรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบาย ประการใด หรือถ้าความรู้สึกสุขสบายประการใด ให้นำความใส่ใจไปไว้ที่นั่น มีปีติกับความ รู้สึกนั้นด้วยความตื่นรู้ที่เต็มเปี่ยม อีกสักครู่เปลี่ยนมาสังเกตุอวัยวะต่าง ๆ ภายในที่ทำงาน แตกต่างกันไป เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ระบบย่อยอาหาร และอื่น ๆ โดยปกติอวัยวะเหล่านี้ จะทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากความลำบากยากเย็น ประการใด สำรวจผ่านไปโดย ไม่ไปยึดอยู่กับอวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น นอกจากว่ามันจะเจ็บปวด สังเกตกระแสเลือดที่หลั่ง ไหลประดุจดังแม่น้ำที่ไหลในชนบทนำความชุ่มฉ่ำมาหล่อเลี้ยงท้องทุ่งด้วยน้ำใสสะอาด
เธอคงรู้ว่าธาราแห่งเลือดนี้จะหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ก็จะให้อาหาร ( ระบบย่อยอาหาร ) แก่เลือด ทำความสะอาดเลือด ( ตับ และปอด ) ตลอดจนสูบฉีด ( หัวใจ ) เลือดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกายล้วนอิงอาศัยกันและกันในการดำรงอยู่ ปอดมีความสำคัญต่อเลือด เลือดมีความสำคัญ ต่อปอด เลือดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปอด เลือดจึงเป็นส่วนหนึ่งของปอด และปอดเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเลือด ปอดจึงเป็นส่วนหนึ่งของเลือด ในลักษณะเช่นเดียวกัน เราอาจจะกล่าวว่า ปอด เป็นส่วนหนึ่งของหัวใจ ตับเป็นส่วนหนึ่งของปอด และอื่น ๆ เราจะเห็นได้ว่าอวัยวะหนึ่ง ๆ ในร่างกายย่อมหมายถึงการดำรงอยู่ของอวัยวะอื่นทั้งหมดในร่างกาย นี่คือ " การอิงอาศัยอยู่ซึ่งกันและกัน "ใน อวตังสกสูตร เหตุและผลจึงไม่ถูกมองเห็นเป็นเส้นตรง แต่เป็นโยงใยประดุจ ดังตาข่ายและก็ไม่ใช่ตาข่ายที่เป็นเพียงสองมิติ แต่หากเป็นระบบโยงใยเกี่ยวพันกันไปในทุกทิศ ทุกทาง คือเป็นเครือข่ายโยงใยหลายมิติออกไป ไม่เพียงแต่อวัยวะหนึ่งจะมีการดำรงอยู่ของ อวัยวะอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยในขณะเดียวเท่านั้น แต่เซลล์แต่ละเซลล์ ยังเป็นเซลล์ทั้งหมดทุกเซลล์ ด้วยหนึ่งดำรงอยู่ในทั้งหมด และทั้งหมดดำรงอยู่ในหนึ่ง สิ่งนี้ได้มีการแสดงไว้อย่างชัดเจน ในอวตังสกสูตร " หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดก็คือหนึ่ง "
เมื่อเราจับความจริงข้อนี้ได้ เราก็จะหลุดพ้นออกจากห้วงเหวของความคิดเรื่อง " หนึ่ง " หรือ " มากหลาย " อันเป็นนิสัยที่คุมขังเราเอาไว้เป็นเวลานาน เมื่อฉันพูดว่า " เซลล์เซลล์หนึ่งมีเซลล์อื่น ๆ อยู่ในตัวของมัน " อย่าเข้าใจผิด โดยคิดไปว่าเซลล์เซลล์หนึ่งจะสามารถยึดหนังเซลล์ออกครอบ คลุมเซลล์อื่น ๆ เอาไว้ทั้งหมด ฉันหมายถึงว่าการปรากฏของเซลล์เซลล์หนึ่ง ย่อมหมายถึงการ ปรากฏของเซลล์อื่น ๆ ด้วย เพราะเซลล์เซลล์หนึ่งไม่สามารถเป็นอยู่ต่างหากจากเซลล์อื่น ๆ ได้ พระอาจารย์เซนชาวเวียดนามเคยกล่าวว่า " ถ้าหากฝุ่นผงอณูหนึ่งมิได้มีอยู่ จักรวาลหนึ่งทั้งหมด ก็หามีอยู่ไม่ " ผู้รู้แจ้งเมื่อเห็นอณูหนึ่งของฝุ่นผงก็จะเห็นก็จะเห็นจักรวาลด้วย สำหรับผู้เริ่มต้นฝึก สมาธิ แม้จะไม่สามารถมองเห็นความจริงข้อนี้ได้อย่างเดียวกับที่สามารถมองเห็นแอปเปิ้ลในมือ ของเขา เขาก็อาจจะเข้าใจความจริงข้อนี้ ได้ด้วยการสังเกตและการพิจารณาในอวตังสกสูตรมีวลี ที่จะทำให้ผู้อ่านสับสนและตระหนกตกใจ ถ้าหากมิได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิในหลักการของการ อิงอาศัยซึ่งกันและกัน " ในทุก ๆ อณูของฝุ่นผง ฉันเห็นโลกของพระพุทธเจ้านับประมาณมิได้ ในโลกแต่ละโลกนี้ มีพระพุทธเจ้านับประมาณมิได้ เปล่งรัศมี ... " " เอาโลกหนึ่งมาใส่ไว้ในหลาย ๆ โลก และเอาหลายโลกมาใส่ไว้ในโลกหนึ่ง " " ภูเขาพระสุเมรุหลาย ๆ ลูกสามารถนำมาแขวนไว้ ณ ปลายเส้นผม " ในโลกแห่งปรากฏการณ์ สิ่งต่าง ๆ ดูเหมือนจะเป็นอยู่ต่างหากจากกัน ซึ่งจะ กินเนื้อที่ของตนเองอยู่โดยเฉพาะ " นี่ " อยู่นอก " นั่น " แต่เมื่อเราเจาะทะลวงเข้าไปในหลักการแห่ง การอิงอาศัยกัน เราจะเห็นว่าความรู้สึกของการแยกกันอยู่ต่างหากจากกันนี้ เป็นความเข้าใจผิด วัตถุหนึ่งประกอบขึ้นด้วยวัตถุอื่น ๆ และครอบคลุมวัตถุอื่น ๆ อยู่ในตัววัตถุนั้น ภายในแสงแห่ง สมาธิว่าด้วยการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความคิดเรื่อง " หนึ่ง - มากหลาย " จะล่มสลายลงไปด้วย กวี เหงียน กอง ตรู เมื่อประจักษ์แจ้งในความคิดข้อข้อนี้ ได้เปล่งวาจาออกมาว่า
ในโลกนี้ และในโลกอื่น ๆ ข้างหน้า
พระพุทธองค์นั้นหาผู้เปรียบมิได้
เล็กมิได้อยู่ภายใน
ใหญ่มิได้อยู่ภายนอก
มดเอ๊กซ:
ดวงตะวันในใจฉัน
เมื่อเราประจักษ์แจ้งว่า " หนึ่งคือทั้งหมด และ ทั้งหมดก็คือหนึ่ง " ในระดับภายในร่างกายของเรา เราอาจจะก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง โดยพิจารณาจักรวาลทั้งมวลให้ปรากฏอยู่ภายใต้กายของเรา เรารู้ว่า ถ้าหัวใจหยุดเต้น สายธารแห่งชีวิตก็จะหยุดไหล ด้วยเหตุนี้ เราจึงทะนุถนอมหัวใจของเรามาก แต่ กระนั้นเราก็ไม่ค่อยจะได้มีเวลาสังเกตสังกาว่าภายนอกตัวเรา มีสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของ เราเช่นกัน ดูที่แสงอันท่วมท้นนั้นทีเราเรียกว่าดวงตะวัน นั้นคือ หัวใจอันที่สอง เป็นหัวใจที่อยู่นอก ร่างกายของเรา หัวใจที่มีแสงสว่างอันมหาศาลนี้ได้ให้ความอบอุ่นแก่ชีวิตทุกชีวิตบนพื้นโลก ซึ่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะดวงตะวัน ใบไม้ได้ซึมซับแสงอาทิตย์ และคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เพื่อผลิตอาหารให้แก่ต้นไม้ ดอกและลำค้น และเราต้องขอบคุณ พืชทั้งหลายที่ทำให้สัตว์มีชีวิตอยู่ได้ เราทุกชีวิตคือมนุษย์และพืชต่างก็ " บริโภค " ดวงตะวัน ทั้งโดย ตรงและโดยอ้อม เราคงไม่สามารถเริ่มบรรยายผลกระทบของดวงตะวันที่มีต่อเราได้ เพราะดวงตะวัน เปรียบเสมือนหัวใจอันยิ่งใหญ่ที่อยู่นอกกายกายเรา อันที่จริงร่างกายของเรามิได้จำกัดออยู่แต่ภายใน ผิวหนังที่ห่อหุ้มอยู่เท่านั้น ร่างกายของเรายิ่งใหญ่กว่านั้นมาก ยิ่งใหญ่จนมิอาจประมาณได้ เช่น ถ้าผิว อากาศที่ห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ โลกสูญหายไป ชีวิตของเราก็คงจะต้องจบสิ้นลง ไม่มีปรากฏการณ์อันใด ในจักรวาลนี้หรอกที่จะไม่เกี่ยวข้องกับเราอยู่อย่างไกล้ชิด จากก้อนกรวดที่นอนนิ่งออยู่กับมหาสมุทร ไปจนถึงการเคลื่อนตัวของกาแล็คซี่ ซึ่งอยู่ห่างจากเราออกไปหลายล้านปีแสง วอลต์ วิตแมน ผู้เป็น กวีได้กล่าวว่า " ฉันเชื่อว่าใบหญ้าใบหนึ่งก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการโคจรของหมู่ดาว " ถ้อยคำเหล่านี้ มิได้เป็นปรัชญา แต่หากมาจากส่วนลึกแห่งหัวใจของเขา เขากล่าว " ฉันใหญ่โต ฉันมีสิ่งต่าง ๆ หลาก หลายบรรจุอยู่ในตัวฉัน "
มดเอ๊กซ:
ต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกัน
การทำวิปัสสนาอย่างที่แนะนำมานี้อาจจะเรียกว่า " สภาวะต่างเป็นที่เกี่ยวพันกันอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น " นั่นก็คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกัน การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยปลดปล่อย เราให้เป็นอิสระจากบัญญัติแห่ง " เอกภาพ - ความหลากหลาย " หรือบัญญัติแห่ง " หนึ่ง - ทั้งหมด " การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยแแยกสลายบัญญัติแห่ง " ตัวฉัน " เพราะบัญญัติแห่งตัวตนนั้น สร้างอยู่บน พื้นฐานของความแตกต่างระหว่างเอกภาพกับความหลากหลาย เมื่อเราคิดถึงฝุ่นหนึ่งอณู ดอกไม้ดอก หนึ่งหรือมนุษย์ผู้หนึ่ง ความคิดของเรามิอาจหลุดพ้นออกมาจากความเป็นหนึ่งหรือเอกภาพได้ เรามอง เห็นเส้นที่คั่นอยู่ระหว่างหนึ่งกับสิ่งอื่น ๆ ที่มีอยู่มากหลายระหว่างหนึ่งกับสิ่งที่มิได้เป็นหนึ่งนั้น ในชีวิต ประจำวัน เราต้องการสิ่งเดียวกันนี้ เช่นเดียวกับที่รถไฟต้องกาศัยราง แต่ถ้าเราประจักษ์แจ้งในธรรมชาติ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกันของฝุ่น ดอกไม้ และมนุษย์ เราจะสามารถมองเห็นได้ว่า เอกภาพนั้นมิอาจ ดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความหลากหลาย ทั้งเอกภาพก็คือความหลากหลาย นี่คือหลักการของการต่าง เป็นและต่างอยู่ในกันและกันของอวตังสกสูตร
ต่างเป็นนั้นหมายถึง " นี่ก็คือนั่น " และ " นั่นก็คือนี่ " เมื่อเราพิจารณาลึก ๆ ลงไปในความต่างเป็น และต่างอยู่ในกันและกัน เราจะเห็นว่า ความคิดเรื่องหนึ่งกับมากมายนั้นคือสังขารที่จิตใจปรุงแต่ง ขึ้นมา ดุจเดียวกับถังที่ใช้โอบอุ้มน้ำ ครั้นเมื่อเราหลุดพ้นออกจากข้อจำกัดอันนี้ เราก็จะเหมือนกับ รถไฟที่วิ่งไปได้โดยไม่ต้องอาศัยรางเช่นเดียวกับเมื่อเราประจักษ์ว่าเราอยู่บนโลกกลม ๆ ที่หมุนรอบ ตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ บัญญัติเรื่องข้างบนข้างล่างก็จะสลายตัวไปเอง เมื่อเราประจักษ์แจ้ง ในการอิงอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราก็จะเป็นอิสระจากความคิดเรื่อง " หนึ่ง - มากหลาย "
ในอวตังสกสูตรได้มีการใช้ภาพของร่างแหแห่งรัตนะเพื่อแสดงถึงปฏิสัมพันธ์และความเกี่ยวพัน อันหลากหลายและไม่มีที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ร่างแหนั้นประกอบด้วยรัตนะอันทอประกายสดใส ซึ่งมีหลากหลายชนิด และแต่ละรัตนะนั้นก็เจียรไนให้มีหลากหลายแง่มุม รัตนะหนึ่ง ๆ ได้ประมวล ภาพของบรรดารัตนะทั้งหลายเอาไว้ในตัว เช่น เดียวกับที่มีภาพตัวอยู่ในรัตนะอื่น ๆ ทั้งมวล ในภาพ นี้เองที่แต่ละรัตนะย่อมบรรจุไว้ด้วยรัตนะอื่น ๆ ทั้งหมด
เราสามารถให้ตัวอย่างจากรูปทรงเรขาคณิตไว้ด้วย ยกตัวอย่างวงกลมที่มี ก. เป็นจุดศูนย์กลาง ก็จะ ประกอบด้วยจุดต่าง ๆ ก. ที่มีความห่างจาก ก. เท่า ๆ กัน วงกลมเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีจุดต่าง ๆ ทุกจุด อยู่ที่นั่น ถ้าขาดจุดใดจุดหนึ่งวงกลมก็จะไม่เป็นวงกลม เช่นเดียวกับบ้านที่สร้างขึ้นมาจากสำรับไพ่ หากชักไพ่ใบใดใบหนึ่งออกบ้านทั้งหมดก็จะพังลง ไพ่แต่ละใบต้องขึ้นต่อและกัน ถ้าขาดหายไป เพียงใบหนึ่ง บ้านก็จะไม่มี การปรากฏของจุดหนึ่งในวงกลมขึ้นอยู่กับการปรากฏของจุดอื่น ๆ ณ จุดนี้เราจะเห็นได้ว่า " หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง " จุดทุกจุดในวงกลมมีความสำคัญทัดเทียม กัน ไพ่แต่ละใบ ในบ้านที่สร้างด้วยไพ่ ย่อมมีความสำคัญเท่า ๆ กัน แต่ละใบย่อมมีความสำคัญต่อ การดำรงอยู่ของทั้งหมด และย่อมหมายถึงความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของส่วนอื่น ๆ นี่ก็คือการอิงอาศัยกันและกัน
เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติอันเกี่ยวพันของความสัมพันธ์ซึ่งทั้งโดยนัยของความต่างเป็น และการ เป็นอยู่ในกันและกัน เราลองนึกถึงรูปทรงกลมที่มีจุดต่าง ๆ ที่ผิวพรรณ และมีจุดต่าง ๆ ที่ประกอบ ขึ้นเป็นปริมาตรภายใน ทรงกลมจะประกอบด้วยจุดเป็นจำนวนมากมายแต่หากปราศจากจุดเหล่านี้ เพียงหนึ่งเดียว ทรงกลมจก็มิอาจดำรงอยู่อยู่ ทีนี้ลองมาใช้จินตนาการดูว่า ถ้าเราเชื่อมโยงจุด ก. ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในทรงกลมเข้ากับจุดอื่น ๆ ทุกจุดในทรงกลม และเราก็เชื่อมโยงจุด ข. ซึ่งเป็นจุดหนึ่ง ในทรงกลม เข้าถึงจุดอื่น ๆ ทุกจุดในทรงกลมรวมนับจุด ก. ด้วย เธอคงเห็นเส้นโยงใยจุดต่าง ๆ เกี่ยวพันกันอยู่อย่างหนาแน่น
พระโพธิสัตว์ย่อมมองเห็นธรรมชาติที่ต้องเกี่ยวข้องอิงอาศัยกันและกันอยู่ของสรรพสิ่ง มองเห็น ธรรมข้อหนึ่งในธรรมทั้งหลาย มองเห็นธรรมทั้งหลายในธรรมข้อหนึ่ง มองเห็นความหลากหลาย ในหนึ่ง มองเห็นหนึ่งในความหลากหลาย มองเห็นหนึ่งในสิ่งที่มิอาจประมาณได้ มองเห็นสิ่งที่ มิอาจประมาณได้ในหนึ่ง การเกิดและการดำรงอยู่ของธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่จริงแท้ และไม่อาจแตะต้องสัมผัสผู้ตรัสรู้ได้ ดังที่ฉัน ได้กล่าวถึงความคิดประการหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ร่วมสมัย คือความคิดเรื่อง " หูรองเท้าบู๊ต " เป็นความ คิดที่ปฏิเสธความคิดหน่อยพื้นฐานของสสาร ( ความคิดหน่วยพื้นฐานของสสารที่กล่าวไว้ว่า สสารนั้น เมื่อแยกย่อยลงไปเรื่อย ๆ เราจะพบหน่วยที่เล็กที่สุดที่มิอาจแบ่งย่อยอีกต่อไปได้ หน่วยดังกล่าวนั้น คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ) จักรวาลนี้คือ เครือข่ายและโยงใยของปรากฏการณ์ ที่ปรากฏการณ์ หนึ่งจะเกิดขึ้นจากการเกี่ยวโยงใยของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งมวล สิ่งที่เราเรียกว่า อนุภาค แท้ที่จริง ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคต่าง ๆ นั่นเอง
บางคนอาจตั้งคำถามขึ้นมาว่า " ถึงแม้ฉันจะเห็นด้วยว่าปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ย่อมจะต้องขึ้นต่อปรากฏ การณ์อื่น ๆ ทั้งมวล ในแง่ของการเกิดขึ้นและการตั้งอยู่ของปรากฏการณ์นั้น ๆ แต่แล้วสิ่งที่เรียกว่า ' ทั้งหมด ' ซึ่งเป็นสิ่งที่รวมปรากฏการณ์ทั้งหลายเข้าด้วยกันนั้น จะมาจากใหน " คุณจะกรุณาให้คำตอบ แก่เขาได้หรือไม่
มดเอ๊กซ:
ดวงตาที่เปิดออกในสมาธิ
สมาธิมิใช่สมาธิแต่เป็นงานสร้างสรรค์ นักปฏิบัติสมาธิที่เอาแต่เลียนแบบครูผู้สอนย่อมไปไม่ได้ไกล สิ่งนี้เป็นจริงด้วยในกิจกรรมอื่น ๆ เช่นการปรุงอาหาร เป็นต้น กุ๊กที่เก่งจะต้องมีจิตใจสร้างสรรค์ คุณสามารถเข้าถึงการพิจารณาว่าด้วยเรื่องการอิงอาศัยต่อกันและกันของปรากฏการณ์ทั้งมวลได้หลาย ทางด้วยกัน เช่นการพิจารณาอวัยวะภายในของคุณ อันได้แก่ เลือด หัวใจ ลำไส้ ปอด ตับ ไต และอื่น ๆ หรือจะพิจารณาเรื่องราวอื่น ๆ เช่น ความคิด ความรู้เสึก ภาพพจน์ กวีนิพนธ์ ความฝัน แม่น้ำ ดวงดาว ใบไม้ และอื่น ๆ
นักปฏิบัติสมาธิที่ดี จะน้อมนำสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเขาในทุก ๆ ด้าน ไม่ยอมให้ โอกาสอันใดแม้หนึ่งเดียวผ่านไป ทั้งนี้เพื่อจะเห็นถึงธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันอยู่ วันทั้งวันจะปฏิบัติด้วยสมาธิที่เต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา จะเปิดตาหรือปิดตาจิตก็เป็นสมาธิได้ ไม่ควรจะยึดติดในความคิดที่ว่า เราปิดตาเพื่อจะมองเข้าไปด้านในและเปิดตาเพื่อที่จะมองออกด้านนอก ต่างก็เป็นวัตถุแห่งความรู้สึกด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีอะไรอยู่ข้างนอกหรือข้างในสมาธิอันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะเธอธำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างลึกซึ้ง กับความเป็นจริงที่มีชีวิตชีวา ณ ช่วงเวลาเช่นนั้นเองที่ความแตกต่างระหว่างประธานและกรรมสูญสลายตัวไป เธอเข้าถึงความเป็นจริงที่มีชีวิตนั้นได้โดยง่ายดาย และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเธอ ได้ปล่อยวางลงเสียแล้ว ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือที่ไว้ใช้ตรวจสอบความรู้ อันเป็นความรู้ที่ทางพุทธศาสนา กล่าวว่าเป็น " ความรู้ที่ผิด "
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version