ผู้เขียน หัวข้อ: ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่  (อ่าน 3070 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 04:53:09 pm »


             

   อริยสัจสี่

หลังจากที่ได้วาดภาพสีสวยสดของเจ้าลิงให้ดูแล้ว จนเห็นลักษณะ ต่าง ๆ ของมันทั้งที่หื่นกระหาย โหยหา ก้าวร้าว และอื่น ๆ เราลอง หันมาพิจารณาดู ว่ามันจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ของมันได้อย่างไร

เราจะกลับเข้าและไปพ้นอัตตาได้ ก็โดยใช้สมาธิภาวนาทำการทวนกระแสกลับ โดยผ่านสถานการณ์ทั้งห้า และพัฒนาการขั้นสุดท้ายของ สกนธ์ทั้งห้า ก็คือรูปแบบความคิดที่กระเจิดกระเจิง ไม่สม่ำเสมอที่ ผ่านแวบเข้ามาในใจอยู่เสมอ ความคิดนานาประการจะเกิดขึ้นขณะ เจ้าลิงกำลังเพ้อคลั่งอยู่ในภูมิทั้งหกทั้งความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดกระ โดดปุปปับ ความคิดดั่งละคร ความคิดดั่งภาพยนต์ ฯลฯ เราจะเริ่ม เห็นความสับสนในจุดนี้และที่จะเข้าใจความสับสนนี้ให้ชัดเจนได้ การเข้าใจในเรื่องอริยสัจน์ ๔ จะช่วยได้มาก อริยสัจน์ ๔ นี้คือหัว ข้อธรรมทรงแสดงเป็นครั้งแรก คือ เป็นการหมุนกงล้อ " ธรรมจักร " เป็นครั้งแรก

อริยสัจน์ ๔ นี้ประกอบด้วย ความจริงที่ว่าด้วยทุกข์ ๑ ( ทุกข์ ) ความจริง ว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ๑ ( สมุทัย ) ความจริงว่าด้วยเป้าหมาย ( นิโรธ) และ ความจริงว่าด้วยมรรค ๑ ( มรรค ) เราจะเริ่มต้นที่ความจริงว่าด้วยทุกข์ ซึ่งหมายถึงว่า เราจะเริ่มมีความสับสนและระส่ำระสายของเจ้าลิง
 
ทุกข์ นั้น หมายถึง ความทนทรมาน ความคับแค้นใจ หรือความเจ็บปวด ความคับแค้นใจเกิดขึ้นเพราะจิตใจต้องหมุนเวียนไปมาอย่างไม่มีจุดเริ่ม หรือจุดจบ กระบวนความคิดแล่นไปเรื่อย ๆ ทั้งความคิดเกี่ยวกับอดีต ความคิดเกี่ยวกับอนาคต และความคิดเกี่ยวกับปัจจุบันนี้ ก่อให้เกิดความ กลัดกลุ้ม ความคิดทั้งหลายล้วนได้รับแรงกระตุ้นจากความคับแค้นใจ ความทุกข์ จนกลายเป็นสิ่งเดียวกันด้วยซ้ำไป ทุกข์นี้คือ ความรู้สึกวน เวียน ไม่รู้จบ ว่าชีวิตเรายังไม่สมบูรณ์ ยังพร่องอยู่ บางสิ่งบางอย่างไม่ เข้าที่ ยังไม่พอ เราจึงพยายามถมช่องว่างนั้น พยายามจัดให้เข้าที่เข้าทาง แสวงหาความพึงพอใจหรือความมั่นคงที่แปลกพิเศษ การต่อสู้ดิ้นรนและ การยึดครองเหล่านี้ ล้วนน่ากลัดกลุ้ม ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ท้ายที่สุด เราจะเริ่มกลัดกลุ้มกับการที่เป็นเพียง " ตัวฉัน " อยู่เท่านี้

ดังนั้น การทำความเข้าใจทุกข์ ก็คือการทำความเข้าใจความกระเจิดกระเจิงของจิตใจ เราถูกผลักไสไปที่นั่นที่ด้วยพลังมหาศาล ไม่ว่าจะกิน จะ นอน จะทำงาน จะเล่นหรือจะทำอะไรก็แล้วแต่ ชีวิตดูจะเต็มไปด้วย ความทุกข์ ความคับแค้นใจและความเจ็บปวด ถ้าเรากำลังสนุกสนาน เพลิดเพลิน เราก็กลัวจะสูญเสียมันไป เราจะดิ้นรนไขว่คว้าหาความเพลิดเพลินมาก ยิ่งขึ้น ๆ พยายามทับถมมันเข้าไป ถ้าเราต้องทุกข์ด้วยความคับ แค้นใจอยู่ตลอดเวลา กิจทุกประการดูจะบรรจุเอาความเจ็บปวดหรือความ คับแค้นใจไว้หมด ไม่ว่างเว้น

รูปแบบชีวิตที่เราสร้างขึ้น กลับไม่ปล่อยให้เรามีเวลาได้ลิ้มรสชาติของมัน ได้อย่างจริงจัง เพราะมีแต่ความยุ่งเหยิงไม่ว่างเว้น ใฝ่หาแต่ชั่วขณะต่อไป ไขว่คว้าคุณลักษณะของชีวิตอยู่ไม่ยั้ง นั่นแหละทุกข์ อริยสัจน์ข้อหนึ่ง การ ทำความเข้าใจและเผชิญหน้ากับความทุกข์นี้แหละเป็นก้าวแรก

เมื่อได้กำหนดรู้ชัดในความคับแค้นใจของเราแล้ว เราจะลองสืบสาวหา เหตุผลหาแหล่งที่มาของความคับแค้นใจนั้น ถ้าเราลองเฝ้าดูความคิดและ การกระทำของเรา เราจะพบว่า เราไม่ได้ว่างเว้นจากการดิ้นรนหล่อเลี้ยง อุ้มชูตัวเองเลย แล้วเราจะตระหนักได้ว่าการดิ้นรนนี้ นั้นคือ กระบวนการ ที่ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและปฏิบัติงานอย่างไร นี้เป็นอริยสัจน์ข้อที่สอง ได้แก่ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์

ดังที่เราได้เอ่ยไว้แล้ว ในกันฑ์ที่ว่าด้วยวัตถุนิยมทางศาสนธรรม ว่าหลาย คนเข้าใจผิดไปแล้วว่า ในเมื่ออัตตาเป็นตัวของความทุกข์ดังนี้แล้ว เป้า หมายของศาสนธรรมจึงต้องอยู่ที่การเอาชนะและทำลายอัตตาเสีย พวกเขา จะดิ้นรนหาทางกำจัดมือไม้ของอัตตา แต่ดังที่เราได้กล่าวแต่ต้นแล้ว ว่า การต่อสู้ดิ้นรนนี้เป็นเพียงอีกรูปแบบหนึ่งของอัตตา เราจึงวนไปเวียนมา พยายามหาทางปรับปรุงตนเองด้วยการต่อสู้ดิ้นรนจนกว่าเราจะตระหนักได้ว่า อาการทะยานอยากที่จะปรับปรุงตัวเองนี้ก็เป็นปัญหาหนึ่งในตัวของ มันเอง ญาณหยั่งรู้จะเข้ามาก็เพียงเมื่อเกิดช่องว่างขึ้นในการต่อสู้ของเรา เพียงเมื่อเราเลิกพยายามกำจัดความคิดของเราออกไป เพียงเมื่อเราหยุด แบ่งแยกความคิดดีเลว ที่ต่อสู้กัน เพียงเมื่อเราปล่อยให้ตัวเราเอง ได้สักว่าเห็นธรรมชาติของความคิดทั้งหลาย และคุณลักษณะนี้ จะเผยตัวตัวออกมา เพียงเมื่อปราศจากการต่อสู้ดิ้นรน เราจึงค้นพบอริยสัจน์ข้อสาม ความจริงว่าด้วยเป้าหมาย นั่นคือ การเลิกไขว่คว้า สิ่งที่เราต้องการ ก็คือเพียง แต่ทิ้งความพยายามที่จะปกป้องและสร้างตัวตนให้แก่ตัวเราเองเสีย แล้ว สภาพที่ตื่นขึ้นจะปรากฏเอง แต่ครั้นแล้ว เราจะเริ่มรู้สึกว่า เพียงแต่ " ปล่อยไป " นี้ เป็นไปได้ก็แต่ในชั่วขณะสั้น ๆ เราต้องมีแบบแผนบาง ประการช่วยนำเราสู่ " การปล่อยวาง " เราจะต้องก้าวสู่ศาสนมรรค อัตตาจะต้องถ่ายถอนตัวเองออกไปดั่งรองเท้าคู่เก่าที่สวมใส่ในการจาริก จากทุกข์ไปสู่ความหลุดพ้น


   ฉะนั้น จึงขอให้เราลองพิจารณาศาสนมรรคนี้ดู กล่าวคือ การบำเพ็ญ สมาธิภาวนาอันเป็นอริยสัจสี่ การบำเพ็ญสมาธิภาวนามิใช่การพยายาม เข้าสู่ภาวะจิตตกสู่ภวังค์หรือถูกอะไรบางอย่างเข้าสิง ทั้งในอินเดียและ ในธิเบตต่างก็มีระบบการทำสมาธิภาวนาแบบที่เรียกว่า " การเพ่ง " กล่าวคือ การบำเพ็ญสมาธิในแบบนี้ อยู่ที่การกำหนดรวมจิตไปที่จุดใดจุดหนึ่ง เป็นพิเศษ เพื่อให้บังคับควบคุมจิตใจได้มากขึ้น และนำมาใช้ในการเพ่ง ในการปฏิบัติแบบนี้ ผู้ปฏิบัติจะเลือกวัตถุมาจ้อง ครุ่นคิดสร้างนิมิตแล้ว ทุ่มเทความตั้งใจทั้งหมดลงไปในวัตถุนั้น ในการกระทำเช่นนั้น ข้าพเจ้า เรียกการปฏิบัติทำนองนี้ว่า " จิตกรีฑา " ( กสิน ) เพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับบูรณภาพในสถานการณ์ชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ มันยังมีพื้นฐานอยู่ที่การแบ่ง นี่ กับ นั่น ผู้เพ่งและสิ่งถูกเพ่ง ยิ่งกว่าจะไป พ้นทัศนะชีวิตแบบทวิภาค
 
 ในทางตรงกันข้าม การทำสมาธิมิได้หมายถึงการเพ่ง นี่เป็นข้อสำคัญที่จะ ต้องรู้ เพราะการเพ่งมักเป็นการเสริมกำลังให้อัตตา แม้จะไม่ได้ตั้งใจให้ เป็นเช่นนั้นก็ตาม แม้กระนั้นก็ดีเพราะเหตุที่การเพ่งนั้นเนื่องอยู่กับจุดใด จุดหนึ่งและวัตถุภายในใจ เราจึงมักดำดิ่งสู่ศูนย์กลางของ " หัวใจ " เรา เริ่มต้นด้วยการเพ่งดอกไม้ หิน หรือไฟ จับจ้องวัตถุนั้นอย่างแน่วนิ่ง แต่ ภายในใจนั้น เรากำลังดำดิ่งสู่หัวใจให้ลึกลงไปเท่าที่จะทำได้ เรากำลังทำให้ตัวตนของรูปทรงต่าง ๆ แน่นหนายิ่งขึ้น อันเป็นคุณลักษณ์ที่มั่นคง และแน่นิ่ง ในระยะยาวการปฏิบัติเช่นนี้อาจเป็นผลเสียได้เพราะการที่ต้อง อาศัยกำลังความตั้งใจอย่างมากมายของผู้ปฏิบัตินี่เอง อาจทำให้เรากักขัง ตัวเองในแง่ที่ทำให้เคร่งขรึมตามตัวและทื่อทึบ การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้นำ เราสู่การเปิดหรือพละกำลังหรืออารมณ์ขัน มันหนักเกินไปและทำให้เรา ติดรูปแบบได้ง่าย ในแง่ที่ผู้ปฏิบัติจะกำหนดกฏเกณฑ์ตายตัวให้กับตนเอง เราคิดว่า เราจำเป็นต้องเคร่งเครียดและเคร่งขรึม นี้จะทำให้ความคิดของ เรามีแต่ทัศนะแบบขันแข็ง โดยคิดว่า ยิ่งเรากักจิตใจของเราได้มากเพียงใด ก็เท่ากับว่าเราประสบความสำเร็จแล้วเพียงนั้น ความคิดเช่นนี้ ติดรูปแบบ และนิยมการใช้อำนาจบังคับ ความคิดในลักษณะนี้ มักมุ่งอยู่กับอนาคต และใกล้ชิดกับอัตตา " ฉันอยากเห็นผลเช่นนี้ เช่นนั้น ฉันมีทฤษฎีหรือ ความฝันใอุดมคติ ที่ฉันอยากทำให้เป็นผลขึ้นมา " เรามักจะมีชีวิตอยู่กับ อนาคต โดยระบายสีทัศนะต่อชีวิตของเรา ให้สวยสดไปด้วยความ คาดหวังว่าจะได้รับผล อันอุดมเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะการคาดหวังดังนี้นี่เอง ที่ทำให้เราพลาดจากความเที่ยงตรงและการเปิด ทั้งภูมิปัญญาในปัจจุบัน เรากลับต้องมนตร์มืดบอดและถูกเป้าหมายอันอุดมของเราท่วมทับ

ลักษณะอันขันแข็งของอัตตา
ย่อมเป็นที่แลเห็นได้ง่ายในโลกแห่งวัตถุ นิยมที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ ถ้าคุณอยากเป็นเศรษฐีเงินล้าน นับแต่แรก คุณจะพยายามเป็นเศรษฐีเงินล้านเสียก่อนในทางจิตใจ คุณจะเริ่มต้นด้วย ด้วยการวาดภาพพจน์ ตัวคุณเองในฐานะเศรษฐีเงินล้าน และพยายาม กระทำการอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คุณจะผลักไสตัวเองไปตาม ทิศทางนั้นโดยไม่ยอมพิจารณาแม้แต่น้อย ว่าคุณจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ แนวทางการพิจารณาดังนี้นับว่าเป็นการเอาผ้าผูกตาตนเอง ทำให้ คุณไม่ไวต่อปัจจุบันขณะ เพราะคุณใช้ชีวิตอยู่ในอนาคตของคุณมากเกิน ไปและในการทำสมาธิภาวนา เราก็อาจฉวยเอาวิธีพิจารณาแบบผิด ๆ เช่นนี้มาใช้ได้เช่นกัน


เพราะเหตุนี้ การบำเพ็ญสมาธิภาวนาที่แท้จริง คือหนทางก้าวออกจาก อัตตา ฉะนั้น ประเด็นแรกจึงอยู่ที่ว่า คุณจะต้องไม่ใส่ใจกับการบรรลุ สภาพจิตที่ตื่นขึ้นในอนาคตจนเกินไป การบำเพ็ญสมาธิภาวนานั้นสำคัญ เป็นรากฐาน ที่สถานการณ์ในปัจจุบันขณะ คือสภาพจิตใจในปัจจุบัน สมาธิภาวนาใดที่มุ่งอยู่เหนืออัตตา จะจับต้องอยู่ที่ปัจจุบันขณะ ด้วยเหตุ นี้จึงเป็นวิถีชีวิตที่สามารถยิ่ง หากคุณกำหนดรู้ภาวะปัจจุบันของคุณและ สภาพรอบ ๆ ตัวได้อย่างหมดจด คุณก็จะไม่พลาดสิ่งใด เราอาจหากลวิธี ทางสมาธิภาวนาที่จะนำมาใช้อำนวยความสะดวกแก่การกำหนดรู้เยี่ยงนี้ ได้มาก แต่กลวิธีเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียงหนทางที่จะก้าวออกจากอัตตา กลวิธี เป็นดั่งของเล่นสำหรับเด็กเล็ก ครั้นเด็กโตพอแล้ว ก็ทิ้งของเล่นไป ใน ขณะเดียวกัน กลวิธีก็เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาความอดกลั้นและไว้ใช้ หลีกการฝันเฟื่องใน " ประสบการณ์ทางศาสนธรรม " การปฏิบัติทั้งหมด ของเรา จะต้องวางรากฐานอยู่บนสัมพันธภาพระหว่างเรากับปัจจุบันขณะ

คุณไม่จำเป็นจะต้องผลักไสตัวเองให้บำเพ็ญสมาธิภาวนา ขอคุณเพียงแต่ ปล่อยวาง ถ้าคุณทำได้ดังนี้ ความรู้สึกที่ว่างและปลอดโปร่งจะมาเอง อันเป็นการปรากฏของธรรมชาติแห่งพุทธะหรือภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานซึ่ง กำลังแผ้วทางผ่านพ้นความสับสนทั้งปวง ครั้นแล้วคุณเริ่มจะเข้าใจ " ความจริงว่าด้วยหนทางดับทุกข์ " อันเป็นอริยสัจข้อที่สี่ เป็นความเรียบง่าย ดังเช่นว่าการ กำหนดรู้ ย่างก้าวของคุณ ( จงกรม ) แรกเริ่มคุณจะ กำหนดรู้การยืน แล้วคุณจะกำหนดรู้ว่าเท้าขวาของคุณกำลังยกขึ้น กำลังย่าง กำลังสัมผัส กำลังก้าวลงไป ครั้นแล้วก็มาที่เท้าซ้าย ยก ย่าง สัมผัส ก้าว เราอาจใช้รายละเอียดในการกระทำมากมาย ที่จะช่วยให้แลเห็น ความเรียบง่ายและคมชัดในการดำรงอยู่กับชั่วขณะนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้

การปฏิบัติเช่นนี้ก็ทำนองเดียวกับการกำหนดรู้ลมหายใจ ( อานาปานสติ ) คุณกำหนดรู้ลมหายใจเข้าที่ผ่านปลายจมูก ลมหายใจออก และลมที่แหวก บรรยากาศออกไป มันเป็นความเที่ยงตรงที่คมชัด ลงรายละเอียด และเป็น ลำดับขั้น ทั้งยังเรียบง่ายในตัวเอง ถ้าการกระทำใดเป็นไปอย่างเรียบง่าย คุณจะเริ่มตระหนักถึงความเที่ยงตรงของมัน เราจะเริ่มตระหนักได้ว่าทุก สิ่งทุกอย่างที่เรากระทำอยู่ในชีวิตประจำวัน ล้วนงดงามและมีความหมาย

หากคุณรินน้ำชา คุณกำหนดรู้การเหยียดแขน สัมผัสกาน้ำชา ยกมันขึ้น และรินน้ำชาจนกระทั่งน้ำชาสัมผัสถ้วยจนเต็มถ้วย แล้วคุณก็หยุดริน วางกาน้ำชาลงอย่างเหมาะเจาะ ดังที่กระทำกันในพิธีเลี้ยงน้ำชาของชาวญี่ปุ่น คุณเริ่มกำหนดรู้ว่าทุกขณะที่เที่ยงตรง ล้วนภูมิฐาน อันที่จริง เรา ต่างพากันหลงลืมไปสนิท ว่ากิจกรรมทุกประการ ล้วนเรียบง่ายและ เที่ยงตรงได้ การงานทุกอย่างในชีวิตของเรา ล้วนบรรจุความเรียบง่าย เที่ยงตรงไว้แล้ว ฉะนั้นจึงเป็นการงานที่งดงามและภูมิฐานอย่างยิ่งทั้งสิ้น
 
การสนทนาสื่อสารกันและกันก็เป็นกิจที่งดงามได้ หากเรามองมันในแง่ ที่เรียบง่ายและเที่ยงตรง ทุกขณะที่เราหยุด ในขณะที่กำลังพูด จะเป็นดังการเว้นวรรคตอน เราพูดทิ้งช่องว่าง ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปแบบที่ เคร่งขรึมตายตัวเลย แต่จะงดงามตรงที่คุณไม่รีบเร่ง คุณไม่ได้พูดรัวจน ถี่ยิบ อย่างหยาบกระด้าง เราไม่จำเป็นต้องถ่ายเทข้อมูลข่าวสารออกไป แล้วหยุดชะงักเพื่อให้คนอื่นตอบโต้ด้วยความรู้สึกว่ากำลังโยนกลองให้ผู้อื่น แต่เราสามารถกระทำการอย่างภูมิฐานและเหมาะเจาะได้ เพียงแต่ ทิ้งช่วงบ้างเท่านั้น ช่วงว่างนี้แหละ ที่สำคัญในการสื่อสารกับคนอื่นพอ ๆ กับการพูดคุย คุณไม่จำเป็นต้องท่วมทับคู่สนทนาด้ยถ้อยคำ ความนึก คิด และรอยยิ้มไปในทันทีทั้งหมด คุณสามารถทิ้งช่วงว่างได้ แล้วยิ้ม พูดไปพักหนึ่ง แล้วทิ้งช่วงว่าง แล้วพูดคุยต่อ ทิ้งช่วงว่าง เว้นวรรค ตอน คุณลองคิดดูเถิดว่า ถ้าเราเขียนจดหมายถึงคนอื่น โดยที่ไม่ได้ เว้น วรรคตอนเลย การสื่อสารนั้นจะดูยุ่งเหยิงเพียงใด และคุณก็ไม่จำเป็น ต้องระวังตัวหรือเกร็งอยู่กับการทิ้งช่วงว่าง เพียงแต่ปล่อยให้มันไหลรี่ ไปตามธรรมชาติของมันเท่านั้น

การมองเห็นความเที่ยงตรงของสถานการณ์ในทุกขณะโดยอาศัยกลวิธีต่าง ๆ เช่นการเดินจงกรมนี้เรียกว่า สมถะภาวนา ( สมถะ ) สมถะภาวนา นี้เกี่ยวกับหินยานมรรค หรือ " ยานลำน้อย " อันเป็นมรรคที่แคบและเคร่ง ครัด สมถะหมายถึง " ความสงบ " มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ทรงสอนหญิงชาวบ้านผู้หนึ่งให้ฝึกสติ ขณะชักถังน้ำขึ้นจากบ่อ พระองค์ ทรงสอนให้เธอมีสติ กำหนดรู้ การเคลื่อนไหวแต่ละขณะของแขนและมือ นี้เป็นการฝึกกำหนดรู้คุณลักษณ์ของปัจจุบันขณะ ฉะนี้จึงเป็นสมถะ คือ พัฒนาการแห่งความสงบสันติ เพราะเมื่อคุณแลเห็น
ปัจจุบันกาลอยู่ทุกขณะก็จะไม่มีที่เหลือให้สิ่งใดอื่นนอกจากการเปิดและความสงบ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 08:06:00 pm โดย ฐิตา »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 04:57:04 pm »


ถาม : ท่านจะอธิบายอีกสักหน่อยได้ใหม เกี่ยวกับปล่อยให้มีช่องว่าง ผมพอเข้าใจได้ว่าท่านหมายถึงอะไร แต่ไม่เข้าใจว่า มันมาได้อย่างไร เราจะเปิดช่องว่างได้อย่างไร จะปล่อยวางได้อย่างไร

ตอบ : อันที่จริง เรื่องนี้ต้องโยงไปถึงหัวข้อต่อไป ที่ว่าด้วยโพธิสัตว์มรรค หนทางมหายานแห่งความกรุณาและอิสรภาพ อันเป็นทางกว้าง ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ตอบคำถามนี้โดยทัศนะแบบหินยานที่เน้น ความเรียบง่าย อาจตอบได้ว่าเราควรพอใจใสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดย ไม่ดิ้นรนหาความบันเทิงใจจากแหล่งภายนอกโดยทั่วไป ขณะที่เราพูด เราไม่เพียงแต่ต้องการสื่อสารกับคนอื่น แต่เรายังต้องการปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยเช่นกัน เราต้องการให้คนอื่นช่วยหล่อเลี้ยงเรา ซึ่งเป็นวิธีสื่อสาร ที่ยึดมั่นถือมั่นตัวเองมาก เราจะต้องละความต้องการนี้เสีย แล้วช่องว่างจะมาเองโดยปริยาย ช่วงว่างนั้นไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเราพยายาม สร้าง
 
ถาม : ท่านว่า เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมใการก้าวสู่หนทาง เราจะรีบ เร่งไม่ได้ เราต้องหยุดสักครู่ ท่านช่วยอธิบายประเด็นนี้ให้ชัดขึ้นสัก หน่อย
 
ตอบ : แรกเริ่มเดิมที เราจะรู้สึกว่าการแสวงหาทางศาสนธรรมนี้เป็นสิ่งที่หมดจดงดงาม ที่จะตอบปัญหาให้เราได้หมด แต่เราจะต้องไปพ้นจาก ความคิดคาดหวังเยี่ยงนี้ เราหวังจะให้ครูของเราแก้ปัญหา คลายความ สงสัยของเราทั้งหมด แต่เมื่อเราอยู่ต่อหน้าครูของเรา ท่านจะไม่ตอบคำถามทุกคำถาม ท่านจะปล่อยหลายสิ่งหลายอย่างไว้ให้เราพิจารณาด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องชวนขัดข้องใจแก่เราเป็นอย่างยิ่ง
 
เราจะเต็มไปด้วยความคาดหวัง โดยเฉพาะเมื่อเราแสวงหาศาสนมรรคแล้ว ผูกพันตัวเองกับวัตถุนิยมทางศาสนธรรม เราคาดหวังว่า ศาสนธรรมจะนำความสุขสบายมาให้เรา จะนำปัญญาญาณและการหลุดพ้นมาให้เรา
 
วิธีพิจารณาศาสนธรรมอย่างเซื่อง ๆ ตรงตัวอักษรแล้วดึงเข้าหาตัวเอง ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราจะต้องกลับหัวกลับหางมันเสีย ในที่สุดหากเราละ ความหวังว่าจะบรรลุการตรัสรู้ใด ๆ ได้เสีย ขณะนั้นเองหนทางจะเปิด ออก มันคล้ายกับการรอคอยใครสักคน พอคุณเลิกคาดหวังว่าเขาจะมา พอคุณเริ่มคิดได้ว่า ที่นึกว่าเขาจะมานั้นเป็นเพียงความฝันเฟื่องของตน โดยที่จริงแล้ว นับแต่แรกเขาก็ไม่มาอยู่แล้ว พอคุณเลิกหวังได้ดังนี้ คน ๆ นั้นกลับปรากฏตัวขึ้นทันที ศาสนมรรคเป็นไปในทำนองนี้ มันเป็น เรื่องของการสลัดความคาดหวังทั้งหลายออกไป ดังนั้นขันติจึงเป็นสิ่ง จำเป็นยิ่ง คุณไม่จำเป็นจะต้องถาโถมเข้าสู่มรรคาอย่างหักโหม เพียงแต่ รู้จักรอคอยเท่านั้น ปล่อยให้มีช่องว่างบ้าง อย่าไปหมกมุ่นกับการพยายาม ทำความเข้าใจ " ความเป็นจริง " แรกทีเดียวคุณจำเป็นเห็นแรงกระตุ้น ของคุณในการเสาะแสวงหาทางศาสนธรรม ความมุ่งมั่นเป็นสิ่งจำเป็นที เดียว หากเราจะเดินไปตามมรรคาอย่างเปิดใจ อันเป็นใจที่ไปพ้นจาก " ดี " และ " ชั่ว "
 
ความหิวกระหายใคร่รู้ได้เห็นจะเกิดขึ้น เมื่อเราเริ่มตระหนักในเหตุแห่ง ทุกข์ จะเกิดแรงผลักดันมหาศาลอยู่เบื้องหลัง ถ้าเราผลักไสตัวเองมาก เกินไป หนทางแห่งศาสธรรมจะกลับกลายเป็นหนทางแห่งความเจ็บปวด ความสับสนและวัฎฎสงสาร เพราะเราหมกมุ่นอยู่กับการช่วยเหลือตัว เองให้รอดพ้นจนเกินไป เราชำนาญเกินไปในการเรียนรู้ หมกมุ่นเกินไป กับความมุ่งมั่นของเราที่จะก้าวไปข้างหน้าตามหนทาง แทนที่จะปล่อยวาง และตรวจสอบพิจารณากระบวนการทั้งหมดเสียก่อนที่เราจะเริ่ม จำ เป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องไม่รีบถาโถมเข้าสู่ศาสนมรรค หากเตรียมตัวให้ พร้อมอย่างปราณีตเสียก่อน เพียงแต่รอคอย รอคอยและพิจารณากระบวนการทั้งหมดของ " การแสวงหาทางศาสนธรรม " ปล่อยให้มี ช่องว่าง บ้าง
 
ประเด็นหลักนั้นอยู่ที่ว่า เรามีความรู้พื้นฐานที่ส่องสว่างผ่านความสับสน ของเราออกมาอยู่ ลองพิจารณาอุปมาอุปมัยเรื่องเจ้าลิงตัวนั้นดู มันต้อง การออกจากเรือนของมัน เลยมัวหมกมุ่นกับการพยายามหนี ตรวจสอบ กำแพงและหน้าต่างปีนขึ้นปีนลง พลังมหาศาลที่ผลักดันเจ้าลิงคือ ความรู้ดั้งเดิม นั้น ซึ่งคอยผลักดันเราออกมา ความรู้นี้มิได้เป็นดั่งเมล็ดพืชที่ต้อง คอยเพาะเลี้ยง หากเป็นดั่งดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงผ่านช่องว่างในกลีบเมฆ ออกมา เมื่อเราปล่อยให้มีช่องว่าง ความเข้าใจที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ รู้ได้เอง จะบอกเราเองโดยอัตโนมัติฉับพลัน ว่าเราจะก้าวต่อไปในหน ทางอย่างไรดี นี่เป็นประสบการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงประสบมาแล้ว หลังจากที่พระองค์ได้ลองศึกษาอยู่ในสำนักดาบสทั้งหลายแล้ว พระองค์ก็ เริ่มตระหนักว่า วิธีการเช่นนั้นไม่อาจนำมาใช้ได้ผล พระองค์จึงทรงเลิก ทำดังนั้นเสีย และทรงมั่นพระทัยว่าจะแสวงหาด้วยตัวพระองค์เอง ซึ่ง พระองค์เองก็ได้ทำเช่นนั้นแล้ว นั่นเป็นสัญชาติญาณอันเป็นพื้นฐานนี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก มันจะบอกกับเราว่า เราไม่ได้เป็นคนบาป โดยพื้นฐาน แล้วเราไม่ได้ชั่วร้ายหรือขาดตกบกพร่องเลย

 
ถาม : เราจะจัดการกับสถานการณ์ของชีวิตในทางปฏิบัติอย่างไร ขณะ ที่กำลังพยายามทำตนให้เรียบง่ายและสัมผัสกับที่ว่าง

ตอบ :  คุณเข้าใจใหม ว่าที่จะสัมผัสกับที่ว่างเปิดโล่งได้นั้น เราก็จะต้อง สัมผัสกับรูปทรงของโลก และรูปทรงของรูปต่าง ๆ เพราะทั้งสองประการเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน บ่อยครั้งที่เรามักวาดภาพชวนฝันถึงที่ว่างเปิดโล่ง แล้วกลับติดกับดัก แต่ตราบใดที่เราไม่วาดภาพชวนฝันถึงที่ว่าง เปิดโล่งนั้น แต่โยงที่ว่างนั้นมาถึงโลก เราจะเลี่ยงกับดักนั้นได้ เราจะ สัมผัสที่ว่างไม่ได้ หากปราศจากแนวสังเขปของโลกมานิยามที่ว่างนั้น ถ้าเราจะวาดภาพที่ว่างเปิดโล่ง เราจะต้องถ่ายทอดมันออกมาในรูปของ เส้นของฟ้าของโลก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องกลับมาสู่ ปัญหา ในชีวิตประจำวันของเรา ปัญหาครัวเรือนนี่แหละ เพราะฉะนั้น ความ เรียบง่ายและเที่ยงตรงในกิจวัตรประจำวันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากรับรู้ ที่ว่างเปิดโล่งได้ คุณจะต้องกลับมาสถานการณ์ชีวิตที่ชวนอึดอัด ที่เคย เกิดขึ้นกับคุณอย่างจำเจ มองมันลงไปให้ลึกซึ้งชัดเจน พิจารณาดู ซีมซาบตัวคุณเองเข้าไป จนกระทั่งความเหลวไหลของรูปทรงของมันกระทบคุณ แล้วคุณจะเห็นความว่างของมันได้เช่นกัน
 
ถาม : เราจะสัมพันธ์กับอาการอดกลั้นไม่อยู่ ที่จะเข้ามาในช่วงแห่งการรอคอยได้อย่างไร
 
ตอบ : การอดกลั้นไว้ไม่อยู่ ไม่มีขันติ หมายความว่าคุณยังเข้าใจกระบวนการได้ไม่หมด หากคุณแลเห็นการกระทำทุกการกระทำอย่างทั่วถ้วน คุณ จะเลิกกระสับกระส่ายไปเอง
 
         

ถาม : ผมเคยประสบกับความคิดที่สงบและความคิดกระเจิดกระเจิง ผม ควรจะหมั่นปลูกฝังความคิดที่สงบเหล่านี้ได้หรือไม่


ตอบ : ในการทำสมาธิภาวนา ความคิดทั้งหลายล้วนเหมือนกัน ความคิด ดีงาม ความคิดสวยสด ความคิดเชิงศาสนา ความคิดสงบ ทั้งหมดก็ยังเป็น เพียงความคิด คุณไม่ต้องพยายามปลูกฝังความคิดที่สงบหรือกดดันสิ่งที่ เรียกว่าความคิดกระเจิดกระเจิง ประเด็นนี้สำคัญมาก เมื่อเราพูดถึงการ ดำเนินไปตามศาสนมรรค คือ อริยสัจ ๔ นี้มิได้หมายความว่า เราจะ กลับกลายเป็นคนดีงามสูงส่งเคร่งศาสนา การพยายามทำตัวสงบหรือดีงาม ก็ยังเป็นการดิ้นรนไขว่คว้า ยังเป็นอาการกระเจิดกระเจิง ความคิดที่โน้ม เอียงไปทางศาสนา จะกลายเป็นผู้เฝ้าดู ในขณะที่ความคิดโลก ๆ ที่สับสน จะกลายเป็นผู้แสดง ผู้กระทำ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทำสมาธิภาวนา อาจเกิดความคิดตามโลกียวิสัยขึ้น และขณะเดียวกัน จะมีคนเฝ้าดูคอย บอกว่า " เธอไม่พีงทำเช่นนี้ เธอไม่พึงทำเช่นนั้น เธอควรกลับมาที่สมาธิ " ความคิดอันสูงส่งเยี่ยงนี้ ก็ยังเป็นเพียงความคิด และไม่ควรปลูกฝัง
 
ถาม : ท่านช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหม ว่ากระบวนการหยุดพักและสนทนา ในการสื่อสารจะเกี่ยวโยงกับอัตตาได้อย่างไร

ตอบ : โดยปกติ เมื่อเราสื่อสารกับคนอื่น เรามักถูกความรีบร้อนกระเจิด กระเจิงบางอย่างผลักดันอยู่ เราต้องเริ่มปล่อยให้ความเป็นธรรมชาติบาง อย่างซึมซาบสู่ความเร่งร้อนนี้ เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องผลักไสตัวเราเข้าหา คนที่เรากำลังสื่อสารอยู่ด้วย ไม่ต้องสำแดงตัวเอง ไม่ต้องทำให้เขาหนัก แรง ในแง่หนึ่ง เมื่อเราพูดคุยถึงสิ่งที่เราสนใจเป็นพิเศษ เราไม่เพียงแต่ พูดคุย แต่เราแทบจะก้าวไปเหยียบยอดอกผู้ฟังเสียด้วยซ้ำ ที่จริง ความ เป็นธรรมชาตินั้นปรากฏอยู่ที่นั้นเสมอ แต่มันถูกบดบังด้วยความคิด เมื่อใดที่เกิดช่องว่างขึ้นในกลีบเมฆของความคิด มันจะฉายแสงออกมา เข้าไป หาและรับรู้ทางเปิดฉับแรกนั้นเถิด และด้วยการเปิดนี้เองที่ความรู้พื้นฐาน จะปรากฏ

 
ถาม : คนเป็นอันมาก เข้าใจความจริงว่าด้วยทุกข์ได้ แต่ไม่ก้าวไปสู่ขั้น ที่สอง คือการกำหนดรู้เหตุแห่งทุกข์ เหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น

ตอบ :  ผมคิดว่านั่นเป็นเพราะความว้าวุ่น เพราะเราอยากจะหนี เราต้อง การหนีจากความเจ็บปวด ยิ่งกว่าจะถือมันเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจ เรารู้สึกว่า แค่ความทุกข์ก็นับว่าเลวร้ายพออยู่แล้ว จะสืบสาวกันต่อไป ทำไม คนบางคนที่ประสบทุกข์อย่างแสนสาหัส จนตระหนักได้ว่าตนไม่ อาจหลีกหนีมันไปได้ เขาจะเริ่มเข้าใจได้เอง แต่คนส่วนมากมักหมกมุ่น อยู่กับการพยายามกำจัดความกลัดกลุ้มของตน หมกมุ่นอยู่กับการพยายาม หลบลี้หนีตัวเอง ไปหาวัตถุที่ตนครอบครองอยู่ การมองเข้าไปในทุกข์ ชวนให้ประหวั่นพรั่นพรึง ทัศนะแบบนี้นับว่าว้าวุ่นเป็นอย่างยิ่ง ถ้าคุณเข้า ไปมองใกล้เกินไป คุณจะพบบางอย่างน่ากลัว แต่หากคุณประสงค์จะได้ รับแรงบันดาลใจที่แรงกล้า ดุจเดียวกับพระสมณะโคดมแล้ว คุณจะต้อง เปิดใจให้กว้างอย่างแยบคายและใฝ่แสวงหา คุณจะต้องใฝ่สำรวจไปทุกสิ่ง แม้ว่ามันจะน่าเกลียด เจ็บปวด หรือบีบคั้นเพียงใดก็ตาม จิตใจเป็นวิทยาศาสตร์ดังนี้ นับว่าสำคัญยิ่ง
 
ถาม : ในจิตใจที่ตื่นขึ้นแล้ว แรงกระตุ้นเข้ามาแต่ใหน
 
ตอบ : แรงกระตุ้นที่บันดาลใจ จะมาจากบางสิ่งที่อยู่เหนือความคิดคำนึง ไปพ้นจากความคิดบัญญัติว่า " ดี " หรือ " เลว " " น่าปรารถนา " หรือ " ไม่น่าปรารถนา " มีภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่พ้นไปจากความคิดคำนึง อันเป็นธรรมชาติพื้นฐานของเรา เป็นพื้นเพของเรา เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นความรู้สึกที่ว่าง เป็นหนทางเปิดอันสร้างสรรค์ที่จะจัดแจงกับ สถานการณ์ต่าง ๆ แรงกระตุ้นดังนี้หาใช่การขบคิดที่ไม่เป็นไปโดยธรรมชาติอย่างเที่ยงตรง
 
ถาม : เราจะคุมใจของเรา โดยอาศัยการควบคุมสภาพทางกายภาพได้ หรือไม่

ตอบ : อะไรก็ตามที่คุณกระทำร่วมกับสถานการณ์ทั้งหลายล้วนเป็นการ สื่อสารกันและกันระหว่างนามธรรมกับรูปธรรมทั้งสิ้น แต่เราไม่อาจอิง อยู่กับกลไกของรูปธรรมได้แต่โดยลำพัง คุณไม่อาจจัดการกับปัญหาทาง ใจได้โดยเพียงแต่ควบคุมสิ่งภายนอก เราคงเห็นได้ว่าหลายต่อหลายคน ในสังคมของเรากำลังพยายามทำเช่นนั้น หลายต่อหลายคนห่มจีวร สละ โลกียวิสัย แล้วดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด ละทิ้งความประพฤติสามัญของ มนุษย์ แต่ถึงที่สุดแล้ว พวกเขาก็ยังต้องจัดการกับจิตใจอันสับสนของตน ความสับสนเริ่มขึ้นที่ใจ ฉะนั้นเราจึงต้องเริ่มโดยตรงที่ใจ แทนที่จะวิ่งไป วิ่งมาแต่รอบนอก การจัดการกับใจโดยบังคับควบคุมโลกทางกายภาพ ไม่อาจใช้การได้
 
ในระบำแห่งชีวิต วัตถุจะส่งผลกระทบใจและใจก็จะมีปฏิกิริยาตอบโต้วัตถุ แลกเปลี่ยนกันอยู่เช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ถ้าเราหยิบก้อนหินขึ้นมาสักก้อน เราจะรู้สึกได้ถึงคุณลักษณ์ของปฐวีธาตุที่มีรูปทรงได้ เราจะต้อง เรียนรู้วิธีสื่อสารกับคุณลักษณ์ของหินได้ ถ้าเรากำลังถือดอกไม้ในมือ สีสันรูปร่างเฉพาะของกลีบดอกนั้นย่อมโยงถึง ถึงจิตของเราด้วย เราไม่ สามารถเมินเฉยต่อสัญลักษณ์ในโลกภายนอกได้อย่างสิ้นเชิง
 
อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรกที่เราจะเผชิญหน้ากับความกระเจิดกระเจิงทางใจ ของเรา เราจะต้องตรงไปตรงมา ไม่คิดว่าเราจะตีปัญหาทางใจให้แตกได้ ด้วยวัตถุ ยกตัวอย่างเช่นบุคคลผู้หนึ่งเสียสมดุลทางใจ สับสนอย่างหนัก เหมือนเจ้าลิงที่เราเคยพูดถึง แล้วหากเราเอาจีวรมาสวมให้เขา จับให้เขา นั่งสมาธิ จิตใจของเขาก็ยังหมุนคว้างอยู่อย่างเดิม แต่ครั้นเขารู้จักตั้งตัวได้ และกลับกลายเป็นลิงธรรมดา ๆ ถึงตอนนั้น ถ้าพาเขาไปที่สงัดและปล่อย ให้เขาสงบรำงับ นั่นจะมีอานิสงส์ใหญ่
 
ถาม : เมื่อผมเห็นความน่าเกลียดของตัวเอง ผมไม่รู้ว่าจะยอมรับมันได้ อย่างไร ผมมักพยายามหลีกเลี่ยงมัน แก้ไขมัน ยิ่งกว่าจะยอมรับมัน

ตอบ : ที่จริง คุณไม่จำเป็นต้องซ่อนมันไว้ คุณไม่จำเป็นต้องแก้ไขมัน หากสืบสาวมันต่อไป เมื่อคุณเห็นความน่าเกลียดของตัวเอง นั่นยังเป็น เพียงความคาดคะเน คุณมองว่ามันน่าเกลียดซึ่งยังเกี่ยวโยงกับแนวคิด ว่านี่ " ดี " นี่ " เลว " คุณจะต้องไปพ้นเหนือคำและความคิดบัญญัติ แล้วเพียงแต่ดำดิ่งลงสู่สิ่งที่คุณเป็น ให้ลึกลงไป ๆ การเห็นแวบแรกยัง ไม่พาดอก คุณจะต้องพิจารณาให้ลึกถึงรายละเอียด โดยไม่ต้องตัดสิน ไม่ต้องใช้คำหรือบัญญัติใด ๆ ทั้งสิ้น การเปิดต่อตัวเองอย่างสิ้นเชิงก็คือ การเปิดต่อโลกทั้งโลกทีเดียว

 
 


- จาก ลิงหลอกเจ้า โดย ท่านวัชรจารย์ ตรุงปะ รินโปเช -

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 02:57:08 am โดย ฐิตา »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 07:40:30 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด ^^  ความสม่ำเสมอของใจ นี่สำคัญนะครับ ความดีทำไม่ยาก และเป็นคนดีที่สม่ำเสมอทำยากน่าดู
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 09:15:22 am »



อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณมด  :13:

 :45: :07: :45: