โพธิสัตวมรรคเราได้สนทนากันถึงสมาธิภาวนาแบบ
หินยานที่เน้น
ความเรียบง่ายและความ เที่ยงตรงไปแล้ว จะเห็นได้ว่า หากเราปล่อยให้มีช่วงว่าง อันสิ่งทั้งหลาย จะเป็นอย่างที่มันเป็นได้แล้ว เราจะเริ่มชื่นชมกับความเรียบง่ายและเที่ยงตรง ในชีวิตของเราได้อย่างแจ่มใส นี้เป็นขั้นต้นของการบำเพ็ญสมาธิภาวนา เราเริ่มแทงตลอด
สกนธ์ทั้งห้าได้ โดยขจัดความคิดฟุ้งซ่านทีุ่่ยุ่งเหยิง และ เร่งรีบ ทั้งเสียงซุบซิบที่ฟูฟ่องอยู่ในใจเราออกไป เมื่อทำได้ดังนี้ ขั้นต่อไป เราจะหันมาดูอารมณ์ของเราบ้าง
อาจเปรียบได้ว่า ความฟุ้งซ่านก็เป็นดั่งวงจรหมุนเวียนของโลหิตที่คอย หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อในระบบของเรา อันได้แก่
อารมณ์ความรู้สึก ( ธรรมารมณ์ ) ความคิดจะคอยเชื่อมโยงและหล่อเลี้ยงอารมณ์เอาไว้เพื่อให้ชีวิต ปะจำวันของเราแล่นลิ่วไปด้วย
เสียงซุบซิบภายในใจ อันมีอารมณ์สวยสด และรุนแรงระเบิดออกมาเป็นพัก ๆ ความคิดและอามณ์ทั้งหลายจะสำแดง ให้เห็นถึง
ทัศนะพื้นฐานที่เรามีต่อโลก ถึงวิธีที่เราสัมพันธ์กับโลก และช่วย สร้างรูปแบบของสภาพแวดล้อมขึ้นมา อันเป็นภูมิแห่งความฝันเฟื่องทั้งหลาย ที่เราดำรงชีวิตอยู่ "
สภาพแวดล้อม " เหล่านี้คือ
ภูมิหกนั่นเอง และแม้ภูมิ หนึ่ง ๆ จะกำหนดหมายลักษณะจิตใจของคน ๆ หนึ่ง แต่คน ๆ นั้นก็ยังประ สบกับอารมณ์ความรู้สึกอันเกี่ยวโยงกับภูมิอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ในอันที่จะแลเห็นภูมิเหล่าได้ เราต้องอาศัยวิธีมองที่กว้างไกลยิ่งขึ้น อัน เป็น
วิปัศยาน ( วิปัสสนา ) ภาวนา เราไม่เพียงกำหนดรู้รายละอียดอัน เที่ยงตรงคมชัด ของกิจกรรมทั้งหลาย หากกำหนดรู้สภาพการณ์ทั้งหมดด้วย วิปัศยานนี้รวมถึง
การกำหนดรู้ที่ว่าง และบรรยากาศ อันความเที่ยงตรงนั้น เกิดขึ้น
หากเราแลเห็นรายละเอียดอันเที่ยงตรงในกิจทั้งหลายได้ การกำ หนดรู้เช่นนี้จะก่อให้เกิดความว่างอย่างหนึ่งขึ้นมาด้วย การกำหนดรู้สภาพ การณ์โดยละเอียดก็เท่ากับกำหนดรู้
โดยกว้างด้วย การกระทำเป็นเช่นนี้จะ ทำให้การกำหนดรู้โดยกว้างปรากฏขึ้นคือ
มหาวิปัศยาน ( วิปัสสนา ) ภาวนา อันได้แก่ การกำหนดรู้แบบแผนทั้งหมดยิ่งกว่าจะเจาะจงไปที่
รายละเอียด เราเริ่มเห็นแบบแผนความฝันเฟื่องของเรา แทนที่จะไป
จมอยู่กับมัน เราจะ พบได้ว่า เราไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับภาพฉายแห่งตัวตนของเรา และกำแพงที่ แยกจากเราจากภาพฉายเหล่านั้นก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างขึ้นเอง ถึงตรง นี้
ปรัชญา ( ปัญญา ) จะเกิด คือ
ญาณหยั่งรู้ธรรมชาติอันไร้แก่นสารของ
อัตตา อันเป็นความรู้
ชั้นโลกุตระ แวบหนึ่งที่ปรัชญาเกิดขึ้น เราจะผ่อนคลาย และ
ตระหนักได้ว่าเราไม่ต้องอุ้มชูการดำรงอยู่ของอัตตาอีกต่อไป เราย่อม เปิดออกและมีความกรุณาได้ การแลเห็นวิถีทางที่จะจัดการกับภาพฉายแห่ง อัตตาของเราได้ดังนี้ ก่อให้เกิดสุขอย่างยิ่ง นี้นับเป็น
โลกุตระภูมิแรกที่โพธิสัตว์ จะบรรรลุถึง เราเริ่มเข้าสู่โพธิสัตว์
มรรคอันเป็นหนทางอย่างมหายาน เป็นทาง เปิด เป็นหนทางแห่งความอบอุ่นและการเปิด
ในการเจริญ
มหาวิปัศยานภาวนาระหว่างตัวเราและสิ่งอื่นย่อมมีเนื้อที่อัน กว้างขวาง เราจะตระหนักรู้ถึงเนื้อที่ระหว่างตัวเรากับสภาพการณ์ต่าง ๆ และทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ในเนื้อที่นี้ จะไม่มีที่นั่นที่ ไม่ใช่เรื่อง ของความสัมพันธ์และไม่ใช่เรื่องของสงคราม กล่าวอีกนัยหนึ่งเราไม่ได้
ตีตราแนวคิดบัญญัติ ชื่อเสียงเรียงนาม หรือจำแนกแยกประเภทต่าง ๆ ให้แก่ประสบการณ์นั้น ๆ หากเราย่อมสัมผัสได้ถึงเนื้อที่อันเปิดออกใน ทุก ๆ สภาพการณ์ โดยนัยนี้ ความสำนึกจะรู้แจ้งเที่ยงตรงและครอบคลุม ยิ่ง
มหาวิปัศยานภาวนา ยังหมายถึง
การปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นอยู่ตามที่มันเป็น เราเริ่มตระหนักได้ว่า เราไม่ต้องออกแรงพยายามอันใด เพราะสิ่งทั้งหลาย ก็เป็นตามที่มันเป็น เราไม่ต้องมองมันว่าเป็นอย่างนั้นเพราะมันเป็นเช่นนั้น อยู่แล้ว เพราะฉะนี้เราจึงเริ่มชื่นชมกับการเปิดและที่ว่าง เรามีที่ว่างที่จะขยับตัวได้ เราไม่ต้องพยายามกำหนดรู้ เพราะเราได้กำหนดรู้อยู่แล้ว ฉะนั้น มหาวิปัศยานจึงเป็นทางเปิด เป็นทางกว้างขวาง หนทางนี้อาศัยความพร้อม
ที่จะเปิดใจ ปล่อยให้ตนเองตื่นขึ้น ปล่อยให้
สัญชาติญาณของตนผุดขึ้นในบทก่อน เราพูดถึงการปล่อยให้มีที่ว่างจึงสามารถ
สื่อสารเชื่อมโยง แต่ การปฏิบัติเช่นนั้น ยังต้องอาศัยความตั้งใจและการควบคุมตนเองอยู่มาก แต่เมื่อเราเจริญ
มหาวิปัศยานภาวนา เราไม่ต้องควบคุมตัวเราให้สื่อสาร ไม่ต้องตั้งใจที่จะทิ้งช่วงว่างหรือตั้งใจที่จะรอคอย แต่อาจกล่าวได้ว่าเรา สามารถสื่อสารและเปิดเนื้อที่ออก โดยไม่ต้องกำหนดความตั้งใจ สามารถ ปล่อยวางอย่างไร้กังวล และ
ไม่ต้องไปครอบครองการปล่อยวางว่าเป็น ของเรา ว่าเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น เพียงแต
่เปิดออกและปล่อยวาง และไม่ เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ครั้นทำได้เช่นนี้แล้ว คุณลักษณ์ที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ ของสภาวะที่ตื่นอยู่ จะผุดขึ้นมาเอง
ในพระสูตร ที่มีกล่าวถึง
บุคคลผู้พร้อมเต็มที่ที่จะเปิด ( อุคฆฏิตัญญู ) บุคคลผู้กำลังพร้อมที่จะเปิด ( วิปจิตัญญู ) และ
บุคคลที่มีศักยภาพในอัน ที่จะเปิด ( เนยยะ ) บุคคลผู้มีศักยภาพอยู่นี้ คือ
ผู้รู้จักใช้วิจารณญาณ และ สนใจในประเด็นขั้นต้น หากยังไม่ปล่อยให้มีที่ว่างพอที่สัญชาตญาณดังกล่าวจะผุดขึ้นมาได้ ส่วนบุคคลผู้กำลังพร้อมที่จะเปิดใจนั้น
เขาเฝ้าระวังตัวเองจนเกินกว่าเหตุ ฝ่ายบุคคลที่พร้อมเต็มที่ที่จะเปิด บุคคลเหล่านี้ ย่อมได้เคยสดับคำเร้นลับ คำเล่าลือว่า
" ตถาคต " แล้ว ซึ่งคำนี้ย่อมหมาย ถึงบุคคลผู้กระทำได้แล้ว บุคคลผู้ข้ามได้แล้ว นั่นเป็นทางเปิด หนทางนี้ เป็นไปได้ เป็นหนทางของตถาคต ฉะนั้น
ขอเพียงแต่เปิดออกโดยไม่ ต้องพิจารณาว่า อย่างไร เมื่อไร หรือทำไม มันเป็นสิ่งหมดจดได้เกิดขึ้น แล้วแก่บุคคลผู้หนึ่ง แล้วทำไมจะเกิดกับเธอไม่ได้เล่า ทำไมเธอ
จึงแบ่ง แยกระหว่าง " ฉัน " กับตถาคตเล่า " ตถาคต " แปลว่า
" ผู้ถึงแล้วซึ่งตถาตา " ซึ่งก็คือ
" ตามที่มันเป็น " รวม ความว่า
ผู้ถึงแล้วซึ่งสภาวะ " ตามที่มันเป็น " กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตถาคต ในฐานะแนวคิด เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้น ที่บอกให้เรา รู้ว่า มีผู้กระทำได้แล้วมีผู้ประสบได้แล้ว สัญชาตญาณนี้ได้บันดาลใจคน บางคนแล้วคือ
สัญชาตญาณแห่งการตื่น แห่งการเปิด แห่งความสงบเย็น ที่รุ่งเรืองด้วยปัญญา หนทางแห่งโพธิสัตว นั้น เป็นไปเพื่อบุคคลผู้แกล้วกล้าและเชื่อมั่นในธรรมชาติแห่งตถาคต ว่าเป็นจริงและทรงพลังทั้งประดิษฐานอยู่ในตนเองแล้วด้วย บุคคลผู้ตื่นขึ้นด้วยความคิดว่า "
ตถาคต " จึงอยู่บน
โพธิสัตวมรรค อันเป็น
หนทางแห่งนักรบผู้แกล้วกล้า ผู้ไว้ใจในศักยภาพของตน ว่าอาจบรรลุจุด หมายปลายทางได้อย่างหมดจด เป็นผู้ไว้ใจในธรรมชาติ แห่งพุทธะ คำว่า
" โพธิสัตว " แปลว่า
" บุคคลผู้แกล้วกล้าถึงขนาดที่จะเดินไปบนหนทางแห่ง โพธิ " " โพธิ " แปลว่า
" ตื่น " " ภาวะที่ตื่น " ที่ไม่ได้หมายความว่า โพธิสัตว จะต้องเป็นผู้ตื่นอย่างหมดจดแล้ว เป็นแต่เขาพร้อมที่จะดำเนินไป
ตามมรรคา ของผู้ตื่นแล้ว มรรคสายนี้ประกอบด้วย
โลกุตรธรรมที่ประชุมกันโดยธรรมชาติ คือ
เมตตา ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา องค์คุณเหล่านี้รวมเรียกว่า " ปารมิตาหก " " ปาราม " นั้นแปลว่า " อีกด้านหนึ่ง " หรือ "
อีกฝั่งหนึ่ง " " ริมฝั่งน้ำข้าง หนึ่ง " และ " อิต " แปลว่า "
มาถึง " " ปารมิตา " แปลว่า
" ถึงซึ่งฝั่งกระโน้น " ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจของโพธิสัตวจะต้องประกอบด้วยทัศนียภาพคือ
ความเข้าใจ ที่พ้นไปจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง โพธิสัตวหาได้พยายามเป็นคนดีหรือ โอบอ้อมอารี
ไม่ แต่เขาย่อมทรงไว้ซึ่งความกรุณาอยู่โดยธรรมชาติแล้ว