ศูนยตา การผ่าตัดสายตาที่บัญญัติโลกของเรา ด้วยคมดาบของ
ปรัชญาจะทำให้เรา
ค้นพบศูนยตา คือ
ความไม่มีอะไร ความเปล่า ความว่าง ความปราศจาก ทวิภาค และบัญญัติทั้งปวง พระพุทธพจน์ว่าด้วยธรรมข้อนี้ อันเป็นที่รู้จัก กันดี ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า
" หฤทัยสูตร " แต่น่า สนใจยิ่งในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์แทบจะไม่ได้ตรัสอันใดเลย พระองค์ ตรัสเป็นนิคมพจน์เท่านั้นว่า " กล่าวได้ดีแล้ว กล่าวได้ดีแล้ว " แล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ พระองค์ทรงสร้างสภาพการณ์ที่ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินวิสัชนาธรรม ว่าด้วยศูนยตาเอง แทนที่พระองค์จะทรงเทศนาด้วยพระองค์เอง พระองค์ มิได้ทรงสำแดงพระภาษิตของพระองค์ หากทรงสถาปนาสภาพการณ์ขึ้น
ซึ่งช่วยให้พระธรรมเทศนาบังเกิดได้ และพระสาวกจะได้รับแรงบันดาลใจ ที่จะค้นพบและสัมผัส
ศูนยตา วิธีเทศนาธรรมแบบหนึ่ง
พระสูตรบทนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับ
อวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ผู้เป็นองค์แห่งกรุณา และอุบายวิธี กับ
พระศารีบุตร ( สารีบุตร ) พระอรหันต์สาวกผู้เป็นธรรม เสนาบดีและองค์แห่งปรัชญาสำนวนญี่ปุ่นแปลกออกไปจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตอยู่บ้าง แต่ทั้งหมดก็มุ่งสู่ประเด็นที่ว่า
พลานุภาพแห่งปรัชญา ได้ผลักดันให้อวโลกิเตศวร ตื่นขึ้นเห็นศูนยตา เป็นการวิสัชนาธรรมระหว่างอวโลกิเตศวรกับพระศารีบุตร ผู้เป็นองค์แห่งบุคคลผู้จิตใจเป็นวิทยา- ศาสตร์ อันเรียกได้ว่าความรู้ที่เที่ยงตรง พระศารีบุตรได้กลั่นกรองเอาพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์มาแสดง โดยอาจกล่าวได้ว่า มิได้เป็นการ ศรัทธาอย่างงมงาย หากเป็นการ
พิจารณาปฏิบัติ ทดลองและพิสูจน์พระธรรมเทศนานั้นดูแล้ว อวโลกิเตศวรได้กล่าว
" ดูก่อนศารีบุตร รูปนั้นว่างเปล่า ความว่างเปล่า นั้นก็ไม่ผิดไปจากรูป " เราจะไม่พูดถึงรายละเอียดของพระสูตร แต่พระสูตร แต่จะพูดถึงความขั้นต้นเกี่ยวกับรูปและความว่างเปล่านี้ อันเป็นประเด็นหลักของพระสูตร เพราะเหตุนี้ เราจึงเข้าใจความหมายของคำว่า
" รูป " ให้แจ่มแจ้งเสียก่อน
รูปคือสิ่งที่เป็นอยู่ ก่อนที่เราจะว่างเค้าโครงบัญญัติอันใดของเราแก่มัน มันเป็นสภาวะเดิมแห่ง " สิ่งที่อยู่ที่นี่ " คือ ลักษณะอันสวยสด บรรเจิดจ้า น่าประทับใจ และสุนทรีย์ อันปรากฏในสภาพการณ์ทุกสภาพ รูป ประทับใจ และสุนทรีย์ อันปรากฏในสภาพการณ์ทุกสภาพ
รูปอาจเป็น ใบโพธิ์ร่วงหล่น จากต้นลงสู่พื้นน้ำ อาจเป็นจันทร์วันเพ็ญ เป็นท่อน้ำ ข้างถนนหรือกองเศษอาหาร เหล่านี้แล คือ " สิ่งที่เป็นอยู่ " และทั้งหมด ก็ล้วนเป็นเยี่ยงเดียวกัน ทั้งหมดล้วนเป็นรูป เป็นสภาวะ
เป็นเพียงสิ่งที่ เป็นอยู่ การประเมินพิจารณาสิ่งเหล่านี้ล้วน
เกิดขึ้นในใจเราภายหลัง หาก เราเพียงแต่มองสิ่งเหล่านี้ตามที่มันเป็น
มันจะเป็นเพียงรูปทั้งหลาย
ฉะนั้น
รูปจึงว่างเปล่า แต่ว่างจากอะไรเล่า
รูปนั้นว่างจากบัญญัติล่วงหน้าทั้งหลายของเรา ว่างจากการตัดสินพิจารณาของเรา ถ้าเราไม่ประเมินและแยกแยะอาการที่ใบโพธิ์ร่วงหล่นพริ้วสู่ผืนน้ำว่าเป็นคู่ปรับกับ กองขยะในเมืองกรุง
มันก็จะอยู่ที่นั่น คือ
สิ่งที่เป็นอยู่ ล้วนว่างจากบัญญัติคาดคิดของเรา เป็นตามที่มันเป็นอย่างเที่ยงตรง และแน่ละ กองขยะ ก็คือกองขยะ โบโพธิ์ก็คือใบโพธิ์ " สิ่งที่เป็นอยู่ " คือ " สิ่งที่เป็นอยู่ "
รูปนั้นย่อมว่างเปล่า เมื่อเรามองมันโดยปราศจากการตีความของเราเอง แต่
ความว่างเปล่าก็คือรูปด้วย นี่คือประเด็นสำคัญยิ่ง เราคิดว่าเราได้สลัด สิ่งทั้งหลายออกไป เราคิดว่าเราได้แลเห็นสิ่งทุกสิ่งว่า "
เหมือนกัน " แล้ว หากเราสลัดบัญญัติคาดคิดทั้งหลายของเราออกไปได้ นั่นย่อมก่อให้เกิด ภาพสวยสด เพราะเราเห็นทั้งสิ่งดีและเลว ว่าล้วนดี เรียบร้อย ราบรื่นยิ่ง แต่ประเด็นต่อมาก็คือ ความว่างเปล่า
ก็เป็นรูปได้ด้วย ไม่ได้ว่างเปล่าจริง ความว่างเปล่าของกองขยะก็ยังเป็นรูปด้วย
การพยายามมองสิ่งทั้งหลาย ว่าว่างเปล่าก็ยังห่อหุ้มมันได้ด้วยบัญญัติรูปกลับมาอีก มันง่ายอยู่ดอก ที่จะ สลัดบัญญัติทั้งหลายออกไป
แล้วสรุปว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นตามที่มันเป็น แต่นั่นจะเป็นการหนี เป็นการ
ปลอบประโลมตนเองอีกทางหนึ่งได้ เราจะ
ต้องรู้สึก ให้ได้จริงถึงสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น คุณลักษณ์แห่งความเป็น กองขยะก็ดี คุณลักษณ์แห่งความเป็นใบของโพธิ์ก็ดี ความเป็น ของสิ่ง ทั้งหลายก็ดี เราจะต้องรู้สึกให้เหมาะเจาะ
ไม่ใช่เพียงแต่ประทับตราความ ว่างเปล่าให้แก่มัน นั่นไม่ได้ช่วยอะไรเลย เราจะต้องมองเห็น " ความเป็น " ของสิ่งที่อยู่ที่นั่น เห็น
คุณลักษณ์อันหยาบและกระด้างของสิ่งทั้งหลาย ตามที่มันเป็น นี่เป็นวิธีมองโลก
ได้อย่างแม่นยำยิ่ง ดังนั้น
แรกทีเดียวเราจะ ปัดบัญญัติคาดคิดอันหนักอึ้งทั้งหลายของเราออกไป ใช่แต่เท่านั้น เรายัง ต้องปัดคำอันประณีตลึกซึ้งอย่างคำว่า " ว่างเปล่า " ออกไปด้วย ทำให้ เราไม่อยู่ในแห่งหนตำบลใด
หากอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่โดยสิ้นเชิง
ท้ายที่สุด เราจะมาถึงข้อสรุปที่ว่า
รูปก็เป็นเพียงรูป ความว่างเปล่าก็เป็น เพียงความว่างเปล่า ในพระสูตรอธิบายว่าเป็นการเห็นรูป ว่าไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากความว่างเปล่า และเห็นความว่างเปล่าว่าไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากรูป ทั้งสองต่างแบ่งแยกจากกันไม่ได้ เราจะแลเห็นได้ว่า การมองหา ความหมายทางปรัชญาหรือสุนทรียภาพให้แก่ชีวิตเป็นเพียงทางหนึ่งที่เรา
ตัดสินตัวเราเอง โดยนึกเสียว่า สิ่งทั้งหลายหาได้เลวร้ายอย่างที่คิดไม่ แต่ อันที่จริงแล้ว สิ่งทั้งหลาย
ล้วนเลวร้ายเพราะความคิดเรานั่นเอง
รูปคือรูป ความว่างเปล่าก็คือความว่างเปล่า สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่มันเป็น เราไม่ต้อง พยายามมองมันด้วยความลึกซึ้งใด ๆ แล้วเราจะกลับมาติดดิน เห็นสิ่งทั้ง หลายตามที่มันเป็น นี่ไม่ได้หมายความว่า จะบังเกิดมีตาทิพย์ที่น่าตื่นเต้น อันใด ทำนองเห็นเทวดา คนธรรพ์ หรือได้ยินเสียงสวรรค์กระนั้น แต่เรา จะเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
ตรงตามคุณลักษณะของมัน ดังนั้น ในกรณี นี้
ศูนยตาจึงเป็นการปราศจากบัญญัติหรือม่านกรองใด ๆ อย่างสิ้นเชิง ปราศจากแม้กระทั่งบัญญัติว่า " รูปนั้นว่างเปล่า " หรือ " ความว่างเปล่าคือรูป " สิ่งสำคัญอยู่ที่
การมองโลกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องปรารถนา
ความ สำนึกรู้ " ขั้นสูง " หรือสาระสำคัญอันลึกซึ้งใด ๆ เป็น
เพียงการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างจะจะตรงตามที่มันเป็นเราอาจสงสัยว่า แล้วเราจะนำเอาหลักธรรมนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างไร เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนา ว่าด้วยศูนยตานี้เป็นปฐม พระอรหันต์เจ้าบางองค์ถึงกับหัวใจกำเริบ แล้ว ดับขันธ์ไปเพราะผลกระทบของพระธรรมเทศนานี้ เพราะในการทำสมาธิภาวนาพระอรหันต์เหล่านี้ยังซึมซาบอยู่กับที่ว่าง ยังต้องกำหนดที่ว่างเป็นอารมณ์
เป็นอิงอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่ายังมีตัวประสบการณ์และ ผู้รับรู้ประสบการณ์อยู่ ส่วน
หลักศูนยตานี้เป็นการไม่อิงอาศัยสิ่งใด ไม่แบ่ง แยกระหว่างนี้กับนั้นและไม่อยู่ในแห่งหนตำบลใดทั้งสิ้น ถ้าเรามองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
เราก็ไม่ต้องตีความหรือวิเคราะห์ มันให้มากความ เราไม่จำเป็นต้องพยายามเข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยการประทับ ตราประสบการณ์ ทางศาสนธรรม หรือความคิดปรัชญาใด ๆ ให้กับมัน นี้เป็นดั่งที่
อาจารย์เซนเคยกล่าว " เมื่อฉันกิน ฉันก็กิน เมื่อฉันนอน ฉันก็ นอน " ขอเพียงแต่ทำสิ่งที่คุณทำอยู่อย่างบริบูรณ์ อย่างเต็มเปี่ยม การทำดัง นี้คือการเป็น ฤาษี คือบุคคลผู้สัตย์ซื่อ
เปี่ยมด้วยความจริงและตรงไปตรง มา
ไม่แบ่งแยกระหว่างนี้กับนั้น เขาย่อมทำการอย่างเจาะจงตรงเผ็ง ตาม ที่มันเป็น เขากินเมื่อเขาต้องการกิน เขานอนเมื่อเขาต้องการนอน ในบางที่พระพุทธองค์ทรงได้รับการขนานนามว่า มหาฤาษี ฤาษีผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่พยายามขวนขวายที่จะเป็นอยู่อย่างเปี่ยมด้วยความจริง
หากเป็นจริงอยู่แล้ว ใน
สภาวะอันเปิดแล้วของพระองค์
การตีความศูนยตา ดังที่เรากำลังถกกันอยู่นี้ เป็นมติของปรัชญา
มาธยมิก หรือ
" ฝ่ายกลาง " ที่
ท่านนาคารชุนได้ก่อตั้งขึ้น เป็น
ประสบการณ์ในความจริงอันไม่อาจบรรยายได้
อย่างแม่นยำ เพราะ
คำพูดก็ยังไม่ใช่ตัวประสบการณ์นั้น คำพูดหรือบัญญัติเป็นเพียงเครื่องชี้ ไปยังแง่มุมบางส่วนของประสบการณ์ จึงเป็นเรื่องชวนสงสัยว่าเราจะสามารถพูดถึงความเป็นจริงที่ได้
" ประสบ " ได้กระนั้นหรือ เพราะนี่ย่อมเป็น
การแบ่งแยกระหว่างตัวผู้ประสบกับ ตัวประสบการณ์นั้น ใช่แต่เท่านั้น ยังน่าสงสัยอีกว่าเราจะพูดถึงตัว " ความจริง " นั้นได้ล่ะหรือ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะต้องมีตัวผู้รู้อยู่
นอกเหนือจาก สิ่งที่รับรู้ ดังกับว่าความเป็นจริงนั้น
เป็นสิ่งที่มีบัญญัติ เป็นสิ่งที่มีข้อจำกัด และขอบเขตที่แน่นอน ดังนั้นฝ่าย
มาธยมิกจึงเพียงแต่พูดถึง
ตถตา คือ
" ตาม ที่มันเป็น " ท่านนาคารชุนชอบที่จะโต้แย้งสำนักปรัชญาอื่นตาม
แง่มุมภาษา และวิธีนำเสนอของสำนักนั้น ๆ แล้วใช้ตรรกวิทยาของสำนักนั้น
หักล้าง ตนเอง ยิ่งกว่าจะเสนอ
คำจำกัดความของความเป็นจริงต่างหากไปด้วยตัว ของท่านเอง