ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิวัติแบบพุทธะ สุนทรียสนทนา ออก สู่สาธารณะ  (อ่าน 9455 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

ว่าจะเอาไปเสนอเว็บพันทิพย์ กับ ลานธรรม ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

ไม่ต้องแล้วล่ะ  ตั้งเองก็ได้ ไม่ต้องง้อใคร

ห้อง คุยแนว สุนทรียสนทนา ฝึก คุยแบบ ดูจิต ดูอารมณ์ ดู การผุดแห่งคำ

คุยไป ปฏิบัติธรรมไป ละละเลิกอัตตา เวลาคุย ทะลุทะลวงทุกความเชื่อ

เบิ้องหลังถ้อยคำ คือ  การสำแดงของธรรมกาย ความว่างเปล่า


เรามี โครงการ จะทำ ห้องนี้ อีกสักระยะ นะ

ช่วงนี้ ให้ลอง หาอ่าน ๆ ตามเว็บ ไปก่อน

เช่น ในเว็บ วงน้ำชา เจ้านั้น กลุ่มนั้นขั้นเซียนแล้ว

เรา เอาอารมณ์ แบบเด็ก ๆ อนุบาล นะ

ฝึก ร่วมศึกษา  การคุยแบบ นิวเอจ จิตวิญญาณแห่งพุทธ

ใน สุนทรียสนทนา

เป็น การเริ่มต้น ปฏิวัติการคุย วงการเว็บ

ปฏิวัติแบบ ออกสู่สาธารณะ

การปฏิวัติใหญ่ มัน เกิดจากจุดเล็ก ๆ มีเยอะไปนะ

เรียกว่า การปฏิวัติจากห้องนังเล่น มุมมองสบาย ๆ แต่ไม่ธรรมดา

ปฏิวัติการคุย คือ การปฏิวัติจิต ปลูกดอกไม้ในใจตัว

ถ้อยคำในห้องสนทนา คือ ปุ้ย ให้ กิ่งก้าน ดอกผล แห่งคำ เติบโต

ไอเดีย ความคิด ข้อธรรม จินตนาการ สารพัดแห่งพลังการคุย

เปิดมิติการคุย โดย เริ่มจากเว็บ

ใต้ร่มธรรม นี้แหละ

ขอตัวไปเรียบเรียง ก่อน นะ

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


สุนทรียสนทนา Bohmian Dialogue

Bohmian Dialogue สุนทรียสนทนา เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ: แนวคิดและวิธีการจัดการ 
 
การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ "สุนทรียสนทนา" (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไป
ใช้อย่างกว้่างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจาก 
นี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ ๆ ในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน
ระดับบุคคลได้อีกด้วย
 
บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น
เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
 
ความหมายและความเป็นมา
คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้สำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น "สุนทรียสนทนา" "สนทนาแลกเปลี่ยน" "วาทวิจารณ์" รวมทั้งคำว่า 
"สนทนา" และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น "การสนทนาอย่างสร้างสรรค์" หรือ "การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน" ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำ 
ในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า "สนทนาวิสาสะ" ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่ง
อาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า "สุนทรียสนทนา" แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความ
กระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ BOhmian Dialogue 
 
ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาได้ดังนี้ คือ dia = through "ทะลุทะลวง", logo = meaning of the word 
"ความหมายของคำที่พูดออกไป" แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ "สุนทรียสนทนา" ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความ 
หมายของคำว่า "dialogue" มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ "กระแสธารของ 
ความหมาย" ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมติใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่
ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ 
ที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง 
 
การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และ 
เอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็น 
การบ่มเพราะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนา
นั้น ไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการ
ตัดสินด้วยข้อสรุปใด ๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ 
จะต้องกำหนดใจรับรู้กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่น เดียวกับตัวเราที่กำัลังรับฟังอยู่ เรา 
สามารถรถได้ คอยได้เสมอ 
 
กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่ามีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมาย 
ส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใ้ช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง
(entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของ 
สุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง 
โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เ้น้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) 
จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี
 
ทำไมต้องสุนทรียสนทนา
มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็น 
เรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว 
 
ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้าย ๆ กับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า "นั่งโสกัน" ภาษาคำเมือง 
จะเรียกว่า "นั่งแ่อ่วกัน" หรือ "นั่งอู้กัน" ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า "นั่งแหลงกัน" แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับ 
ชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า "นั่งจังเข่าคุยกัน" "ล้อมวงคุย" หรือ "เปิดเวที" ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับ
มาใช้ใหม่
 
นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้า 
ค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า 
คนกลุ่มเล็ก ๆ อยู่รวมกันประมาณ 40 - 50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่าง 
รู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่น ชายหนุมรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกำปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกัน 
ก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน
โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็น
เวลานานแล้ว
 
คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยี
การสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน "ความเจริญ" เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่ คือ "ความเหงาท่ามกลางฝูงชน" ทำให้ 
เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่น ๆ ในโลกนี้ได้อย่างไร
 
 
รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม 
วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเืมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ "มนุษย์สัมผัสมนุษย์" ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันสัญญลักษณ์ 
ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
 
 
อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบด้วย
ข้อสรุปและกฏระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฏระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า 
ปัญหาใด ๆ ก็ตาม จะไม่สามารถแ้้้ก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อ
 
หาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน 
 
การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยง 
คนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ 
ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาบริโภคจนเกิดความจำเป็นพื้นฐาน จอ
โทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนต
ความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็ก ๆ ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากรธรรมชาิติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบ 
สนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น 
 
คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ห่างคนห่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ "ฐานคติ" (presupposition) นั้น ขึ้น 
สู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง 
ซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือ
โน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ
 
ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ "อิทัปปัจยตา" ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใด ๆ อีกด้วย เพราะไม่
สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฏการณ์ได้ ยิ่งแ้ก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ "ตนเอง" จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้
เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์


http://www.spr.go.th/di/bohmian%20dialogue%20is.php
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret) <SUP></SUP>


"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด (พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"
 
เมื่อวานในบันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ... ผมเล่าให้ฟังว่า ด้วยความบังเอิญที่ผมซื้อหนังสือ 1 เล่ม และ นิตยสาร 1 เล่ม ด้านในมีเรื่องราวของอาจารย์ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ทั้งสองเล่ม อย่างไม่น่าเชื่อ
 
บันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ที่ผมได้เล่าวิธีคิด "ไร้กรอบ" ตามที่หนุ่มเมืองจันท์เล่าไว้ได้สนุกมากครับ
 
ดังนั้น บันทึกนี้จึงขอเล่าถึงอีกบทความในนิตยสาร Secret เรื่อง "สุนทรียสนทนา กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ"
 
 
"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด
(พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"


จากหนังสือ Learn How to Learn ... ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

 
คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ถ้าคุณจะไม่รู้จักผมเลย แม้แต่นิด และหากคุณมีคำถามว่า ผมเป็นใคร ทำอะไร ผมก็จะมีคำตอบกวน ๆ กลับไปว่า "ถ้าอยากรู้จักฉัน หาตัวเธอให้เจอก่อน" ครับ
 
แต่ถ้าให้ตอบจริง ๆ ในโลกสมัยสมมตินี้ผมคือ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้เคยนับถือศาสนาคริสต์มา 39 ปี ก่อนจะมาเพิ่มศาสนาเป็นพุทธ และต่อไปก็คิดว่าจะเพิ่มศาสนาไปเรื่อย ๆ จนไม่มีศาสนาเลย เพราะความจริงแล้วไม่มีศาสนาอะไรทั้งนั้น เราอยู่กับความไม่มี แต่เราไปบอกว่ามีเท่านั้นเอง
 
ผมเคยทำงานกับองค์การนาซา (NASA) วิจัยเกี่ยวกับการแตกหักของวัสดุจนได้รับรางวัล หลังจากนั้นกลับมาเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน บูรณาการศาสนากับชีวิตการทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและพอเพียง
หลังจากลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้ไปบวชที่วัดป่าเขาน้อย อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งมี หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นหัวหน้าสงฆ์ เมื่อบวชผมก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรม หลวงปู่สอนอะไรก็ทำตาม ท่านให้วางตำราและให้กำหนดพุท-โธให้มาก ๆ บวชได้ 13 วันผมก็เข้าใจเรื่องของการทำสมาธิ
 
หลังจากนั้นผมไปศึกษาธรรมกับ หลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร (หลวงพ่อกล้วย) วัดธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น ท่านสอนไม่ให้ติดในภาษาสมมติ ไม่ให้ติดว่าเป็นนักปฏิบัติ ท่านให้นำกายมาปฏิบัติ มาปล่อยวางไม่ให้ยึดแม้แต่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้ฝึกสติด้วยการไปนั่งสมาธิในป่าช้า เพราะที่ป่าช้าจะมีความคิดแบบเดียวผุดมาให้ฝึก ทำให้แยกได้ทันทีว่า นี่สัญญาหนอ นี่สังขารหนอ จิตเกิดแล้วหนอ
 
หลายคบอกว่าผมสอนธรรมะแบบนอกกรอบ ที่ต้องนอกกรอบเพราะแบบเดิม ๆ นั่นไม่มีคนอยากฟัง หน้าที่การงานของผมอย่างหนึ่ง คือ การไปบรรยายให้ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูง ๆ ฟัง และท่านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเบือนหน้าหนีทันทีที่ได้ยินว่า ศีลห้า นรก สวรรค์ ผมเลยต้องหาวิธีหารอื่นมาหลอกล่อ อย่างเช่น เมื่อสอนเรื่องการบริหารจัดการให้ผู้บริหารฟัง ในระหว่างสอนผมก็สอดแทรกธรรมะไปเรื่อย ๆ แบบ "แนบเนียนนุ่มลึก" โดยที่เขาไม่รู้ตัว หลังจากนั้นให้เขาฟังตามไปเรื่อย ๆ จนตอนท้ายจะขมวดให้ฟังว่า ทั้งหมดที่สอนมาอยู่ในพระไตรปิฏก ฟังอย่างนี้เขาก็จะ "ปิ๊ง" ได้เอง และไม่ตั้งแง่ปฏิเสธตั้งแต่แรก
 
ทุกวันนี้ผมสอนธรรมะแบบ "ไดอะล็อก" (Dialogue) หรือเรียกเป็นไทยว่า "สุนทรียสนทนา" สอนธรรมะแบบล้อมวงคุยกันในระหว่างคุยกันก็เป็นเจริญวิปัสสนาแบบหนึ่ง สนทนาไปด้วย ดูจิตไปด้วย เป็นการสนทนากันแบบฟังเชิงลึก (Deep Listensing) ที่เรียกได้ว่าต้อง open mind, open heart, open will เพื่อให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเราเอง ฟังเพื่อเก็บเกี่ยว ฟังเพื่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ฟังเพื่อให้เกิดความเคารพในความแตกต่างกัน ทั้งทางความคิดและจิตใจ บางทีเราก็เรียกการพูดคุยแบบนี้ว่า "วงเล่าเร้าพลัง" คือมาคุยกัน เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับฟังกัน อย่าเพิ่งไปเถียงกัน อย่ารีบร้อน "สวน" หรือ "สอดแทรก" ซึ่งเป็นการสอนให้เราฟังอย่างมีสติ อย่าไปเพิ่งโทษ อคติ ลำเอียง คิดเอาเอง ซึ่งการฟังเชิงลึกได้ดีต้องฝึกฟังเสียงภายใน (Inner Voice) ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เสียงที่ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หมั่นไส้ อิจฉา ด่าทอ ยินดี กังวล นึกไปถึงเรื่องอื่น ไปนอกเรื่อง ฯลฯ เมื่อมีเสียงภายในหรือความคิดแทรกแซงก็หัดดับ หัดระงับ หัดข่ม แล้วมาจดจ่อ มีสมาธิ น้อมใจเข้าไปฟังคนพูดพูดต่อไป
เราอาจจะนั่งล้อมวงกันในสถานที่สบาย ๆ นั่งสบาย ๆ ปูเสื่อแจกหมอน นอนเอนหลังก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องใด หรือวิ่งเข้าวิ่งออกจนพลังของวงเสียสมดุลไป "พลัง" ในที่นี้คือ พลังที่ดีในการกระตุ้นต่อมความคิด เป็นพลังที่จะสร้างงาน สร้างปีติ สร้างสติ เรียนรู้ด้วยในที่เป็นกลาง ฯลฯ
 
หลักการดูจิตขณะสนทนาของผมคือ ถ้าจิตของเราเกิดอาการ กายจะเปลี่ยนแปลง เลือดลมจะวิ่ง กล้ามเนื้อน้อยใหญ่จะเกร็งกลางอกจะหด ๆ หู่ ๆ เต้น ๆ เสียว ๆ เราก็หายใจลึก ๆ ดึงกำลังสติขึ้นมาคิดในแง่ดี ๆ เข้าไว้ หากจิตยังไม่ปกติ พึงสังวรว่า "อย่าได้ออกอาการทางวาจาทางกาย" นะครับ สมมติว่าเป็นสุนัข เวลาที่จิตเกิดอาการเราจะเห็นชัด คือกายจะฟ้อง เช่น กระดิกหางหรือหดหาง สำหรับเราซึ่งเป็นคน ก็ควรจะดูกายของเราให้ทันด้วย จะได้รู้ว่าจิตเกิดหนอ ดังนั้น ถ้าเราสนทนากับใคร ก็ฟังเขาพูดไป สำเหนียกไปที่จิตด้วย จะเห็นความคิด "วิตก" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอนาคต) "วิจารณ์" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอดีต) ผุดขึ้น ขอให้รู้เท่าทัน วิตกหนอ วิจารณ์หนอ
 
อย่างไรก็ตาม ในการพูดคุยผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ แต่ผมเป็นกระบวนการนำพาผู้ร่วมเรียนรู้ไปเข้ากระบวนการ ไปเจอประสบการณ์ ไปค้นพบด้วยตนเอง ไปพิสูจน์ความเชื่อกัน ผมมิบังอาจไปสั่งสอนใครนะครับ แต่ยั่วให้คิด ตั้งคำถามให้คิด แหย่ ๆ เพราะถ้าไม่แบ่งแยก นั่นผู้เรียน ฉันผู้สอน เจ้าตัว "อัตตา" จะแทรกได้ง่าย ๆ
 
นอกจากนั้นผมยังมีกติกาว่า จะไม่บรรยายแบบที่มีผู้ฟังเยอะ ๆ แต่จะให้การพูดคุยแบบสุนทรียสนทนาร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า เยี่ยมบ้านพักคนชรา เยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย นั่งคุยกันที่สวนสาธารณะ นั่งดูหนังด้วยกัน แล้วมาคุยกันในบรรยากาศสบาย ๆ ฯลฯ
 
สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร
ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ
 
http://gotoknow.org/blog/scented-book/253599
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :47: ปรับแต่งเพิ่มเติมตามสะดวกครับพี่มด เว็บเราจะเป็นอมตะ ถ้าหายแล้วจะโผล่ใหม่ได้ ไม่ขาดตอนครับ อิอิ ผมยืนยันได้ ...
 :13: ธรรมะอวยพรครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ rain....

  • ศรัทธาในสิ่งที่ค้นหา มั่นคงในสิ่งที่เป็น แบ่งปันในสิ่งที่ค้นพบ
  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 994
  • พลังกัลยาณมิตร 379
  • สุขลึกๆในความเหงา แม้จะโดดเดี่ยวแต่ไม่เคยเดียวดาย
    • ดูรายละเอียด
สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร  ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ


ขอบคุณมากมายค่ะพี่มด

...........................................
"ข้าพเจ้า ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่อุบัติขึ้นมาในโลก  ทุกๆพระองค์
พร้อมทั้งพระธรรม และ พระสงฆ์
ว่าเป็น  สรณะ  ที่พึ่งตลอดชีวิต" 
 

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
สุนทรียสนทนา หรือสานเสวนา (Dialogue)


คำว่า Dialogue ในภาษาอังกฤษในความหมายของนักฟิสิกส์เรืองนาม นาม   เดวิด โบห์ม ซึ่งมีผู้แปลว่า "สุนทรียสนทนา" บ้าง หรือ "สานเสวนา" บ้าง กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกที เช่น กลุ่มเชียงราย อันมีคุณวิศิษฐ์ วังวิญญู เป็นโต้โผใหญ่ ทำการเผยแพร่และจัดฝึกอบรมทั่วไป คุณสุภาวดี หาญเมธี นำไปใช้เรื่องครอบครัวเข้มแข็ง ดร.ปาริชาต สุวรรณบุปผา แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล นำไปลองใช้สร้างความสมานฉันท์ที่จังหวัดปัตตานี เป็นต้น

การ "เสวนา" ในที่นี้ไม่ใช้การโต้เถียงกัน แต่ใช้การฟังอย่างลึก (Deep Listening) เป็นหลัก

เพราะการโต้เถียงเป็นเรื่องตื้นๆ แยกส่วน มีอารมณ์เข้ามาเป็นตัวป่วน ไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดจิตสำนึกใหม่ ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวตน (Transformation)

แต่การฟังอย่างลึก เงียบ และมีสติ จะดึงจิตไปสัมผัสความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมโยงเป็นบูรณาการ เมื่อจิตเข้าไปสู่ธรรมชาติอันใหญ่โตเป็นอนันต์ จะเกิดปัญญา เป็นอิสระ มีความสุข มีความรัก อันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวตน เกิดพฤติกรรมทางบวก เกิดความสมานฉันท์

สุนทรียสนทนาหรือสานเสวนา เป็นวิธีการที่ใช้หลักธรรมเก่ามาประยุกต์ใช้ในสังคมใหม่อย่างสมสมัย อันจักเป็นไปเพื่อความสุข ปัญญา เมตตา และสมานฉันท์ หมอชาวบ้านฉบับนี้ได้เชิญคุณหมอวิธาน ฐานะวุฑฒ์ หนึ่งในกลุ่ม "ราชวงศ์เชียงราย" มาสาธยายให้ฟังว่าสุนทรียสนทนาคืออะไร และทำอย่างไร หวังว่าผู้อ่านจะได้เสพสุนทรียรส และเกิดความสุขโดยทั่วกัน


http://www.doctor.or.th/node/1278
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา (...)     
บทความจาก
WWW http://gotoknow.org

Page Visits: 211 พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา เคารพความแตกต่างประสบการณ์ เป็น web master ของผม
ผมดูแล เว็ป เล็ก ๆ ชื่อ http://managerroom.com เป็นเว็ปแบบ บอร์ดทั่วๆไป เช่นเดียวกับพวก pantip.com ที่ผมเข้าไปแจมอยู่เสมอๆ

คนที่โพสต์เข้ามามีหลายจำพวก ได้แก่
(ก) อ่านแล้ว จิตเกิด ยินดี ร่วมวง กระโดดใส่ รีบไปคว้า
(ข) อ่านแล้ว จิตเกิด แต่ เป็นแบบอกุศล คือ เข้า “ขย้ำ” กัดแหลก
(ค) อ่านแล้ว ไม่อยาก เสนออะไร ใบ้ๆ เงียบ เอาตัวรอดดีกว่า เกิด ความอาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก

คนไทยใช้เว็ป จะแสดง กำพืดออกมามากมาย เช่น สำนวนโหดๆ การเพ่งโทษ การยกตนข่มท่าน การคาดหวังให้คนมาชื่นชม การเยินยอ การแบ่งพรรคพวก ฯลฯ นี่ สะท้อน ลักษณะของการศึกษา ที่ เป็นแบบ Format หรือ แบบ Industrial เป็นการศึกษาที่ไม่เข้าถึง แก่นของ ไตรสิกขา นั่นคือ ไม่เป็น Natural

อย่างไรก็ตาม ผมได้ ข้อคิด ของผมเองดังนี้


โดยถ้าเราพิจารณา ตาม หลักการของ Dialogue ที่มี ๔ ระดับ ของ การสนทนา …. เราจะพบว่า

(ก) ระยะแรก : คนที่ เงียบ เอาแต่ อ่านๆๆๆ หรือ โพสต์ๆๆๆ ไม่สนใจใคร วันๆเอาห่วงว่า จะมีใครมาอ่านไหม เอาตัวกู ของกู เป็นสำคัญ หรือ วันๆ จิตใจจดจ่อ วันนี้ จะโพสตื จะเขียนอะไรดี เห็น เว็ป เป็น ยาที่ขาดไม่ได้ ฯลฯ ตัวใคร ตัวมัน ต่างคนต่างโพสต์ เอาผลงานโพสต์ไปเป็นดัชนีวัดผลงาน

(ข) ระยะสอง : คนพวกนี้ จะ เชียร์ จะโต้แย้ง แต่ ก็จะใช้ ระดับของจิตที่เกิดแรง ระดับ เบต้า รัก ชอบ ชัดเจน แบ่งกลุ่ม ผลที่ตามมา คือ บ้างได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูในเว็ปนี่เอง บ้างได้อกุศล บ้างได้กุศล หลายคน “งอน” ไม่กลับมาที่เว็ปอีกเลย หลายคนประกาศ กร้าว “ฉันไม่คบกับแก” “แกอย่ามาโพสต์ อีกนะ” คนใน สองระดับนี้ ยังไม่พัฒนาตามแนว สุนทรียสนทนา (Dialogue) เลยครับ

(ค) ระยะสาม : เป็นระยะ ที่เหนือ การสนทนาทั่วไป เข้าสู่ สุนทรียสนทนา คือ เริ่ม รับฟังทางลึก (deep listening) เริ่มเคารพตัวตนของคนอื่น เคารพในความคิดของคน มองคนในแง่ปัจเจกชน เริ่มย้อนดูตนเอง เริ่ม “เฉลียว”ใจ เช่น “ เอ๊ะ หรือ ที่เขาบอกเล่า จะมีมูล” เริ่มมีคำถามในใจ เริ่มกลับไปทำงานแต่ คำถามก็ตามไปให้ย่อย ให้ขบ เริ่มมองคนที่คิดต่างว่าเป็นคนที่มีพระคุณ เริ่มอยาก ลองทำ เริ่มอยากแปลง ข้อมูล เป็นปฏิบัติ

การจะเข้ามาสู่ ระรยะสามนี้ คงต้องผ่าน การฝึก เพราะ เป็น ทักษะ สำคัญของ LO &amp; Km

การรู้เท่าทัน “ เสียงภายใน (Inner voice) / เสียงแห่งการพิพากษา (Voice of judgement) / ความคิดที่เป็นสังขาร การปรุ่งแต่ง วิตก (คิดฟุ้งซ่าน ไปใน อนาคต) วิจารณ์ (เพ่.งโทษ เทียบกับกติกาของตน หาข้อผิดคนอื่น)” นี่แหละ คือ การมีสติ รู้เท่าทัน จิต และ ความคิด

การสนทนาในระดับ สุนทรียสนทนา จัดเป็นการปฏิบัติธรรม ในแนว มหาสติปัฏฐานสี่ เพราะ เราต้อง ดูจิต ขณะสนทนา ดูตัวเราเองบ่อย ๆ (โอปนยิโก) ใช้ โยนิโสมนสิการให้มากๆ

คนเป็น Web master เอง ก็ต้อง มีทักษะในระดับสามนี้เป็น อย่างน้อย จึงจะ รักษาบรรยากาศการเรียนรู้ ในเว็ปได้

(ง) ระยะสี่ : สนทนากันแบบ Flow ไหลลื่น “ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ” นี่แหละ เป็น เกลียวความรู้ แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้ บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก Mental model น้อยมาก คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน Share vision ร่วมกัน คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์ (System thinking) ฯลฯ

สุดท้ายนี้ เราลองมาพิจารณาตัวเราเอง ( Hansei ตัวของเราเอง ) สำรวจตัวเราเองว่า ทักษะในการสนทนาของเรา อยู่ใน ระดับไหน และ จงให้ อภัย คนที่เขา ยังอยู่ในระดับ 1 และ 2

คำหลัก: สุนทรียสนทนา
โดย คนไร้กรอบ บล็อก (สมุด) คนไร้กรอบ
 

http://www.netforhealth.net/rdhc/index.php?option=com_fireboard&Itemid=49&func=view&catid=52&id=5449
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
สุนทรียสนทนา สภากาแฟ สภาวะผู้นำ
ในงานประชุม HA National Forum ครั้งที่ 9 จัดโดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ณ ศูนย์ประชุม IMPACT เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม 2551 มีกิจกรรมที่หลากหลาย มากมาย สำหรับ theme ของการประชุมคือ Living Organization หรือ องค์กรที่มีชีวิต ได้ถูกสะท้อนออกมาในรูปแบบของ "เรื่องเล่า" (Story-Telling) มากมาย ทฤษฎีต่างๆถูก trimmed ลงให้สะโอดสะอง กระชับ และมีการพูดกันถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากทฤษฎีถูกนำไปดัดแปลงเป็นปฏิบัติ ออกมาอย่างมากมาย

ผู้ที่มาเข้าร่วม มีหลากหลายอาชีพ แต่ที่ทุกคน "มีส่วน" จะดูเหมือน การที่ทุกคนมี "ประสบการณ์ชีวิต" ติดตัวมาในงานประชุมมากมาย (แม้ว่าบางท่านจะไม่รู้ตัวก็ตาม !!) และประสบการณ์ชีวิตที่อยู่เบื้องหลังชีวิตของแต่ละท่านนี้เอง ที่สั่นไหว รับรู้ คลื่นพลัง คลื่นความรู้ แห่งเรื่องเล่า เรื่องจริง เรื่องราวที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกันในตลาดงานสุขภาพครั้งนี้

วันที่ 13 มีนาคม ผมได้เป็นกระบวนกรร่วมจัดกิจกรรม World Cafe ร่วมกับคุณหมอวรวุฒิ โฆวัชรกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ จะเรียกว่าเป็นการจัด World Cafe ครั้งแรกของงานประชุม HA National Forum ก็น่าจะถูกต้อง ซึ่งต้องขอบคุณ อ.อนุวัฒน์ และพี่ต้อย (ดวงสมร) อ.ยงยุทธ และ staff ของ พรพ. ที่กรุณาเปิดโอกาสให้เวทีสนทนาอิสระแห่งนี้กำเนิดขึ้น ในเวลาที่เป็นที่ต้องการเช่นนี้ และได้ดำเนินไปอย่างน่าประทับใจ


น่าประทับใจจนต้องนำมาเล่าต่อ

การเตรียมการ กับ การเตรียมตัว
เรื่องราวที่เกิดขึ้นทุกเรื่อง มีเหตุปัจจัย และเกิดวิบากตามมา การจัด World Cafe ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ตั้งแต่การประชุมในเดือนธันวาคม 2550 ที่ผมได้คุยกับพี่ต้อย รองผู้อำนวยการสถาบัน พรพ. ตอนนั้นเป็นการประชุมเรื่องการสรรหาเรื่องเล่าที่จะให้รางวัลประทับใจ humanized health care award ในงาน ตอนเสร็จประชุม ก็มีการพาดพิงถึงกิจกรรม และในที่สุด จังหวะหนึ่งที่เรากำลังคุยกันเรื่องพลังที่แท้จริงของเรื่องเล่า ผมก็ได้นำเอาเรื่องราวของ World Cafe มายกตัวอย่างประกอบ

ปรากฏ ว่าพี่ต้อยสนใจเรื่องนี้ขึ้นมาทันที ถามว่าผมพอจะเป็นกระบวนกรจัดได้หรือไม่ ผมนึกอยู่ประมาณ 2-3 วินาที จำไม่ได้ว่าตอบไปว่าอะไร แต่ผลสรุปก็คือ เราจะจัดกัน!!

หะแรก พี่ต้อยจะให้จัดตลอดทุกวันเลย ร่วมๆ 10 sessions ซึ่งนับว่าพี่ต้อยมีความกล้าหาญกว่าผมเยอะมาก แต่เนื่องจากผมยังพิจารณาประโยชน์ส่วนตนอยู่ บอกไปว่ายังงั้นผมคงจะอดไปเข้าร่วมกิจกรรมมากมายที่น่าสนใจของ พรพ.ไปหมดเลย นับเป็นการสูญเสียที่ผมลังเลที่จะยินดียอมรับ กอปรกับปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราจะใส่ World Cafe ลงไป ไม่ทราบว่า participants ของเราจะกระตือรือร้นเหมือนเราหรือไม่ น่าจะลองเป็นโครงการนำร่อง เป็น pilot activity ไปก่อน สุดท้าย เราก็ลงมาเหลือทำ 1 วันเต็ม 4 sessions

ถึงตอนนี้ ก็ปรากฏชัดเจนว่า World Cafe ได้ลงไปอยู่ในตารางรายการกิจกรรมอันแน่นขนัดของ National Forum ครั้งที่ 9 นี้เป็นที่เรียบร้อย

การเตรียมตัวลำดับแรก ก็คือการทำความเข้าใจในเบื้องหลัง หลักการ ว่า World Cafe มัน work อย่างไร จึงเป็นที่มาของสองบทความเรื่อง World Cafe ใน blog แห่งนี้ คือ World Cafe: สนทนาเปิดฟ้า เบิกโลกา และ World Cafe: 7 Principles อาจารย์ยงยุทธ​และพี่ต้อยกรุณาให้ความเห็นเกี่ยวกับ themes ที่จะเป็นโจทย์ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะทำให้กิจกรรมนี้ work หรือไม่ (หรือล่ม) เพราะ World Cafe จะอาศัย momentum ของผู้เข้าร่วม ที่จะล่องลอยเป็นอิสระไปกับคลื่นกระแสแห่งเรื่องราว จินตนาการ ของประเด็นที่เขาคิดว่าสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต ต่องานของเขา เกิดเป็นเกลียวพลวัต (Spiral Dynamic) แห่ง emotional engagement และ learning capacity สุดท้ายเป็นสุนทรียสนทนาในระดับสามหรือสี่ ที่จะผุดบังเกิดขึ้นทีเดียว

ระดับของการสนทนา 4 ระดับ
ระดับ ที่หนึ่ง เป็นการสนทนาที่เต็มไปด้วยความเกรงอก เกรงใจ ผู้เข้าร่วมจะพูดเฉพาะในสิ่งที่ตนเองคิดว่าผู้ฟังอยากจะได้ยิน หรือไม่รู้สึกไม่พอใจ จะแสดงความเห็นที่เราคิดว่าจริง หรืออะไรที่เราคิดว่าใช่ (downloading perception) หรือเป็นการสนทนารักษาสถานะภาพของตนเอง I in Me การสนทนาระดับนี้ ไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้น เพราะเราจะหมกมุ่นกับสถานะ มากกว่าสิ่งที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน เรื่องราวสำคัญจะไม่ถูกกล่าวถึง ไม่มีความผิดแผกแตกต่างถูกนำมาแสดง

ระดับที่สอง เป็นการสนทนาที่เริ่มเอา objectivity มาใช้มากขึ้น เอา fact ที่เราทราบมาบอก เล่า ให้เหตุผล รวมทั้งคิดวิเคราะห์ว่าทำไมของคนอื่นที่แตกต่างจากเราถึงผิดพลาด ผิดตรงไหน ในวงการ academic อาจจะเรียกระดับการสนทนาแบบนี้ว่าเป็น Debating style เต็มไปด้วยข้อมูล facts (so-called) และบางครั้งอาจจะเกิด hostility หรือการคุกคามตัวตน มีการกินพื้นที่เกิดขึ้นได้ ระดับนี้เรียกว่า I in It หรือ Open Mind อุปสรรคในการสนทนาระดับนี้คือการด่วนตัดสิน (voice of judgment) ว่า fact ของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง

ระดับที่สาม เป็นการสนทนาที่เรา "รับฟัง" ได้มากขึ้น ไม่ได้ผูกติดกับ "สิ่งที่เรารู้" เพียงอย่างเดียว แต่เริ่มเปิดใจ Open Heart เพราะเราเริ่มไปสนใจที่มา และความรู้สึกของผู้อื่น สนใจเรื่องราวของผู้อื่นอย่างจริงๆจังๆ โดยไม่ด่วนตัดสิน เราเริ่มเกิด empathy ต่อเรื่องราว อุปสรรค ข้อจำกัด ของผู้อื่นมากขึ้น ผลจากการทำเช่นนี้ เราได้เปิดใจ และเกิดการ "เชื่อมโยง" และเกิด "ความสัมพันธ์" กับผู้ที่เราพูดคุยมากขึ้น การสนทนาแบบนี้เมื่อเกิดขึ้น บางทีเราจะเกิดความรู้สึกสนิทสนมกับผู้ร่วมสนทนามากกว่าคนที่เรารู้จักมา เป็นเวลาหลายปีเสียด้วยซ้ำ การสนทนาระดับนี้เรียกว่า I in You เหมือนกับเราสามารถมองใน perspective ของผู้อื่นได้ การสนทนาแบบนี้จะไม่เกิด ถ้าหากเรายังมี voice of cynicism หรือ ความคลางแคลงใจ ความสงสัย และความต้องการจะรักษา "ระยะห่าง" จากผู้อื่นอยู่

ระดับที่สี่ ระดับลึกสุดที่การสนทนาจะนำไปได้ เป็นการสนทนาที่ "รอ" (hold tension) การผุดกำเนิดของอนาคตที่บ่มเพาะมาในสถานการณ์จริงๆ ที่ต้องการ และกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง พูดสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญที่สุดในชีวิต ได้ยินเรื่องราวของผู้อื่นและทราบความสำคัญของชีวิตของผู้อื่น ณ จุดนั้น จะมี "ความจริง" หรือ "อนาคต" อะไรบางอย่างที่ค่อยๆคุกรุ่น simmering รอ รอ รอ จนกระทั่งผู้ร่วมสนทนา ปลดวางตัวตนลง ยอมรับสิ่งที่กำลังจะมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่สนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งนี้เป็นอนาคตที่กำลังรอปรากฏขึ้น เมือทุกคนสามารถ let go ในที่สุด (Open Will ปล่อยเจตจำนงที่แท้ทำงาน) ก็จะเกิดการ let come และ future suddenly emerges ขึ้นมา เป็นการทะลวงอุปสรรคสุดท้าย คือ voice of fear  หรือเรียกการสนทนาระดับนี้ว่า "I in Now"

ในส่วนของการเตรียมการ เราตั้งใจจะสร้าง "บรรยากาศ" ที่สำคัญมากเช่นกัน คือ เป็นบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ เหมือนห้องนั่งเล่น เหมือนร้านกาแฟ ไม่มีบรรยากาศของ expert ไม่มี Hierachy ของความรู้ ประสบการณ์ตรง และความคิด ความรู้สึก ของทุกคนที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราตกลงกันว่าห้องนี้จะจัดให้เนื้อที่ใช้สอยไม่แน่นขนัด แต่จะใส่ไว้ด้วยโต๊ะกาแฟกลม ล้อมเก้าอี้ประมาณ 4-5 ตัวเท่านั้น เป็นวงเล็กๆ (เพื่อให้ทุกคนมีโอกาส participate มากที่สุด)

ไม่เพียงแค่นั้น ห้องนี้จะเป็นห้องเดียวในงานประชุมที่มีกาแฟและขนมเสริฟตลอดเวลา ซึ่งเป็นความจริง แม้แต่ห้องวิทยากร เรายังต้องลุกไปหยิบกาแฟขนมเองเลย แต่ห้องนี้นอกจากเราสามารถเดินไปหยิบเอง จะมีคนมาเสริฟถึงที่โต๊ะเป็นระยะๆ

ร้านกาแฟที่ดี ก็จะฉาบไล้บรรยากาศด้วยเสียงเพลง อันนี้ก็ตกเป็นความรับผิดชอบของกระบวนกร ที่ตัดสินใจพึ่งอัลบัม Infinity ตั้งแต่ต้นจนจบ ทุก session เลยทีเดียว เป็นเพลงบรรเลงเบาๆ เปี่ยมอารมณ์รัก อารมณ์สุนทรีย์ อารมย์แห่ง stillness และ oneness

ทาง พรพ.จัดการให้มีการลงทะเบียนล่วงหน้า ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร ถึงแม้ว่าใจจริง ผมคาดว่าลูกค้าส่วนหนึ่งจะเป็น passer-by มากกว่า แต่ความดีประการหนึ่งของการลงทะเบียนล่วงหน้าก็คือ ปรากฏว่าเราได้ห้องซึ่งอยู่มุมนอกสุดของห้องทั้งหมด โอกาสจะมี passer-by จะน้อยที่เดียว ซึ่งที่จริงผมคิดว่า ถ้าเราจะดักคนจริงๆ เราน่าจะเอาทำเลที่ attractive มากกว่านี้ และอาจจะต้องมีการ "ตกแต่งหน้าร้าน" ให้มี marketing เชื้อเชิญมากกว่านี้ แม้ว่าจะไม่ถึงกับมี pretty มายืนแบบโชว์รูมขายรถ แต่เราต้องการทำเลที่ hit the market มากกว่านี้ในครั้งหน้า กระนั้นก็ตาม เราได้แฟนพันธุ์แท้ที่อุตสาห์เดินมาเยี่ยมๆมองๆ และหลวมตัวให้เราเชิญเข้ามานั่งได้หลายคนเหมือนกัน

ที่กล่าวมาแล้วเป็นการเตรียมการ ซึ่งเป็นผลงานของทาง พรพ. ทั้งหมด แล้วกระบวนกรเตรียมตัวอย่างไรบ้างล่ะ?
อืม…… good question

จนถึงคืนก่อนวันงานจริง ผมก็ได้พูดคุยกับวรวุฒิมาหลายครั้ง แต่ไม่ใช่เรื่อง World Cafe จะว่าไปเราคุยกันบ่อยมาก ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่จะนับเป็นการซ้อมคุยได้ไหม? ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

กระบวนกรใน World Cafe ทำอะไรบ้าง?
นอกเหนือจากการเตรียมการ (ซึ่งกระบวนกรเองไม่ได้ทำ) กระบวนกรจะมีบทบาทเป็น host หรือเจ้าภาพที่ดี เป็นคนนำเข้ากิจกรรม พูดถึงกฏ กติกา มารยาท (ซึ่งมีนิดเดียว)

เราไม่ได้พูดกันถึงผลที่จะได้รับเสียด้วยซ้ำไป เพราะผลที่ว่าขึ้นกับอะไรที่นอกเหนือการควบคุมของคน แต่ส่ิงที่กระบวนกรต้อง hold ไว้ก็คือ "ความศรัทธาในความดีของมนุษย์" ว่า ทุกคนที่มาร่วม มีความต้องการจะให้เกิดความดีที่สุดต่อสังคมทั้งสิ้น กระบวนกรจะต้องสามารถหล่อเลี้ยงบรรยากาศ กลิ่นอาย ของความศรัทธานี้ให้ห้องให้ได้

ในคืนสุดท้าย เราก็ได้พูดคุยกันจนถึงตีสอง ในเรื่องราวมากมาย (เพราะคุยกันตั้งแต่ประมาณ 5 โมงเย็น) แล้วเราก็ "รู้สึก" ว่าเราพร้อมแล้ว (มั้ง) ที่ปลดความกลัว ความคาดหวัง ปลดสิ่งที่เราเกรงว่าจะสูญเสียหากว่างานออกมาไม่ดี เพียงแค่เราเดินเข้าสู่สนามโดยมี unconditional love และความจริงใจที่สุด เราก็สรุปว่าเราพร้อมแล้ว สำหรับงานนี้


http://newheartnewlife.net/wordpress/?p=65
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
“สุนทรียสนทนา” (dialogue) ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ สร้างสรรค์

 



“สุนทรียสนทนา” (dialogue) ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ สร้างสรรค์

--------------------------------------------------------------------------------

บทนำ

การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลได้ดีอีกด้วย

บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม








ความหมายและความเป็นมา

คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้ในสำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น “สุนทรียสนทนา” “สนทนาแลกเปลี่ยน” “วาทวิจารณ์” รวมทั้งคำว่า “สนทนา” และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น “การสนทนาอย่างสร้างสรรค์” หรือ “การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน” ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า “สนทนาวิสาสะ” ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า “สุนทรียสนทนา” แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความกระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Bohmian Dialogue

ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาดูได้ดังนี้ คือ   dia= through “ทะลุทะลวง”, logo = meaning of the word “ความหมายของคำที่พูดออกไป” แต่ David Bohm  ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ “สนุทรียสนทนา” ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า    ความหมายใหม่ของคำว่า ‘dialogue’ มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง   แต่เป็น stream of meaning หรือ “กระแสธารของความหมาย” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้     โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมุติใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่ฝังอยู่ในหัว (presupposition)   วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง



การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และเอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็นการบ่มเพาะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนานั้น ไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินด้วยข้อสรุปใดๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจฟังกัน คือการเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเองและสิ่งที่ได้ยิน ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่วอกแวกแยกวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ จะต้องกำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกในเชิงบวก เห็นความเงียบเป็นสิ่งเดียวกับตนเอง และในความเงียบนั้น กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่นเดียวกับตัวเราที่กำลังรับฟังอยู่ เราสามารถรอได้ คอยได้เสมอ

กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมายส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง (entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของสุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี

ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา

มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้ายๆกับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า “นั่งโสกัน” ภาษาคำเมืองจะเรียกว่า “นั่งแอ่วกัน” หรือ “นั่งอู้กัน” ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า “นั่งแหลงกัน” แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า “นั่งจับเข่าคุยกัน” “ล้อมวงคุย” หรือ “เปิดเวที” ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับมาใช้ใหม่

นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า คนกลุ่มเล็กๆอยู่รวมกันประมาณ 40-50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่นชายหนุ่มรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกไปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกันก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็นเวลานานแล้ว

คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน “ความเจริญ” เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่คือ “ความเหงาท่ามกลางฝูงชน” ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆในโลกนี้ได้อย่างไร

รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านประเพณีและพิธีการซึ่งถูกอำนาจกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งยังเต็มไปด้วยระบบสัญญลักษณ์ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใดๆก็ตาม จะไม่สามารถแก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อหาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน
                การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นโทรทัศน์กลายเป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินความจำเป็นพื้นฐาน จอโทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนตความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็กๆตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากร ธรรมชาติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น

คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ต่างคนต่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ “ฐานคติ” (presupposition) นั้น ขึ้นสู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ

ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ “อิทัปปัจยตา” ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใดๆอีกด้วย เพราะไม่สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฎการณ์ได้ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ “ตนเอง” จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

ในฐานะของผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านจุดสูงสุดของวิชาการจากโลกตะวันตก และเข้าใจวิธีคิดแบบตะวันออกอย่างลึกซึ้ง David Bohm จึงประกาศความเชื่อในชีวิตบั้นปลายว่า การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา



หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา

การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำ และการตอบคำถาม เพราะถือว่า คำถามที่เกิดขึ้น เป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ สุนทรียสนทนา ยังไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิดใดๆ เพราะถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นหมายถึงการปล่อยให้แต่ละคนนำเอาฐานคติของตนออกมาประหัตประหารกัน และจบลงด้วยความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกตีตกจากวงสนทนาไป ซึ่งผิดหลักการของสุนทรียสนทนา

หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนาอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” (deep listening) โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่า เสียงที่ได้ยิน คือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆที่ผ่านเข้ามากระทบ เสียงเหล่านั้นอาจจะเป็นเสียงของตนเองที่พูดคุยกับตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ เช่นเสียงนกร้อง น้ำไหล และเสียงจิ้งหรีดเรไรยามค่ำคืน เป็นต้น ถ้าหากฟังอย่างตั้งใจ และฟังเพื่อให้ได้ยิน อาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต

การยอมรับในหลักการของสุนทรียสนทนา คือความพยายามเบื้องต้นในการถอดถอนอิทธิพลของอำนาจ อุปาทาน ซึ่งทำงานอยู่ในรูปของระบบสัญญลักษณ์ พิธีการต่างๆที่ห่อหุ้มตัวตนไว้ในโลกอันคับแคบ หดหู่ ซึมเศร้า และเป็นสถานบ่มเพาะเชื้อแห่งความรุนแรงไว้อย่างล้ำลึก เชื่อกันว่า หากคนสามารถก้าวข้ามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปได้ จิตใจก็จะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ (deliberation) สามารถเรียนรู้จากการฟังได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อยกระดับภูมิธรรมของตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่คนธรรมดาทำได้ยาก

ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถบังคับใคร ให้เข้าไปนั่งอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนาได้ โดยที่เขาไม่มีความสมัครใจ และไม่ยอมรับเงื่อนไข หลักการเบื้องต้นเหล่านี้เสียก่อน การยอมรับเงื่อนไขแปลกๆเหล่านี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะคนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และเคยชินกับการพูดคุยแบบเป็นการเป็นงาน มีการวางวาระ เป้าหมายของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า มีการโต้เถียง ลงมติและข้อสำคัญมีคนที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่ตนเองไม่คุ้นเคย ก็เลยหงุดหงิด เพราะทำใจไม่ได้กับการพูดคุยแบบไม่มีทิศทาง David Bohm ได้ให้คำแนะนำว่า ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เชื่อมั่นในกระบวนการของสุนทรียสนทนาจะต้องเผชิญหน้ากับมัน และผ่านจุดสำคัญนี้ไปให้ได้ หลังจากนั้น บรรยากาศจะค่อยๆดีขึ้น เพราะทุกคนสามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศการพูดคุยแบบใหม่ จนแทบไม่มีใครอยากจะเลิกราไปง่ายๆ

 

 

 

มหัศจรรย์ของสุนทรียสนทนา

                                มีคำถามที่มักถามกันมาเสมอคือว่า พูดคุยกันแบบนี้แล้วมันได้ประโยชน์อะไร คุยกันแล้วข้อยุติที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะคุยกันไปทำไม ก็ขอตอบว่า สุนทรียสนทนามิได้แยกการพูดออกจากการกระทำ การพูดคือการกระทำอย่างหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาความรู้ สุนทรียสนทนาจึงไม่ใช่เป็นพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการชุมนุมพูดคุยเพื่อแสวงหาคลื่นของพลังงานความรู้ ความคิดที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลอันไพศาล โดยเปรียบสมองของมนุษย์ว่าเป็นระบบปฏิบัติการหรือตัว‘hard ware’ ที่จำเป็นจะต้องมีคลื่นพลังงานความรู้ ความคิด หรือ ‘soft ware’ ที่เหมาะสมกัน (compatible) มาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สมองสามารถทำงานได้ คิดได้ สร้างความรู้ได้ หาไม่แล้วสมองมนุษย์ก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและเส้นประสาทที่ปราศจากความหมายใดๆทั้งสิ้น

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...