แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
ฐิตา:
น้ำตก Iguazu
ภิกษุซีไซ เมื่อยังเป็นฆราวาส มีนามว่า จางฮางจง เป็นชาวเมื่องเกียงสี ในวัยหนุ่มเขาชอบการผจญภัย
เนื่องจาก สำนักปฏิบัติธรรมสองสำนักนี้ต่างรุ่งโรจน์ทัดเทียมกัน คือ ท่านเว่ยหล่างแห่งสำนักฝ่ายใต้ และชินเชาสำนักฝ่ายเหนือ พวกสานุศิษย์บางคนที่หัวรุนแรงในทางถือพวกถือคณะ ทั้งๆที่ อาจารย์ทั้งสองเอง ต่างก็มีใจโอนอ่อนผ่อนตามกัน ไม่ได้ยึดถือเป็นเขาเป็นเรา แต่พวกสานุศิษย์เหล่านี้กลับเรียกอาจารย์ของตนนั้น คือท่านชินเชาว่า เป็นพระสังฆนายกที่หก ทั้งๆที่อาจารย์ตนนั้น ไม่มีสิทธิอะไรมากไปกว่าพวกเขาเอง พวกสานุศิษย์สำนักฝ่ายเหนือ ปกติชอบอิจฉาพระสังฆนายก ซึ่งท่านเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในตำแหน่งนั้น อันใครจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้ได้รับมอบบาตรและจีวร ดังนั้นเพื่อที่จะกำจัดพระสังฆนายกเสีย พวกนี้จึงจ้างจางฮางจง ซึ่งในครั้งนั้นยังเป็นฆราวาส ให้มาฆ่าพระสังฆนายกเสีย
ด้วยอำนาจอภิญญา ที่สามารถอ่านกระแสจิตของผู้อื่นได้ พระสังฆนายกจึงทราบแผนการต่างๆ ล่วงหน้า ท่านเตรียมตัวไว้พร้อม ที่จะรับการฆาตกรรมครั้งนี้แล้ว ท่านก็นำเงินสิบตำลึงมาเป็นไว้ข้างๆ อาสนะ จางฮางจงเมื่อมาถึงวัด ในเย็นวันหนึ่ง ก็ย่องเข้าไปในห้องของพระสังฆนายกเพื่อทำฆาตกรรม พระสังฆนายกจึงยื่นคอออกไปให้ฟังถึงสามครั้ง แต่ฟันไม่เข้า ท่านจึงกล่าวว่า
ดาบที่ตรง ย่อมไม่คด
แต่ดาบคด ย่อมไม่ตรง
ฉันเป็นหนี้ท่าน ก็เพียงเงินเท่านั้น
แต่ชีวิต ฉันไม่ได้เป็นหนี้ท่านเลย
จากฮางจง ตกใจสุดขีด เขาเป็นลมสลบไปเป็นเวลานานจึงฟื้น เขาเสียใจมากและสำนึกผิด จึงอ้อนวอนขอความเมตตาต่อพระสังฆนายก และ ขอบวชทันที พระสังฆนายกมอบเงินสิบตำลึงให้เขา และกล่าวว่า "ท่านอย่าอยู่ที่นี่เลย เพราะลูกศิษย์ของฉันคงจะทำร้ายท่าน ไปเสียก่อน แล้วเวลาอื่นค่อยปลอมตัวมาหาฉันใหม่ ฉันจะดูแลความปลอดภัยให้ท่าน"
เมื่อได้รับคำสังเช่นนั้น เขาก็หนีไปในคืนวันนั้น ภายหลังต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุ ครั้นได้รับการอุปสมบทโดยสมบูรณ์แล้ว เขาก็ปฏิบัติตนเป็นพระที่มีความเพียรยิ่ง
ฐิตา:
ทะเลสาบอัตติลาน เมืองปานา กัวเตมาลา
วันหนึ่งเมื่อระลึกถึงคำกล่าวของพระสังฆนายกได้ เขาจึงเดินทางรอนแรมมาเป็นระยะทางไกล เพื่อเข้าพบและนมัสการพระสังฆนายก พระสังฆนายกกล่าวว่า "ทำไมจึงได้มาจนล่าช้าเช่นนี้? ฉันคิดถึงท่านตลอดเวลา"
จางกล่าวว่า "เนื่องจากวันนั้น ท่านได้อภัยความผิดของข้าพเจ้าด้วยความเมตตาอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงได้บวชเป็นภิกษุและศึกษาพระพุทธศาสนาเรื่อยมาด้วยความพากเพียร แม้กระนั้น ก็ยังรู้สึกว่ายากที่จะตอบแทนพระคุณท่านได้เพียงพอ นอกจากข้าพเจ้าจะสามารถแสดงความกตัญญูได้ด้วยการเผยแพร่ธรรมเพื่อความหลุดพ้นแก่สามัญสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ในการศึกษามหาปรินิพพานสูตรนั้น ข้าพเจ้าพยายามอ่านอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เข้าใจถึงความหมายของคำว่า "ถาวร" และ "ไม่ถาวร" ขอพระคุณท่าน ได้โปรดกรุณาอธิบายย่อๆ ให้ข้าพเจ้าด้วย
พระสังฆนายกตอบว่า "สิ่งที่ไม่ถาวรก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่ถาวรก็คือจิตใจที่มีลักษณะต่างๆไป ตลอดจนธรรมที่เป็นกุศล และธรรมที่เป็นอกุศลด้วย"
จางกล่าวว่า "ท่านครับ พระคุณท่านอธิบายค้านกับพระสูตรเสียแล้ว"
พระสังฆนายกตอบว่า ฉันไม่กล้าทำเช่นนั้นดอก เพราะฉันได้รับมอบหัวใจแห่งธรรมของสมเด็จพระพุทธองค์"
จางกล่าวว่า "ตามความในพระสูตรนั้น ธรรมชาติแห่งพุทธะย่อมถาวร ส่วนธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทั้งมวลรวมทั้งโพธิจิต (จิตแห่งปัญญา) ไม่ถาวร แต่ท่านกล่าวเป็นอย่างอื่นเช่นนี้ จะไม่เป็นการค้านหรือ? คำอธิบายของท่านยิ่งสร้างความสงสัยและสับสนให้แก่ข้าพเจ้ายิ่งขึ้น"
พระสังฆนายกตอบว่า "ครั้งหนึ่ง ฉันได้ให้ภิกษุณีชื่อวูจุงจอง อ่านมหาปรินิพพานสูตรให้ฉันฟังตลอดทั้งเล่ม เพื่อฉันจะได้อธิบายให้เธอฟังได้ ทุกๆคำพูดและทุกๆความหมายที่ฉันได้อธิบายไปในครั้งนั้น ก็ตรงกับคัมภีร์ทั้งสิ้น และที่ฉันกำลังอธิบายให้ฟังขณะนี้ ก็อย่างเดียวกัน ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคัมภีร์เลย"
จางกล่าวว่า "เนื่องจากปัญญาของข้าพเจ้าทึบ ท่านกรุณาอธิบายอย่างละเอียดและพิสดาร ให้ข้าพเจ้าฟังด้วย"
พระสังฆนายกกล่าวว่า "ท่านไม่เข้าใจดอกหรือว่า ถ้าธรรมชาติแห่งพุทธะเป็นสิ่งถาวร ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาพูดถึงธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล และตราบจนกระทั่งสิ้นกัลป์ ก็คงไม่มีใครจะปลุกโพธิจิตได้ เพราะฉะนั้น เมื่อฉันพูดว่า ไม่ถาวร ก็ตรงกับสิ่งที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งต่างๆหรือวัตถุต่างๆ ก็ย่อมมีธรรมชาติของมันเองที่จะเกิดหรือดับ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า ภาวะที่แท้แห่งจิตอันเป็นสิ่งที่ถาวรโดยแท้จริงย่อมไม่แผ่ซ่านไปทั่วทุกแห่ง เพราะฉะนั้น เมื่อฉันพูดว่า ถาวร ก็ตรงกับสิ่งที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ถาวร โดยแท้จริง"
เพราะว่า สามัญชนและพวกมิจฉาทิฏฐิ เชื่อในความถาวรที่ผิด คือเชื่อในความเที่ยงแท้ของวิญญาณและโลก ส่วนพวกสาวกก็เข้าใจผิดว่า ความเที่ยงแท้ของนิพพานเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร จึงเกิดความเห็นที่กลับกันอยู่แปดประการ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นผิดของการมองด้านเดียวเช่นนี้ สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้เข้าใจง่ายๆในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งอธิบายถึงหลักธรรมอันสูงสุดของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือความถาวรที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริง อัตตะที่แท้จริง และความบริสุทธิ์ที่แท้จริง
การอ่านไปตามตัวหนังสือในพระสูตรโดยไม่รู้เรื่องอะไร ท่านจึงไม่เข้าใจถึงหัวใจแห่งพระสูตร ในการถือเอาว่า สิ่งใดที่แตกทำลายสิ่งนั้นไม่ถาวร และสิ่งใดที่คงทนไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นถาวร ท่านจึงแปลความหมายในคำสอนครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระพุทธองค์ผิด คำสอนนี้เป็นคำสอนที่สมบูรณ์ลึกซึ้งและครบถ้วน ท่านอาจอ่านพระสูตรนี้สักพันครั้ง แต่ท่านจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากพระสูตรเลย
ฐิตา:
ชินวุย อายุสามสิบปี เกิดในตระกูลโก แห่งเมืองเช็งยาง
เดินทางมาจากวัดยุกชวน เพื่อนมัสการพระสังฆนายก
พระสังฆนายกกล่าวว่า "สหายผู้คงแก่เรียน ท่านคงต้องลำบากมาก
ที่เดินทางไกลเช่นนี้ แต่ท่านบอกฉันได้ไหมว่า
อะไรเป็นหลักเบื้องต้น? ถ้าท่านบอกได้ ท่านก็รู้จักเจ้าของ ลองพูดมาซิ"
"ความไม่ยึดติด เป็นหลักเบื้องต้น การรู้จักเจ้าของ ก็คือความตระหนักชัด"
ชินวุยตอบ
พระสังฆนายกตำหนิว่า "สามเณรนี้พูดเปล่าเปลือย ไม่มีคุณค่าอะไรเลย"
ทันใดนั้น ชินวุยได้ถามพระสังฆนายกว่า "ในการทำสมาธิ พระคุณท่านรู้หรือไม่"
พระสังฆนายกเอาไม้ที่ถือตีชินวุยสามที แล้วถามชินวุยว่า "รู้สึกเจ็บหรือไม่"
ชินวุยตอบว่า "เจ็บและไม่เจ็บ" พระสังฆนายกก็ตอบว่า "ฉันรู้และไม่รู้"
ชินวุยถามว่า "เป็นไปได้อย่างไร ที่ท่านรู้และไม่รู้"
พระสังฆนายกตอบว่า "สิ่งที่ฉันรู้และรู้อยู่เสมอ ก็คือความผิดของฉันเอง
สิ่งที่ฉันไม่รู้ ก็คือความดี ความชั่ว ความเป็นกุศล และความเป็นอกุศลของผู้อื่น
นี่แหละ ฉันจึงรู้และไม่รู้ เอาละ ลองบอกทีซิว่า
เจ็บและไม่เจ็บ นั้นท่านหมายถึงอะไร
ถ้าท่านไม่เจ็บ ท่านก็ไม่มีความรู้สึกเหมือนท่อนไม้หรือก้อนหิน
อีกประการหนึ่ง ถ้าท่านรู้สึกเจ็บและเกิดความโกรธหรือความเกลียด
ท่านก็อยู่ในฐานะสามัญชน.
คำว่า รู้และไม่รู้ ที่ท่านอ้าง เป็นคำคู่ประเภทตรงข้าม ส่วนคำว่า
เจ็บและไม่เจ็บ นั้น เป็นประเภทธรรมซึ่งเกิดขึ้นและดับไป
ท่านกล้าหลอกลวงผู้อื่น โดยที่ท่านไม่เคยตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต
ของท่านเอง"
น้ำตกเอราวัณ
ชินวุยกล่าวขอขมา และกราบนมัสการขอบคุณในคำสอนของพระสังฆนายก
พระสังฆนายกได้กล่าวต่อไปว่า "ถ้าท่านยังมีความหลงผิด และไม่สามารถตระหนักชัด
ภาวะที่แท้แห่งจิตได้
ท่านควรขอคำแนะนำจากสหายผู้คงแก่เรียนและใจบุญ เมื่อจิตของท่านสว่างไสวแล้ว
ท่านย่อมรู้จักภาวะที่แท้แห่งจิต เมื่อนั้นท่านจะเดินอยู่ในทางที่ถูก
ขณะนี้ ท่านยังหลงผิด ไม่รู้จักภาวะที่แท้แห่งจิต แต่ท่านยังกล้าถามฉัน
ว่า รู้จักภาวะที่แท้แห่งจิตหรือไม่ ถ้าฉันรู้ ฉันก็ตระหนักของฉัน
และความจริงที่ฉันรู้ก็ไม่อาจช่วยท่านให้พ้นจากความหลงผิดได้
โดยทำนองเดียวกัน ถ้าท่านรู้ ความรู้ของท่านก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ฉัน
แทนที่จะถามผู้อื่น ทำไมจึงไม่หาด้วยตนเอง ไม่รู้ด้วยตนเองเล่า?"
ฐิตา:
ชินวุยได้กราบนมัสการพระสังฆนายกอีกร้อยกว่าครั้ง กล่าวคำแสดงความเสียใจและขออภัยพระสังฆนายก จากนั้นมา ชินวุยกลายเป็นผู้ปรนนิบัติพระสังฆนายกอย่างแข็งขัน
วันหนึ่งพระสังฆนายกกล่าวในที่ประชุมว่า "ฉันมีของอย่างหนึ่ง ไม่มีหัว ไม่มีชื่อ ไม่มีข้างหน้า และไม่มีข้างหลัง ใครรู้จักบ้าง?"
ชินวุยก้าวออกมาข้างนอก และตอบว่า "สิ่งนั้นคือ ที่มาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และคือ ที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะของชินวุย"
พระสังฆนายกตำหนิว่า "ฉันได้บอกท่านแล้วว่า ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ท่านก็ยังเรียกว่าที่มาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะ แม้ว่าท่านจะเฝ้าเรียนอยู่แต่ในโรงธรรมต่อไป ท่านก็คงเป็นนักศึกษาประเภทจำเอาความรู้ของผู้อื่นมาทั้งสิ้น (ความรู้จากตำรา และคำสอน ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากปัญญาญาน)
หลังจากที่พระสังนายกได้เข้าปรินิพพานแล้ว ชินวุยได้เดินทางไปเมืองโลยาง เผยแพร่คำสอนของสำนักฉับพลันออกไปอย่างแพร่หลาย ท่านผู้นี้ได้เขียนนังสือชื่อ "ตำราอย่างง่ายเกี่ยวกับคำสอนทางธยาน" เป็นหนังสือที่แพร่หลายมาก ท่านชินวุยนี้ คนทั่วไปเรียกกันว่า ท่านอาจารย์โฮแช็ก(เป็นชื่อของวัด)
เมื่อเห็นว่า บรรดาสานุศิษย์จากสำนักต่างๆ พากันมารุมล้อมถามปัญหาอย่างมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเจตนาอันไม่สุจริตทั้งนั้น พระสังฆนายกจึงกล่าวแก่พวกนั้น ด้วยความสงสารว่า:-
"ผู้เดินทาง ควรกำจัดความคิดทั้งมวลเสีย ความดีก็เช่นเดียวกับความชั่ว สิ่งนี้ย่อมเป็นเพียงหนทางที่เรียกกันว่า "ภาวะที่แท้แห่งจิต" เท่านั้น โดยแท้จริงแล้ว ย่อมไม่อาจเรียกเป็นชื่อใดๆ ได้ "ธรรมชาติอันไม่เป็นของคู่" นี้ คือ "ธรรมชาติที่แท้จริง" และหลักคำสอนทั้งหลาย ก็อาศัยมูลฐานจากสิ่งนี้ คนเราควรจะตระหนักถึงภาวะที่แท้แห่งจิตในทันทีที่เขามาถึง"
เมื่อได้ฟังเช่นนั้น ทุกๆคนที่มารุมล้อมถาม ก็ทำความเคารพและขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของพระสังฆนายก
ฐิตา:
หมวดที่ ๙
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมราชโองการของพระมหาจักพรรดินีพระพันปีหลวงเช็คทิน และ พระมหาจักรพรรรดิจุงจุง ประกาศเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีที่ 1 แห่งรัชกาลชินลุง ดังนี้:-
"เนื่องจากข้าพเจ้าทั้งสอง ได้เชิญท่านพระอาจารย์เว่ยออนและท่านพระอาจารย์ชินเชา ให้พำนักอยู่ในพระราชวังเพื่อรับของถวาย ข้าพเจ้าได้ศึกษาทางพุทธยานจากท่านพระอาจารย์ทั้งสอนี้ ทุกโอกาสที่ว่างจากพระราชกรณียกิจ แต่ด้วยความถ่อมตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าขอคำแนะนำจากท่านพระอาจารย์เว่ยหล่าง แห่งสำนักใต้ ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกสำหรับรับมอบพระธรรมและบาตรจีวรจากพระสังฆนายกที่ห้า เช่นเดียวกับได้รับหัวใจแห่งธรรมของสมเด็จพระพุทธองค์
พร้อมนี้ ข้าพเจ้าทั้งสองได้ส่งขันที ซิตกัน เป็นผู้ถือพระบรมราชโองการมานิมนต์พระคุณท่านไปเมืองหลวง และมั่นใจว่า พระคุณท่านคงเมตตาอนุเคราะห์ข้าพเจ้าทั้งสอง ด้วยการไปเยี่ยมเมืองหลวงโดยด่วน ฯลฯ
เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ พระสังฆนายกได้ตอบปฏิเสธการนิมนต์พระมหาจักรพรรดิ์ และขอพระบรมราชานุญาตที่จะใช้ชีวิตอยู่ในป่า.
เมื่อเข้าไปนมัสการสนทนากับพระสังฆนายก ซิตกัน ได้กล่าวว่า "บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางธยานในเมืองหลวง ต่างได้แนะนำประชาชนเป็นอย่างเดียวกัน ให้นั่งขัดสมาธิเข้าสมาธิ ท่านเหล่านั้นบอกว่า เป็นทางเดียวเท่านั้น ที่ตระหนักชัดถึงหลักธรรมได้ ขอให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงแนวคำสอนของพระพุทธคุณท่านบ้างได้ไหมครับ?"
"หลักธรรมนั้น จะตระหนักชัดได้ด้วยจิต" พระสังฆนายกตอบ "และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนั่งขัดสมาธิ" ในวัชรัจเฉทิกสูตรกล่าวว่า เป็นการผิด ที่ใครๆจะยืนยันว่า ตถาคตมาหรือไป และนั่งหรือนอน เพราะเหตุใดหรือ? เพราะว่า สมาธิแห่งความบริสุทธิ์ ของตถาคต ไม่ได้หมายความว่า มาจากแห่งใดหรือไปที่แห่งใด ไม่ได้หมายความว่ามีการเกิดหรือการดับ ธรรมทั้งหลายย่อมสงบและว่างเปล่า โดยทำนองเดียวกัน บัลลังก์แห่งความบริสุทธิ์ของตถาคตก็เป็นเช่นนั้น พูดอย่างตรงๆแล้ว ไม่มีแม้แต่สิ่งเหล่านี้ที่จะบรรลุได้ ด้วยเหตุนี้ทำไมเราจะต้องทรมานตัวเอง ด้วยการนั่งขัดสมาธิ?"
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version