ผู้เขียน หัวข้อ: ไมเกรน Migraine  (อ่าน 1372 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
ไมเกรน Migraine
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 01:54:54 pm »
เส้นทางแห่งความปวด - ด้วยเทคโนโลยีการสร้างภาพทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นภาพของสมองคนเป็นๆ ขณะเกิดไมเกรนได้ แม้ว่าจะยังไม่ทราบรายละเอียดทุกแง่มุม แต่ข้อมูลเท่าที่มีก็ทำให้เราเข้าใจกระบวนการเกิดไมเกรนได้กระจ่างแล้ว  1. สิ่งกระตุ้น กระตุ้นที่อาจเป็นอะไรก็ได้สามารถกระตุ้นกระบวนการเกิดไมเกรนได้ แต่ในคนส่วนใหญ่แล้ว ตัวกระตุ้นอาจจะมาในรูปแบบของการผสมผสานของปัจจัยหลายอย่างค่อย ๆ สะสมผ่านกาลเวลาจนกลายเป็นตัวกระตุ้นเฉพาะบุคคล ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยจากภายใน เช่น ฮอร์โมน ความเคียด อดนอน หรือ เป็นปัจจัยจากภายนอก เช่น อากาศเปลี่ยน แพ้อาหาร เป็นต้น 2. ศูนย์ควบคุม ตัวกระตุ้นไมเกรนจะมุ่งหน้าไปรวมกันที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ควบคุมการนอนหลับ และความหิว อาการพ่วงของไมเกรน เช่น อาการคลื่นเหียน อาเจียน นั้นเป็นผลมาจากสัญญาณที่ส่งจากไฮโปทาลามัสไปยังระบบประสาทที่เป็นต้นกำเนิดไมเกรน 3. ต้นกำเนิดไมเกรน ไฮโปทาลามัสจะส่งสัญญาณไปยังก้านสมองส่วนบนที่เป็นที่อยู่ของระบบประสาท trigeminal ระบบประสาทนี้เป็นโครงข่ายใยประสาทขนาดใหญ่ ที่มีกิ่งก้านสาขาครอบคลุมไปทั่วทั้งสมอง ไม่ผิดอะไรกับหมวกนิรภัย เมื่อระบบประสาทนี้ถูกกระตุ้น กระบวนการไมเกรนก็เริ่มต้น 4. ปวดหัว อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะหลอดเลือดที่เยี่อหุ้มสมองส่วนนอกขยายตัวออก และเส้นประสาทที่อยู่บริเวณเดียวกันก็รับสัญญาณความเจ็บปวดไป เมื่อเส้นประสาทถูกกระตุ้น มันก็จะหลั่งสารที่กระตุ้นให้ตัวรับสัญญาณคามเจ็บปวดทำงาน และทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นอีก ออรา aura ในผู้ป่วยบางราย ระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น และระบบรับสัญญาณความรู้สึกอื่นๆ จะก่อสัญแล่นเป็นคลื่นไปทั่วสมอง ยอดคลื่นนี้ไปบิดเบือนสัญญาณที่ส่งไปยังประสาทการมองเห็น ผลที่ได้ก็คือ ผู้ป่วยหลายรายเห็นภาพแสงสว่างเป็นแฉกวาบขึ้นมาก่อนที่อาการปวดจะเกิดขึ้น Migraineไมเกรนมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษากรีกโบราณ Hemicrania แปลว่า ปวดศีรษะครึ่งซีกนั่นเอง ปวดแบบไหนจึงจะเรียกว่าปวดศีรษะไมเกรน? อาการปวดศีรษะไมเกรนตามเกณฑ์ของ International Headache Society (1988) ได้แก่ มีอาการปวดศีรษะนาน 4-72 ชม. หากไม่ได้รักษา หรือ นอนหลับ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และทนต่อแสงจ้า หรือ เสียงดังไม่ได้ อาการปวดมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อดังต่อไปนี้ ปวดตุ้บๆ ปวดซีกเดียวบริเวณขมับหรือท้ายทอย ปวดปานกลางไปจนถึงทำงานไม่ไหว กิจกรรมทั่วไป เช่น การเดิน ขยับศีรษะทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้น บางรายจะมีอาการนำ (aura) ซึ่งเกิดก่อนหรือพร้อมกันกับไมเกรนได้ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด สมมุติฐานว่าอาจจะเกิดจากการแพร่กระจายของคลื่นจากก้านสมองไปยังสมองใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางตา เช่น มีแสงซิกแซก หรือแสงหิ่งห้อย ประมาณ 10 นาที ก่อนจะปวดศีรษะตาม ถ้าปวดศีรษะไมเกรนบ่อยๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? ข้อแรก คือ ต้องสังเกตว่ามีตัวกระตุ้นอะไรบ้างที่ทำให้ปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ การอดนอน หรือ นอนมากเกินไป (เช่น ปวดไมเกรน ในเช้าวันหยุดเสาร์ อาทิตย์) , ตากแดด, หรือ มองแสงจ้านานๆ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล, อากาศร้อน, เหนื่อยมาก, การอดอาหาร, อาหารบางชนิดเช่น ไส้กรอก (มีดินประสิว nitrate), ไวน์ อาหารจีน ซึ่งมีผงชูรสปริมาณมาก, ในผู้หญิงมักจะปวดก่อน หรือ ขณะมีประจำเดือน 2-3 วันแรก (อธิบายจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงไป) เมื่อทราบปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดแล้วการหลีกเลี่ยงจะช่วยทำให้ลดความถี่ในการปวดได้มาก การพักผ่อนและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เหนื่อยเกินไป ข้อต่อมา เมื่อเริ่มมีอาการปวดไมเกรน ควรหยุดพักในห้องที่มืดอากาศเย็นและเงียบสงบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 10-20 นาที ควรรับประทานยาแก้ปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพยายามไม่ทานยา เพราะเกรงว่าจะทานยามากไป ซึ่งเมื่ออาการปวดมากขึ้น ยาแก้ปวดธรรมดาจะคุมไมเกรนไม่ได้ และต้องมา รพ.ในท้ายสุด ดังนั้น การทานยาย แต่แรกจะช่วยลดการใช้ยาปริมาณมากในภายหลัง ยาที่ควรใช้ได้แก่ ยาแก้อาเจียน (motilium, plasi) ยาแก้ปวดกลุ่มพารา หรือ NSAID (ponstan, brufen) และยาไมเกรน โดยตรง (cafergot, sumatriptans**ยากลุ่มใหม่ที่ได้ผลดีมาก) ผลข้างเคียงอาจจะมีอาการใจสั่น ตัวชา คล้ายกับทานกาแฟ หรือมีปวดตามกล้ามเนื้อมากในบางราย ข้อสุดท้าย ถ้ามีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หรือ ต้องหยุดงาน/ขาดเรียน จากไมเกรน ควรทานยาป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดความไวของหลอดเลือด ยาในกลุ่มนี้ได้ B-Blocker (propanolol), sibelium, tryptanol การจดบันทึก (migraine diary) ช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทราบถึงอาการปวด, ตัวกระตุ้น, การตอบสนองต่อยา และวางแผนการรักษาร่วมกันได้ดีขึ้น
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====