*พระมหาไวโรจนะ พุทธศิลป แบบ จีน
-
ว่าด้วยสัมโภคกาย : นิรมาณกายของธรรมกาย : พระโลจนพุทธเจ้า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศด้วยทรงปรารถนาโปรดสรรพสัตว์จึงทรงสําแดง พระวรกายเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ใน
คัมภีร์อวตังสกะสูตร กล่าวว่า
“ครุวนาอากาศธาตุ ที่แผ่ซ่านไปทั่วในทศทิศ หากมีรูปหรือไร้รูป หรือจะมีรูปก็มิใช่ จะไร้รูปก็มิใช่ สังขาร และโลกธาตุของสรรพสัตว์ ย่อมมีอยู่มากหลายหาขอบเขตมิได้ อันสัตยกายที่แท้จริง ของพระพุทธะก็ดุจฉะนี้ สรรพธรรมธาตุจะมิแผ่ไปถ้วนทั่วก็หาไม่ แต่ก็มิอาจพบเห็นได้ มิอาจยึดถือได้ แต่ด้วยเพื่ออนุศาสน์สอนสั่งสรรพสัตว์แล้วจึงสําแดงเป็นรูปลักษณ์ทั้งปวง” พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงได้ประกาศมหาปณิธานจํานวนอสงไขย เพื่อยังประโยชน์แก่ สรรพสัตว์จํานวนอสงไขยมานานนับอสงไขยกัลป์แล้ว ทรงบําเพ็ญภายในคือปัญญาญาณ บารมีครบถ้วนสมบูรณ์ และรูปลักษณ์ภายนอกคือพระวรกายก็สมบูรณ์อลังการ สมบูรณ์ ด้วยลักษณะมงคลแปดหมื่นสี่พันประการ เพื่อแสดงธรรมแก่โพธิสัตว์เป็นเหตุ พระไวโรจนะ พุทธเจ้าจึงทรงสําแดงพระสัมโภคกายอันไพบูลย์ บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่อลังการ โดยทรงมี อีกพระนามว่า
“พระโลจนะ” ที่ประกอบด้วยศุภลักษณ์มงคลวิเศษนานัปการ ยังให้สรรพ สัตว์ได้เลื่อมใส แล้วเร่งพากเพียรบําเพ็ญตน
คัมภีร์พรหมชาลสูตร มีธรรมโศลกว่า
“บัดนี้เราโลจนพุทธะ ได้ประทับบนปัทมอาสน์ แวดล้อมด้วยมาลีจํานวนนับพัน แล้วแลสําแดงเป็นพระศากยมุนีพันพระองค์ ในมาลี หนึ่งให้มีดินแดนจํานวนร้อยโกฏิในดินแดนหนึ่งก็มีพระศากยมุนีหนึ่งพระองค์ ซึ่งล้วน แต่ประทับอยู่ใต้ร่มเงาของอสัตถโพธิพฤกษ์ ในเพลาหนึ่งก็ได้สําเร็จซึ่งพระพุทธมรรค ดุจกัน อันจํานวนแสนโกฏิทั้งหมดนั้น มีพระโลจนพุทธเจ้าเป็นพีชะกาย พระศากยมุนี จํานวนร้อยพันโกฏิ ซึ่งล้วนแต่นําพาสรรพสัตว์จํานวนมากมายประดุจละอองธุลี ได้มา ยังที่ประทับแห่งเราเพื่อสดับเราสาธยายพุทธศีล” พระโลจนพุทธเจ้าทรงมีสัมโภคกายที่รุ่งเรืองด้วยประภารังสีบริสุทธิ์ อันวิเศษและมหัศจรรย์ ตามที่
คัมภีร์อวตังสกะสูตรได้พรรณนาไว้ดังนี้ “
ท่านประศานตรูตสาครวตี * กล่าวกับพระสุธน กุมารว่า พระโลจนพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายที่บริสุทธิ์ยิ่งนักถือเป็นอจินไตยอันจักคาดนึกเอา ไม้ได้ ทรงมีพระลักษณะสมบูรณ์และมงคลยิ่งนัก ด้วยในทุกๆ วาระจิต ในโลมาชาติหนึ่ง ๆ นั้น ก็ทรงเปล่งพระรัศมีไปยังพุทธเกษตรต่าง ๆ จํานวนอนันตะไม่มีประมาณ แลในรัศมีหนึ่ง ๆ ก็ยัง เปล่งพระรัศมีไปยังพุทธเกษตรต่าง ๆ จํานวนอนันตะอีก ซึ่งฉายส่องไปยังสรรพสิ่งทั้งปวง เต็มเปี่ยมถ้วนทั่วในธรรมธาตุ กําจัดซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของสรรพสัตว?”
* กัลยาณมิตรท่านหนึ่งของพระสุธนกุมารอรรถาธิบายกล่าวว่า
พระธรรมกายของพระพุทธะทั้งปวงนั้นจักมีแต่เพียงปวง พระพุทธะด้วยกันเท่านั้นที่จักทรงเห็นกันได้
พระสัมโภคกายของพระพุทธะทั้งปวงนั้น พระพุทธะและโพธิสัตว์ผู้ไม่เสื่อมถอย ย้อนกลับในพระโพธิแล้วเท่านั้นจึงจักเห็นได้
บรรดาปุถุชนและสรรพสัตว์ทั่วไปนั้น จักพบเห็นได้ก็เพียงแต่ภาพมายา (ที่ไม่จริงแท้ เกิดขึ้นโดยการปรุงแต่ง) ที่แสดงเป็น
นิรมาณกายเท่านั้น ข้อนี้หาใช่จิตแห่งพระพุทธะ ทรงแบ่งแยกไม่ ที่จริงแล้วเป็นเพราะสรรพสัตว์เองที่ยังด้อยซึ่งกุศลมูลปัญญาญาณและ บารมี เปรียบเทียบได้กับ ผู้ทรงปัญญาย่อมทราบว่าดวงจันทร์ที่แท้อยู่ทิศใดจึงมุ่งสู่ทิศนั้น ยังให้ตนได้พบความสว่างที่แท้จริง แต่ผู้ยังโมหะ ก็ได้แต่ลุ่มหลงอยู่กับดวงจันทร์ที่เป็น ภาพสะท้อนในท้องน้ำ ไม่อาจเข้าถึงสัตยลักษณ์ที่จริงแท้ได้ ดังพระพุทธวจนะของพระ ศากยมุนีที่ตรัสแก่พระกัสสปะโพธิสัตว์ว่า “การเสด็จสู่ห้วงมหาปรินิรวาณของพระพุทธเจ้า ทั้งปวงนั้น ก็คือการเสด็จสู่ห้วงแห่งสมาธิเท่านั้น” ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ใน สรรพสัตว์ทั้งปวง มิได้ดับสูญสลายไป
พระสัมโภคกายพุทธเจ้านั้น ทรงเกิดแต่บุญญาบารมี ปัญญาญาณและด้วยการสําเร็จพร้อม ในจริยาที่ลึกซึ้งจํานวนอเนกอนันต์ทั้งปวงแล้ว เมื่อปรารถนาจักได้ประสบก็สุดแต่ปัญญา วาสนาของผู้นั้นเป็นองค์ประกอบเอง
พระไวโรจนะพุทธเจ้าหรือพระโลจนพุทธเจ้านี้ นอกจากทรงแสดงซึ่งธรรมกายอัน บริสุทธิ์และไพบูลย์แล้ว ยังทรงแสดงโลกธาตุของพระองค์เองนามว่า
“ปุณฑริกครรภ์” อันเป็นจักรวาลที่ไม่มีขอบเขต ครอบคลุมไปทั่วในโลกธาตุต่าง ๆ จํานวนอสงไขย ประดุจละอองธุลีที่มากมายในอากาศด้วย โดยอุปมาว่าไพศาลแผ่กว้างประดุจห้วง มหาสมุทรสาคร ดั่ง
คัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่กล่าวว่า
“อัน ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุที่มี ความอลังการไพศาลประดุจห้วงมหาสาครนี้ เพราะด้วยพระไวโรจนะพุทธเจ้านั้น ในอดีตกาลล่วงมาครั้งที่ทรงบําเพ็ญพระโพธิจริยาในกัลป์ที่แสนยาวนานประดุจ ละอองธุลีในบรรดาโลกธาตุต่าง ๆ นั้น ในแต่ละกัลป์นั้นได้ทรงอยู่ใกล้ชิดบรรดา พระพุทธเจ้าในกัลป์ที่แสนยาวนานนั้นด้วย โดยในพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น พระไวโรจนะในครั้งนั้นได้ทรงบําเพ็ญมหาปณิธานจริยาอันบริสุทธิ์ ที่จักยังให้ โลกธาตุของพระองค์เองมีความบริสุทธิ์อลังการภายในโลกธาตุที่มีอยู์มหาศาลประดุจ ห้วงมหาสาครนั้น” ในพระสูตรพรรณนาว่า
“ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ สถิตอยู่ท่ามกลางดอกบัวที่เกิดอยู่ ในสุคันธสมุทร(มหาสุมทรที่น้ำมีกลิ่นหอม) โลกธาตุแห่งนั้นประดับประดาด้วยทิพยรัตน นานาประการ โดยถ้านําสุเมรุราชบรรพตมาเป็นกังหันลมพัดพาละอองธุลีไปจนถึงที่สุด แล้ว เบื้องบนนั้นจึงจักพบสุคันธสมุทร กลางห้วงสมุทรนี้มีมหาปุณฑริกหลวงดอกมหึมา และปุณฑริกครรภ์โลกธาตุก็ตั้งอยู่ท่ามกลางมหาปุณฑริกนี้ภายในมีวัชรบรรพตล้อมรอบ พื้นมหาปฐพีภายในวัชรบรรพตนั้นก็ล้วนแต่เป็นเพชร ทั้งสิ้น (อันมีความหมายโดยนัยยะว่า) มีความมั่งคงแข็งแกร่งมิเสื่อมสลาย มีความ บริสุทธิ์เสมอกัน ปราศจากความสูงต่ำ แลอันมหาวัชรปฐพีนี้ก็มีสุคันธสาครของพุทธ เกษตรจํานวนนับด้วยอสงไขยประดุจละอองธุลีอยู่ภายในด้วย สุคันธสาคร(ทะเล น้ำหอม)แต่ละแห่งก็ห้อมล้อมด้วยสุคันธชลธาร (สายธารน้ำหอม) จํานวนมากมาย มหาศาลเท่ากับจํานวนละอองธุลีของทวีปทั้งสี่ แลดินแดนที่ท่ามกลางชลธารนั้น ล้วน ประกอบไปด้วยแก้วรัตนะที่เป็นทิพย์ ที่แบ่งสรรปันส่วนไว้ดีประดุจข่ายแห” สายธารแห่งน้ำหอมของปุณฑริกครรภ์โลกธาตุนั้น มีชื่อเรียกว่า
“อนันต ทิพยปุณฑริกประภา” หมายถึง ความรุ่งเรืองแห่งดอกบัวที่เป็นทิพย์ อันไม่มีขอบเขต ประมาณ เหตุที่ชื่อนี้เพราะว่ามหาปุณฑริกได้เกิดแต่สายน้ำหอมนี้ และดอกบัวนี้ก็ได้ชื่อ ว่า
“ประภาสทศทิศโลกธาตุ” อันหมายความว่า มีแสงรัศมีที่ส่องสว่างต้องโลกธาตุใน ทศทิศ ภายในนั้นยังมีโลกธาตุอีก ๒๐ ชั้นมีจํานวนมายมายประดุจละอองธุลี อันถักทอ (คาบเกี่ยว) กันอยู่ประดุจชาละ (ตาข่าย, แห) สําเร็จเป็นข่ายแหแห่งโลกธาตุ ซึ่งล้วนแต่ อลังการดวยรัตนมณีล้ำค่า และมีพระพุทธเจ้าปรากฏกายสั่งสอนสรรพสัตว์อยู่ภายใน
ดั่งธรรมโศลกใน
คัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่ว่า
“เหนือปัทมอาสน์นั้นให้ปรากฏด้วยสรรพ ลักษณ์ แต่ละรูปกายครอบคลุมซึ่งสรรพโลกธาตุ ด้วยมโนระลึกเดียวให้สําแดงในตรีกาล สรรพโลกธาตุสาคร * จึงได้สําเร็จตั้งขึ้น แลด้วยพระพุทธอุบายโกศลจึงเสด็จเข้าสู่โลกธาตุ เหล่านั้น นี่แลคือความวิสุทธิอลังการทั้งปวงของพระไวโรจนะพุทธะ” * คําว่าสาครในที่นี้ เป็นนัยยะตามอรรถที่ว่า ห้วงมหาสาครนั้น ไร้ซึ่งขอบเขตประมาณ ลึกล้ำคัมภีรภาพ หาใช่หมายความว่าสายน้ำธรรมดาไม่ และยังมีอีกโศลกว่า
“พระไวโรจนะพุทธเจ้า สามารถหมุนเคลื่อนพระสัทธรรมจักรยังดินแดน ทั้งปวงในธรรมธาตุ ประดุจหมู่เมฆาที่กําจายทั่วไปในทศทิศของบรรดามหาโลกธาตุสาครนั้น ล้วนด้วยอาศัยฤทธาพละแห่งพระปณิธานของพระพุทธะ ย่อมหมุนเครื่องพระสัทธรรมจักรไป ทั่วทุกสถาน” ดอกบัวใหญ่ในปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ นั้นแสดงถึงอนันตธรรมธาตุที่มิแปดเปื้อนด้วยมลทิน ซึ่งมลทินเองก็มิได้ไกลจากความบริสุทธิ์ เพราะดอกบัวเกิดจากโคลนตม
คัมภีร์มหายาน สงเคราะห์ศาสตร์ บรรยายไว้ว่า
“มหาปุณฑริกอันเป็นราชาเจ้าแห่งปุณฑริกทั้งปวง เปรียบ ดังตถตาธรรมแห่งธรรมธาตุของมหายาน อันแม้ดอกปุณฑริกจักอยู่ท่ามกลางโคลนตม แต่มิ แปดเปื้อนด้วยอาสวะ ประดุจตถตาแห่งธรรมธาตุที่ถึงแม้นจะสถิตอยู่ในโลก แต่มิได้แปดเปื้อน ด้วยมลทินของโลกธรรม แลปุณฑริกมาศที่ผลิบานได้ด้วยตัวเองนั้น ก็เปรียบดังตถตาธรรม แห่งธรรมธาตุที่สําแดงอยู่ด้วยตัวมันเอง” พระไวโรจนะพุทธเจ้า ทรงสําแดงซึ่งปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ อันแสดงถึงอนันตภาวะของ ธรรมธาตุ ที่รวบรวมไว้ซึ่งสรรพสิ่ง ที่กิจกรรมทั้งปวงไม่เป็นอุปสรรคขวางกั้นแก่กัน ไม่ว่า ความบริสุทธิ์หรือมลทินก็ล้วนแต่ไม่ไกลไปจากจิตนั่นเอง
http://image.zgfj.cn/uploadfile/201082261558716854.jpg