แสงธรรมนำใจ > มหายาน
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
ฐิตา:
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (วรรคที่ ๑)
ข้อมูลจาก : www.mahaparamita.com 1
大方廣圓覺修多羅了義經
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
The Grand Sutra of Perfect Enlightenment
พระพุทธตาระมหาเถระ
唐:佛陀多羅譯
ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ภิกษุจีนวิศวภัทร
(沙門聖傑)
แห่งวัดเทพพุทธาราม
(仙佛寺)
แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๕๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน
如是我聞,一時婆伽婆,入於神通大光明藏,三昧正受,一切如來光嚴住持,是諸眾生,清淨覺地,身心寂滅平等本際,圓滿十方,不二隨順,於不二境,現諸淨土,與大菩薩摩訶薩十萬人俱,其名曰,文殊師利菩薩,普賢菩薩,普眼菩薩,金剛藏菩薩,彌勒菩薩,清淨慧菩薩,威德自在菩薩,辯音菩薩,淨諸業障菩薩,普覺菩薩,圓覺菩薩,賢善首菩薩等而為上首與諸眷屬,皆入三昧,同住如來平等法會
。ดั่งที่ข้าพเจ้าได้สดับมา สมัยหนึ่งสมเด็จพระภควันต์ ทรงเข้าอภิญญามหาญาณครรภ์ อัน เป็นสมาธิตั้งอยู่โดยชอบ เป็นประการที่พระตถาคตเจ้าทั้งปวงทรงธำรงอยู่ มีบรรดาสรรพสัตว์ผู้ บริสุทธิ์บรรลุถึงโพธิภูมิ มีกายแลจิตที่ดับรอบและมีสมตาเป็นมูลฐาน สมบูรณ์ทั่วในทิศทั้งสิบ มิ คล้อยตามทวิบัญญัติ และมิตั้งอยู่ในทวิภาวะ ปรากฏอยู่ในวิศุทธิเกษตรทั้งปวง อันเป็นพระ โพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งแสน อันมีนามว่า มัญชุศรีโพธิสัตว์๑ สมันตภัทรโพธิสัตว์๑ สมันตเนตรโพธิสัตว์๑ วัชรครรภ์โพธิสัตว์๑ เมตไตรยโพธิสัตว์๑ วิศุทธิชญานโพธิสัตว์๑ เตชศวร โพธิสัตว์๑ ปรติภาณสวรโพธิสัตว์๑ ศุทธิสรวกรรมวิปากโพธิสัตว์๑ สมันตพุทธิโพธิสัตว์๑ สมปูรณ โพธิโพธิสัตว์๑ สุภัทรกูฏโพธิสัตว์๑ อันเป็นผู้นำพร้อมด้วยบริษัททั้งปวง ซึ่งล้วนแต่เข้าสมาธิ แล้ว ตั้งอยู่ในตถาคตสมตาธรรมสภา
於是文殊師利菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手而白佛言:大悲世尊,願為此會諸來法眾,說於如來本起清淨,因地法行,及說菩薩於大乘中發清淨心,遠離諸病,能使未來末世眾生求大乘者,不墮邪見。作是語已,五體投他,如是三請,終而復始
。ในเพลานั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำ ศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้ว
ทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อเหล่าธรรมนิกรทั้งปวงที่ได้มาร่วมอยู่ใน สภาแห่งนี้ ขอพระองค์ทรงแสดงมูลเหตุอันบริสุทธิ์ของพระตถาคตคือเหตุภูมิธรรมจริยา และ โปรดตรัสซึ่งการประกาศวิศุทธิจิตของโพธิสัตว์ผู้ดำรงในมหายาน อันห่างไกลจากสิ่งเสียดแทงทั้ง ปวง สามารถยังให้สรรพสัตว์ในอนาคตผู้ปรารถนามหายาน มิตกสู่มิจฉาทัศนะด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึงกระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ
爾時世尊告文殊師利菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩,諮詢如來因地法行,及為末世一切眾生求大乘者,得正住持,不墮邪見,汝今諦聽,當為汝說。時文殊師利菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽
。ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถสากัจฉาซึ่งเหตุภูมิแห่งธรรมจริยาของพระตถาคตเพื่อโพธิสัตว์ทั้งหลาย และเพื่อ หมู่สรรพสัตว์ในอนาคตผู้ปรารถนามหายาน ให้ได้บรรลุถึงความตั้งมั่น มิตกสู่มิจฉาทัศนะ เธอพึง สดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้นพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึง ปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดามหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา
善男子,無上法王,有大陀羅尼門,名為圓覺,流出一切清淨真如,菩提涅槃及波羅密,教授菩薩,一切如來本起因地,皆依圓照清淨覺相,永斷無明,方成佛道,云何無明
。ดูก่อนกุลบุตร พระอนุตรธรรมราชา มีมหาธารณีทวารนามว่า สมปูรณโพธิ อันเป็นที่ หลั่งไหลซึ่งวิศุทธิตถตา พระโพธิ พระนิรวาณ และปารมิตาทั้งปวง เพื่อสั่งสอนโพธิสัตว์ และคือ ปฐมเหตุภูมิของพระตถาคตทั้งปวง ที่ล้วนต้องอาศัยเพื่อยังโพธิลักษณะให้บริสุทธิ์โดยรอบ เพื่อยัง อวิชชาให้ขาดสิ้นแล้วบรรลุพระพุทธมรรค ก็อวิชชานั้นเล่าเป็นไฉน
善男子,一切眾生從無始來,種種顛倒,猶如迷人,四方易處,妄認四大為自身相,六塵緣影為自心相,譬彼病目,見空中華及第二月
。ดูก่อนกุลบุตร บรรดาสรรพสัตว์นับแต่กาลอันหาจุดเริ่มต้นมิได้นั้น วิปลาสเห็นผิดเป็น ชอบ ดุจผู้ถูกลวงหลอกให้ลุ่มหลงไปในทิศทั้งสี่แต่โดยง่าย 1 โดยลวงให้ยึดเอามหาภูติรูปสี่ว่าเป็น กายตน และสฬายตนะ2เป็นปัจจัยให้เกิดภาพเห็นเป็นจิตตน อุปมาบุคคลผู้จักษุเป็นโรค เห็นบุปผาในอากาศ3 และจันทราดวงที่สอง
善男子,空實無華,病者妄執,由妄執故,非唯惑此虛空自性,亦復迷彼實華生處,由此妄有輪轉生死,故名無明
。 ดูก่อนกุลบุตร ที่แท้ในนภากาศปราศจากซึ่งบุปผา แต่เหตุเพราะผู้ป่วยนั้นอุปาทานมั่นเอา เอง จึงมิเพียงรู้สึกว่าอากาศคือภาวะแห่งตน ซ้ำยังหลงไปว่านั้นเป็นที่อุบัติแห่งบุปผชาติอย่าง แท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงลวงหลอกว่ามีสังสารวัฏชาติมรณะ เหตุฉะนี้แลจึงชื่อว่า อวิชชา
善男子,此無明者,非實有體,如夢中人,夢時非無,及至於醒,了無所得。如眾空華,滅於虛空,不可說言有定滅處,何以故,無生處故。一切眾生於無生中,妄見生滅,是故說名輪轉生死
。ดูก่อนกุลบุตร อันอวิชชาบุรุษนี้แล ที่แท้ก็หามีสังขารไม่ ดุจบุคคลผู้อยู่ในความฝัน ที่เพลา ฝันย่อมมีอยู่ ตราบเมื่อตื่นขึ้นจึงรู้ว่ามิใช่ความจริง ดุจบุปผาทั้งปวงในความว่าง ที่สิ้นไปในอากาศ นั้นแล อันมิอาจกล่าวกำหนดไปว่าดับสิ้นที่แห่งใด ด้วยเหตุไฉนนั่นหรือ ก็เหตุเพราะมิได้มีสถานที่ กำเนิดขึ้น สรรพสัตว์ทั้งปวงก็อาศัยความมิได้กำเนิดนี้ ลวงให้เห็นว่าเกิดดับ ฉะนี้แลจึงชื่อว่า สังสารวัฏชาติมรณะ
善男子,如來因地修圓覺者,知是空華,即無輪轉,亦無身心受彼生死,非作故無,本性無故,彼知覺者,猶如虛空,知虛空者,即空華相,亦不可說無知覺性,有無俱遣,是則名為淨覺隨順,何以故,虛空性故,常不動故,如來藏中無起滅故,無知見故,如法界性,究竟圓滿遍十
1 หมายถึง จตฺวาโร วิปรฺยาสา คือความเห็นคลาดเคลื่อน ๔ ประการ มี ๑.นิตย วิปัลลาส คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัล ลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๒.สุข วิปัลลาส คือ สัญญาวิปัลลาส ฯลฯ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข ๓.ศุจิ วิปัลลาส คือ สัญญาวิปัลาส ฯลฯ ใน สิ่งที่ไม่งามว่างาม ๔.อาตม วิปัลลาส คือ สัญญาวิปัลลาส ฯลฯ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
2 หมายถึง อายตนะภายนอก ๖ มี ๑)รูป ๒)เสียง ๓)กลิ่น ๔)รส ๕)สัมผัส หรือโผฏฐัพพะ ๖)ธรรมารมณ์
3 ขปุษฺป คือ ดอกฟ้า , ดอกไม้ในอากาศ
方故,是則名為因地法行。菩薩因此於大乘中,發清淨心,末世眾生,依此修行,不墮邪見,
ดูก่อนกุลบุตร เพราะตถาคตมีเหตุภูมิที่บำเพ็ญซึ่งสมปูรณโพธิ จึงรู้ว่าคืออากาศบุปผา จึง ปราศจากสังสารวัฏ ทั้งปราศจากซึ่งกายและจิตผู้เสวยชาติและมรณะ เพราะมิได้กระทำจึงหามีไม่ เหตุที่รู้ว่ามูลภาวะนั้นหามีไม่ จึงได้รู้แจ้ง อุปมาอากาศนั่นแล ที่บุคคลผู้รู้อากาศ ว่าเป็นลักษณะ ของอากาศบุปผา ทั้งมิอาจกล่าวว่าปราศจากผู้รู้โพธิภาวะ แลไร้บุคคลผู้มีตนส่งไป จึงชื่อว่า อนุโลมตามความรู้แจ้งที่บริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้.
爾時世尊欲重宣此義,而說偈言:
ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า...
文殊汝當知,一切諸如來。
มัญชุศรีเธอพึงทราบเถิด อันพระตถาคตทั้งปวง
從於本因地,皆以智慧覺。
จากภูมิคือมูลเหตุนี้ไป ล้วนอาศัยโพธิปัญญาญาณ
了達於無明,知彼如空華,
ให้แทงตลอดซึ่งอวิชชา ล่วงรู้ว่าดุจอากาศบุปผา
即能免流轉,又如夢中人,
ให้แทงตลอดซึ่งอวิชชา ล่วงรู้ว่าดุจอากาศบุปผา
ฐิตา:
ให้แทงตลอดซึ่งอวิชชา ล่วงรู้ว่าดุจอากาศบุปผา
(ต่อค่ะ)
即能免流轉,又如夢中人
。จึงสามารถระงับซึ่งวัฏฏะ อีกประดุจบุคคลในความฝัน
醒時不可得,覺者如虛空
。เมื่อตื่นคืนย่อมมิอาจเข้าถึง ผู้รู้แจ้งนั้นเล่าก็ดุจอากาศ
平等不動轉,覺遍十方界
。มีความสมภาพมิผันแปร รู้แจ้งทั่วทศทิศโลกธาตุ
即得成佛道,眾幻滅無處
。 จึงบรรลุซึ่งพุทธมรรค บรรดามายาดับโดยไร้สถาน
成道亦無得,本性圓滿故
。 อันการสำเร็จมรรคก็หาได้บรรลุถึงไม่ เหตุที่มูลภาวะบริบูรณ์อยู่เดิม
菩薩於此中,能發菩提心
。 โพธิสัตว์ผู้ดำรง(ซึ่งธรรมนี้) จึงสามารถบังเกิดโพธิจิต
末世諸眾生,修此免邪見
。 บรรดาสรรพสัตว์ในอนาคต เมื่อประพฤติ(ธรรมนี้)ย่อมระงับซึ่งมิจฉาทัศนแล.
จบวรรคที่ ๑
ฐิตา:
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (วรรคที่ ๒)
大方廣圓覺修多羅了義經
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
The Grand Sutra of Perfect Enlightenment
วรรคที่ ๒
於是普賢菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手而白佛言:大悲世尊,願為此會諸菩薩眾,及為末世一切眾生,修大乘者,聞此圓覺清淨境界,云何修行
。 ในเพลานั้น พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้วทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อเหล่าโพธิสัตว์ในสภาแห่งนี้และ สรรพสัตว์ในอนาคต ผู้ประพฤติซึ่งมหายานจริยา เมื่อได้สดับซึ่งวิศุทธิสมปูรณโพธิวิสัยนี้แล้ว พึง กระทำจริยาด้วยประการเช่นไรหนอ
世尊,若彼眾生知如幻者,身心亦幻,云何以幻還修於幻,若諸幻性一切盡滅,則無有心,誰為修行,云何復說修行如幻。若諸眾生,本不修行,於生死中常居幻化,曾不了知如幻境界,令妄想心云何解脫,願為末世一切眾生,作何方便漸次修習,令諸眾生永離諸幻。作是語已,五體投地,如是三請,終而復始
。ข้าแต่พระโลกนาถ หากสรรพสัตว์นั้นได้รู้ว่าประดุจการมายา กายแลจิตก็ดุจมายา แล้วจัก ใช้มายาบำเพ็ญซึ่งมายาด้วยประการเช่นไร หากบรรดามายาภาวะอันคือสิ่งทั้งปวงดับสิ้นลง ย่อม ปราศจากจิต แล้วใครเล่าเป็นผู้บำเพ็ญจริยา เช่นไรหนอจึงยังกล่าวว่าการบำเพ็ญจริยาเป็นดั่งมายา หากสรรพสัตว์ทั้งปวง มีมูลฐานที่มิบำเพ็ญจริยา ในท่ามกลางชาติแลมรณะนี้จึงมีมายาเป็นเครื่อง อยู่โดยเนืองนิตย์ อันมิเคยล่วงรู้ว่าคือมายาวิสัย ยังให้เกิดจิตตสัญญาลวงหลอก แล้วจักถึงแก่ พระวิมุตติได้อย่างไร เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต ขอพระองค์โปรดประทานอุปายะในการ ประพฤติบำเพ็ญโดยลำดับ ยังให้เหล่าสรรพสัตว์ได้ไกลห่างจากมายาทั้งปวงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึงกระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ
爾時世尊告普賢菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩及末世眾生,修習菩薩如幻三昧,方便漸次,令 諸眾生得離諸幻,汝今諦聽,當為汝說。時普賢菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽。
ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถยังให้บรรดาโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์ในอนาคต ประพฤติบำเพ็ญซึ่งโพธิสัตต์มายา สมาธิ มีอุปายะสืบไปเป็นลำดับ ยังให้หมู่สรรพสัตว์ไกลจากมายาทั้งปวง เธอพึงสดับเถิด ตถาคต จักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่ พร้อมกับบรรดามหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา
善男子,一切眾生,種種幻化,皆生如來圓覺妙心,猶如空華,從空而有,幻華雖滅,空性不壞,眾生幻心,還依幻滅,諸幻盡滅,覺心不動,依幻說覺,亦名為幻,若說有覺,猶未離幻,說無覺者,亦復如是,是故幻滅,名為不動
。 ดูก่อนกุลบุตร สรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบด้วยการมายานานัปการ ซึ่งล้วนอุบัติแต่ตถาคต สมปูรณโพธิจิต อุปมาอากาศบุปผา ที่อาศัยอากาศจึงเกิดมี ก็อันมายาบุปผาแม้นจักดับ แต่อากาศ ภาวะมิได้เสื่อมสูญ มายาจิตของสรรพสัตว์ ยังอาศัยการดับไปของมายา สรรพมายาแม้นดับจนสิ้น พุทธิจิตก็มิได้สั่นคลอน ด้วยอาศัยมายากล่าวแสดงความรู้แจ้ง จึงได้ชื่อว่ามายา หากกล่าวว่ารู้แจ้ง จึงดั่งว่ายังมิไกลจากมายา แม้นกล่าวว่ามิรู้แจ้ง ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ เหตุฉะนี้แลเมื่อมายาดับ จึงได้ชื่อว่ามิหวั่นไหว
善男子,一切菩薩,及末世眾生,應當遠離一切幻化虛妄境界,由堅執持遠離心故,心如幻者,亦復遠離,遠離為幻,亦復遠離,離遠離幻,亦復遠離,得無所離,即除諸幻,譬如鑽火,兩木相因,火出木盡,灰飛煙滅,以幻修幻,亦復如是,諸幻雖盡,不入斷滅
。 ดูก่อนกุลบุตร โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งปวงในอนาคต พึงนิราศห่างไกล1 จากมายาวิสัย อันลวงหลอกทั้งปวง ก็เพราะการยึดมั่นในนิราศจิตเป็นเหตุ จิตจึงดุจมายา ทั้งยังห่างไกลอันความ ห่างไกลนั่นแลก็คือมายา ทั้งยังห่างไกลก็อันความห่างไกลนั่นแลที่ห่างจากมายา ทั้งยังห่างไกล แล้วจึงบรรลุถึงความมิห่าง จึงกำจัดมายาทั้งปวง ครุวนาไฟที่เกิดจากการสีของไม้ เมื่อไฟปรากฏ ไม้จึงสิ้น เมื่อเถ้าฟุ้งควันจึงสูญ ใช้มายาบำเพ็ญมายา ก็ดุจฉะนี้ แม้นสรรพมายาจักสิ้นแล้วแต่ยังมิ เข้าสู่สมุทเฉทนิโรธ 1 ห่างไกล หรือไกลจากกิเลส ในพระสูตรนี้ สันสกฤตว่า หรฺมิต
善男子,知幻即離不作方便,離幻即覺,亦無漸次,一切菩薩及末世眾生,依此修行,如是乃能永離諸幻,
ดูก่อนกุลบุตร เมื่อรู้มายาจึงไกลห่าง(จากมายา) มิต้องกระทำอุปายะใด เมื่อไกลมายาจึงรู้ แจ้ง ทั้งมิต้องสืบไปเป็นลำดับ บรรดาโพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งปวงในอนาคต ด้วยอาศัยการ บำเพ็ญจริยาเช่นนี้ จึงสามารถไกลจากสรรพมายาเป็นนิตย์ ด้วยประการฉะนี้.
爾時世尊欲重宣此義,而說偈言:
ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า...
普賢汝當知,一切諸眾生
。 สมันตภัทรเธอพึงทราบเถิด อันสรรพสัตว์ทั้งปวง
無始幻無明,皆從諸如來
。 มายาแลอวิชชาอันหาจุดเริ่มมิได้ ล้วนเกิดแต่พระตถาคตทั้งปวง
圓覺心建立,猶如虛空華
。 อันมีสมปูรณจิตตั้งขึ้น อุปมาอากาศบุปผา
依空而有相,空華若復滅
。 เพราะอาศัยความว่างจึงมีลักษณะ ศูนยตาบุปผาจึงดับไป
虛空本不動,幻從諸覺生
。 อากาศมีมูลเดิมมิหวั่นไหว มายาก็กำเนิดจากความรู้แจ้งทั้งปวง
幻滅覺圓滿,心不動故
。 มายาดับโพธิยังสมบูรณ์ เหตุเพราะพุทธิจิตนั้นอจลา
若彼諸菩薩,及末世眾生
。 หากหมู่โพธิสัตว์เหล่านั้น และสรรพสัตว์ในอนาคต
常應遠離幻,諸幻悉皆離
。 จักพึงไกลจากมายา เมื่อปวงมายาล้วนไกลห่าง
如木中生火,木盡火還滅
。 ดุจไม้กำเนิดไฟ เมื่อไม้สิ้นไฟย่อมดับ
覺則無漸次,方便亦如是
。 ความรู้แจ้งมิต้องเป็นลำดับ อุปายะก็เช่นนี้แล.
จบวรรคที่ ๒
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ฐิตา:
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (วรรคที่ ๓)
大方廣圓覺修多羅了義經
พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร
The Grand Sutra of Perfect Enlightenment
พระพุทธตาระมหาเถระ
唐:佛陀多羅譯
ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ภิกษุจีนวิศวภัทร
(沙門聖傑)
แห่งวัดเทพพุทธาราม
(仙佛寺)
แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๕๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน
於是普眼菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手而白佛言:大悲世尊,願為此會諸菩薩眾,及為末世一切眾生,演說菩薩修行漸次,云何思惟,云何住持,眾生未悟,作何方便普令開悟
ในเพลานั้น พระสมันตเนตรโพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนม กรแล้วทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อเหล่าโพธิสัตว์ในสภาแห่งนี้และ สรรพสัตว์ในอนาคต โปรดตรัสแสดงซึ่งการบำเพ็ญอันสืบไปเป็นลำดับของโพธิสัตว์ ว่าเช่นไรคือ จินตนา เช่นไรคือการทรงไว้ สรรพสัตว์ผู้ยังมิรู้ตื่น จักกระทำด้วยอุปายะเช่นไรถึงจักยังให้รู้ตื่น
世尊 若彼眾生無正方便,及正思惟,聞佛如來說此三昧,心生迷悶,即於圓覺不能悟入,願與慈悲,為我等輩及末世眾生,假說方便。作是語已,五體投地,如是三請,終而復始
。 ข้าแต่พระโลกนาถ หากสรรพสัตว์เหล่านั้นปราศจากซึ่งอุปายะและจินตนาที่ถูกต้อง เมื่อ ได้สดับพระพุทธตถาคตเจ้าตรัสถึงสมาธิประการนี้ ในจิตย่อมเกิดความฉงนสนเท่ห์ มิอาจเข้าสู่สม ปูรณโพธิ เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายและบรรดาสรรพสัตว์ในอนาคต ขอพระองค์ทรงเมตตากรุณา แกล้งตรัสแสดงซึ่งอุปายะด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า ๑ เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึงกระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ
爾時,世尊告普眼菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩及末世眾生,問於如來修行漸次,思惟住持,乃至假說種種方便,汝今諦聽,當為汝說。時普眼菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽
。 ๑ ในประโยคนี้พระสมันตเนตร ทูลให้พระพุทธองค์แกล้งตรัส เพราะในวรรคที่ ๒ พระองค์ได้ตรัสกับพระสมันตภัทรถึงเรื่องมายาต่างๆ ไว้ว่ามิต้องใช้อุปายะใดๆ ในการรู้แจ้ง ดังนั้น ในวรรคที่ ๓ พระสมันตเนตรจึงทูลให้ตรัสถึงอุปายะอีก เพื่อประโยชน์ของสัตว์ผู้ไม่มี ปัญญาและความเห็นถูก โดยใช้คำว่าแกล้งตรัส หรือแสร้งตรัสให้เป็นมายา
ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระสมันตเนตรโพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถเอ่ยปุจฉาถึงการบำเพ็ญจริยาอันเป็นลำดับของพระตถาคต การจินตนา แลการทรงไว้ ตราบถึงการแกล้งกล่าวด้วยนานาอุปายะ เธอพึงสดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้นพระสมันตเนตรโพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดา มหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา
善男子,彼新學菩薩,及末世眾生,欲求如來淨圓覺心,應當正念遠離諸幻,先依如來奢摩他行,堅持禁戒,安處徒眾,宴坐靜室,恒作是念,我今此身,四大和合,所謂髮毛爪齒,皮肉筋骨,髓腦垢色,皆歸於地,唾涕膿血,津液涎沫,痰淚精氣,大小便利,皆歸於水,暖氣歸火,動轉當風,四大各離,今者妄身,當在何處,即知此身,畢竟無體,和合為相,實同幻化,四緣假合,妄有六根,六根四大,中外合成,妄有緣氣,於中積聚,似有緣相,假名為心
。 ดูก่อนกุลบุตร อันโพธิสัตว์ผู้เพิ่งศึกษาและสรรพสัตว์ในอนาคตนั้น เมื่อปรารถนาตถาคต ศุทธิสมปูรณโพธิจิตแล้วไซร้ พึงมีสัมมาสติตั้งไว้ชอบ ห่างไกลจากมายาทั้งปวง ต้องดำเนินตาม สมถจริยา ธำรงมั่นในศีลสังวร อาศัยในหมู่สัทธาวิหาริก แล้วนั่งพักในเรือนสงบ พึงมีมนสิการเป็น นิตย์เช่นนี้ว่า “อันกายเรานี้ มีมหาภูติรูปสี่ประกอบขึ้นมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก สมองอันมีรูปลักษณะหยาบแข็ง ล้วนกลับสู่ปฐวีธาตุ อันว่าเขฬะ น้ำตา หนอง เลือด เสลด อันมีลักษณะเอิบอาบ กรีส มูตร ล้วนกลับสู่อาโปธาตุ ความอุ่นร้อนกลับสู่เตโชธาตุ อาการผัดผันคือวาโยธาตุ เมื่อแยกมหาภูติรูปสี่จากกัน แล้วกายอันลวงหลอกนี้ จักตั้งอยู่ที่แห่งใด อินทรีย์หก มหาภูติรูปสี่ ทั้งภายในและภายนอกเมื่อประกอบกันสำเร็จขึ้น จึงลวงว่ามีปัจจัยประชุม กันอยู่” ก็ด้วยเพราะมีปัจจัยลักษณะเช่นนี้แล จึงชื่อสมมุติชื่อว่า จิต
善男子,此虛妄心,若無六塵,則不能有,四大分解,無塵可得,於中緣塵,各歸散滅,畢竟無有緣心可見
。 ดูก่อนกุลบุตร อันมุสาจิตนี้แล หากปราศจากซึ่งสฬายตนะแล้วไซร้ ย่อมมิอาจเกิดมีขึ้น ก็ เมื่อจำแนกซึ่งมหาภูติสี่ ย่อมจักบรรลุถึงความปราศจากสฬายตนะ อันปัจจัยแห่งสฬายตนะนั่นแล จักย้อนกลับแตกดับไป จนถึงที่สุดก็ปราศจากซึ่งปัจจัยแห่งจิตให้พบเห็นอีก
善男子,彼之眾生幻身滅故,幻心亦滅,幻心滅故,幻塵亦滅,幻塵滅故,幻滅亦滅,幻滅滅故,非幻不滅,譬如磨鏡,垢盡明現
。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่กายนั้นอันเป็นมายาของสรรพสัตว์ดับลง มายาจิตจึงดับลงด้วย เพราะเหตุที่จิตอันเป็นมายาดับลง มายาสฬายตนะจึงดับด้วย เพราะเหตุที่สฬายตนะอันเป็นมายา ดับ ความดับของมายาจึงดับลงด้วย ก็เหตุเมื่อความดับของมายาดับสิ้นลง สิ่งอันมิใช่มายาจึงมิดับ อุปมาการขัดถูกระจก เมื่อสิ้นมลทินความใสจึงปรากฏ
善男子,當知身心,皆為幻垢,垢相永滅,十方清淨
。 ดูก่อนกุลบุตร พึงทราบเถิดว่ากายแลจิต ล้วนแปดเปื้อนด้วยมายา ก็แลเมื่อมลทินลักษณะ ดับสิ้น ทศทิศจึงบริสุทธิ์
善男譬如清淨摩尼寶珠,映於五色,隨方各現,諸愚癡者,見彼摩尼,實有五色
。 ดูก่อนกุลบุตร ครุวนาแก้วมณีบริสุทธิ์ ที่ประกายแสงเบญจรงค์ปรากฏในด้านต่างๆ บรรดาโมหบุรุษ ย่อมจักทัศนาแก้วมณีนั้นว่ามีห้าสีอย่างแท้จริง
善男子,圓覺淨性,現於身心,隨類各應,彼愚癡者,說淨圓覺,實有如是身心自相,亦復如是,由此不能遠於幻化,是故我說身心幻垢,對離幻垢,說名菩薩,垢盡對除,即無對垢及說名者
。 ดูก่อนกุลบุตร อันวิศุทธิสมปูรณโพธิภาวะ ย่อมปรากฏที่กายแลจิต ตามแต่ประเภทที่ เหมาะควร ก็โมหบุรุษนั้น แม้นจักกล่าวซึ่งวิศุทธิสมปูรณโพธิก็ตาม แต่โดยแท้แล้วก็ยังมีลักษณะ แห่งกายและจิตของตนอยู่เช่นนี้ ก็อีกทั้งเช่นนี้แล เป็นเหตุให้มิอาจไกลจากสิ่งมายา ด้วยเหตุนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่ากายและจิตเป็นมลทินแห่งมายา เมื่อไกลจากความแปดเปื้อนของมายาแล้วไซร้ จึ่งได้ชื่อว่า โพธิสัตว์ เมื่อมลทินสิ้นและสิ่งอันสัมผัสถูกกำจัดแล้ว ย่อมปราศจากสิ่งอันแปดเปื้อน และไร้ซึ่งผู้ที่ได้ชื่อ(ว่าโพธิสัตว์)นั้นด้วย
善男子,此菩薩及末世眾生,證得諸幻滅影像故,爾時便得無方清淨,無邊虛空覺所顯發,覺圓明故,顯心清淨,心清淨故,見塵清淨,見清淨故,眼根清淨,根清淨故,眼識清淨,識清淨故,聞塵清淨,聞清淨故,耳根清
淨,根清淨故,耳識清淨,識清淨故,覺塵清淨,如是乃至鼻舌身意,亦復如是
。 ดูก่อนกุลบุตร โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ในอนาคตกาลนี้ ด้วยเหตุที่บรรลุถึงความดับแห่ง มายาและรูปนิมิตที่ปรากฏทั้งปวง ในเพลานั้นจักได้บรรลุถึงความบริสุทธิ์มิอาจประมาณ รู้แจ้งชัด ทั่วไปในอนันตอากาศ ด้วยเหตุที่มีปัญญารู้แจ้งรอบทั่วเช่นนี้ ดวงจิตจึงแจ่มใสบริสุทธิ์ เมื่อดวงจิต บริสุทธิ์เป็นเหตุ อายตนะคือตาจึงบริสุทธิ์ เหตุที่เครื่องรับรู้คือตาบริสุทธิ์ อินทรีย์คือจักษุจึงบริสุทธิ์ เหตุที่การ เห็นบริสุทธิ์ จักษุวิญญาณจึงบริสุทธิ์ เมื่อความรู้ทางตาบริสุทธิ์เป็นเหตุ อายตนะคือหูจึงบริสุทธิ์ เหตุที่เครื่องรับรู้คือหูบริสุทธิ์ อินทรีย์คือโสตจึงบริสุทธิ์ เหตุที่การได้ ยินบริสุทธิ์ โสตวิญญาณจึงบริสุทธิ์ เมื่อความรู้ทางหูบริสุทธิ์เป็นเหตุ๒ ความรู้แจ้งจึงบริสุทธิ์ เช่นนี้ เรื่อยไปจนถึงอายตนะคือจมูก ลิ้น กายและใจ ก็เป็นฉะนี้แล
善男子,根清淨故,色塵清淨,色清淨故,聲塵清淨,香味觸法,亦復如是
。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่ออินทรีย์คือตาบริสุทธิ์เป็นเหตุ รูปจึงบริสุทธิ์ เมื่อรูปบริสุทธิ์เป็นเหตุ เสียงจึงบริสุทธิ์ อันกลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ก็เป็นฉะนี้
善男子,六塵清淨故,地大清淨,地清淨故,水大清淨,火大風大,亦復如是
。 ดูก่อนกุลบุตร ด้วยเหตุที่สฬายตนะบริสุทธิ์ ปฐวีธาตุจึงบริสุทธิ์ เหตุที่ปฐวีธาตุบริสุทธิ์ อาโปธาตุจึงบริสุทธิ์ อันเตโชธาตุและวาโยธาตุ ก็เป็นฉะนี้
善男子,四大清淨故,十二處十八界,二十五有清淨,彼清淨故,十力,四無所畏,四無礙智,佛十八不共法,三十七助道品清淨,如是乃至八萬四千陀羅尼門,一切清淨
。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่อมหาภูติรูปสี่บริสุทธิ์เป็นเหตุให้ อายตนะสิบสอง๓ ธาตุสิบแปด๔ ภพ ยี่สิบห้า ๕ ล้วนแต่บริสุทธิ์ เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านั้นบริสุทธิ์ ทศพละ ๖ เวสารัชชะ ๗ อาเวณิกพุทธ ๒ ธรรม ๓ ประการของสฬายตนะ(อายตนะ ๖) ที่ว่าคือ อินทรีย์ วิสัย วิญญาณ ความหมายคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คืออินทรีย์ ได้ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้โผฏฐัพพะ ได้ธรรมารมณ์ คือวิสัย จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ คือวิญญาณ กล่าวอีกแบบหนึ่งคือ เพราะด้วยอาศัย ตา ด้วย รูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั้นคือ ผัสสะ และหากเกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา ธรรม๘โพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการ๙จึงบริสุทธิ์ เช่นนี้ไปจนถึงธารณีทวารทั้งแปดหมื่นสี่ พัน ๑๐ก็ล้วนแต่บริสุทธิ์ทั้งสิ้น
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version