แสงธรรมนำใจ > มหายาน

พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร

<< < (2/2)

ฐิตา:



   善男子,一切實相性清淨故,一身清淨,一身清淨故,多身清淨,多身清淨故,如是乃至十方眾生圓覺清淨
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่ภาวะแห่งสัตยลักษณะทั้งปวงบริสุทธิ์ เอกกายจึงบริสุทธิ์ เพราะ เหตุที่กายเดียวบริสุทธิ์ พหุกายจึงบริสุทธิ์ ก็แลเมื่อหลายกายบริสุทธิ์ เช่นนี้ต่อไปจนถึงสรรพสัตว์ ในทศทิศจึงมีสมปูรณโพธิที่บริสุทธิ์ ๓ อายตนะ ๑๒ หรือ ทฺวาทศยตนานิ คือ อายตนะภายในและภายนอก มี ตาและรูป หูและเสียง จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและ สัมผัส ใจและธรรมารมณ์ ๔ ธาตุ ๑๘ คือ

อษฺฏาทศ ธาตว: คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามนิยามคือกำหนดแห่ง ธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ๆ มี ๑.จักษุธาตุ ๒.รูปธาตุ ๓.จักขุวิญญาณธาตุ ๔.โสตธาตุ ๕.สัททธาตุ ๖.โสตวิญญาณธาตุ ๗.ฆานธาตุ ๘.คันธธาตุ ๙.ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐.ชิวหาธาตุ ๑๑.รสธาตุ ๑๒.ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓.กายธาตุ ๑๔.โผฏฐัพพธาตุ ๑๕.กายวิญญาณธาตุ ๑๖.มโนธาตุ ๑๗.ธรรมธาตุ ๑๘.มโนวิญญาณ ธาตุ

๕ การแบ่งภพ ๓ เป็นภพย่อยๆ คือ

๑)กามภพ มี ๑๔ ภพย่อย คืออบายภูมิ ๔ ทวีป ๔ กามวจรเทวภูมิ ๖
๒)รูปภพมี ๗ ภพ คือจตุถ ฌานพรหมทั้ง ๔ มหาพรหมภพ ๑ สุทธาวาสภูมิ ๑และอวิหาภูมิ ๑
๓)อรูปภพ มี ๔ ภพ คืออรูปพรหมทั้ง ๔

๖ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มี

๑)ฐานาฐานญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
๒)กรรมวิปากญาณพละ ปรีชา กำหนดรู้ผลแห่งกรรม
๓)นานาธิมุตติญารพละ ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยต่างๆของสัตว์ทั้งหลาย
๔)นานาธาตุญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ ธาตุต่างๆ
๕)อินทริยปโรปริยัตตญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ๕ ของสรรพสัตว์

๖)สัพพัตถคามินี ปฏิปทาญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงของสรรพสัตว์
๗)ฌานาทิสังกิเลสาญาณพละ ปรีชากำหนดรู้อาการมีความเศร้า หมองแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น
๘)ปุพเพนิวาสานุสสติญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้
๙)จุตูปปาตญาณพละ ปรีชา กำหนดรู้การจุติและการเกิดของสรรพสัตว์
๑๐)อาสวักขยญาณพละ ปรีชากำหนดรู้ในการทำอาสวะให้สิ้นไป

๗ คือพระปรีชาญาณ อันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมใน ฐานะทั้ง ๔ มี

๑)ประกาศความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
๒)ประกาศธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
๓)ประกาศธรรมที่เป็นอันตราย
๔)ประกาศ ธรรมที่เป็นประโยชน์ในการหลุดพ้นจากทุกข์

๘ คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ

๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต
๒.ไม่ทรงมีวจี ทุจริต
๓.ไม่ทรงมีมโนทุจริต
๔.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต

๖.ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดใน ปัจจุบัน
๗.ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๘.ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๙.ทรงมีมโนกรรมทุกอย่าง เป็นไปตามพระญาณ
๑๐.ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย)

๑๑.ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย)
๑๒.ไม่มีความ เสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย)
๑๓.ไม่มีการเล่น
๑๔.ไม่มีการพูดพลาด
๑๕.ไม่มีการทำพลาด

๑๖.ไม่มีความผลุนผลัน
๑๗.ไม่มีพระทัยที่ไม่ ขวนขวาย
๑๘.ไม่มีอกุศลจิต

๙ โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ หมายถึงธรรมที่ทำให้ปุถุชนหลุดพ้นจากกิเลสเป็นพระอริยบุคคล เป็นธรรม หมู่ซึ่งเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องแก่กัน มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ซึ่งทั้งหมดเป็นธรรมแก่นสารของพุทธศาสนา เรียกอีกอย่างว่า อริยัปปเวทิตธรรม คือ ธรรมที่พระอริยะ คือพระชินพุทธะทรง ประกาศสั่งสอนไว้แล้ว ๑๐ หมายถึงพระธรรม ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์

   
   善男子,一世界清淨故,多世界清淨,多世界清淨故,如是乃至盡於虛空,圓裹三世,一切平等清淨不動   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่เอกโลกธาตุบริสุทธิ์ พหุโลกธาตุจึงบริสุทธิ์ ก็เหตุที่พหุโลกธาตุ บริสุทธิ์ เช่นนี้เรื่อยไปสิ้นทั้งอากาศ ตลอดทั่วตรีกาล สรรพสิ่งทั้งปวงจึงสมตาและบริสุทธิ์เสมอกัน มิได้สั่นคลอน

ฐิตา:


   善男子,虛空如是平等不動,當知覺性平等不動,四大不動故,當知覺性平等不動,如是乃至八萬四千陀羅尼門平等不動,當知覺性平等不動
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร อันอากาศมีความสมตาและอจลา๑๑อยู่เช่นนี้ เธอพึงทราบเถิดว่า โพธิภาวะ ก็สมตาและอจลาด้วย เพราะเหตุที่มหาภูติรูปสี่นั้นก็อจลา เธอพึงทราบเถิดว่า โพธิภาวะก็สมตา และอจลาเช่นกัน เยี่ยงนี้ไปจนถึงธารณีทวารจำนวนแปดหมื่นสี่พันที่สมตาและอจลา อันพึงทราบ เถิดว่า โพธิภาวะก็สมตาและอจลา ฉะนี้แล
   
   善男子,覺性圓滿清淨不動圓無際故,當知六根遍滿法界,根遍滿故,當知六塵遍滿法界。塵遍滿故,當知四大遍滿法界,如是乃至陀羅尼門遍滿法界
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่โพธิภาวะนั้นบริบูรณ์ วิศุทธิ อจลาอยู่โดยรอบอันไร้ขอบเขต เช่นนั้นพึงทราบเถิดว่า อินทรีย์ทั้งหกก็มีเต็มอยู่ในธรรมธาตุ เพราะเหตุที่อินทรีย์มีอยู่เต็มเปี่ยม เธอพึงทราบเถิดว่าสฬายตนะก็มีเต็มอยู่ในธรรมธาตุ และเหตุที่มีสฬายตนะอยู่เต็มเปี่ยม ก็จง ทราบเถิดว่ามหาภูติสี่ก็มีเต็มอยู่ในธรรมธาตุ เช่นนี้เรื่อยไปจนถึงธารณีทวาร(ธรรมขันธ์)ที่มีอยู่ ทั่วไปในธรรมธาตุ
   
   善男子,由彼妙覺性遍滿故,根性塵性無壞無雜,根塵無壞故,如是乃至陀羅尼門無壞無雜,如百千燈光照一室,其光遍滿無壞無雜
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่โพธิภาวะอันประเสริฐมีเต็มอยู่ ภาวะแห่งอินทรีย์ สฬายตนะจึง มิเสื่อมสลายและสุทธิ ก็เพราะด้วยอินทรีย์และสฬายตนะมิเสื่อมเป็นเหตุ เรื่อยไปจนถึงธารณีทวาร ที่มิเสื่อมสลายและสุทธิ ประดุจโอภาสแห่งประทีปร้อยพันดวงที่สว่างอยู่ในห้องเดียว ก็อันรัศมีนั้น แลจักสว่างอยู่ทั่วไปมิเสื่อมสลายและสุทธิ ๑๑ สมตา คือ ความเสมอเท่าเทียมกัน ไม่สูงหรือต่ำกว่ากัน ไม่ดีหรือชั่วกว่ากัน และอจลา คือ ความไม่หวั่นคลอน หวั่นไหว คงสภาวะ เดิมอยู่เป็นนิตย์
   
   善男子,覺成就故,當知菩薩不與法縛,不求法脫,不厭生死,不愛涅槃,不敬持戒,不憎毀禁,不重久習,不輕初學。何以故,一切覺故,譬如眼光曉了前境,其光圓滿,得無憎愛。何以故,光體無二,無憎愛故
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุที่สำเร็จซึ่งโพธิ พึงทราบเถิดว่าโพธิสัตว์มิข้องด้วยธรรมพันธะ คือมิถูกผูกมัดไว้ด้วยธรรม แลมิปรารถนาหลุดพ้นจากธรรม มิเบื่อหน่ายสังสารวัฏ มิรักใคร่พระ นิรวาณ มิสำรวมศีลสมาทาน มิรังเกียจการละเมิดพรต มิคารวะอาวุโส มิดูเบาผู้เริ่มศึกษา ด้วย เหตุไฉนนั่นฤๅ เพราะความรู้แจ้งทั้งปวงนั้น อุปมาทัศนบถที่ประจักษย์ ังวิสัยเบื้องหน้า อันปรากฏ อย่างแจ่มชัดสมบูรณ์ บรรลุถึงความมิรังเกียจแลรักใคร่ ด้วยเหตุไฉนนั่นฤๅ เพราะภาพสังขารที่ ปรากฏนั้นมิเป็นสอง ปราศจากซึ่งความเกลียดและความรัก
   
   善男子,此菩薩及末世眾生,修習此心得成就者,於此無修亦無成就,圓覺普照,寂滅無二,於中百千萬億阿僧祇不可說恒河沙諸佛世界,猶如空華,亂起亂滅,不即不離,無縛無脫,始知眾生本來成佛,生死涅槃,猶如昨夢
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ในอนาคตนี้ เมื่อประพฤติบำเพ็ญซึ่งจิตประการนี้ ย่อมบรรลุซึ่งสิทธิ ด้วย(จิต)ประการนี้ปราศจากการบำเพ็ญแลปราศจากการสำเร็จ รู้แจ้งชัดรอบ ทั่วอยู่ มีความดับสนิทมิเป็นสอง ในพุทธเกษตรโลกธาตุจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิอสงไขยอันมิอาจ กล่าวประมาณ(อุปมา)ทรายแห่งคงคานที ก็อุปมาดั่งอากาศบุปผา ที่เกิดขึ้นด้วยความผันผวนและ ดับไปด้วยความผันผวน อันมิใช่ที่นี้และมิใช่ห่างไกล มิถูกพันผูกและมิหลุดพ้น จึงทราบว่าแต่เดิม นั้นสรรพสัตว์ได้บรรลุพุทธะมาแล้ว อันชาติมรณะ และพระนิรวาณนั้นเล่า ก็อุปมาด้วยความฝัน
   
   善男子,如昨夢故,當知生死及與涅槃,無起無滅,無來無去,其所證者,無得無失,無取無捨,其能證者,無作無止,無任無滅,於此證中,無能無所,畢竟無證,亦無證者,一切法性平等不壞
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เพราะดั่งด้วยความฝัน จึงพึงทราบเถิดว่า สังสารวัฏและพระนิรวาณ มิได้ เกิดขึ้นแลมิได้ดับไป มิได้มาแลมิได้ไป อันผู้ได้ถึงแล้ว ย่อมมิบรรลุแลมิเสื่อมไป มิมั่นไว้แลมิ เพิกเฉย อันผู้สามารถถึงแล้ว ย่อมปราศจากการกระทำแลปราศจากการยุติ ปราศจากการตั้งอยู่แล ปราศจากการดับไป อันการบรรลุนี้ มิอาจเข้าถึงแลมิอาจตั้งอยู่ ที่สุดนั้นแล้วก็หาได้บรรลุไม่ ก็แล อันการมิได้บรรลุนั้น คือภาวะแห่งสรรพธรรมที่สมตาและมิเสื่อมสลาย
   
   善男子,彼諸菩薩如是修行,如是漸次,如是思惟,如是住持,如是方便,如是開悟,求如是法,亦不迷悶
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร โพธิสัตว์เหล่านั้นจงบำเพ็ญจริยาเช่นนี้ เป็นลำดับอยู่เช่นนี้ จินตนาอยู่เช่นนี้ ธำรงอยู่เช่นนี้ มีอุปายะเช่นนี้ รู้ชัดเช่นนี้ ปรารถนาธรรมเช่นนี้ ด้วยมิลุ่มหลงขัดข้องด้วยประการ เช่นนี้เถิด
   
   爾時世尊欲重宣此義,而說偈言
   : ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า

ฐิตา:



   . 爾時世尊欲重宣此義,而說偈言   
   : ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า
   
   ... 普眼汝當知,一切諸眾生   
   。 สมันตเนตรเธอพึงทราบเถิด อันสรรพสัตว์ทั้งปวง
   
   身心皆如幻,身相屬四大   
   。 กายแลจิตล้วนดุจมายา กายลักษณะก็เป็นเครื่องเกี่ยวอยู่ด้วยมหาภูติสี่
   
   心性歸六塵,四大體各離   
   。 จิตภาวะก็สงเคราะห์ที่สฬายตนะ สังขารวิภาคได้เป็นมหาภูติสี่
   
   誰為和合者,如是漸修行   
   。 ผู้ใดกันเล่าที่ประกอบมีขึ้น พึงบำเพ็ญจริยาเป็นลำดับเช่นนี้
   
   一切悉清淨,不動遍法界   
   。 สรรพสิ่งทั้งมวลจักวิศุทธิ์ อจลาและพร้อมในธรรมธาตุ
   
   無作止任滅,亦無能證者   
   。 ไร้ผู้กระทำ ผู้ยุติ ผู้ตั้งอยู่ ผู้ดับไป ทั้งไร้ผู้สามารถบรรลุ
   
   一切佛世界,猶如虛空華   
   。 พุทธโลกธาตุทั้งหลาย อุปมาอากาศบุปผา
   
   三世悉平等,畢竟無來去   
   。 ตรีกาลล้วนสมตา ที่สุดแล้วปราศจากซึ่งการมาแลการไป
   
   初發心菩薩,及末世眾生   
   。 ผู้เริ่มบังเกิดจิตโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์ในโลกอนาคต
   
   欲求入佛道,應如是修習
      。 เมื่อปรารถนาเข้าสู่พุทธมรรคแล้วไซร้ พึงปฏิบัติบำเพ็ญเช่นนี้เถิด.
   
                                                 จบวรรคที่ ๓


ฐิตา:



พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (วรรคที่ ๔)  

    大方廣圓覺修多羅了義經
    พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร    
    The Grand Sutra of Perfect Enlightenment       
    พระพุทธตาระมหาเถระ
   
    唐:佛陀多羅譯     
   ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ภิกษุจีนวิศวภัทร   
    (沙門聖傑)     
    แห่งวัดเทพพุทธาราม   
    (仙佛寺)   
    แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๕๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน


   於是金剛藏菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手。而白佛言:大悲世尊,善為一切諸菩薩眾,宣揚如來圓覺清淨大陀羅尼,因地法行漸次方便,與諸眾生,開發蒙昧,在會法眾,承佛慈誨,幻翳朗然,慧目清淨
   
   。 ในเพลานั้น พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำ ศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้ว ทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อหมู่โพธิสัตว์ทั้งปวง ขอพระองค์ทรง แสดงซึ่งวิศุทธิสมปูรณโพธิมหาธารณี และอุปายะที่สืบไปเป็นลำดับของเหตุภูมิธรรมจริยา เพื่อ เปิดออกซึ่งสิ่งปิดกั้นของสรรพสัตว์ทั้งปวง เพื่อธรรมาชนที่ประชุมในสภาแห่งนี้ จักน้อมพระพุทโธวาท ยังตนให้แจ่มแจ้งเปิดออกซึ่งมายาที่ปกคลุม มีปัญญาจักษุที่บริสุทธิ์ด้วยเถิด

   
   世尊,若諸眾生本來成佛,何故復有一切無明,若諸無明眾生本有,何因緣故,如來復說本來成佛,十方眾生本成佛道,後起無明,一切如來,何時復生一切煩惱,惟願不捨無遮大慈,為諸菩薩開秘密藏,及為末世一切眾生,得聞如是修多羅教,了義法門,永斷疑悔。作是語已,五體投地,如是三請,終而復始
   
   ข้าแต่พระโลกนาถ หากหมู่สรรพสัตว์มีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธะมาแล้ว ด้วยเหตุไรหนอจึงยัง มีอวิชชาทั้งปวงอยู่ ก็หากหมู่สรรพสัตว์ผู้มีอวิชชานั้นมีมูลภาวะ(แห่งพุทธะ)แล้วไซร้ ด้วยเหตุ ปัจจัยเช่นไร พระตถาคตยังตรัสว่ามีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธะมาก่อนนั้นอีกเล่า อันสรรพสัตว์ใน ทศทิศล้วนมีมูลภาวะที่สำเร็จพุทธมรรคมาแล้ว แต่ภายหลังกลับมีอวิชชา ก็แลพระตถาคตเจ้าทั้ง ปวงนั้นเล่า กาลใดหนอที่จักเกิดกิเลสทั้งปวงขึ้นอีก ขอพระองค์อย่าเผิกเฉยซึ่งมหาเมตตา เปิด ออกซึ่งคุหยครรภ์ของโพธิสัตว์ทั้งปวง และเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต ผู้ได้สดับพระสูตรคำสอนนี้ จักเข้าใจแจ่มแจ้งในอรรถะ ยังวิจิกิจฉาให้สิ้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึง กระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ

   
   爾時世尊告金剛藏菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩及末世眾生,問於如來甚深秘密究竟方便,是諸菩薩最上教誨,了義大乘,能使十方修學菩薩,及諸末世一切眾生,得決定信,永斷疑悔,汝今諦聽,當為汝說。時金剛藏菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽
   
   。 ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระวัชรครรภ์โพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถปุจฉาซึ่งอุปายะที่คัมภีรภาพและคุหยภาพอันเป็นที่สุดของพระตถาคต เพื่อหมู่ โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต นี้คือวิชยอนุศาสน์ที่ประเสริฐสุดของโพธิสัตว์ทั้งปวง อันเป็นอรรถะแห่งมหายาน สามารถยังให้โพธิสัตว์ผู้ศึกษาทั่วทศทิศ และสรรพสัตว์ทั้งหลายใน อนาคต ได้บรรลุถึงศรัทธาตั้งมั่น ยังวิจิกิจฉาให้ขาดสิ้นไป เธอพึงสดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้น พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดา มหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา

   
   善男子,一切世界,始終生滅,前後有無,聚散起止,念念相續,循環往復,種種取捨,皆是輪迴,未出輪迴,而辯圓覺,彼圓覺性即同流轉,若免輪迴,無有是處,譬如動目,能搖湛水,又如定眼,由回轉火,雲駛月運,舟行岸移,亦復如是
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร โลกธาตุทั้งปวง อันมีการเริ่มต้นแลการอวสาน การเกิดแลการดับ เบื้อง ก่อนแลเบื้องหลัง ความมีแลความไร้ ความประชุมกันแลความแตกออก ความเจริญขึ้นแลความ ระงับนั้น ย่อมสันตติสืบเนื่องกันอยู่ทุกขณะแห่งจิต สลับหมุนเวียนไปมา ๑ เป็นอุปาทานแล อุเบกขาต่างๆ อันล้วนเป็นวัฏจักร เมื่อยังมิออกจากวัฏจักร จึงมีการโต้อภิปรายอยู่ซึ่งสมปูรณโพธิ อันสมปูรณโพธิภาวะ คือสภาวะรู้แจ้งที่สมบูรณ์รอบนั้น ก็จักไหลเวียนอยู่ดุจกัน หากมิเวียนเป็นวัฏจักรแล้ว ย่อมมิใช่การณ์นี้ อุปมานัยเนตรที่แส่ส่าย ยังน้ำนิ่งให้กระเพื่อม ฤๅดั่งจักษุที่จับจ้อง ยังให้ เปลี่ยนเป็นอัคคี ดั่งว่าเมฆาขับเคลื่อนจันทราให้โคจร ให้นาวาชนเห็นฟากฝั่งว่าเคลื่อนไป ฉะนี้แล ๑ การสลับเปลี่ยนหมุนเวียน คือไตรลักษณ์ ตามใดที่ยังไม่พ้นจากวัฏฏะ จิตย่อมเกิดดับหมุนเวียนเรื่อยไป แม้นสมปูรณโพธิ คือการการรู้แจ้งที่สมบูรณ์รอบ อันพ้นจากการกล่าวอภิปรายหรือบัญญัติด้วยวาจาก็ยังถูกนำมาบัญญัติ จึงทำให้สมปูรณโพธิ ต้องไหลเวียนเปลี่ยนผัน อยู่เช่นเดียวกับสังสารวัฏ

   
   善男子,諸旋未息,彼物先住,尚不可得,何況輪轉生死垢心,曾未清淨,觀佛圓覺而不旋復,是故汝等,便生三惑
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่อการเวียนผันทั้งหลายยังมิยุติ สิ่งนั้นอันมีอยู่แต่เดิม ย่อมมิอาจเข้าถึง แล้ว จักประสาใดกับจิตมลทินแห่งสังสารวัฏที่มิเคยบริสุทธิ์ เมื่อจักพิจารณาพุทธสมปูรณโพธิด้วยความ มิเวียนผันแล้วไซร้ เหตุนี้เธอทั้งหลาย จักยิ่งเกิดเวทนาสาม๒

 
   善男子,譬如幻翳,妄見空華,幻翳若除,不可說言此翳已滅,何時更起一切諸翳。何以故,翳華二法,非相待故,亦如空華滅於空時,不可說言虛空何時更起空華。何以故,空本無華,非起滅故,生死涅槃,同於起滅,妙覺圓照,離於華翳

   。 ดูก่อนกุลบุตร ดั่งมายาที่ปกคลุมไว้ ให้หลงทัศนาบุปผาในอากาศ ก็แลเมื่อมายาที่ปก คลุมไว้ถูกกำจัด ก็ยังมิอาจกล่าวว่าสิ่งอันปกคลุมนี้ได้ดับลงแล้ว แล้วกาลใดเล่าที่จะเกิดสิ่งอันปกคลุมทั้งปวงอีก ด้วยเหตุไฉนฤๅ เพราะธรรมสองประการคือสิ่งอันปกคลุมและ(อากาศ)บุปผานั้น หาใช่ลักษณะอันกระทำต่อกัน ก็ประดุจอากาศบุปผาที่ดับลงในกาลแห่งความว่าง จึงมิอาจกล่าวว่า ความว่างนั้นจักเกิดอากาศบุปผาอีกเมื่อใด ด้วยเหตุไฉนฤๅ เพราะเดิมศูนยตาภาวะปราศจากซึ่ง บุปผา แลมิได้เกิดขึ้นหรือดับไป ชาติมรณะและพระนิรวาณ ล้วนแต่เกิดขึ้นและดับไปพร้อมกัน ความรู้แจ้งรอบทั่วอันประเสริฐนั้น ห่างไกลจากบุปผาและสิ่งอันปกคลุม

ฐิตา:



  善男子,當知虛空非是暫有,亦非暫無,況復如來圓覺隨順,而為虛空平等本性
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร พึงทราบเถิดว่าความว่างนั้นหาใช่เพิ่งมี ทั้งมิใช่เพิ่งปราศจาก แล้วจักประสา ใดกับตถาคตปูรณโพธิ ที่อนุโลมตามอากาศสมตามูลภาวะ คือภาวะเดิมของความว่างเปล่าที่เสมอ ภาค ๒ พระองค์ตรัสเรื่องวัฏฏะ คือความหมุนเวียนไป ทั้งด้านสังสารวัฏ และโลกุตรวัฏ ว่ามิต่างกันในแง่ของการไร้ทวิบัญญัติเรื่องสังสารวัฏ และพระนิรวาณ หากยังไม่รู้แจ้ง จิตจักยิ่งปรุงแต่งไปตามเวทนา ๓ คือการเสวยอารมณ์ ความรู้สึกของอารมณ์ คือ

๑)สุขเวทนา ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายหรือทางใจ
๒)ทุกขเวทนา ความรู้สึกทุกข์ ทางกายหรือทางใจ
๓)อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข และไม่ทุกข์ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา

ซึ่งสภาวะแห่งสมปูรณโพธิ คือการปราศจากซึ่งบัญญัติทั้งปวง ๓ ประโยคนี้คือ เมื่อมายาที่ปกคลุมไว้ถูกกำจัดแล้ว ย่อมไม่มีการปรุงแต่งใดๆ อีก เช่นปรุงแต่งว่ามายายังอยู่ หรือมายาสิ้นไป หากยังมี บัญญัติว่าอยู่หรือสิ้นก็จักเป็นมายาทันที ในพระธรรมสูตรนี้ สอนเชิงปฏิเสธทวิบัญญัติ เพื่อละอุปาทานจิต หยั่งเห็นเอกภาพของ สังสารวัฏและพระนิรวาณ โดยอุปมาสิ่งอันปกคลุมเป็นมายา และอุปาทานเป็นอากาศบุปผา หรือดอกไม้ที่มีอยู่ในอากาศ

   
   善男子,如銷金礦,金非銷有,既巳成金,不重為礦,經無窮時,金性不壞,不應說言本非成就,如來圓覺,亦復如是

   。 ดูก่อนกุลบุตร ดุจการถลุงแร่ออกจากทองคำ อันทองก็หาต้องถลุงด้วยไม่ ก็เมื่อสำเร็จแต่ สุวรรณบริสุทธิ์แล้ว จึงมิต้องถลุงอีก เมื่อผ่านเพลาไปจิรกาล สภาวะแห่งทองนั้นก็หาได้เสื่อมไปไม่ อันมิพึงกล่าวว่ามูลภาวะมิได้สำเร็จมาก่อนแล้ว ตถาคตสมปูรณโพธิ ก็ดุจฉะนี้แล

   
   善男子,一切如來妙圓覺心本無菩提及與涅槃,亦無成佛及不成佛,無妄輪迴及非輪迴

   。 ดูก่อนกุลบุตร มูลภาวะเดิมของสมปูรณโพธิจิตอันประเสริฐของพระตถาคตทั้งปวงนั้น ไร้ซึ่ง โพธิแลนิรวาณ ทั้งไร้ซึ่งการสำเร็จพุทธะแลการมิสำเร็จพุทธะ ปราศจากซึ่งการลวงหลอกว่าสังสารจักรแลมิใช่สังสารจักร

   
   善男子,但諸聲聞所圓境界,身心語言皆悉斷滅,終不能至彼之親證,所現涅槃,何況能以有思惟心,測度如來圓覺境界,如取螢火燒須彌山終不能著,以輪迴心生輪迴見,入於如來大寂滅海,終不能至。是故我說一切菩薩及末世眾生,先斷無始輪迴根本

   。 ดูก่อนกุลบุตร แต่วิสัยของบรรดาสาวกนั้น มีกายจิตและวาจาที่ล้วนเป็นสมุทเฉท ที่สุดก็มิ อาจเข้าถึงวิสัยนั้นโดยใกล้ชิด อันที่สำแดงเป็นพระนิรวาณ แล้วจักประสาใดกับการสามารถมีจิต คิดจินตนา หยั่งวัดสมปูรณโพธิวิสัยของพระตถาคตได้อีกเล่า อุปมาดั่งการนำไฟของตัวหิ่งห้อยมา เผาผลาญสุเนรุบรรพต อันมิสามารถแม้นที่สุด เมื่อใช้จิตแห่งวัฏจักรจึงเกิดวัฏจักรทัศนะ เมื่อจัก เข้าสู่มหานิโรธสาครของพระตถาคต ที่สุดก็มิอาจเข้าถึง เหตุดั่งฉะนี้แล ตถาคตจึงกล่าวว่าโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์ในอนาคตทั้งปวง พึงต้องปหานมูลฐานแห่งวัฏจักรอันหาจุดเริ่มมิได้เสียประการ แรก

   
   善男子,有作思惟從有心起,皆是六塵妄想緣氣,非實心體,已如空華,用此思惟辯於佛境,猶如空華復結空果,輾轉妄相,無有是處
   
   。 ดูก่อนกุลบุตร เมื่อมีการนึกคิดอันเกิดจากภวจิต ซึ่งล้วนคือความหมายรู้ที่ลวงหลอก ของสฬายตนะ หาใช่จิตสังขารที่จริงแท้ไม่ ดุจอากาศบุปผา เมื่อใช้การนึกคิดประการนี้ตรึกตรอง พุทธวิสัยแล้วไซร้ ย่อมดุจบุปผาแห่งความว่างเปล่าเกิดเป็นผลไม้แห่งความว่างเปล่า เป็นมุสา ลักษณะที่สับสน ซึ่งมิใช่ในสถานนี้

   
   善男子,虛妄浮心,多諸巧見,不能成就圓覺方便,如是分別,非為正問

   。 ดูก่อนกุลบุตร ก็มุสาจิตอันไร้สาระ แม้นจักมีอุปายทัศนะอยู่มากประการ ก็มิอาจสำเร็จซึ่ง สมปูรณโพธิอุปายะ ด้วยการจำแนกเช่นนี้ จึงมิใช่การปุจฉาที่ถูกต้อง.



   
   爾時世尊欲重宣此義,而說偈言
   : ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้   
   จึงตรัสเป็นโศลกว่า...
   
   金剛藏當知,如來寂滅性
   。 วัชรครรภ์พึงทราบเถิด อันนิโรธสภาวะของตถาคต
   
   未曾有始終,若以輪迴心   
   。 มิเคยมีซึ่งการเริ่มต้นแลอวสาน หากใช้จิตแห่งวัฏจักร
   
   思惟即旋復,但至輪迴際   
   。 ตรึกคิดย่อมวกวน จนลุถึงวัฏจักรอาณา
   
   不能入佛海,譬如銷金礦   
   。 มิอาจเข้าสู่พุทธสาคร อุปมาการถลุงแร่จากทองคำ
   
   金非銷故有,雖復本來金   
   。 อันทองนั้นเล่าเมื่อมิได้ถลุงก็มีอยู่ แม้เป็นทองอันมีแต่เดิม
   
   終以銷成就,一成真金體   
   。 ที่สุดเมื่อถลุงแล้วจึงปรากฏ สำเร็จเป็นบริสุทธิสุวรรณ
   
   不復重為礦,生死與涅槃   
   。 อันมิต้องถลุงอีก ก็สังสารวัฏและนิรวาณ
   
   凡夫及諸佛,同為空華相   
   。 บุถุชนแลพุทธะทั้งปวง ล้วนคือลักษณะแห่งอากาศบุปผา


   思惟猶幻化,何況詰虛妄   
   。 การจินตนาก็อุปมามายาการ แล้วจักเกิดเป็นความโป้ปดอีกได้เช่นไร
   
   若能了此心,然後求圓覺   
   。 หากสามารถแจ้งซึ่งจิตนี้แล้วไซร้ จากนี้จงปรารถนาซึ่งสมปูรณโพธิเถิด.
   
                               จบวรรคที่ ๔





Credit by : http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=201.0
Pics by : Google

กราบขอบพระคุณ คุณ miracle of love ผู้นำมาแบ่งปัน..
   อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมาย..

พุทธะบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
   ถวายอานิสงส์ใดๆที่พึงมี.. กราบบูชาพระคุณผู้มีพระคุณทุกๆท่านค่ะ...

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version