แนะผู้หญิงชนะหนี้ รู้เท่าทัน-ศึกษากฎหมาย
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEV4TVRBMU13PT0=§ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB4TVE9PQ==ใน งานสัมมนา "ผู้หญิงชนะหนี้" ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ จัดโดย ดร.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กรุงเทพมหานคร คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี และ มณฑานี ตันติสุข ดีเจ. หญิง เจ้าของหนังสือ "เงินทองของเรา ข้อคิดเรื่องการบริหารเงินและจัดการหนี้สิน" มีคำแนะนำให้กับเหล่าสตรีในยุคนี้
ภิกษุณีธัมมนันทา กล่าวว่า หากเราซื้อหมดทุกอย่างที่การตลาดบอกเรา โดยที่ไม่ฉุกคิดเลยว่าจำเป็นหรือเปล่า อยากได้ของแถม แต่ซื้อมาไม่ได้ใช้ ก็ตกเป็นเหยื่อของการตลาดเช่นกัน กิเลสของเราพอกพูนขึ้น เห็นอะไรก็น่าซื้อ ได้ของแถมซึ่งเป็นจุดขาย ในความอยากได้ของเรา จึงต้องมาฉุกคิดว่าเราต้องไม่ฉาบฉวย ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องซื้อ
"อยาก บอกพ่อแม่ด้วยว่าอย่าปิดบังความจนให้ลูกรู้ อย่าอาย ให้บอกลูกตามตรงลูกจะได้จับตัวเองได้ว่าควรทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไร ลูกต้องช่วยแชร์ความคิดพ่อแม่ ดังนั้นต้องใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา อย่าอายที่จะจน แต่ต้องอายที่สกปรก ต้องไม่อายในสภาพที่เป็นอยู่ อย่างเสื้อผ้า เราพอใจที่จะใส่ซ้ำ เราก็จะไม่เป็นหนี้ ต้องพอใจกับวิถีชีวิตตัวเอง ไม่ฟุ่มเฟือย"
1.ภิกษุณีธัมมนันทา
2.ในงานสัมมนา "ผู้หญิงชนะหนี้"
3.มณฑานี ตันติสุข
4.ดร.รัชดา ธนาดิเรก
มณฑา นี ตันติสุข ผู้ที่ชีวิตเคยประสบมรสุมหนี้ กล่าวว่า การบริหารเงินส่วนตัวที่ควรรู้ มี 4 ด้านคือ รายได้ รายจ่าย เงินออม และลงทุน ความรู้อันนี้เป็นส่วนสัมพันธ์กับนิสัยการใช้เงิน ปัญหาหนี้สินแก้ไขได้ทุกขั้นตอน อย่าไปเชื่อว่า สถาบันการเงินหรือบริษัททวงหนี้จะต่อรองไม่ได้ หรือโดนขู่ว่าจะฟ้องศาล ขอให้รู้ไว้ว่าการขึ้นศาลจะมีการไกล่เกลี่ยก่อน ต่อให้ไต่สวนศาลพิพากษาแล้วก็จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อไม่ได้และเกิดกรณียึดทรัพย์ คดีไปถึงกรมบังคับคดีแล้วก็ตาม จะมีการไกล่เกลี่ยก่อน แต่ลูกหนี้มักขาดความรู้ เวลาต่อรองเจ้าหนี้ มีแต่การตัดพ้อ หรือด่า แต่ไม่เอาเครื่องคิดเลขมากดและทำ การบ้าน ว่าดอกที่คุณคิดผิดหรือเปล่า
มณฑานี กล่าวว่า หนี้สิน แบ่งได้เป็น "หนี้ดี" แปลว่ามีหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ และที่ก่อให้ทรัพย์สินมีมูลค่า เช่น กู้เงินมาเพื่อค้าขาย เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านการคำนวณแล้ว หรือซื้อบ้านที่ดิน ทำบ้าน เป็นทรัพย์สินที่เพิ่มค่าตามกาลเวลาได้ แต่ "หนี้เลว" คือ หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างกดเงินบัตรเครดิตไปซื้อของเป็นการเพิ่มดอก ส่วน "หนี้ที่มีหลักประกัน" คือ หนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น หนี้บ้าน ดอกเบี้ยจะถูก และหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ หนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยจะแพง เพราะไม่มีทรัพย์ให้ยึด ดอกเบี้ยจึงสูง ขอให้จำไว้ว่า หากถูกทวงหนี้ควรชำระหนี้ที่มีหลักทรัพย์ก่อนเสมอ
ลูกหนี้มีสิทธิ์ คัดค้านและมีสิทธิ์ที่จะไม่เซ็นเอกสาร อยากฝากว่าต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์กติกาดอกเบี้ยของหนี้สินทั้งหมด ไม่ว่าจะกู้เงินหรือปรับโครงสร้างหนี้ การที่ธนาคารเอาสัญญาเป็นหนี้มาให้เซ็น มันผิด หรือการที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยที่สูง เราก็ต่อรองได้ หรือยันกลับไปว่าไม่เซ็น ยึดไม่ได้ด้วย ต้องมีสติปัญญา และกำลังใจ ลูกหนี้ไม่ใช่เหยื่อ ทางที่ดีถ้าไม่จำเป็นอย่าก่อหนี้ และชีวิตคนเราทุกคนต้องสะสมทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน เสมอ ถ้ามีเงินเอาเงินไปซื้อทอง เพชร กองทุนดีกว่า
สำหรับเรื่องการขอปรับ โครงสร้างหนี้ด้วยว่า ต้องระวัง ต้อง ให้เจ้าหนี้แยกเงินต้นกับดอกเบี้ยออกอย่างชัดเจน เพราะหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยห้ามเอาดอกเบี้ยไปทบต้นแล้วคิดดอกซ้ำ แต่สถาบันการเงิน หรือสถาบันเจ้าหนี้ มักจะหมกเม็ดด้วยการเอาดอกไปรวมต้น กลายเป็นหนี้ใหม่ ซึ่งสัญญาปรับโครงสร้างถูกต้อง คือ แยกต้นกับดอกอย่างชัดเจน ดอกเบี้ยจะงอกดอกเบี้ยไม่ได้ ถ้าเจ้าหนี้เอาดอกไปรวมเงินต้น สัญญานั้นถือเป็นโมฆะทันที ต่อให้เซ็นไปแล้วก็ตาม และดูว่าเงินต้นนั้นถูกต้องไหม จึงจำเป็นต้องมีสเตต เมนต์ของตนเองเสมอ
ด้าน ดร.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กรุงเทพ มหานคร กล่าวว่า คนเป็นหนี้ไม่ใช่เป็นคนไม่ดี แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้ ปัญหาหนี้ของประชาชนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความรู้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีการใช้จ่ายเงินด้วยอารมณ์ ผู้หญิงช็อปปิ้งเพื่ออยากให้มีอารมณ์ดีขึ้น แสดงว่าเป็นข้อเสียของผู้หญิง ที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกตัดสินใจ
"เราต้องยอมรับความจริง ยอมรับความจนได้ แต่ต้องไม่จำนนกับความจน เริ่มต้นด้วยการประหยัดในเรื่องง่ายๆ กลับไปบอกลูกหลานให้เก็บออมเงินเพื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัยได้ด้วยการเลิก ดื่มน้ำขวด จะประหยัดเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยรัฐได้แล้ว เรื่องประหยัดการออม อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง อย่ารอให้มีอัศวินม้าขาวมาช่วย เราต้องช่วยตนเองให้มากที่สุด"
.
http://www.khaosod.co.th/view_news.p...hNQzB4TVE9PQ==.
.