แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์
พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
ฐิตา:
๔. หมวดดอกไม้
THE FLOWERS
๔๔. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ ๔๔ ฯ
ใครจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมโลก และเทวโลก
ใครจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้
Who will conquer this earth(life)
With Yama's realm and with celestial world?
Who will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flowers?
๔๕. เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ ๔๕ ฯ
พระเสขะจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมโลกและเทวโลก
พระเสขะจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้
A learner(sekha) will conquer this earth
With Yama's realm and with celestial world.
He will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flower.
๔๖. เผณูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
มรีจิกมฺมํ อภิสมฺพุธาโน
เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ
อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ ฯ ๔๖ ฯ
เมี่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่า
เช่นเดียวกับฟองน้ำ และพยับแดด
ก็ควรทำลายบุษปศรของกามเทพ
ไปให้พ้นทัศนวิสัยของมัจจุราชเสีย
Perciving this body to be similar unto foam
And comprehending its mirage-nature,
One should destroy the flower-tipped arrows of Love
And pass beyond the sight of the King of Death.
๔๗. ปุปฺผานิ เหว ปจนนฺตํ
พิยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว
มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ ฯ ๔๗ ฯ
มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ)
มีใจเกี่ยวข้องอยู่ในกามคุณไป
เหมือนห้วงน้ำใหญ่หลากมา
พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไหลไป
He who gathers flowers of sensual pleasure,
Whose mind is distracted-
Death carries him off
As the great flood a sleeping village.
๔๘. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ
พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
อติตฺตํเยว กาเมสุ
อนฺตโก กุรุเต วสํ ฯ ๔๘ ฯ
ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ) เพลินอยู่
มีจิตใจข้องอยู่แต่ในกามคุณไม่รู้จักอิ่ม
มักตกอยู่ในอำนาจมฤตยู
He who gathers flowers of sensual pleasures,
Whose mind is distracted
And who is insatiate in desire-
Him death brings under its sway.
๔๙. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ
วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ
ปเลติ รสมาทาย
เอวํ คาเม มุนี จเร ฯ ๔๙ ฯ
มุนีพึงจาริกไปในเขตคาม
ไม่ทำลายศรัทธาและโภคะของชาวบ้าน
ดุจภมรดูดรสหวานของบุปผชาติแล้วจากไป
ไม่ให้สีและกลิ่นชอกช้ำ
As a bee takes honey from the flowers,
Leaving it colour and fragrance unharmed,
So should the sage wander in the village.
๕๐. น ปเรสํ วิโลมานิ
น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตนาว อเวกฺเขยฺย
กตานิ อกตานิ จ ฯ ๕๐ ฯ
ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่น
หรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำ
ควรตรวจดูเฉพาะกิจ
ที่ตนทำหรือยังไม่ทำเท่านั้น
Pay not attention to the faults of others,
Things done or left undone by others,
Consider only what by oneself
Is done or left undone.
๕๑. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนิตํ อคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
อผลา โหติ อกุพฺพโต ฯ ๕๑ ฯ
วาจาสุภาษิต
ของผู้ทำไม่ได้ตามพูด
ย่อมไม่มีประโยขน์อะไร
ดุจดอกไม้สีสวย แต่ไร้กลิ่น
As a flower that is lovely
And colourful,but scentless,
Even so fruitless is the well-spoken word
Of one who follows it not.
๕๒. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
สผลา โหติ สุกุพฺพโต ฯ ๕๒ ฯ
วาจาสุภาษิต
ของผู้ทำได้ตามพูด
ย่อมอำนวยผลดี
ดุจดอกไม้สีสวยและมีกลิ่นหอม
As a flower that is lovely,
Colourful and fragrant,
Even so fruitful is the well-spoken word
Of one who practises it.
๕๓. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา
กยิรา มาลาคุเณ พหู
เอวํ ชาเตน มจฺเจน
กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุ ฯ ๕๓ ฯ
เมื่อเกิดมาแล้วจะต้องตาย
ก็ควรสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก
เหมือนนายมาลาการร้อยพวงมาลัย
เป็นจำนวนมากจากกองดอกไม้
As from a heap of flowers
Many kinds of garlands can be made,
So many good deeds should be done
By one born a mortal.
๕๔. น ปุปฺผคนโธ ปฏิวาตเมติ
น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ฯ ๕๔ ฯ
กลิ่นปุปผชาติ ก้หอมทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ
ก็หอมทวนลมไม่ได้
แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมได้
สัตบุรุษ ย่อมหอมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ
The perfume of flower blows not againts the wind,
Nor does the fragrance of sandal-wood, Tagara andjasmine,
But the fragrance of the virtuous blows against the wind
The virtuous man pervades all directions.
๕๕. จนฺทนํ ตครํ วาปิ
อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี
เอเตสํ คนฺธชาตานํ
สีลคนฺดธ อนุตฺตโร ฯ ๕๕ ฯ
กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า
ของหอมเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา
ดอกอุบล และ กะลำพัก
Sandal-wood, Tagara,
lotus and wild jasmine-
Of all these kinds of fragrance,
The fragrance of virtue is by far the best.
๕๖. อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ
ยายํ ตครจนฺทนี
โย จ สีลวตํ คนฺโธ
วาติ เทเวสุ อุตฺตโม ฯ ๕๖ ฯ
กฤษณา หรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลประเสริฐนัก
หอมฟุ้งกระทั่งถึงทวยเทพยดา
Little is the fragrance of Tagara
And that of sandal-wood,
But the fragrance of virtue is excellent
And blows even among the devas.
๕๗. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ
อปฺปมาทวิหารินี
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ
มาโร มคฺคํ น วินฺทติ ฯ ๕๗ ฯ
มารย่อมค้นไม่พบวิถีทาง
ของผู้ทรงศีลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะรู้ชอบ
Of those who possess these virtues,
Who live without negligence,
Who are freed by perfect knowledge-
Mara finds not their way.
๕๘. ยถา สงฺการธานสฺมึ
อุชุฌิตสฺมึ มหาปเถ
ปทุมํ ตตฺถ ชาเยถ
สุจิคนฺธํ มโนรมํ ฯ ๕๘ ฯ
ดอกบัว มีกลิ่นหอม รื่นรมย์ใจ
เกิดบนสิ่งปฏิกูล
ที่เขาทิ้งไว้ไกล้ทางใหญ่ ฉ้นใด
Just as on a heap of rubbish
Thrown u[on the highway
Grows the lotus sweetly fragrant
And delighting the heart.
๕๙. เอวํ สงฺการภูเตสุ
อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน
อติดรจติ ปญฺญาย
สมฺมาสมิพุทฺธสาวโก ฯ ๕๙ * ฯ
ท่ามกลางหมู่ปุถุชน ผู้โง่เขลา
ผู้เป็นเสมือนสิ่งปฏิกูล
พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น
Even so among those blinded mortals
Who are like rubbish,
The disciple or the Fully Enligtened one
Shines with exceeding glory by his wisdom.
* สงฺการภูเตสุ น่าจะแยกกันเป็น สงฺการภูเต สุ สุ เป็นนิบาต แต่
พระอรรถกถาจารย์ อธิบายในทำนองว่า คำนี้ใช้เป็นบทขยาย
ปุถุชฺชเน ที่ประกอบวิภัติต่างพจน์กัน ให้ถือเป็นข้อยกเว้นเรียก
ว่า วิเสสนวจนวิปัลลาส หมายถึง บทวิเศษณ์ต่างพจน์กัน
ฐิตา:
๕. หมวดคนพาล
THE FOOL
๖๐. ทีฆา ชาครโต รตฺติ
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ ๖๐ ฯ
ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว
สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
Long is the night to the wakeful,
Long is the Yojana to the weary,
Long is Samsara to the foolish
Who know not the true doctrine.
๖๑. จรญฺเจ นาะคจฺเฉยฺย
เสยฺยํ สทิสมตฺตโน
เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา
นตฺถิ พาเล สหายตา ฯ ๖๑ ฯ
หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน
หรือเพื่อนที่เสมอกับตน
ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว
เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล
If, as he fares, he finds no companion
Who is better or equal,
Let him firmly pursue his solitary course;
There is no fellowship with the foot.
๖๒. ปุตฺตา นตฺถิ ธน มตฺถิ
อิติ พาโล วิหญฺญติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ ฯ ๖๒ ฯ
คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า
เรามีบุตร เรามีทรัพย์
เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา
บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร
'I have some, I have wealth';
So thinks the food and is troubled.
He himeself is not his own.
How then are sons,how wealth?
๖๓. โย พาดล มญฺญติ พาลยฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตามานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ ๖๓ ฯ
คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้
A fool aware of his stupidity
Is in so far wise,
But the fool thinking himself wise
Is called a fool indeed.
๖๔. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล
ปณฺฑิตํ ปฏิรุปาสติ
น โส ธมฺมํ วิชานาติ
ทพฺพิ สูปรสํ ยถา ฯ ๖๔ ฯ
ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต
เป็นเวลานานชั่วชีวิต
คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่
เหมือนจวักไม่รู้รสแกง
Though through all his life
A fool associates with a wise man,
He yet understands not the Dhamma,
As the spoon the flavour of soup.
๖๕. มุหุตฺตมฺปิ เจ วิญฺญู
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ
ชิวหา สูปรสํ ยถา ฯ ๖๕ ฯ
ปัญญาชน คบบัณฑิต
แม้เพียงครู่เดียว
ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม
เหมือนลิ้นรู้รสแกง
Though,for a moment only,
An intelligent man associates with a wise man,
Quickly he understands the Dhamma,
As the tougue the flavour of soup.
๖๖. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา
อมิตฺเตเนว อติตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ
ยํ โหติ กฎุกปฺผลํ ฯ ๖๖ ฯ
เหล่าคนพาล ปัญญาทราม
ทำตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง
เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน
Fools of little wit
Behave to themselves as enemies,
Doing evil deeds
The fruits wherof are bitter.
๖๗. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ ๖๗ ฯ
กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง
อีกทั้งทำให้ร้องไห้น้ำตานอง
รับสนองผลของการกระทำ
กรรมนั้นไม่ดี
That deed is not well done,
After doing which one feels remorse
And the fruit whereof is received
With tears and lamentations.
๖๘. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยส์ส ปตีดต สุมโน
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ ๖๘ ฯ
กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทั้งผู้กระทำก็เบิกบานสำราญใจ
ได้เสวยผลของการกระทำ
กรรมนั้นดี
Well done is thst deed
which, done, brings no regret;
The fruit whereof is received
The fruit whereof is received
With delight and satisfaction.
๖๙. มธุวา มญฺญตี พาดล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ฯ ๖๙ ฯ
ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล
คนพาลสำคัญบาปหวานปานน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์
An evil deed seems sweet to the fool
so long as it does not bear fruit;
but when it ripens,
The fool comes to grief.
๗๐. มาเส มาเส กุสคฺเคน
พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ
น โส สงฺขาตธมฺมานํ
กลํ อคฺฆติ โสฬสึ ฯ ๗๐ ฯ
คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ
โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดือน
การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน
ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม
Month after month the fool may eat his food
With the tip of Kusa srass;
Nonetheless he is not worth the sixteenth part
Of those who have well understoood the Truth.
๗๑. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ
สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ
ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก ฯ ๗๑ ฯ
กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด
เหมือนนมรีดใหม่ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที
แต่มันจะค่อยๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง
หมือนไฟไหม้แกลบ
An evil deed committed
Does not immediately bear fruit,
Just as milk curdles not at once;
Smouldering life covered by ashes,
It follows the fool.
๗๒. ยาวเทว อนติถาย
ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ
มุทฺธมสฺส วิปาตยํ ฯ ๗๒ ฯ
คนพาลได้ความรู้มา
เพื่อการทำลายถ่ายเดียว
ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น
ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป
The fool gains knowledge
Only for his ruin;
It destroys his good actions
And cleaves his head.
๗๓. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย
ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ
ปูชา ปรกุเลสุ จ ฯ ๗๓ ฯ
ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ
อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด
อยากเป็นเจ้าอาวาส
อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย
A foolish monk desires undue reputation,
Precedence among monks,
Authority in the monasterics,
Honour among other families.
๗๔. มเมว กต มญฺญนฺตุ
คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ
กิจฺจาจฺเจส กิสฺมิจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป
อิจฺฉา มาโน จ วฑฺฒติ ฯ ๗๔ ฯ
"ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต
จงสำคัญว่า เราเท่านั้นทำกิจนี้
ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล็ก"
ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้
ความทะเยอทะยาน และความหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น
'Let both laymen and monks think,
By me only was this done;
In every work,great or small,
Let them refer to me'.
Such is the ambitin of the fool;
His desire and pride increase.
๗๕. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา
อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย
ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภนนฺเทยฺย
วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ ๗๕ ฯ
ทางหนึ่งแสวงหาลาภ
ทางหนึ่งไปนิพพาน
รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก
ไม่ควรไยดีลาภสักการะ
ควรอยู่อย่างสงบ
One is the way to worldly gain;
To Nibbana another leads.
Clearly realizing this,
The bhikkh,disciple of the Buddha,
Should not delight in worldly favour,
But devote himself to solitude.
ฐิตา:
๖. หมวดบัณฑิต
The Wise
๗๖. นิธีนํ ว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย ฯ ๗๖ ฯ
ถ้าพบนักปราชญ์ ที่คอยว่ากล่าวตักเตือนชี้ข้อบกพร่อง
เสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบหาบัณฑิตเช่นนั้น
เพราะเมื่อคบหาคนเช่นนั้น จะมีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อม
Should one see a wise man,
Who, like a revealer of treasures,
Points out faults and reproves,
Let one associate with such a one,
Well is it, not ill, to associate with such a one.
๗๗. โอวเทยฺยานุสาเสยฺย
อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ
อสตํ โหติ อปฺปิโย ฯ ๗๗ ฯ
จงยอมตนให้บัณฑิตตักเตือนพร่ำสอน
และกีดกันจากความชั่ว
คนที่คอยสั่งสอนเช่นนี้
คนดีรัก แต่คนชั่วเกลียด
Let him admonish, exhort,
And shield from wrong.
Truly, pleasing is he to the good,
Displeasing is he to the bad.
๗๘. น ภเช ปาปเก มิตฺเต
น ภเช ปุริสาธเม
ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ
ภเชถ ปุริสุตฺตเม ฯ ๗๘ ฯ
ไม่พึงคบมิตรชั่ว
ไม่พึงคบคนเลวทราม
พึงคบกัลยาณมิตร
พึงคบคนที่ดีเยี่ยม
Associate not with evil friends;
Associate not with mean men;
Associate with good friends;
Associate with noble men.
๗๙. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
วิปฺปสนฺเนน เจตสา
อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม
สทา รมติ ปญฺฑิโต ฯ ๗๙ ฯ
ผู้ดื่มรสพระธรรม มีใจสงบ
ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม
ที่พระอริยเจ้าแสดงไว้เสมอ
He who imbibes the Dharma
Lives happily with the mind at rest.
The wise man ever delights
In the Dharma revealed by the Noble.
๘๐. อุทฺกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ฯ ๘๐ ฯ
ชาวนาไขน้ำเข้านา
ช่างศรดัดลูกศร
ช่างไม้ถากไม้
บัณฑิตฝึกตนเอง
Irrigators lead water;
Fletchers fashion shafts;
Carpenters bend wood;
The wise tame themselves.
๘๑. เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา ฯ ๘๑ ฯ
ขุนเขาไม่สะเทือนเพราะแรงลมฉันใด
บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาหรือสรรเสริญฉันนั้น
Even as a solid rock
Is not shaken by the wind.
So do the wise remain unmoved
By praise or blame.
๘๒. ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล
เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา ฯ ๘๒ ฯ
ห้วงน้ำลึก ใสสะอาดสงบฉันใด
บัณฑิตฟังธรรมแล้วย่อมมีจิตใจสงบฉันนั้น
Just as a lake, deep, clear, and still
Even so, on hearing the Dharma,
The wise become exceedingly peaceful.
๘๓. สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา จชนฺติ
น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต
สุเขน ผุฏฐา อถวา ทุกฺเขน
น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ ฯ ๘๓ ฯ
สัตบุรุษ ยอมเสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่มัวพร่ำเพ้อ แต่เรื่องกามคุณ
ไม่ว่าได้รับสุขหรือทุกข์
บัณฑิตไม่แสดงอาการยินดียินร้าย (เกินกว่าเหตุ)
The good renounce everything
And do not speak hankering after desires.
Touched by sorrow or happiness,
The wise become neither elated nor depressed.
๘๔. น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐํ
น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน
ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยา ฯ ๘๔ ฯ
ไม่ควรทำชั่วเพราะเห็นแก่ตัว หรือคนอื่น
ไม่ควรปรารถนาบุตร ทรัพย์ รัฐ หรือความสำเร็จ
แก่ตนโดยทางที่ไม่ชอบธรรม
ควรมีศีล มีปัญญา มั่นอยู่ในธรรม
Neither for one's own nor another's sake
Should one commit any wrong,
Nor, by unjust means, should one desire
Sons, wealth, state or one's own success.
He should be virtuous, wise and righteous.
๘๕. อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ
เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา
ตีรเมวานุธาวติ ฯ ๘๕ ฯ
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย
น้อยคนนักจักข้ามฝั่งไปได้
ส่วนคนนอกนี้
ก็ได้แต่วิ่งเลียบเลาะริมฝั่ง
Few are there among men
Who go to the further shore,
The rest of this mankind
Only run up and down the hither bank.
๘๖. เย จ โข สมฺมทกฺขาเต
ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ
มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ฯ ๘๖ ฯ
ผู้ประพฤติตามคำสั่งสอนที่ตรัสดีแล้ว
ย่อมข้ามอาณาจักรพญามาร
ที่ข้ามได้แสนยาก
ไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง (คือพระนิพพาน)
Those who conform to the Dharma
That has been well expounded -
Those are they who will reach the Beyond,
Crossing the realm of death, so hard to cross.
๘๗. กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาเย
สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
โอกา อโนกมาคมฺม
วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ฯ ๘๗ ฯ
บัณฑิตพึงละธรรมดำ (บาป)
สร้างสมธรรมขาว (บุญ)
เมื่อละบ้านเรือนมาถือเพศบรรพชิตแล้ว
ก็ควรยินดีในความสงัดวิเวก
ซึ่งยากที่คนธรรมดาจะยินดีได้
Coming from home to the homeless,
The wise man should abadon dark state
And cultivate the bright.
He should seek great delight in solitude,
So hard to enjoy.
๘๘. ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย
หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ
จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต ฯ ๘๘ ฯ
บัณฑิตพึงละกามคุณ
สลัดอาลัยหมดสิ้น
ทำตนให้บริสุทธิ์
ปราศจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
Given up sensual pleasures,
With no attachment,
The wise man should cleanse himself
Of the impurities of the mind.
๘๙. เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ
สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
อาทานปฏินิสฺสคฺเค
อนุปาทาย เย รตา
ขีณาสวา ชุติมนฺโต
เต โลเก ปรินิพฺพุตา ฯ ๘๙ ฯ
ท่านที่อบรมจิตใจเป็นอย่างดี
ในคุณธรรมที่จะนำไปสู่การตรัสรู้
ไม่ยึดมั่น ยินดีในความปล่อยวาง
ท่านเหล่านั้น เป็นพระอรหันต์ สงบ สว่าง
เข้าถึงพระนิพพานแล้วในโลกนี้
Whose minds are well perfected
In the Factors of Enlightenment,
Who without clinging, delight in detachment-
They, the corruption-free, radient ones,
Have attained Nibbana in the Here-and-Now.
ฐิตา:
๗. หมวดพระอรหันต์
THE WORTHY
๙๐. คตทฺธิโน วิโสกสฺส
วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส
ปริฬาโห น วิชฺชติ ฯ ๙๐ ฯ
ผู้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง
หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว
ความร้อนใจก็หมดไป
For him who has completed his journey,
For him who is whooly free from all,
For him who has destroyed all bonds,
The fever of passion exists not.
๙๑. อุยฺยุญฺชนติ สติมนฺโต
น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลวํ หิตฺวา
โอกโมกํ ชหนฺติ เต ฯ ๙๑ ฯ
ผู้มีสติย่อมขยันขันแข็ง
ไม่ยึดติดแหล่งที่อาศัย
ละทิ้งไปตามลำดับ
เหมือนกับพญาหงส์ทิ้งสระน้ำ
The mindeful ones exert themselves,
To no abode are they attached;
Like swans that quit their pools,
Home after home they leave behind.
๙๒. เยสํ สนฺนิจฺจดย นตฺถิ
เย ปริญฺญาตโภชนา
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข เยส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
คติ เตสํ ทุรนฺวยา ฯ ๙๒ ฯ
ท่านที่หมดการสะสม (ปัจจัยหรือกรรมดีกรรรมชั่ว)
พิจารณาโภชนะก่อนบริโภค เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้ ยากที่สามัญชนจะตามทัน
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า ตามทันยาก
Those for whom there is no accumulation,
Who reflect well over their food,
Who have perceived void and unconditioned freedom-
Their path is hard to trase,
Like that of birds in the air.
๙๓. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา
อาหาเร จ อนิสฺสิดต
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
ปทํ ตสฺส ทุรนฺวยํ ฯ ๙๓ ฯ
ผู้หมดกิเลส ไม่เห็นแก่กิน เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้มิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า หารอยอันใดมิได้.
He whose corruptions are destroyed,
He who is not attached to food
He who has perceived void and unconditioned freedom-
His track cannot be traced,
Like that of birds in the air.
๙๔. ยสฺสินฺทริยานิ สมถงฺคตานิ
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา
ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน ฯ ๙๔ ฯ
ท่านผู้ใดควบคุมอินทรีย์คือ
ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ได้
เหมือนม้าที่สารถีควบคุมได้อย่างดี
ท่านผู้นี้หมดความไว้ตัว หมดกิเลส มั่นคง
ย่อมเป็นที่โปรดปราน แม้กระทั่งของเทวดาทั้งหลาย
He whose senes are subdued,
Like steeds well-trained by a charioteer;
He who is free from pride and corruption-
Such a steadfast one even the gods hold dear.
๙๕. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปดม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทดม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน ฯ ๙๕ ฯ
พระอรหันตฺเปรียบได้กับแผ่นดิน ไม่เคยโกรธขึ้งใคร
มีจิตคงที่ เหมือนหลักเมือง
มีจรรยาสะอาด เหมือนสระน้ำที่ใสไร้เปลือกตม
ผู้มีคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
Like the earth the Worthy One resents not;
Like the chief post is he a firm mind;
Like an unsullied pool is he of pure conduct;
To such a one life's wanderings are no more.
๙๖. สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ
สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ฯ ๙๖ ฯ
พระอรหันตฺผู้เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง
ผู้สงบระงับ และมีจิตมั่นคง
ใจของท่าน ย่อมสงบ
วาจาก็สงบ
การกระทำทางกายก็สงบ
Calm is his mind;
Calm is his speech;
Calm is his bodily action;
Perfectly peaceful and equipoised.
๙๗. อสทฺโธ อกตญฺญู จ
สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส
ส เว อุตฺตมโปริโส ฯ ๙๗ ฯ
ผู้ไม่เชื่อใครง่ายตนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง ๑
ผู้รู้แจ้งพระนิพพาน ๑
ผู้หมดการเวียนว่ายตายเกิด ๑
ผู้หมดโอกาสที่จะทำดีหรือชั่ว ๑
ผู้หมดกิเลสที่ทำให้หวัง ๑
ห้าประเภทนี้แล เรียกว่า "ยอดคน"
He who is not credulous,
He who has realized Nibbana,
He who has severed all ties,
He who has put an end to opportunity,
He who has removed all desires
He,indeed,is the greatest of men.
๙๘. คาเม วา ยทิวารญฺเญ
นินฺเน วา ยิทวา ถเล
ยตฺถารหนฺโต วิหรนฺติ
ตํ ภูมิ รามเณยฺยกํ ฯ ๙๘ ฯ
ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือป่า
ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดอน
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด
ที่นั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์
Whether in village or in forest,
Whether in vale or on hill'
Wherever the Worthy Ones dwell-
Delightful,indeed, is that spot.
๙๙. รมณียานิ อรญฺญานิ
ยตฺถ น รมตี ชดน
วีตราคา รเมสฺสนฺติ
น เต กามคเวสิโน ฯ ๙๙ ฯ
ป่าที่คนทั่วไปไม่ชื่นชม
เป็นรมณียสถาน
สำหรับท่านผู้หมดราคะ
เพราะพระท่านมิได้ใฝ่กามคุณ
Delightful are the forests
Where worldings find no joy,
There the passionless rejoice
For they seek no sensual pleasures.
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version