ผู้เขียน หัวข้อ: ตำรับยาโรคกระเพาะ ลำไส้  (อ่าน 2274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
ตำรับยาโรคกระเพาะ ลำไส้
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 07:14:39 pm »
ตำรับยาโรคกระเพาะ ลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องเสีย

ขนานที่ ๑ ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้หวัด แก้ไอ
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : หนาด
วิธีปรุงเป็นยาก็ง่ายแสนง่าย เพียงให้เวลาเท่ากับการต้มน้ำเดือดหนึ่งกาเท่านั้น
สัดส่วนตัวยาใช้ใบหนาด ๕๐ กรัม ต่อน้ำ ๕๐๐ มิลลิลิตร (ครึ่งลิตร)
ต้มเดือดแล้วนำมากินวันละ ๔ แก้ว ใช้แก้ปวดท้อง แต่ถ้าใช้รากต้ม
หรือใบ ๒-๔ กำมือต้มกิน จะใช้แก้ไข้ แก้ไอ แก้หวัดได้ ส่วนใครที่มีอาการท้องอืด
ใช้ใบที่สับๆ แล้ว ๒ ช้อนชาต้มกับน้ำ ๑ ถ้วย นาน ๕ นาที ดื่มขณะอุ่นเท่านั้นเอง



--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๒ แผลเรื้อรังปวดท้องอย่างรุนแรง (กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน)
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : ปลาไหลเผือกใช้รากปลาไหลเผือกต้มกิน หรือฝนกับน้ำปูนใสกินก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๓ รักษาอาการกรดเกินในกระเพาะ กระเพาะอาหารอักเสบ
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : รากสามสิบ
(ตำรับของอินเดีย)

•น้ำคั้นของรากสดประมาณ ๙๐ มิลลิลิตร (๖ ช้อนชา) ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดง
ตามใจชอบ รับประทานวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๗ วัน
•นำผงของรากสามสิบแห้งจำนวน ๓ ช้อนชา ต้มกับนม ๑/๒ ถ้วย จนปริมาณลดลงครึ่งหนึ่ง
ดื่มน้ำที่ได้จำนวน ๖ ช้อนชา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๗ วัน


--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๔ ยาผงเหลือง...บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยเจริญอาหาร
ของพระครูอนุสารปุญญาคม เจ้าคณะตำบลเมืองแปง–โป่งสา แม่ฮ่องสอน
(โครงการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างเสริมชุมชน)
ส่วนประกอบ
จำพวกเปลือกไม้ ๑.เปลือกไม้ตึ่ง ๒.เปลือกเพกา ๓.เปลือกไม้รัก ๔.เปลือกไม้อ้อยช้าง
จำพวกพืชหัว ๑.ไพลบ้าน ๒.ขมิ้นชัน ๓.ขิง ๔.ข่า
วิธีปรุงยา นำเปลือกไม้ (เอาแต่ด้านใน) และพืชสมุนไพรรวมทั้งหมด ๘ ชนิด
ในอัตราส่วนที่เท่ากัน นำมาหั่นซอยบางๆ แล้วนำมาตากแดดให้แห้งประมาณ ๓–๔ วัน
จากนั้นนำมาตำให้ละเอียดด้วยครกไม้ เมื่อละเอียดแล้วปรุงรสด้วยเกลือกับพริกเพียงเล็กน้อย
เสร็จแล้วนำมาบรรจุถุง ถุงละ ๒๐๐ กรัม
วิธีรับประทาน รับประทานครั้งละ ๑–๒ ช้อนโต๊ะ ๓ เวลาก่อนอาหาร (เช้า กลางวัน เย็น)

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๕ ตำรับยาแก้ปวดท้อง เจ็บท้อง ลงท้อง
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : กระเจี๊ยบเขียว
ตำรับของหมอยาเมองเลย
ใช้รากกระเจี๊ยบเขียวฝนกับน้ำธรรมดากิน

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๖ ตำรับรักษาโรคกระเพาะ
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : กระเจี๊ยบเขียว
ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดด บดให้ละเอียดกินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำกิน
เวลาละลายจะได้น้ำยาเหนียวๆ ถ้ามีนมหรือน้ำผลไม้หรืออาหารอ่อนๆ ละลายแทนน้ำ
ก็จะทำให้รสชาติดีขึ้น รับประทานวันละ ๓-๔ เวลาหลังอาหาร

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๗ แก้ท้องเสีย
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : กระเจี๊ยบแดง
(ตำรับของพ่อวุ่นนะ)
ใช้รากต้มกินแก้ท้องเสีย

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๘ ตำรับแก้โรคกระเพาะ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารเป็นพิษ
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ค้างคาวดำ
(ตำรับของแมะ จังหวัดยะลาและของหมอยาไทยใหญ่ก็ใช้ตำรับเดียวกัน)
ใช้ใบค้างคาวดำมาต้มน้ำดื่มแก้เจ็บในท้อง "อูลูแร" แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๙ ตำรับยาแก้ท้องผูก
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ตำลึง
เอาใบเอายอดตำลึงมานึ่งกินทำให้หายท้องผูก

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๐ ตำรับยาแก้ท้องไข่ ท้องบวม
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ตำลึง
เอารากผักตำลึง รากผักสาบ ต้มกิน

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๑ ตำรับยารักษาโรคกระเพาะ
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ผักแต๊ง
เอายอดผักแต๊งมาแกงกิน

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๒ ตำรับยารักษาฝีในท้อง
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ผักแต๊ง
ใช้รากผักแต๊ง รากคัดเค้า ต้มกิน

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๓ ตำรับยาแก้กระบูนเลือด กระบูนลม
(ปวดท้อง โรคกระเพาะ มีลมในกระเพาะ)
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ผักหวานบ้าน
เอารากผักหวานบ้าน ผักก้านตง มาต้มกิน

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๔ ตำรับยาแก้ท้องเสีย ทั้งท้องเสียธรรมดาและท้องเสียร่วมกับอาการอาเจียน
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : เพกา
ตำรับ ๑ ใช้รากเพกาต้มดื่มและอาบรักษาโรค "จือเราะมูเตาะห์" หรือใช้รากสาดน้อย
ตำรับ ๒ ใช้รากเพกาอย่างเดียวหรือใส่รวมกับไม้ก้านเหลือง ไม้แฮ่นกวาง ขมิ้น แก้ท้องเสีย

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๕ ตำรับยาแก้ท้องผูก
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : มะรุม
ฝักมะรุมไปแกงส้ม ต้มเคี่ยวนานๆ พอเนื้อเปื่อยนิ่มขูดเอาแต่เนื้อกิน จะเป็นยาระบายอ่อนๆ
ไม่ใช่คนธาตุหนัก ทานเย็น เช้าจะถ่ายเป็นปกติ

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๖ ตำรับยาแก้ผิดกะบูน
(ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ)
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : มะรุม
เอารากมะรุม รากเล็บครุฑ ฝนกินหรือต้มรากมะรุมอย่างเดียวกินก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๗ ตำรับยาแก้ท้องเสีย เป็นบิด อาหารเป็นพิษ
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ย่านาง
ใช้รากย่านางฝนกินอย่างเดียวหรือฝนรวมกับรากมะปรางหวาน ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน
สามารถใช้รากย่านางแดงหรือรากมะขามแทนก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------

ขนานที่ ๑๘ ตำรับยาแก้ท้องร่วง
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ส้มป่อย
ใช้รากส้มป่อยต้มน้ำรับประทาน

--------------------------------------------------------------------------------



ข้อมูลเพิ่มเติม / สอบถามข้อมูล
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
โทร (๐๓๗) ๒๑๑๒๘๙
อีเมลล์: spitiporn@yahoo.com

ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร (๐๕๓) ๙๔๔๓๔๒-๓
อีเมลล์: pmpti008@gmail.com
 ขอบพระคุณที่มา http://www.thrai.sci.ku.ac.th/node/877

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำรับยาโรคกระเพาะ ลำไส้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:11:20 pm »
สมุนไพรไทยดีจิงๆ กลับสู่ธรรมชาติกันดีกว่า
ขอบคุณนะค่ะคุณเล็ก :45: